สัญลักษณ์แฝงคติในวรรณกรรม


สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน

             

 

             สัญลักษณ์แฝงคติ หรือ อุปมานิทัศน์ (ภาษาอังกฤษ: Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน

             สัญลักษณ์แฝงคติมิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ

            ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “สัญลักษณ์แฝงคติ” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “วจนะเปรียบเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น  (parable) จะเป็น “วจนะเปรียบเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว

            ความหมายของ “สัญลักษณ์แฝงคติ” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “วจนะเปรียบเทียบ” ฉะนั้นในงาน “สัญลักษณ์แฝงคติ” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “วจนะเปรียบเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “สัญลักษณ์แฝงคติ” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้)ไม่ใช่สัญลักษณ์แฝงคติหรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบสัญลักษณ์แฝงคติไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน ...”

 

             นามธรรม คือ ความคิด ความเห็น หรือข้อความที่อ้างถึงปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์หนึ่งหนึ่ง ที่ออกมาเป็น รูปธรรม นามธรรมคือกระบวนการคิดที่ไม่ได้ก่อเกิดจากตัวตนของวัตถุจริงและไม่มีรูปร่าง นามธรรมเกิดมาจากความคิดและอารมณ์ในการสร้างกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติการซึ่ง ในรูปแบบนามธรรมในบางครั้งใช้ในการกล่าวถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่ยกขึ้นมาในบางกรณีเหตุการณ์จริงที่เป็นรูปธรรมยากต่อการพูด หรือยากต่อการเข้าใจ โดยการกล่าวถึงในทางนามธรรมนั้น จะต้องมีการกล่าวโดยให้เข้าใจกันทั้งสองฝ่าย จากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

 

             พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ได้ให้นิยามความหมายของคำศัพท์ทางศาสนาไว้ในพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด อาทิ

              กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก 

              กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่

             กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจของคน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต

 

ประเภทของกิเลส

             1.อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต

            2.โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ

           3.โมหะ ความหลงใหล ความโง่

           4.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา

           5.ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ

           6.วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ

           7.โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ

           8.ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา

           9.อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต

          10.มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง

 

           กาม - ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่,  กามมี ๒ คือ  ๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่(เกิดแต่จิตและอาสวะกิเลส)เป็นเหตุ   ๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

           กามคุณ - ส่วนหรือสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

           กามตัณหา - ความทะยานอยากในกามหรือทางโลกๆ คือใน รูป,รส,กลิ่น,เสียง,สัมผัส ทั้ง ๕

          กามฉันทะ - ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)

         กามราคะ - ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม  (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑ ในอนุสัย ๗)

         กามภพ - ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่  อบายภูมิ ๔   มนุษยโลก   และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตสวัตดี  รวมเป็น ๑๑ ชั้น (ข้อ ๑ ในภพ ๓)

         กามาวจร - ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม

 

         ความรัก เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกเกี่ยวกับ การชอบ, การผูกพันทางจิตใจกับบางสิ่งบางอย่าง คำว่ารักมีความหมายในหลายแง่มุมซึ่งทั้งลึกซึ้งและกว้างขวาง ต่างคนต่างมีความรักต่อผู้อื่นแตกต่างกัน ดังนั้นจึงยากต่อการอธิบายและให้คำนิยามคำว่ารักแบบเฉพาะเจาะจง รักเป็นความสัมพันธ์ซึ่งไม่ได้อยู่ลอยๆ หากมีรักก็จะต้องมีผู้ซึ่งเป็นฝ่ายรักและอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ถูกรัก ความรักเป็นนามธรรมจึงไม่อาจมองเห็น ไม่อาจจับต้อง ไม่อาจวัดปริมาณได้ โดยทั่วไปแล้ว ความเสียหายหรือการจากไปของสิ่งรักจะนำมาซึ่งความโศกเศร้าแก่ผู้รัก เนื่องจากผู้รักได้ให้คุณค่าแก่สิ่งนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความโศกเศร้าจะมากหรือน้อยขึ้นกับคุณค่าที่ผู้รักกำหนดให้กับสิ่งที่ตนรักนั้น ความรักไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงมนุษย์ สัตว์ต่างๆ ก็แสดงปรากฏการณ์ทางความรักให้เห็น เช่น การปกป้องลูก

         นักปราชญ์ทั่วโลกพยายามหาความหมายที่แน่นอน หรือหานิยามของคำว่าความรัก แต่ไม่มีใครสามารถหาข้อสรุปได้ว่าความรักนั้นมีนิยามเช่นไร

         เทวดาที่เกี่ยวข้องกับความรัก คือ กามเทพของศาสนาฮินดู และคิวปิดในตำนานความเชื่อของกรีก

 

 

หมายเลขบันทึก: 332925เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2010 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท