แหล่งท่องเที่ยวเมืองลิกอร์


เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้

  เริ่มต้นกับเป้าหมายหลักที่ตั้งใจไว้ มาเมืองคอนทีไร ต้องแวะไปกราบไหว้บูชาทุกครั้ง ที่ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” วัดที่เป็นศูนย์รวมใจของชาวเมืองนครศรีธรรมราช

ที่ชาวบ้านนิยมเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น วัดพระธาตุ วัดพระมหาธาตุ ที่มีฐานะเป็นอารามหลวงชั้นเอกชนิด วรมหาวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ. 854 ด้วยศิลปะแบบศรีวิชัย       
       ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตริมถนนราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง บนเนื้อที่จำนวน
25 ไร่ 2 งาน ทำให้ภายในวัดแห่งนี้มากด้วยสรรพสิ่งชวนมอง ความโดดเด่นอันดับแรกที่เราจะสัมผัสได้ตั้งแต่ยังไม่ทันย่างกรายเข้าภายในบริเวณวัดเสียด้วยซ้ำก็คือ ความยิ่งใหญ่ของ “พระบรมธาตุเจดีย์” ซึ่งเป็นพระเจดีย์บรรจุบรมสารีริกธาตุ สัญลักษณ์ของเมืองนคร อันเปรียบประดุจมงกุฏแห่งมือง

 

       พระบรมธาตุเจดีย์ที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ เป็นทรงลังกาหรือระฆังคว่ำบ้างก็ว่าโอคว่ำ (โอ คือ ภาชนะเครื่องสานอย่างหนึ่งสำหรับใส่ของรูปร่างคล้ายขัน) หรือ ระฆังคว่ำ
       
       สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์ สูง 55.78 เมตร มีปล้องไฉน 52 ปล้อง ยอดของปล้องไฉนหุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา 1 ศอก ส่วนรอบพระบรมมหาธาตุเจดีย์ มีเจดีย์รายรอบถึง 158 องค์ เยอะเอาการทีเดียว
       
       ตำนานเมืองนครเล่าสืบต่อกันมาว่า เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมารขณะที่อัญเชิญพระธาตุไปเมืองลังกานั้น เผอิญเจอพายุหนักจนเรือสำเภาแตก ทำให้ทั้งสองพระองค์มาเกยขึ้นฝั่งบริเวณหาดทรายแก้ว(บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร) จึงฝังพระทนตธาตุ (พระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ไว้ส่วนหนึ่ง สร้างเจดีย์เล็กๆ ครอบไว้เป็นเครื่องหมาย ก่อนจะเสด็จต่อไปที่เมืองลังกา ครั้งพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่หาดทรายแก้ว ประมาณปีพ.ศ.1770 ทรงทราบเรื่องจากตำนานดังกล่าว จึงให้อัญเชิญพระทันตธาตุมาประดิษฐานในพระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่เพื่อเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรนี้

ภาพยนต์ที่ตั้งอยู่ด้านขวามือของทางขึ้น

       นอกเหนือจากพระบรมธาตุอันเป็นที่เคารพบูชาแล้ว ถ้าไม่เอ่ยถึงต้นตำรับของ

 “จตุคามรามเทพ” ก็มิอาจเรียกได้ว่าได้มาถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
       
       รูปปั้นเทวดาลอยตัวทั้งสององค์ ลักษณะทรงเครื่องกษัตริย์นั่งชันเข่าขวาขึ้นตั้ง

 ขาซ้ายวางราบ เรียกว่าท่ามหาราชลีลา อันเป็นท่านั่งของผู้สูงศักดิ์ อยู่ทางด้านรอยพระพุทธบาทจำลอง มีชื่อว่า “ท้าวขัตตุคาม” คู่กับ “ท้าวรามเทพ” นั่งเป็นศรีสง่าอยู่บริเวณทางขึ้นสู่พระบรมธาตุ
       
       ที่ด้านข้างมีเทวรูป 4 กรอยู่ด้วย คือพระหลักเมือง พระทรงเมือง ส่วนประตูไม้จำหลักที่งดงามประณีตเป็นรูปพระทวารบาล ได้แก่ พระพรหมและพระนารายณ์ อยู่ในวิหารพระทรงม้าเป็นรูปเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้าเสด็จออกบรรพชา หรือที่เรียกว่า “เสด็จออกมหาภิเนษกรม” ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง

การแห่ผ้าขึ้นธาตุ

เป็นพิธีการสำคัญทางศาสนา ชาวนครทุกคนถือว่าการได้แห่ผ้าขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เป็นการทำกุศลอันยิ่งใหญ่ นอกจากจะเป็นการระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระบรมศาสดาแห่งชาวพุทธทุกแห่งทั่วโลก ยังเป็นการน้อมนำจิตใจเข้ามาสู่ธรรมะของพระพุทธองค์ คือละชั่วทั้งปวง ทำความดีในถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใสขาวรอบ

สาธุ สาธุ สาธุ

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

หลักเมือง จ.นครศรี? ประวัติหลักเมือง

รูปแบบอย่างการสร้างหลักเมือง???? แบบอย่างการสร้างหลักเมืองที่ชัดเจนที่สุด คือ การสร้างหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ ณ วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 เวลา 06.54 น. เรื่องราวที่บันทึกไว้เป็นดังนี้

“หลังจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จกรีธาทัพเหยียบพระนคร ได้เพียงสองวัน วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ก็มีพระบรมราชโองการสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันตก ได้ทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 06.54 นาฬิกา พระราชวังใหม่ให้ตั้งในที่ซึ่งพระยาราชเศรษฐีและพวกจีนอยู่เดิม โดยโปรดให้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง แล้วจึงได้ฐาปนาสร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ล้อมด้วยปราการระเนียดไม้ไว้ก่อน พอเป็นที่ประทับ”
จากข้อความข้างต้นมีเรื่องสำคัญอยู่ประการหนึ่งคือการยกเสาหลักเมือง ซึ่งถือว่าเป็นมิ่งขวัญสำคัญของเมือง แต่เสาหลักเมืองและดวงชาตาพระนคร ที่ปรากฏในปัจจุบัน มิใช่ของที่สถาปนาในรัชกาลที่ 1 เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ว่า
“แลที่ศาลเจ้าหลักเมือง ศาลพระกาฬ ศาลพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และศาลเจ้าเจตคุปต์นั้น เดิมเป็นแต่หลังคาตังไม้มุงกระเบื้อง ทรงพระกรุณาโปรดให้ช่างก่อรอบ มียอดปรางค์อย่างศาลพระกาฬที่กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาเก่าทั้งสี่ศาลและหอกลางนั้นเดิมสองชั้นสามชั้น ขัดแตะถือปูนทำเป็นยอดเกี้ยว โปรดให้ทำใหม่ก่อผนังถือปูน แปลงเป็นยอดมณฑป… แล้วทรงพระราชดำริถึงหลักเมืองชำรุด ทำขึ้นใหม่ แล้วจะบรรจุดวงชาตาเสียใหม่ ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรมเก้าค่ำ (จุลศักราช 1214) พระฤกษ์จะได้บรรจุดวงพระชาตาพระนครลงด้วยแผ่นทองคำหนัก 1 บาท แผ่กว้าง 5 นิ้ว จารึกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ กรมหมื่นบวรรังษี กับพระสงฆ์ราชาคณะอีกสามรูป รวมห้ารูป เมื่อเวลาจารึกได้เจริญพระปริตแล้วพระฤกษ์ 12 พระยาโหราธิบดีได้บรรจุที่หลักเมือง

กำแพงเมืองเก่า ข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัด

ขอขอบคุณเว็บและภาพถ่ายสวยๆที่เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ

หมายเลขบันทึก: 329300เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชาวนครยินดีต้อนรับทุกท่าน ที่มาเยี่ยมเยือน ทั้งอ่านและจะมาเที่ยวเชิญจริงๆ เร่เข้ามาได้ค่ะ

ชายทะเลก็งาม น้ำตกสวยๆ บรรยากาศดีๆ อาหารอร่อย รอคุณอยู่เสมอค่ะ สิ่งดีดียังมีอีกมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท