สร้างสื่ออย่างไรให้ถึงใจชาวบ้าน...เรื่องเล่าจากหมออนามัย


หมออนามัยท่านหนึ่ง (หากเจ้าของเรื่อง หรือท่านที่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามพร้อมที่อยู่ของหมออนามัยท่านนี้   กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะครับเผื่อมีใครสนใจจะแลกเปลี่ยนในรายละเอียดต่อไป)  เล่าให้ฟังว่า....

การทำงานกับชุมชนหลายครั้งจำเป็นที่จะต้องมีสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการรณรงค์  เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร  หรือจะเป็นการแจ้งวิธีการป้องกันโรคให้ชุมชนทราบนั้น    สิ่งที่ยากคือทำอย่างไรให้สื่อนั้นเข้าถึงใจชาวบ้านได้จริง  สนใจฟังมากขึ้น

หมอจึงได้คิดค้นการทำประชาสัมพันธ์ร่วมกับชุมชน   โดยหาคนที่มีความสามารถด้านการแต่งเพลง (เพลงพื้นบ้านที่ชาวบ้านคุ้นเคย อาจจะเป็นหมอลำ  ลำตัด  ลิเก  แล้วแต่พื้นที่)  มาช่วยกันสร้างทำนองให้เหมาะสมกับเนื้อหาของสื่อ   จากนั้นก็ไปจ้างบันทึกที่ห้องอัดเสียงที่พอหาได้ในจังหวัด  โดยก็เอาชาวบ้านอีกนั่นแหละเป็นคนร้อง   ก็จะได้เพลงที่เป็นของชาวบ้านเอง  ฟังแล้วเรียกความสนใจของชุมชนได้มากทีเดียว   ชุมชนภูมิใจว่าเป็นผลงานของตน

แต่หมออนามัยท่านนี้ค่อนข้างเสียสละมากทีเดียวครับ  เพราะต้องหาทุนเองในการอัดบันทึกเสียง  ที่จริงกิจกรรมดีๆอย่างนี้น่าจะมีสปอนเซอร์นะครับ    ส่วนกลยุทธ์ในการเผยแพร่ก็น่าสนใจอีกครับ   หมอเล่าต่อว่า   ใช้รถเร่ขายน้ำปลา (ซึ่งมีเข้าออกหมู่บ้านบ่อย) ช่วยนำเพลงที่บันทึกเสียงชาวบ้านนั้นไปเปิดขยายเสียงในระหว่างที่เร่ขายน้ำไปด้วย

จะเห็นว่าเรื่องเล่าเรื่องนี้มีความรู้เชิงปฏิบัติอยู่มากทีเดียว  ชนิดไม่มีในตำรานะครับ   อ่านแล้วช่วยกันตีความดูซิครับว่าในเรื่องเล่าเรื่องนี้  มีความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) อะไรอยู่บ้าง  ไม่มีผิด  ไม่มีถูกครับ   มองต่างมุมกันได้   ลองมาช่วยกันดึงความรู้ในคนออกมาดูซิครับ 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3313เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2005 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     ผมก็เป็นหมออนามันคนหนึ่งครับ อยากเชิญชวนท่านเข้าร่วมกับชุมชน วิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท