ความบังเอิญ ที่ "บังเอิญ" พลิกโลก


AI

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งพยายามค้นหา ยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ  ก็ทดลองครับ แนวคิดก็คือเอาเชื้อโรคมาใส่หลอดทดลอง จากนั้นเอาสารเคมีชนิดต่างๆเท่าที่นึกได้ หาได้ใส่ลงไปทีละอย่าง แล้วปิดผนึกไว้ครับ เพราะกันการปลอมปนจากอากาศ ครับ นี่นับเป็นการออกแบบการทดลองที่ถือว่าเป็นขั้นตอนปรกติที่ทำกัน แก็ทดลองมาเรื่อยๆ ก็ไม่เจอ เช้าวันหนึ่งนักวิทยาศาสตร์คนนี้ก็ต้องตกใจครับ เพราะไปสังเกตเห็น หลอดทดลองเปิดอ้าอยู่ คือเมื่อคืนแกลืมเปิดฝาไว้ครับ แต่เมื่อมองไปไกล้ๆ กลับเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด นั่นคืออยูดีๆก็เจอสิ่งแปลกปลอมเขียวๆในถาดทดลอง ไม่พอครับ เชื้อโรคในถาดตายหมดครับ การค้นพบครั้งนี้ นำไปสู่การขยายผลเป็นยาเพนนิซิลินครับ 

คุณคงนึกไม่ออกว่าเรื่องนี้สำคัญยังไง เอาล่ะครับคุณเป็นหนี้การค้นพบโดย "บังเอิญ" ครั้งนั้นครับ ถ้าไม่มียาปฏิชีวนะตัวนี้ ตอนนี้ครับ ถ้าคุณถูกมีดบาด คุณอาจต้องทำอย่างในหนังคือ เอามีดลนไฟ แล้วจี้ไปที่แผลครับ ซึ่งบางที่อาจไม่อยู่ทำให้คุณ ถูกตัดขาตัดแขนได้ ฟังแล้วสยองไหมครับ

นักวิทยาศาสตร์คนนั้นคือท่านเซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่งครับ

สิ่งที่ผมกำลังจะนำเสนอในวันนี้คือ "ความบังเอิญ" ครับ การค้นพบครั้งสำคัญของมนุษย์เกิดจาก อะไรที่ "แลบ" ออกมาจากระบบอันเข้มงวดครับ

ศาสนาพุทธ เริ่มต้นตอนที่พระพุทธเจ้า เดินเที่ยวในเมืองแล้ว เจอคน เกิด แก่ เจ็บ ตาย โดย "บังเอิญ" แล้วถ้าวันนั้น "บังเอิญ" พระพุทธเจ้าเจอแค่คน "เจ็บ" อย่างเดียวล่ะครับ จะเกิดอะไรขึ้น ครับผมเชื่อว่า ตอนนี้เราอาจไม่อยู่กันตรงนี้แล้วครับ เพราะโลก อาจได้หมอเทวดาที่เก่งที่สุดในโลก ทำให้การแพทย์รุดหน้าตั้งแต่ 2500 ปีก่อน ทำให้คนไม่ตายง่าย แล้วส่งผลให้ประชากรล้นโลก จนฆ่ากันตายหมดไปสักเมื่อพันปีที่แล้วก็ได้  

ย้อนกลับมายุคปัจจุบันสักปี 70 นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่อยู่ในห้องทดลองคลื่นไมโครเวฟ สังเกตว่ามีอะไรอุ่นๆที่กระเป๋า เวลาเข้าห้องทดลอง ปรากฏว่าเป็นแฮมเบอร์เกอร์ที่เขาลืมเอาออกจากกระเป๋าก่อนเข้าห้องทดลองนั่นเอง ข้อสังเกตของเขานำไปสู่การพัฒนาเตาไมโครเวฟที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ครับ 

เห็นไหมครับ "ความบังเอิญ" นำไปสู่การค้นพบครั้งสำคัญครับ ในการวิจัยเราไม่ค่อยสนใจประวัติศาสตร์กันเท่าไร เราชอบไปต่อยอดจากงานเขียนของคนอื่นครับ เวลาเราออกแบบการทดลอง หรือเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย เราจะกลัวกันมาก เรื่องการ "ควบคุม" ตัวแปร เรากลัวที่จะมี Bias กัน

จริงหรือครับ ที่เราต้องกลัวกันขนาดนั้น ทั้งๆที่การค้นพบเกิดครั้งสำคัญ เกิดจากการค้นพบอะไรที่ดูไม่ค่อยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำอยู่เลย เป็นความ "บังเอิญ" แทบจะทั้งสิ้น หรือที่เรียกกันว่า "Bias" ทั้งสิ้น

ในมุมมองของผมเอง การศึกษาไม่ว่าจะทางวิทยาศาสตร์ หรือทางธุรกิจ ต้องสนับสนุนให้นักศึกษา นักวิจัยสังเกต "หาสิ่งที่เกินๆ หรือสิ่งผิดปรกติ หรือสิ่งที่ดีกว่าปรกติ" ครับ ไม่ใช่จะพยายามกำจัด Bias กันท่าเดียวครับ หรือจะหาแค่ค่าเฉลี่ย ที่นำไปสู่เพียงความ "มั่นใจ" ของนักวิจัย แต่เอาไปทำอะไรไม่ได้ครับ

เราต้องไม่พยายามสร้างนักวิจัยอย่างเดียว แต่เราควรสร้าง "นักเฉลียวใจ" ด้วยครับ เป็นคนเดียวกัน จะบรรเจิดยิ่งครับ 

ในอดีตถ้าเราไม่เจอ "นักเฉลียวใจ" เราจะไม่มียาดีๆ มีศาสนาดีๆ มีเครื่องครัวดีๆ และอีกสะมะปิ (ภาษาอีสาน แปลว่า และอื่นๆ ครับ)

เขียนเพื่อวันนักประดิษฐ์ไทย วันที่ 2 กพ.ครับ  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 333241เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ชอบบทความนี้จังเลยค่ะ อาจารย์

หากว่า คนเรามีความฉลาด และเฉลียว

แม้ว่า ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์

แต่ก็ถือว่าเราเป็นนักสังเกตการณ์ที่ดี จริงมั้ยคะ

ขอบคุณ ที่เสนอสิ่งดีๆ สารประโยชน์แก่ทุกคนค่ะ

แจ๋วแหวว

ใช่ JW

ผมอยากตั้งชื่อว่า "นักเฉลียวจัย" แทน "นักวิจัย" จังเลย แต่เกรงว่าเขาจะหาว่าทำภาษาวิบัติครับ

เป็นบทความที่สะท้อนแง่มุมดีๆครับอาจารย์

ความ "บังเอิญ" มันสร้างสิ่งใหม่ๆให้กับโลกนี้มากมายจริงๆ

เขาถึงบอกกันว่า คนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ต้อง ช่างสังเกคุ

ถ้าคิดเล่นๆนะครับอาจารย์ ถ้าโลกนี้เต็มไปด้วยนักสืบชื่อดัง อย่างเชอร์ล็อคโฮม เดินอยู่ทั่วไปตามท้องถนน

โลกเราอาจจะก้าวหน้าไปไกลกว่าทุกวันนี้ก็เป็นไปครับ เพราะนักสืบพวกนี้มีความ"เฉลียว"เต็มเปี่ยมเลยนะครับ

ขอบคุณครับ ^^

แวะมาอ่านบันทึกดีมีสาระพร้อมเยี่ยมเยียนอาจารย์ขอรับ..

บ้างครั้ง เรื่องที่มันบังเอิญเกิดขึ้นก็นำพาเราไปสู้การค้นพบและเรียนสู้สิ่งใหม่ๆนะคะ

ช่างเป็นความบังเอิญที่แจ่มมากเลยครับอาจารย์

เป็นบทความที่ดีมากครับ

ชอบบทความ ของ อาจารย์จังค่ะเลย

ความบังเอิญ บางที ก็เป็นบ่อเกิดของสิ่งใหม่ๆ

บุญรักษาค่ะ ^_^

นมัสการพระคุณเจ้า และทุกท่านที่แวะมาครับ เขียนตอบมากไม่ได้ มือเดี้ยงครับ

ผมเองก็ เฉลียว(วิ)จัย บ่อยๆนะครับ

แต่ยังทำเป็นรูปเป็นร่างไม่ได้ซักที

คราวนี้มาแนวใหม่ อาจารย์จะพอมีเวลาว่าง

ฟังผม เม้าท์ ได้ไหมครับ

 

ผมจะเปิด บ.เล็กๆ ที่ พลิกโลกครับ

เสาร์+อาทิตย์จะเข้าไปพบครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท