พระราชบัญญัติลูกเสือ มีกี่ฉบับ มีสาระสำคัญ อะไรบ้าง?


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ ตราเป็นพระราชบัญญัติลูกเสือ ประกาศใช้สืบต่อมา...........

พระราชบัญญัติลูกเสือ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ ตราเป็นพระราชบัญญัติลูกเสือ ประกาศใช้สืบต่อมาถึง 5 ฉบับ คือ 

   1. พระราชบัญญัติลูกเสือ  พ.ศ. 2507

   2. พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2509

   3. พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528

   4.  พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530  และ

    5. พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2551 ให้สำนักงานลูกเสือมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและตามนโยบายของสภาลูกเสือไทย ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ  สำนักงานลูกเสือจังหวัด  สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา  และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ และสนองพระราชปณิธานอันแรงกล้า ที่ทรงมองไกลเห็นประโยชน์ของการพัฒนาเยาวชนส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศชาติเป็นสำคัญตามความในมาตราที่  8  พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 5)  พ.ศ. 2551  ให้ไว้  ณ  วันที่ 26  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2551  (เป็นปีที่ 63 ในรัชกาลปัจจุบัน) กำหนดวัตถุประสงค์คณะลูกเสือแห่งชาติ เป็นกฎหมายให้ยึดถือปฏิบัติ  ดังนี้

“  คณะลูกเสือแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทาง  ดังต่อไปนี้

1.  ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง

  2.  ให้ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

  3.  ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์

                  4.  ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

                  5.  ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณีวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ ”

 วัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับความใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  2542 หมวด 1 มาตรา 6 ที่ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั่งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ”  และมาตรา 7 ว่า “ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่  เสรีภาพ  ความเคารพกฎหมาย  ความเสมอภาค  และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา  ศิลปวัฒนธรรมของชาติ  การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล  ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์  ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง”

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 330397เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2010 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาอ่านและเก็บความรู้ไปแล้วนะคะ  ขอบคุณมากนะคะ  มีความสุขมากๆๆนะคะ

กำลังจัดทำคู่มือครูลูกเสือสำหรับผู้บังคับบัญชาน้องใหม่/ครูผู้ช่วย ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้เก็บเกี่ยวไป ขออานิสงส์จากวิทยาทานครั้งนี้ ดลบันดาลให้ท่านมีความสุขความก้าวหน้าในหน้าที่การงานนะคะ...สำหรับผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน

ขอบคุณครูอ้อย และครูหน่อย

 

อยากทราบว่า พรบ.ใหม่ลส.ที่บอกว่าผู้ที่ผ่านATC มาแล้วของเก่า 2 ปีหมดอายุของใหม่ 5 ปีหมดอายุจริงไหมค่ะถ้าทราบจริงช่วยส่งเมล์มาบอกด้วยนะค่ะจะเปิดกองแต่หมดอายุผ่านมาแล้วแต่ยังไม่ถึง 5 ปี ไม่อยากไปฝึกใหม่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท