สอนการป้องกันอันตรายจากรังสี ทำให้คนกลัวรังสีหรือ ? (2)


การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของรังสีเป็นสิ่งจำเป็น และควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วน

คำถามนี้วนเวียนเข้ามาบ่อยจึงคิดว่าน่าจะยกขึ้นมาอีกครั้ง จากประสบการณ์ตรงของตัวเองตอนที่เป็นประธานจัดฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสี ก็มีวิทยากรท่านหนึ่งถามขึ้นมาว่าการฝึกอบรมนี้มุ่งหมายให้คนกลัวรังสีหรือ ทำไมต้องเอารูปและเรื่องคนได้รับรังสีสูงมีอาการน่ากลัวอย่างไร มาให้ผู้เข้าอบรมดูด้วย

การอบรมการป้องกันอันตรายจากรังสีนี้เป็นข้อบังคับของผู้รับใบอนุญาตทุกราย ที่ต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีทุกคนได้รับการอบรม ตามกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไข วิธีการขอรับใบอนุญาต และการดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุต้นกำลัง วัสดุพลอยได้ หรือพลังงานปรมาณู พ.ศ. 2550 ข้อ 27

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของรังสีเป็นสิ่งจำเป็น และควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับผลของรังสีเมื่อได้รับรังสีสูง และผลของรังสีเมื่อได้รับรังสีไม่สูง การให้ข้อมูลก็เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความระมัดระวัง และปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับ และแนวปฏิบัติที่องค์กรตั้งขึ้นเพื่อความปลอดภัย เพราะการได้รับสีเพียงเล็กน้อยไม่เกินที่กฎหมายกำหนดจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ

การกำหนดค่าปริมาณรังสีที่ถือเป็นขีดจำกัดตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 29 ข้อ 30 และข้อ 31 มีที่มาจากการวิจัยและรวบรวมข้อมูลผลกระทบของรังสีต่อมนุษย์ และตั้งอยู่บนพื้นฐานสามประการคือ

  1. จำกัดผลของรังสีแบบ Stochastic effects  ซึ่งประมวลได้จากสถิติของผู้ได้รับรังสีในอดีตและเกิดเป็นมะเร็งขึ้น กำหนดข้อ 29(1)
  2. ป้องกันผลของรังสีแบบ Deterministic effects ซึ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเนื่องจากรังสี กำหนดข้อ 29(2) (3)
  3. ไม่ให้ได้รับรังสีในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ กำหนดข้อ 29(1)

ดังนั้นผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่นการจัดทำกฎ ระเบียบ แนวปฏิบัติภายในองค์กรของผู้รับใบอนุญาต เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับรังสีมีความปลอดภัย และต้องมีการควบคุมดูแล รวมทั้งอบรมผู้ทำงานเป็นประจำให้มีความตระหนักและระมัดระวังในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

                และดังที่ได้กล่าวว่าค่ากำหนดดังกล่าวเป็นขีดจำกัดตามกฎหมายที่ละเมิดมิได้ จึงต้องมีวิธีการเตือนก่อนที่จะมีการละเมิด คือการกำหนดเป็นการภายในว่าจะใช้ค่าเท่าใดเป็นการเตือนก่อนที่จะได้รับรังสีเกินค่าที่กำหนดตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะนำมาเผยแพร่ในโอกาสต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 334017เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
วราภรณ์ วานิชสุขสมบัติ

ยินดีค่ะที่มีผู้สนใจ ทำให้มีกำลังใจเขียนค่ะ อยากจะขอเชิญเข้าเยี่ยมชมเว็บ www.portal.in.th/rad-protection ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท