มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชีวิตเกษตรกร


การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันและอาชีพการเกษตร

เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยประเด็นที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันนั้น เป็นเรื่อง การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาอาชีพการเกษตร  โดยมีนายยงยุทธ คงสมัคร วิทยากรเกษตรกร ประจำศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงตำบลทรายทอง มาเป็นผู้เล่าเรื่อง  ผู้เขียนเองก็รับหน้าที่เป็นคุณลิขิตด้วย ก็ได้รับรู้เรื่องราวดีๆ ที่พี่ยงยุทธ นำมาเล่าสู่กันฟัง สรุปได้อย่างนี้ค่ะ

พี่ยงยุทธ  คงสมัคร ผู้เล่าเรื่องราว

  • จุดเริ่มต้นของการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักคิด หลักปฏิบัติ  พี่ยงยุทธบอกว่า แต่เดิมตนก็เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ชอบดื่มเหล้า แล้วก็เป็นหนี้เป็นสิน จนกระทั่งมีบางหน่วยงานมาให้ความรู้ และชวนพี่ยงยุทธไปเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้พี่ยงยุทธ ค่อยๆ ทำความเข้าใจและเริ่มนำมาสู่การปฏิบัติ

แผนที่ความคิด ที่สรุปจากเรื่องเล่า

  • สิ่งที่พี่ยงยุทธเริ่มปฏิบัติ คือ การออม โดยพี่ยงยุทธบอกว่าตนเริ่มกันเงินรายได้จากสวนมะพร้าวและสวนปาล์มน้ำมัน ไว้ 10 % เป็นเงินเก็บ และส่วนที่เหลือก็กันไว้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ และ ใช้จ่ายในครอบครัว การทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้พี่ยงยุทธไม่มีหนี้สิน และสามารถส่งลูกๆ 3 คนศึกษาจบในระดับปริญญาตรี ปัจจุบันมีงานทำกันทุกคนแล้ว
  • จากนั้น พี่ยงยุทธก็เริ่มเลิกเหล้า เพราะจากการได้พบปะผู้คนในที่ต่างๆ ก็พบว่าการดื่มเหล้าหรือสิ่งเสพติดต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่สังคมรังเกียจ และทำให้ผู้คนขาดความเชื่อถือ

ปลูกผักในถุง ประหยัดดิน น้ำ และปุ๋ย

ปลูกผักไว้กินเอง เมื่อกินไม่หมดก็ขายเพิ่มรายได้

  • ต่อมาก็เริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบปลอดภัยจากสารพิษ โดยการปลูกผักกินเอง ทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก น้ำส้มควันไม้จากทำเพื่อไว้ใช้เองในครัวเรือนช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน เมื่อเหลือจากใช้ก็นำไปขาย ทำให้มีรายได้เพิ่มอีก นอกจากนี้พี่ยงยุทธ ยังมีโรงสีข้าวขนาดเล็กโดยดัดแปลงใช้เครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์มาใช้กับเครื่องสีข้าว เพื่อรับสีข้าวให้แก่ชุมชนอีกด้วย

ทำปุ๋ยหมักใช้และขาย

น้ำส้มควันไม้ก็ทำ

เครื่องสีข้าวขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์

  • จากการปฏิบัติ เป็นนักคิด นักสังเกตุ นักทดลอง ทำให้พี่ยงยุทธมีสูตรน้ำหมักสำหรับไล่แมลงศัตรูพืช หลากหลายสูตร และไม่เคยปิดบังวิชาความรู้ที่ตนมี พี่ยงยุทธ จึงได้รับการคัดเลือกเป็นวิทยากรเกษตรกร ประจำศูนย์เรียนรู้การพอเพียงมาตั้งแต่ ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน

ความสุขกับการแบ่งปันความรู้

สิ่งที่พี่ยงยุทธ บอกว่ามีความสุขคือการได้แบ่งปันความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป และในครั้งต่อไป ผู้เขียนจะนำเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่ได้จากเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงของพี่ยงยุทธ มาเล่าสู่กันฟังอีกค่ะ

หมายเลขบันทึก: 333587เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ

ยะลายังไม่ได้เริ่มเลย กำหนดไว้วันที่ 18 กพ นี้ครั้งแรก

คุณยงยุทธ ถือว่าเป็นแบบที่ดีมากๆ

บอกว่ามีความสุขคือการได้แบ่งปันความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

ขอบคุณมาก

 

สวัสดีครับ

เคยไปเที่ยวบางสะพานน้อยมาแล้ว เขาพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีมากครับ

น่าศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายการผลิต ของกลุ่มสตรี และผู้สูงอายุ ครับ

ขอบคุณมากคกรับ กับเรื่องดีๆ ที่มาฝากกัน

ชะแวบมาอ่านเรื่องเล่า และจะนำไปเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ

เก่งมากครับ คุณศันสนีย์ มีรูปให้ดู มีคำอธิบายให้ทราบ(เข้าท่าดีครับ)ฝาก ความคิดถึงเจ้านายเก่าผมด้วยนะครับ

P  สวัสดีค่ะคุณนงนาท  ขอบคุณค่ะที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและเติมเต็ม

P  สวัสดีค่ะพี่เกษตรยะลา ไม่เจอกันนาน สบายดีนะคะ

P  สวัสดีค่ะคุณชัด  ใช่ค่ะชาวบางสะพานน้อยมีกลุ่ม/องค์กรที่เข้มแข็ง และมีความสามัคคีในการพัฒนาท้องถิ่นที่ดีมาก

P  สวัสดีค่ะน้องปลา เราคงได้เจอกันเร็วๆ นี้ในเวที RW เนอะ

P  สวัสดีค่ะพี่วีระ  ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมเยียน เจ้านายเก่าของพี่ work มากๆค่ะ

  • เป็นผลงาน ของดี ที่น่าจะเผยแพร่ให้ได้รับทราบกันอย่างกว้างขวาง ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท