การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนขั้นเงินเดือน พรบ 2551


วันที่ 29 ม.ค. 2553  ได้มีโอกาสได้เขาฟังวิชาการที่ สสจ.ชัยนาทจัดขึ้น เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน พรบ. 2551  จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะเชื่อว่าหลายๆคนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจแต่ทุกคนก็ต้องได้รับการประเมิน เม.ย. 2553 นี้แล้ว  พอสรุปได้ดังนี้

  1. มีการประเมิน 2 รอบ  ตามปีงบประมาณ

รอบ แรก   1 ต.ค. – 31 มี.ค.

รอบสอง    1 เม.ย.  – ก.ย.

2. ประเมินอย่างน้อย  2  องค์ประกอบ  คิดรวมเป็น  100 %  คือ

1)      ผลสัมฤทธิ์ของงาน ( ผลปฏิบัติงาน )  อย่างน้อย  70  %  ( ประกาศของจังหวัดชัยนาทให้ 80 % ) ประเมินจาก

ปริมาณผลงาน  คุณภาพผลงาน  ความรวดเร็วหรือตรงตามเวลา  หรือความประหยัดหรือความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ซึ่งแต่ละกลุ่ม ไม่จำเป็นต้องประเมินครบทุกข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน  เช่นบางกลุ่มลักษณะงานอาจไม่จำเป็นต้องประเมินปริมาณผลงาน แต่จะไปเน้นที่คุณภาพของผลงาน ( การวัดคุณภาพของงานมักจะวัดเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนด )

2)      พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ ( สมรรถนะ ) ตามที่ ก.พ. กำหนด( ประกาศของจังหวัดชัยนาทให้ 80 20 % )

 ได้แก่

-          การมุ่งผลสัมฤทธิ์

-          การบริการที่ดี

-          การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ

-          ความร่วมแรงร่วมใจ

-          จริยธรรม

 (  เฉพาะพวกเราเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีเพิ่มมาอีก  5 ข้อ คือ    การพัฒนาศักภาพคน    , การดำเนินงานเชิงรุก , การคิดวิเคราะห์ ,  การมองภาพองค์รวม , สภาวะผู้นำ ไม่รู้ว่า ต้องเก่งกว่ากระทรวงอื่นหรืออย่างไร   ถ้ายังไม่ลืมพวกเราที่เป็นพยาบาลเคยประเมินตนเองและให้หัวหน้าประเมินให้อีก ใน QA งัย  ที่ทำกันไปแบบงง ๆ นั่นแหละ ให้ทำเมื่อไรก็ยังงง เพราะเป็นนามธรรมสุดๆ )

(  จากที่เคยไปฟัง ที่จังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อต้นปี 2552  เขามีเพิ่มมาอีก 1  องค์ประกอบคือองค์ประกอบด้านอื่นๆ เช่นอาจเป็นงานอื่นที่ได้รับมอบหมายเพิ่มขึ้นมา แต่ปีนี้ของจังหวัดชัยนาทประกาศไว้แค่สององค์ประกอบ )

3. ในแต่ละรอบการประเมิน ผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน ต้องมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับการมอบหมายงานและการประเมินผลการปฏิบัติราชการ  กำหนดตัวชี้วัดหรือหลักฐานบ่งชี้ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับลักษณะงาน

      สำหรับการกำหนดตัวชี้วัดให้พิจารณาวิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดจากบนลงล่างเป็นหลักก่อน  และตัวชี้วัดไม่ควรเกิน 10 ตัว

       อาจารย์แนะนำว่าถ้าจะให้สวยไม่ควรเกิน 5 ตัว ( โดยเฉพาะมือใหม่อย่างสาธารณสุขชัยนาทเราซึ่งตอนนี้แต่ละก๊วนยังไม่ได้กำหนดเลยว่าจะเอาตัวชี้วัดใด ) ตัวชี้วัดที่ทำแล้วทุกคนทำได้เท่ากันหมด ก็อาจตัดทิ้งไป เพราะนำมาวัดหาความแตกต่างไม่ได้ เพราะการสร้างตัวชี้วัดต้องวัดได้ว่าใครเก่งกว่ากัน แต่ไม่ควรตั้งสูงเกินไปจนเอื้อมไม่ถึง

4. เมื่อได้ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงานแล้ว นำตัวชี้วัดแต่ละตัวมาโหวตน้ำหนักตามความสำคัญ  ( รวมทุกตัวแล้วได้  80 %  ตามที่จังหวัดชัยนาทประกาศไว้ )  กรณีมีตัวชี้วัดมากเกินไป ถ้าโหวตน้ำหนักแล้วไม่ถึง 10 %  ก็ควรตัดทิ้งไป

5. กำหนดคะแนนตามระดับค่าเป้าหมายผลการปฏิบัติงานจากตัวชี้วัด ตัวอย่างเช่น ระดับความพึงพอใจ

           คะแนน  1    < 60 %

           คะแนน  2   ช่วง  60 %-  < 70 %

           คะแนน  3   ช่วง  70 %-  < 80 % 

          คะแนน  4   ช่วง  80 %-  < 90 % 

           คะแนน  5   > 90 % 

                 เป็นต้น

 6. เมื่อครบเวลาที่จะประเมินนำผลปฏิบัติงานแต่ละตัวชี้วัดมาใส่ระดับคะแนนว่าอยู่ในระดับใด นำมาคูณกับน้ำหนักที่ให้ไว้  ออกมาเป็นคะแนนที่ได้

( ทั้งนี้  ตัวชี้วัดที่จะใช้ประเมิน  , น้ำหนักที่ให้กับตัวชี้วัดแต่ละตัว , คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย ,  จะมีการเปลี่ยนระหว่างรอบการประเมินไม่ได้  ถ้าจะเปลี่ยนแปลงต้องมีการตกลงระหว่างผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินในรอบประเมินต่อไป )

7. นำ เปอร์เซ็นรวมผลสัมฤทธิ์ของงานที่ทำได้ บวกกับ เปอร์เซ็นทีได้จากการประเมินสมรรถนะ เป็นผลการประเมินที่นำมาจัดระดับ

        ระดับเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัดชัยนาทกำหนดไว้ดังนี้

                        ข้าราชการทั่วไป  ระดับดีเด่น                90-100 %

                                               ระดับดีมาก               80-89   %

                                               ระดับดี                    70-79   %         

                                               ระดับพอใช้               60-69  %

                                               ต้องปรับปรุง              50 – 59 %

                        ผู้ทดลองราชการ     60 % ขึ้นไป  ผ่าน

                                                 น้อยกว่า  60  %  ไม่ผ่าน ( ให้ปรับปรุง 1 ครั้ง )

                        ลูกจ้างประจำ  แบ่งเป็น 3 ระดับ  ดังนี้

                                                        1)  ระดับดีเด่น   90-100 %

                                                        2)  ระดับเป็นที่ยอมรับได้  60-89 %

                                                        3)  ระดับต้องปรับปรุง  ต่ำกว่า  60  %

8.  ผู้ประเมินแจ้งผลการประเมินให้ผู้รับการประเมินทราบเป็นรายบุคคล  โดยผู้รับการประเมินลงลายมือชื่อรับทราบผลการประเมิน  กรณีที่ผู้รับการประเมินไม่ยินยอมลงลายมือชื่อรับทราบผลการประเมิน ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญอย่างน้อย 1 คน ในส่วนราชการระดับกรมหรือจังหวัดนั้นลงลายมือชื่อพยานว่าได้มีการแจ้งผลการประเมินดังกล่าวแล้ว

9. ผู้ประเมินต้องประกาศรายชื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้มีผลงานประเมินราชการในระดับดีเด่นและดีมาก ในที่เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน  เพื่อเป็นการยกย่องชมเชย และสร้างแรงจูงใจให้พัฒนาผลการปฏิบัติราชการในรอบการประเมินต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

10. ผลการประเมินจะนำมาเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นตามขั้นตอนและการจัดสรรเงินตามวงเงินที่ใช้ในการเลื่อนขั้นเงินเดือนในแต่ละรอบ  ทำให้มีความแตกต่างจากแบบเดิมเพราะแต่ละคนมีการเพิ่มเงินเดือนในเปอร์เซ็นที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับผลงานว่าทำตามตัวชี้วัดได้ดีหรือไม่ 

                        เอาละเมื่อทราบกันอย่างนี้เรามาตั้งใจกันทำงานให้มากขึ้นดีกว่า แต่ผ่านมา 4 เดือนแล้วเรายังไม่ทราบตัวชี้วัดที่จะถูกประเมินเลย ปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้นไหมหนอ ?   ไม่เป็นไรหมั่นทำความดีเอาไว้ เพราะสวรรค์มีตาจริงนะ.......

 

                                                                                                                                                 BY    KACHAPORN

หมายเลขบันทึก: 333524เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2010 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สรุปได้สุดยอดเลยค่ะ ขอแจมนิดเดียว คือองค์ประกอบด้านอื่นๆ เช่นงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย หรือ งานที่ไม่ใช่หน้าที่เราโดยตรง อาจารย์ท่านแนะนำให้ระวัง เพราะหากใครที่ทำงานในหน้าที่ดี มีคุณภาพอยู่แล้ว ไปดึงงานอื่นๆ มาพิจารณาด้วย หากงานอื่นๆ ผลงานไม่ดีเท่างานในหน้าที่ ผลการประเมินอาจจะต่ำลงได้ และในเรื่อง การประเมินสมรรถนะ ก็ต้องดูอย่างผู้ปฏิบัติ เขาจะเลิศด้านสภาวะผู้นำได้อย่างไร? เป็นหน้าที่ของผู้ประเมินพิจารณาด้วย...พวกเราไม่ต้องกังวลไป ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ประเมิน และผู้มีอำนาจท่าน พวกเรามีหน้าที่แค่ตั้งใจทำงานให้มีคุณภาพกันดีกว่า(ขยันอย่างเดียวไม่พอนะ) /By Jan

สรุปได้ดีครับ อีกสักพักเราคงจะลงรายละเอียดกัน ต้องเชิญทุกคนมาช่วยคิดครับ / boss

ขอเข้ามาอ่านครับ

คงต้องทำความเข้าใจแล้ว รีบทำเลย

อนุเทพ

ลองทำแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการแล้วก็งงๆ คือต้องผ่านระดับ 1 ทุกข้อก่อน แล้วจึงจะประเมินระดับ 2 ได้ แต่ระดับ

C 7 ต้องผ่าน 2 ระดับ แต่ระดับ 1 ในหัวข้อมุ่งผลสัมฤทธิ์ เราประเมินว่าเรามาสายไม่ตรงเวลามันก็ไประดับ 2 ไม่ได้ แล้วผลจะเป็นอย่างไรต้องโกหกไปหรือ

พยายามทำความเข้าใจ แต่...ก็ยังงงงงง

อ่านบทความแล้วพอจะเข้าใจ แต่ก้ยังสงสัยตัวชี้วัดว่าในจุดงานของเรามี5ตัวเท่ากันแล้วใครจะได้มีผลงานเด่นกว่ากัน

ตามความเข้าใจเราทำตัวชี้วัดเพื่อเพิ่มศักยภาพตัวเองเหมือนกับคนที่ไม่ค่อยทำงาน(เช้าชามเย็นชาม นายไม่อยู่ตูหลบ)ก็จะขยันขึ้นและสร้างความสามัคคี คือถ้าเราร่วมแรงร่วมใจกันผ่านตัวชี้วัดแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท