การเรียนแบบเด็กๆ


การเรียนระดับอุดมศึกษา บวกกับ ระดับอนุบาล จะเป็นอย่างไร

 

การเรียนแบบเด็กๆ

 

       ปัจจุบันการเรียนในระดับอุดมศึกษา รูปแบบส่วนใหญ่ เหมือนนกที่อยู่ในกรง  หมายถึง นก (นักศึกษา) มีหน้าที่รอให้เจ้าของ (ครู อาจารย์ )  นำอาหาร (ความรู้) มาป้อนใส่ปากในชั่วโมงเรียน โดยที่นกในกรงส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มีกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ทำให้นกเหล่านั้นไม่ได้มีโอกาสลิ้มรสอาหารที่หลากหลาย นอกเหนือจากที่เจ้าของนั้นมาป้อนให้กิน  และหากเจ้าของทิ้งนกตัวนั้นแล้ว  นกตัวนั้นจะมีชีวิตรอดได้สมบูรณ์อย่างไร

 

นกน้อย

       ผมหวนนึกถึงการเรียนสมัยอนุบาล ที่คุณครูปล่อยให้เราได้แสดงอิสระทางความคิดเต็มที่  ไม่ว่าจะเป็นการขีดเขียนวาดรูป  ทุกอย่างเป็นอิสระ แตกต่างกับการเรียนในระดับอุดมศึกษา ที่นักศึกษา ต้องมานั่งในห้องแอร์สี่เหลี่ยม เบียดเสียดกัน (บางทีแทบจะขี่คอกันนั่งเรียน เพราะไม่มีที่นั่ง) มีผู้ใหญ่ที่เรียกตนเองว่าเป็นอาจารย์ สอนอยู่หน้าห้อง คอยนั่งกดพาวเวอร์พอยต์และอ่านตามนั้น  เพื่อนที่นั่งใกล้ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด  และเวลาในการทำความเข้าใจในขณะนั้น (ด้วยต้องจดให้ทันพาวเวอร์พอยต์)  การเรียนแบบนี้ทำให้ผมมึนๆ เป็นครั้งคราว เนื่องจากเนื้อหาที่อัดแน่น  สุดท้ายแล้วใกล้สอบก็ต้องมานั่งอ่านหนังสือใหม่หมดอยู่ดี (รู้งี้โดดเรียนไปอ่านหนังสือเองดีกว่า)

white bird

      และแล้วผมก็ได้เรียนวิชา หลักกีฏวิทยาเบื้องต้น ในส่วนปฏิบัติการ

ขอเล่าความรู้สึกก่อนมาเรียนวิชานี้ว่า รู้สึกว่าวิชานี้มันต้องน่าเบื่อมาก ๆๆๆ เพราะต้องท่องส่วนประกอบของแมลง ชื่อวงศ์ ที่เป็นภาษาอังกฤษ ต้องเจอกับอาจารย์ที่ค่อยข้างอาวุโส  คงจะมีแต่บ่นๆจนหมดคาบแล้วก็ปล่อย  ซึ่งในความเป็นจริงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  อาจาย์ที่สาขานี้ค่อนข้างเข้าใจเด็กๆ  ทำให้เส้นกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์มันบางลงทำให้นักศึกษา กล้าที่จะคิด กล้าที่จะถามมากขึ้น  กลวิธีในการสอนที่ผมสังเกตได้ คือ 1 อาจารย์ชอบเดินไปถามตัวต่อตัวกับนักศึกษา (แทนที่จะพูดอยู่หน้าห้องอย่างเดียว)

2.การสอนวิชานี้ จะไม่ค่อยบังคับว่าคุณต้องได้ความรู้เท่านี้เท่าโน้น (ซึ่งผมคิดว่าความสามารถในการจำ ในการเข้าใจ ของแต่ละคนต่างกัน จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า คนนี้โง่ คนนี้ฉลาด )

3. ให้เลือกวิธีที่จะทำให้เข้าใจมากที่สุด ด้วยตนเอง ( วิธีของ ผศ.ชาญชัย ) เพิ่งได้เรียนวันนี้หมาดๆ โดยที่อาจารย์ ให้รูปแมลงชนิดต่างๆ มาให้เราจำแนกความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการจด การระบายสี(มีเตรีมไว้ให้ครบเซตทั้งสีไม้ สีเมจิก) การวาดรูปเพิ่มเติม ผมรู้สึกว่าเรียนแบบนี้ทำให้จดจำได้ดีกว่านั่งฟังบรรยาย

 

ใครสนใจวิธีการสอนแบบนี้ เชิญมาสัมผัสที่ สาขากีฏวิทยา คณะเกษตรฯ ม.ขอนแก่นได้

(ไม่ได้มาโฆษณา สาขาให้นะ  เพราะผู้เขียนไม่ได้เรียนสาขานี้  แต่ต้องยอมรับว่าของเขาดีจริง และอยากให้ทุกสาขา ในคณะ มหาลัย ให้ความสนใจกับวิธีการสอนที่ผมเรียกว่าการสอนแบบอนุบาล  )

 

หมายเลขบันทึก: 329307เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ ขอบคุณน่ะค่ะที่ไปเยี่ยมทักทายกัน ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

สบายดีน่ะค่ะ

P
อัศศิริ กลางสวัสดิ์
เมื่อ อา. 13 ธ.ค. 2552 @ 00:34
#1730915 [ ลบ ]
สวัสดีคะ คุณอัศศิริ  ที่พูดเกี่ยวกับอาจารย์สอนจากเพาเวอร์พ้อยนั้น นักศึกษามีแต่จดตาม แล้วก็จดไม่ทัน นั้นเป็นความจริงคะ พอจะสอบก็กลับมาอ่านใหม่เหมือนเดิม สู้ไม่ไปเรียนให้เสียเวลา อ่านจากหนังสือแล้วไปสอบเอาจะดีกว่า จริงๆๆๆๆคะพี่สุก็เคยคิดอยากขาดเรียนแล้วไปอ่านเอาแล้วมาสอบ จะดีกว่า หลายๆวิชาแล้วนะ แต่อาจารย์ก็บอกกำชับมาอีก ใครมาเรียนได้คะแนนขยัน พี่สุก็ต้องมาฟังครู ฟังอาจารย์เตรียมจากเพาเวอร์พ้อยเหมือนเดิม ก็มาจากในหนังสือนั่นแหละ นั่งฟังแล้วก็นั่งหลับไปด้วย
-และที่บอกว่า เตรียมเครื่องมือเพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อทดสอบความเข้าใจนั้น จะมีอาจารย์ซักกี่คนทำ เพราะด้วยว่านักศึกษาโตโตกันแล้ว
-และขอชื่นชม ที่บอกว่าชอบอาจารย์สอนแบบนี้ แบบนกเสรีอิสระ แต่ได้สัมผัสของจริงบ้าง ไม่ใช่ว่าแต่จากเพาเวอร์พ้อย มีหลายอย่าง อยากติ แต่ก็เห็นใจคะ สว.ทั้งนั้น แถมนักเรียนก็ สว.(สูงวัย) แต่ก็เข็นกันจบจนได้คะ จะรับปริญญาแล้วคะ ประมาณเดือนธันวาคะ ขอบคุณนะคะที่เข้ามาทักทายกันคะ สวัสดีคะ
-แต่ก่อนพี่สุมาเยี่ยมแล้ว น้องยังไม่มีบันทึก ทีนี้มีแล้วเลยมาลง ทิ้งร่องรอยไว้คะ

พี่สุจะรับปริญญาเดือนกุมภาพันธ์คะ เขียนข้างบนเดือนธันวา ดึกแล้วชักเพี้ยน ไปนอนก่อนนะคะ ราตรีสวัสดิ์คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท