Easy Asthma/COPD clinic


กลุ่ม Short acting beta agonist ชนิดกิน ( ของเราก็คือ Salbutamol Tb ) ไม่มีในมาตรฐานการรักษาแล้ว แต่เราอาจจะยังให้อยู่ ในผู้ป่วยที่พ่นยาไม่เป็น ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรเปลี่ยนไปเป็นยาพ่นให้หมด

 เมื่อ 19 มค 53 ไปประชุมเรื่อง easy asthma clinic ที่ โรงแรมกรุงศรีริฟเวอร์  จ. อยุธยา ก็มีบางประเด็นที่อยากจะมาอัพเดทพวกเรากันลืม และผมก็ได้คุยกับอาจารย์ นพ .วัชรา เพื่อสอบถามข้อสงสัยบางอย่างพอมาสรุปให้พวกเราดังนี้

   1 . Easy asthma clinic ได้ทำการประยุกต์จาก GINA guideline ซึ่งเป็นมาตรฐานการรักษาหืดที่ใช้กันอย่างสากล แต่ easy asthma clinic จะสะดวกและง่ายกว่ามาก เหมาะกับ รพช. มากๆ

  2 Inhaled corticosteroid (ICS) ก็ยังเป็นยาหลักเช่นเดิมในการรักษา ของเราก็มี Budesonide MDI

  3 ถ้าใช้ ICS แล้วไม้ดีขึ้นก็แนะนำให้เสริม Long acting beta agonist (LABA) ของเราก็มี Sereflo ( ICS+LABA)

  4 ถ้าไม่ดีขึ้นอีกก็เสริม Theophylline (Theodure ) หรือบางครั้งอาจต้องให้ Steroid กินระยะสั้น

  5 .การดูผล ICS หรือ ICS+LABA ต้องรอดู 2 สัปดาห์ไปแล้วจึงจะปรับยาได้  และหลังจากอาการดีแล้ว ( ไม่หอบ,ไม่พ่นยา, ไม่มา ER หรือ Admit , PEFR> 80% ) ให้คงขนาดยาเดิมไปอย่างน้อย 3-6 เดือนจึงพิจารณาลดยาลงทีละน้อย

  6. กลุ่ม Short acting beta agonist ชนิดกิน ( ของเราก็คือ Salbutamol Tb ) ไม่มีในมาตรฐานการรักษาแล้ว แต่เราอาจจะยังให้อยู่ ในผู้ป่วยที่พ่นยาไม่เป็น ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรเปลี่ยนไปเป็นยาพ่นให้หมด

  7 . สำหรับ COPD ตอนนี้ไม่ค่อยมีอะไรแตกต่างจาก asthma มากนัก อาจารย์วัชรา จึงแนะนำให้ทำเหมือน asthma ไปเลยเพื่อความง่าย

                                                          boss

คำสำคัญ (Tags): #copd#easy asthma
หมายเลขบันทึก: 329567เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ง่ายจริงๆ ค่ะ แล้วข้อ 6 เราจะทำเลยไหมคะ แล้วกรณี Attack มามีอะไรเปลี่ยนแปลงไหมคะ?/By Jan

เคยไปร่วมเป็นวิทยากรที่โรงแรมเอเซีย

เห็นความก้าวหน้างานกลุ่ม Asthma มาก

อ วัชราเก่งมากค่ะ

การใช้ยาพ่นในเด็กค่อนข้างสอนยาก แต่เคยทดลองในเด็กที่บ้าน(อายุประมาณ 6 ขวบ) ใช้ขวดน้ำดื่มแบบใสขนาดเล็กมาเจาะรูก้นขวดให้พอดีกับกระบอกยาพ่น เวลาจะใช้ก็พ่นยาใส่ไปในขวด แล้วให้เด็กสูดลมหายใจเข้าออกทางปากขวดโดยไม่ต้องถอนปาก(เด็ก)ออก และต้องไม่ลืมหายใจทางจมูกพร้อมกันไปด้วย... ไม่อย่างนั้นควันยาจะออกทางจมูก วิธีนี้ก็ดูใช้ง่ายสำหรับเด็กที่บ้านแต่ไม่รู้ว่าตัวยาจะเกาะอยู่ที่ขวดจนได้ฤทธิ์ยาน้อยลงหรือเปล่า (เด็กที่บ้านก็หายหอบเหนื่อยดี) และมีข้อแตกต่างระหว่างการใช้ Spacer ช่วยพ่น อย่างไร (ไม่นับในข้อที่สะดวกกว่า ง่ายกว่า) ใครช่วยตอบทีค่ะ

เป็นการประยุกต์พ่นยาในเด็กที่น่าสนใจ ปกติพ่นยาในเด็กก็ต้องใช้กระบอกช่วยพ่นที่ครอบทั้งปากและจมูกนั้นถูกแล้วครับ แต่ของที่มีขายยังราคาแพงอยู่ ส่วนที่เรามีอยู่เอาไว้ใช้กับผู้ใหญ่ที่ควบคุมการสูดทางปากได้ ถ้าคิดตามทฤษฎีน่าจะดีกว่าของเด็กเพราะผู้ใหญ่เวลาสูดจะมีการกลั้นหายใจ ตัวยาน่าจะเกาะในปอด หลอดลมได้ดีกว่าเด็ก / boss

เข้าใจง่าย สามารถนำมาใช้กับผู้ป่วย asthma ที่มาตรวจที่ ERได้จริง/สำรวย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท