วิชาที่ทั่วโลกต้องการ


คำถามฝังใจ สำหรับบทเรียนราคาแพง ที่พบเห็นเรื่องราวของผู้คนในรอบทศวรรษที่ผ่านมา จึงปรารถนาจะคาดการณ์วิชาที่ทั่วโลกกำลังต้องการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการและผู้มีทักษะในการกู้ภัยพิบัติ วิจัยวิเคราะห์วิบัติภัย พิสูจน์ทราบเอกลักษณ์บุคคล จัดการวิบัติภัย และอีกมากมายสำหรับศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ และวิบัติภัยของมนุษยชาติ

วิชาที่ทั่วโลกต้องการ

 

 

อ้างอิง - ภาพ Kati1789

ไม่ได้นึก

แม้แต่น้อยนิ้วก้อยเดียว

ที่คิดจะสถาปนาตนเองเป็นผู้รู้

 

หรือ เป็นกูรูด้วยวิชาพยากรณ์ศาสตร์ กูรูด้านอนาคตศาสตร์ เช่น อัลวิน ทอฟท์เลอร์ หรือกระทั่ง ผู้พลิกความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันของผู้คน เช่น บิลล์ เกตส์ หรือ สตีฟ จอปส์ แต่เพราะเชื่อว่า สิ่งที่ตนเองเห็น จากแนวโน้มความต้องการ ที่นักอนาคตศาสตร์เช่น ทอฟท์เลอร์ ก็เคยคาดการณ์ไว้ และจากข้อมูลตลอดระยะเวลากว่าห้าหกปีที่ผ่านมา ที่ทำให้ตระหนักในความจริง

ซึ่งเพราะผมเชื่อมั่นว่า โลกนี้กำลังต้องการผู้คน

โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ที่มีความรู้ และ มีทักษะ

 

มีการพัฒนาองค์ความรู้ ในศาสตร์อันยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่อง และ เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งแม้แต่เมืองหลวงของโลกบันเทิง ก็เคยคาดการณ์อยู่เสมอ และมักส่งสัญญาณต่อความต้องการนี้ ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา ผมจึงเชื่อมั่นในคำตอบบางอย่าง

นับจากเหตุการณ์

พิบัติภัย และ วิกฤติสึนามิ

ที่สร้างคำถามให้กับผู้คนทั่วโลก

 

ในวันที่คนไทย ยังไม่เข้าใจว่าพิษภัยของคลื่นยักษ์เป็นเช่นไร กระทั่งคนไทยเข้าใจ ตระหนัก และรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง จนเห็นว่า แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทย ไม่นับเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำป่า น้ำบ่า ดินโคลนถล่ม แผ่นดินทรุด แผ่นดินเลื่อน พายุลูกใหญ่ หรือมหาวิบัติพื้นฐาน ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับผู้คน และ ทรัพย์สิน

ใช่อย่างยิ่ง สำหรับความจริงที่เปลี่ยนไป

และ โลกกำลังต้องการผู้คน

เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ

 

กับ ความเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงครั้งนี้ ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกรู้ว่า ความเสียหายย่อยยับที่ติดตามมานั้น รุนแรง ร้ายแรงและร้ายกาจเพียงใด เช่นเดียวกับ กรณีล่าสุด ที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐเฮติ ความรุนแรงและความเสียหาย ที่รอความเชี่ยวชาญจากนานาประเทศ

การเข้าจัดการปัญหา

ควบคุม ออกแบบ วางแผน

บริหาร และ สั่งการเพื่อแก้ปัญหาวิบัติภัย

 

ล้วนเป็นศาสตร์ ที่ต้องใช้ความเข้าใจ ใช้ความเป็นมืออาชีพ ที่มากกว่าความรู้ในการเก็บศพ หรือ กู้ซากปรักหักพัง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการเข้ารื้อถอนวัสดุสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งพังทลายทับผู้คน หน่วยกู้ภัยกู้ชีพ ที่ต้องมีทักษะในการประเมินบาดแผล หรือ การพิสูจน์ทราบเอกลักษณ์บุคคล

เหล่านี้ ล้วนเป็นศาสตร์ที่ต่อเนื่อง

จากวิชาชีพแขนงอื่น

ในปัจจุบัน

 

จากวิชาชีพของแพทย์พยาบาล วิชาชีพของหน่วยกู้ภัยกู้ชีพ วิชาชีพของหน่วยดับเพลิง วิชาชีพทหารในการเข้าจัดการควบคุมปัญหาทางสังคม หรืออาสาสมัครกู้ภัยกู้ชีพ และบรรเทาสาธารณภัย และอีกมากมาย ที่สามารถต่อยอด และพัฒนาให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อรองรับและเข้าจัดการกับปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามบานปลาย หรือรุนแรงเพิ่มขึ้น

 

ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้น

จากปรากฎการณ์อันเจ็บปวด

และ จากผลกระทบอันร้ายแรงต่อผู้คน

 

วาตภัยและพายุที่กระหน่ำนิวออร์ลีน หลุยส์เซียนา ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา แผ่นดินไหวและแผ่นดินถล่มในประเทศจีน ประเทศปากีสถาน คลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ที่กระหน่ำนานาประเทศ  พายุนาร์กีสในพม่า และแผ่นดินไหวทีเกิดขึ้นในเฮติ ทั้งหมดคือความจริง ที่ตอบเราว่า โลกกำลังต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เฉพาะทางสำหรับจัดการปัญหาเหล่านี้

ผู้เชี่ยวชาญ ที่ไม่ใช่เพียงคาดการณ์

แต่ต้องเข้าแก้ไขเยียวยาและ

บรรเทาสถานการณ์ 

 

เช่น ที่เกิดกรณีความรุนแรงในฟลอริดา หรือ ที่เกิดขึ้นในเฮติขณะนี้ เช่น การปล้นสะดม การเข่นฆ่าและการเอาตัวรอด โดยพร้อมจะใช้ความรุนแรงของผู้ที่รอดชีวิต แต่ไม่ได้รับการเยียวยาช่วยเหลือ หรือ การเข้าดูแลความเป็นอยู่ กระทั่งสามารถบานปลายในสถานการณ์อันเปราะบาง

ความแตกหักที่เกิดขึ้น

ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบ้านเรือนผู้คน

แต่เป็นโครงสร้างทางสังคมที่แตกหัก

 

ผลจากการขาดสภาพของรัฐ แตกหักและบุบสลาย จนไม่สามารถกำกับดูแลความรู้สึกของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ล้วนเป็นเชื้อไฟชั้นดี ที่จะเผาบ้านเผาเมืองรอบสามสี่ เป็นอาฟเตอร์ช็อคที่ใหญ่กว่าเหตุแผ่นดินใหญ่ลูกโต ที่แต่ละรัฐและแต่ละผู้คนมากมายทั่วโลก เฝ้าจับตามอง ถึงผลกระทบที่จะติดตามมา หากโครงสร้างทางสังคมเสียหายจากวิบัติภัย

สำหรับความจริง ที่มากกว่าการถามหา

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ที่บางประเทศเป็นปัญหา

 

แต่หลายประเทศ ได้พัฒนาหน่วยงานและศูนย์กลาง ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกู้วิบัติภัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ไต้หวัน หรือกระทั่งประเทศจีน ที่พัฒนาหน่วยงาน ที่มีความชำนาญการ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และพัฒนาเครื่องมือในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพราะเป็นที่ทราบว่า หากสามารถช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ภายใน 36 - 48 ชั่วโมง

ก็จะสามารถบรรเทา

และ ลดจำนวนผู้เสียชีวิต

หรือผู้บาดเจ็บร้ายแรงได้อย่างมหาศาล

 

นอกเหนือคำถามพื้นพื้น ที่ควรถามต่อรัฐไทย เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สนับสนุนให้เด็กไทยพัฒนา และ เข้าแข่งขันหุ่นยนต์กู้ชีพ จนชนะการแข่งขันระดับโลกติดต่อกันสองสามปี ว่าถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะก่อตั้ง พัฒนา และสนับสนุนหน่วยงานวิจัยด้านการกู้ชีพกู้ภัยแห่งชาติ ที่เป็นระบบ เป็นมาตรฐาน ต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อพร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง

มากกว่า จะถามหาเม็ดเงินในการตั้งศูนย์แห่งชาติ

วันนี้ สังคมไทยตระหนักต่อองค์ความรู้

เพื่อต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลง

และ วิบัติภัยร้ายแรงของโลก มากน้อยเพียงใด

 

หมายเลขบันทึก: 329564เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เพราะเป็นคนในสังคมท้องถิ่นจึงเรียนรู้จากระดับล่างมองขึ้นข้างบน

อุปสรรคปัญหาทั้งมวลของคนไทยอยู่ที่วิธีการคิด...คนไทยกลัวคนดี

คนไทยกลัวคนเก่ง...คนไทยกลัวคนฉลาดกว่า...เพราะความหลงตนเอง

เพราะไม่คลายอัตตา....ก้อได้แต่ภาวนาอย่าถลำลึกมากกว่านี้เลย

บ้านเมืองกำลังจะพินาศแล้ว


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท