Kittiphong_t
นาวาเอก กิตติพงศ์ ทิพย์เสถียร

โบนัส


โบนัส แรงจูงใจ ทำอย่างไรให้ไม่เกิดปัญหา

    เมื่อไม่กี่ปีมานี้  ระบบโบนัส หรือเงินรางวัล ก็ได้เข้ามามีบทบาทในวงการราชการไทย  ซึ่งแต่ละส่วนราชการก็จะมีวิธีการจัดการแบ่งสรรปันส่วนที่แตกต่างกันไป  แต่ที่แน่ ๆ คือเขาห้ามนำมาหารเท่า 

    ในมุมที่ดีของการมีโบนัส คือ ก็เป็นการสร้างแรงจูงใจ รวมทั้งเป็นการช่วยสร้างชุมชนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในระดับปฏิบัติที่รู้สึกว่าลงแรงเยอะแต่ได้กลับมาน้อย/ไม่ได้เลย ในขณะที่เขาเหล่านั้นรู้สึกว่ามีคนบางกลุ่มน่าจะเหนื่อยน้อยแต่ได้เป็นกอบเป็นกำ 

    แต่ก็ยังมีอีกด้านที่น่าคิดหนึ่งคือ เงินรางวัลที่แต่ละส่วนราชการได้จะผูกกับผลคะแนนประเมินของรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA) ดังนั้น การประเมินที่เคร่งครัดและจริงจังเพื่อหวังผลในการพัฒนาในอนาคต หรือยอมได้น้อยในวันนี้เพื่อจะได้เต็มร้อยในวันข้างหน้า ก็จะนำมาซึ่งเงินรางวัลที่น้อยตาม  ทีนี้หากประเมินให้ได้ 90 กว่า ๆ แบบหลอกตัวเองนิดหนึ่ง  อาจจะได้เงินรางวัลมากในปีนี้ แต่การพัฒนาให้ได้ร้อยเต็มในวันข้างหน้าจริง ๆ อาจจะยาก เพราะเราจะมองเห็นประเด็นในการพัฒนาตัวเองได้ไม่ชัด 

    แน่นอนครับ ถ้าวันดีคืนดีเราไปบอกกับผู้บริหารว่าปีนี้จะประเมิน PMQA โดยตอบคำถามแบบจริง ๆ ทุกประการ คะแนนจะน้อยก็ช่างมัน  เงินรางวัลไม่สน  แต่เราตั้งใจจะพัฒนาองค์การอย่างเต็มที่ อนาคตเราจะไปได้อย่างถูกต้องและมั่นคง  คำตอบจากผู้บริหารจะเป็นอย่างไร นะ

   แล้วถ้าหากคิดแปลกออกไปว่า ก.พ.ร. จะจัดสรรเงินรางวัลให้หน่วยนำร่องที่กล้าตอบทุกคำถามตรง ๆ ยอมแสดงตัวตนจริงว่า ขณะนี้ผมไปได้เพียงเท่านี้นะ  ผมต้องพัฒนาอีกเยอะ  ที่คุณถามมาผมไม่เคยทำหรือทำได้แต่ไม่ดีนักหรอก  ก็น่าจะดีเหมือนกัน

   ฝันเล่น ๆ นะครับ  

หมายเลขบันทึก: 329756เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2010 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท