pywn
นาย เพชรศรายุธ วัชราวุธพัฒนา

จุดเริ่มต้น....


ให้สำนักคอมพิวเตอร์ ทำการปรับปรุงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเสียใหม่ ให้มีเนื้อหาสาระครบถ้วนตามมาตรฐาน มีการ update ข้อมูลให้ทันสมัย ถูกต้อง และเน้นเป็นพิเศษว่าควรจะมีมากกว่า 1 ภาษา

              หลังจากการเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัยทักษิณ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2548 แล้ว ท่านอธิการบดี (รศ.ดร.สมเกียรติ  สายธนู) ได้เข้าตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่หน่วยงานสนับสนุนและให้บริการด้าน ICT  ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย สำนักคอมพิวเตอร์ สำนักหอสมุด และโครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการ จากนโยบายตอนหนึ่ง ได้มอบหมายให้สำนักคอมพิวเตอร์ ทำการปรับปรุงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเสียใหม่ ให้มีเนื้อหาสาระครบถ้วนตามมาตรฐาน  มีการ update ข้อมูลให้ทันสมัย ถูกต้อง และเน้นเป็นพิเศษว่าควรจะมีมากกว่า 1 ภาษา 

              ต่อมา ได้มีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยทักษิณ ขึ้น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ผมได้รับมอบหมายให้เป็น หัวหน้าโครงการฯ  ดังนั้น ภารกิจแรกของผม คือ การจัดทำ  "แผนการพัฒนาเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ"  เนื้อหาตอนหนึ่งของแผนผมเสนอให้มีการส่งเสริม หมายถึง การทำให้บุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่ริเริ่มกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ยังไม่ได้ริเริ่ม ให้เริ่มดำเนินการให้มีการคิด หรือ กระทำสิ่งที่ส่งเสริมไปมากขึ้น หรือ ก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยการตั้ง ชมรมนักพัฒนาเว็บไซต์ มีลักษณะเป็นชุมชนอิเลคทรอนิคส์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการแสดงความคิดเห็นในเชิงตรวจสอบข้อมูลและการเสริมต่อยอดความรู้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติประการหนึ่ง ที่ทำให้ ข้อมูล ความรู้ มีลักษณะที่เคลื่อนไหว เติบโต มีชีวิต สามารถก่อตัวจากประเด็นเล็ก ๆ หรือ ความรู้ขนาดเล็ก     สู่ความรู้ที่มีขนาดใหญ่โต และ เชื่อมโยงไปสู่ความรู้อื่นและการนำไปปฏิบัติได้

            ชมรมนักพัฒนาเว็บไซต์ ภายใต้แนวคิด การพัฒนาองค์กรด้วย ICT    หรือการใช้ ICT เข้ามา ส่งเสริมบทบาทงานพัฒนา เนื่องจากที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ และลองผิดลองถูก เกี่ยวกับการนำ ICT เข้ามาพัฒนาบทบาทของงานพัฒนาสังคม  บทสรุปที่ได้ คือการสร้างวัฒนธรรม ICT ให้เกิดขึ้นในองค์กร แล้ว องค์กร นั้น ๆ จะสามารถใช้ ICT ในการจับงานพัฒนาได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และแม้นดูเหมือนว่า คุณลักษณะของวัฒนธรรม ICT จะเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์มากมาย แต่การใช้ประโยชน์จริง ๆ ในปัจจุบัน ยังคงอยู่ภายใต้ข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย ดังเช่น การถอดประสบการณ์ ความรู้ ทักษะต่าง ๆ ซึ่งเก็บไว้ในตัวบุคคลออกมาอยู่ในรูปแบบข้อมูลสารสนเทศ อีกทั้งการนำข้อมูลเหล่านั้น ให้จัดเก็บอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ง่ายต่อการเข้าถึง และการจัดรูปแบบสร้างบรรยากาศให้จูงใจต่อผู้ใช้  เป็นที่มาของการตั้งชมรมนักพัฒนาเว็บไซต์มหาวิทยาลัยทักษิณ

   วัตถุประสงค์
    1.เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ระหว่าสมาชิก และส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเว็บไซต์  
   
2.เพื่อส่งเริมความร่วมมือ ร่วมกิจกรรมและความสามัคคีในหมู่สมาชิก
    3.เพื่อส่งเสริมวิชาชีพผู้ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์และยกระดับสมาชิกของชมรมให้สูงขึ้น ทั้งทางด้านวิชาการและจริยธรรม                

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1.ได้ความรู้ในการจัดการสร้างเครือข่ายความรู้และภูมิปัญญา
    2.เกิดการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายประเด็น เครือข่ายพื้นที่ และ เครือข่ายคนทำงานมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชื่อมโยง
    3.มองเห็นภาพองค์กรใหม่ ที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยง และ สนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายสารสนเทศเพื่อสังคมขึ้น

หมายเลขบันทึก: 3336เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2005 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท