12. ประวัติคำตากล้า


ประวัติคำตากล้า ขุนศรีสุรเกษม

วันนี้ค้นพบเอกสารสำคัญที่จะ อ้างอิงประวัติอำเภอคำตากล้าได้

เพราะเอกสารชิ้นนี้มีอายุ  94   ปี  นับถึง  ปี  2553  คือเอกสาร จดทะเบียฬ นามสกุล

"สีสุราช"  ซึ่งเป็นตระกูล  สำคัญ ในอำเภอคำตากล้า

พร้อมทั้งภาพถ่าย เก่าแก่  ของ "ขุนศรีสุรเกษม"  กำนันคนสำคัญของ คำตากล้าเมื่ออดีตค่ะ

ใบจดทะเบียนนามสกุล พ.ศ 2459

ขุนศรีสุรเกษม

หมายเลขบันทึก: 333188เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 05:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

รัชกาลที่ 5  ทรงครองราชย์ในช่วงปี   พ.ศ 2411- 2453

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัยศึกษาพระธรรมวินัย ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 และเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะทรงมี พระชนมพรรษาเพียง 16 ปี โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราช การแทนพระองค์ จนทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2416 เสด็จ ครองราชย์นานถึง 42 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453

รัชกาลที่ 6  ครองราชย์  เมื่อ พ.ศ.2453-2468

พระราชบัญญัติขนานนามสกุล

ภุมวารสิริสวัสดิ์-มานมนัสรมณีย์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ค่ะ


สืบเนื่องมาจาก ภูมิพิสัยวิสุทธิวรพงศ์


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา "พระราชบัญญัติขนานนามสกุล" เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

แต่ได้เลื่อนเวลาบังคับใช้ออกไปอีก ๒ คราว เป็นวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ และบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖

นามสกุลที่ได้รับพระราชทานครั้งแรก ๕ สกุล คือ

๑) สุขุม พระราชทาน เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล

๒) มาลากุล พระราชทาน พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) เสนาบดีกระทรวง
ธรรมการ กับ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิการณาธิบดี) เสนาบดีกระทรวงวัง


๓) พึ่งบุญ พระราชทาน พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยารามราฆพ) จางวางมหาดเล็กห้อง พระบรรทม

๔) ณ มหาไชย พระราชทาน พระยาเทพทวาราวดี (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำเรอบริรักษ์) อธิบดีกรมมหาดเล็ก

๕) ไกรฤกษ์ พระราชทาน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ อธิบดีกรมชาวที่ และ พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยามหิธร) กรรมการศาลฎีกา

นามสกุลสุดท้ายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน คือ ตันตริยานนท์ พระราชทานแก่ นายประดิษฐ์ ผู้ช่วยนายเวรกรมบาญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ปู่ชื่อตันก๊กเหลียง บิดาชื่อตันเต็งหยง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘

ขอบคุณข้อมูลค่ะ(http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2009&date=25&group=16&gblog=88)

จากข้อมูลข้างต้น พอจะประมาณได้ว่า

      "ท้าวสีหาราช"  มีชีวิตอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 5   ท่านไปจดทะเบียนนามสกุลเมื่อ พ.ศ2459   นั้นอายุมากแล้ว  มีลูกมีหลาน อ่าน เขียนได้ จึงคาดว่าคำตากล้าน่าเกิดชุมชน ก่อนหน้า พ.ศ.2459  สัก 30   ปี คือประมาณ พ.ศ.2429 

        และอาจารย์บุญเลิศ ศรีสุราชเล่าว่า  ประมาณ ปี 2420  กลุ่มชนนี้อพยพมาจาก

แขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนลาว และมาตั้งรกรากอยู่ที่ อ.เรณูนคร

ก็ใกล้เคียงความจริง

     "ท้าวสีหาราช"  เป็นนักรบ

   อาจารย์บุญเลิศ  ศรีสุราชเล่าว่า  "ท้าวศรีหราช "เป็นนักรบ มีความชอบจากการไปรบ

จนได้รับแต่งตั้งเป็น"หลวงคำมุงคุณอาณาเขต" ต่อมาการไปรบนั้นมีการพ่ายแพ้  ต้องฆ่าฟันมนุษย์ด้วยกัน มีคนตายเจ็บ ทั้งเด็กและสตรี  ท่านเกิดสลดใจ จึงพาญาติพี่น้อง  9 คน อพยพ ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย จนได้แหล่งเหมาะ แก่การทำมาหากิน คือ ดินแดนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำคำ เหมาะแก่การปลูกข้าวกล้า  จึงเรียก"คำตากล้า"

       ในการอพยพนั้น มี ช้าง 7  เชือก ม้า 11 ตัว วัวต่าง 14 ตัว วัวนั้นลากเกวียน

ขนข้าวของ  ชนกลุ่มนี้จึงนับว่า เป็นกลุ่มหนึ่ง  พักตรงไหน ก็เป็นหมู่บ้านตรงนั้นได้

สงครามในสมัยรัชกาลที่ 5

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ไทยเกิดกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนที่ฝั่งแม่น้ำโขงกับฝรั่งเศส ทำให้เกิดการสู้รบกันขึ้น ด้วยความห่วงใยทหารที่บาดเจ็บ สตรีไทยชั้นสูงในสมัยนั้น มีท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นหัวหน้า ได้คิดตั้งองค์การหนึ่งเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากของทหาร ทำนองสภากาชาดของต่างประเทศ และได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขอให้ทรงเป็นชนนีผู้บำรุงในการจัดตั้งองค์การนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบก็พอพระราชหฤทัยในความคิดอันเป็นการกุศลนี้ จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งองค์การนี้ขึ้น โดยใช้นามว่า "สภาอุณาโลมแดง" สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงเป็นสภานายิกาพระองค์แรก และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการินี งานสำคัญของสภาอณาโลมแดงคือ จัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปบำรุงทหารในสนามรบ (http://kungrattanakosin.site90.com/web9.html)

จากข้อมูลนี้ทำให้ทราบว่า การไปรบของ"ท้าวสีหราช" น่าจะเป็นการรบที่เกี่ยวข้องกับ

ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเพราะ เท่าที่ "คุณยายคำเบ็ง"  คุณแม่ของอาจารย์บุญเลิศเล่าให้ฟัง  ท่านบอกว่า "ปู่สีหราช ไปรบฝั่งโน้น" ฝั่งลาว

ศรีสุราช(เสียชีวิตแล้ว)

สวัสดีค่ะคุณนงนาท

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายค่ะ และมาเป็นกำลังใจด้วยช่อดอกไม้สวย ๆ ค่ะ

น้องบุษรา

      ขอบคุณค่ะ ดอกไม้สวยน่ารักจังเลย

เป็นของมีคุณค่าค่ะพี่

สบายดีนะคะ

เยี่ยมยอดเลยค่ะพี่เตือน..ระลึกถึงเสมอนะคะ..

.

P
  ขอบคุณค่ะคุณนง
 นอนบ้านใหม่ฝันดีมั๊ยคะ
นุกูล สะแสงสาร (เจ๊ก)

ขอบพระคุณมากครับ ครูเตือน ผมเพิ่งรู้ นะเนี่ย ว่า คำตากล้ามีที่มายังงี้ ................................ผมก็คนคำตากล้าครับ

คุณเจ็ก

ครูจำได้เสมอ เจ็กน่ะวาดรูปเก่ง และวิชาอื่นก็เก่งด้วย

ดีใจ ที่ลูกศิษย์เข้ามาอ่าน ค่ะ มีข้อมูลเพิ่มเติมก็เอามาลงนะคะ

ยินดีต้อนรับคนคำตากล้าทุกคนค่ะ

สิริลักษณ์ อินทรศรี

ขอบพระคุณมากมายค่ะครูเตือน สำหรับความรู้และการสืบสาวราวเรื่องเกี่ยวกับบรรพบุรุษ

สวัสดีค่ะ  น้องสิริลักษณ์

      ยินดีเสมอค่ะ  เรามีประวัติ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ น่าภาคภูมิใจ นะคะ ต้องช่วยกันรักษาไว้โดยเฉพาะ ภาษาพูด ไม่อยากให้เพี้ยนค่ะ 

พยายามศึกษากับผู้เฒ่า ผู้แก่ แล้วธำรง รักษาไว้นานๆค่ะ

สิริลักษณ์ อินทรศรี

อยากกอดพ่อกับแม่ค่ะ แต่ไม่มีโอกาสนั้นอีกแล้ว ก็เลยกอดความดีแทน

ถึงจะจากมาอยู่ไกลแค่ก็ไม่เคยลืมภาษาภูไทบ้านเฮาเลยค่ะ ครูเตือน

สวัสดีค่ะ..สิริลักษณ์

    คิดถึงบ้านล่ะสิ ครูจะให้ชมภาพท้องนา ใกล้หนองสามขา  ให้ดูนะคะ

ช่วงนี้แม้ ฝนจะตกน้อย แต่ข้าวก็ขึ้นเขียวพอใช้ได้เลยล่ะ

อย่าลืมบ้านเกิดเรานะ ..อยู่ที่ไหนก็ไม่เหมือนบ้านเรา จ้า

ครูเตือนเก็บมะเฟืองจากสวนเยอะแยะเลยค่ะ

สิริลักษณ์ อินทรศรี

ขอบคุณมากมายสำหรับวิวทุ่งนาข้างหนองสามขาค่ะ หนูคิดถึงบ้านจัง ฝากกราบสวัสดีและรำลึกถึงครูต้อมด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะครูเตือน   ดิฉันแวะเข้ามาอ่านประวัติคำตากล้าแล้ว  รู้สึกรักและห่วงแหนบ้านเกิดมากยิ่งขึ้นค่ะ

ขอบคุณที่มีตำนานดีๆมาเล่านะคะแล้วจะแวะเข้ามาอ่านใหม่นะคะ

อยากรู้ความเป็นมามากกว่านี้อ่ะค่ะที่มีเก้าคนอ่ะมีชื่อว่าไรบ้างอยากรู้ค่ะ

รายชื่อบรรพบุรุษ เก้าท่านอยู่ตรงนี้ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/tuanjai23/343355

ขอบคุณที่สนใจค่ะ

บรรพบุรุษมาจากมหาไชยกองแก้วแขวงคำม่วน คุณทวดนามสกุลศรีสุราช แต่ทวดเกิดแถวคุ้มวัดเหนือ ต.เชิงชุม ในเมืองสกลนครและเป็นญาติพี่น้องกับนามสกุลศิริขันธ์

แขวงคำม่วนเป็นถิ่นเดิมของบรรพบุรุษ ของพวกเราค่ะ ตอนนี้อยู่ไม่ไกลแล้ว มีสะพานข้ามไปถึง จากนครพนม น่าไปเที่ยว ย้อนรอยประวัติศาสตร์นะคะ

รู้สึกดีใจปนเสียใจครับที่ได้อ่านบทความนี้ ดีใจที่ได้ทราบความเป็นมาของตระกูลตัวเอง ได้ฟังคุณตาเล่ามาเมื่อครั้งยังเด็กเหมือนกันครับ ว่าคุณทวด(ไกรสร)ท่านเป็นคนแรกๆที่มาก่อตั้งอำเภอนี้น่าภูมิใจครับ แต่ก็เสียใจที่หลายคนในสกุลนี้ก็ต่างทยอยล้มหายตายจากไปหรือไม่ก้อแต่งงานเปลี่ยนสกุลไปก้อเยอะ แต่ก้อขอบคุณครับที่ยังมีคนในสกุลนี้คนหนึ่งยังมีเจตจำนงค์ ที่จะสืบค้นและเก็บเรื่องที่น่าทรงจำแบบนี้ให้ลูกๆหลานๆได้ระลึกถึง ว่าเค้ามีที่มาที่ไปอย่างไร ขอบคุณมากครับ ถ้ามีโอกาสคงได้กลับไปเหยีบแผ่นดินแม่อีกครั้ง จากสายเลือด ศรีสุราช พลัดถิ่น (หลานคุณตา สุวรรณ คุณยาย คำเบ็ง ลูกแม่ ทวีภรณ์ ศรีสุราช )

ลูกหลานของคุณแม่ทวีภรณ์ ศรีสุราช ยังภาคภูมิใจในคำสั่งสอนของคุณยายทวีภรณ์ ให้ลูกหลานตั้งมั่นในความดีและตั้งใจเล่าเรียน ในสายเลือดที่บรรพบุรุษมีความน่าภาคภูมิใจ( จากหลานคนหนึ่งของคุณยายทวีภรณ์ )

จิราภรณ์ ราชสินธุ์

สวัสดีค่ะ ครุต้อม เกิดเป็นลูกหลาน บ้าน คำตากล้า มานานแล้วพึ่งรู้ว่าบรรพบุรุษเรามาจากไหน...


นางหวานใจ พรมกาวงศ์

ดีใจมากที่ได้อ่านประวัติของอำเภอคำตากล้า ทำให้ย้อนนึกถึงบรรพบุรุษของพวกเรา เป็นสิ่งที่ดีที่คุณป้าเตือน ได้เขียนบันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้อ่าน ขอบคุณมากนะคะ หนูกำลังค้นหาประวัติหมู่บ้านบ้านหนองพอกใหญ่ แต่ที่ได้มา มีรายละเอียดไม่มาก ป้าเตือนพอจะทราบไหมว่า ประวัติบ้านหนองพอกใหญ่ เป็นอย่างไร

หนองพอกใหญ่ ใกล้ชิดกับคำตากล้ามาก ศรีสุราชไปอยู่หนองพอกใหญ่ก็เยอะ แต่ที่แน่ๆคือเป็นผู้ไท น่าจะมาจาก

แขวงคำม่วน เหมือนกันค่ะ


แล้วถ้านามสกุล สีสุราช เลยนี่ บรรพบุรุษจะมาจากท่านเดียวกันหรือเปล่าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท