วงปี่พาทย์มอญ


วงปี่พาทย์มอญแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ

งานบำเพ็ญกุศลศพพระสมุห์เจษฎา ฐิตมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดยางทอง อ.เมือง จ.สงขลา กระผมได้จัดวงดนตรีไทยเพื่อใช้ประโคมในพิธี โดยประสานไปยังครูบรรเทิง แห่งราชภัฏสงขลา ให้ท่านช่วยจัด วงปี่พาทย์มอญ มาใช้ในงานดังกล่าว  

ทำไมต้องเป็นวงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์มอญ คือการนำเครื่องดนตรีมอญ 5 ชนิด ได้แก่ ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และฆ้องราว มาประสมกับเครื่องดนตรีไทยชนิดต่างๆ ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น เกิดเป็นวงดนตรีไทยชนิดใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในลักษณะเครื่องดนตรี บทเพลง วิธีการบรรเลง ตลอดจนการนำวงดนตรีไปใช้ในโอกาสต่างๆ วงปี่พาทย์มอญแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ สืบเนื่องมาจากมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระดำริว่า พระราชมารดาของพระองค์นั้นทรงมีเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เป็นความเชื่อและยึดถือมาโดยตลอดว่า วงปี่พาทย์มอญเล่นเฉพาะงานศพเท่านั้น อีกประการหนึ่งก็คือเสียงดนตรีของวงปี่พาทย์มอญโดยเฉพาะปี่มอญ เพราะเสียงของปี่มอญมีเสียงโหยหวนชวนให้เกิดความเศร้าใจ ต่อมาโบราณจารย์ทางด้านดนตรีไทย ได้เรียบเรียงเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาใหม่และกำหนดระเบียบการใช้เพลงเพื่อบรรเลงในขั้นตอนต่างๆ ของงานศพ เช่น

  • เพลงประจำบ้าน ใช้บรรเลงเป็นเพลงแรกหากตั้งศพไว้ที่บ้าน และใช้บรรเลงในขณะที่ทำพิธีวางดอกไม้จันท์เคารพศพ
  • พลงประจำวัด ใช้บรรเลงเป็นเพลงแรกหากตั้งศพไว้ที่วัด
  • เพลงเชิญผี ใช้บรรเลงต่อจากเพลงประจำบ้านหรือเพลงประจำวัด เพื่อเป็นการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
  • เพลงยกศพ ใช้บรรเลงในขณะที่มีการยกศพ เพื่อการเคลื่อนย้าย หรือยกศพขึ้นสู่เมรุ
  • เพลงสาธุการมอญ ใช้บรรเลงเมื่อประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระ
  • เพลงเร็วมอญ ใช้บรรเลงเมื่อพระสวดเสร็จ
  • เพลงมอญร้องไห้ ใช้บรรเลงในขณะที่ทำพิธีวางดอกไม้จันท์เคารพศพ ในงานที่มีการพระราชทานเพลิงศพ แล้วบรรเลงต่อท้ายด้วยเพลงประจำบ้าน

นอกจากนี้ยังมีเพลงสำเนียงมอญอื่นๆที่ใช้บรรเลงในงานศพขณะที่ไม่มีพิธีการ หรืออาจจะนำเพลงไทยเดิมต่างๆมาบรรเลงสลับพิธีการก็ได้  

ประมวลภาพวงปี่พาทย์มอญงานบำเพ็ญกุศลศพ

พระสมุห์เจษฎา ฐิตมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดยางทอง อ.เมือง จ.สงขลา

ตั้งวงปี่พาทย์มอญในศาลา (ช่องเดียวไม่พอเลยไม่เห็นเปิงมากคอก)

 

ฆ้องมอญวงใหญ่ (ครูบรรเทิง จากราชภัฏสงขลา)

 

ฆ้องมอญวงเล็ก (น้องบ่าว จากราชภัฏสงขลา)

 

ปี่มอญ (ครูค๊อบ จากสุราษฎร์ธานี)

 

ระนาดเอก (ครูเอก จากสุราษฎร์ธานี)

 

ระนาดทุ้ม (ครูทน จากสงขลา ถึงตาบอด 2 ข้างก็ตีระนาดได้ อิอิ)

 

ตะโพนมอญ (น้องเป็ก จากราชภัฏสงขลา)

 

เปิงมางคอก (ครูเบิร์ด จากสงขลา)

 

ฉิ่ง (น้องป้อง ลูกครูบรรเทิง) ฉาบ (น้องแว่น จากราชภัฏสงขลา)

 

ครูบรรเทิง ช่วยขับร้องให้ด้วย เสียงไพเราะจับใจ

 

ครูไชยวุฒิ (จากราชภัฏสงขลา) มาร่วมบรรเลงด้วย มาพร้อมภรรยา(นั่งหลัง) และลูกชาย และลูกในท้อง (ซึ้งใจจริงๆ)

 

ว่างๆจากช่วยงานวัด กระผมก็ขอร่วมบรรเลงด้วยขะรับ (ไม่ตีฆ้องมอญซะนาน เมื่อยแขนมากครับ อิอิ)

 

หมายเลขบันทึก: 329304เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตกลงมีเครื่องดนตรีไหนที่ ครูฌองเล่นไม่เป็นบ้างเนี๊ยะ

ก๊อก ก๊อก ก๊อก สวัสดีวันหยุดจ้า ครู...อุ้ย!  หา  ช กะ เชอ  ไม่ถูก  พี่วุท  สบายดีน่ะค่ะ

พาลูกบ่าวมาเยี่ยมจ้า

P

New.ครูบันเทิง

ขอบคุณครับ  ลูกคงหายดีแล้วนะ หน้าตาสดใสเชียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท