สถานภาพทางสังคมของหมู่บ้านโนนแก้ว โนนแฝก โนนงิ้ว


 

สถานภาพทางสังคมทางสังคมของ หมู่บ้านโนนแก้ว  โนนแฝก 

โนนงิ้ว

 

1 สถานภาพทางสังคม 

                       

ขนบธรรมเนียมประเพณี 

                         บ้านโนนแก้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสน์ บ้านโนนแก้วจะ

มีประเพณี 12 เดือน

 

-         เดือนมกราคม วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันสมโภชพระนาง มา

รีย์พระชนนีของพระเจ้า

-         เดือนกุมภาพันธ์ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันพุธรับเถ้าและเริ่มเทศกาล

มหาพรต เป็นเทศกาลที่ห้ามรับประทานเนื้อและถือศีล อดอาหาร

-         เดือนมีนาคม วันที่ 19 มีนาคม เป็นวันศุกร์ศักดิ์สิทธ์พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน

และสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขง ห้ามรับประทานเนื้อและถือศีลอดอาหาร และวันที่ 11

เมษายน เป็นวันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพ

-         เดือนพฤษภาคม วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

และวันที่ 23 พฤษภาคม เป็นวันสมโภชพระจิตเจ้า

-         เดือนมิถุยายน วันที่ 6 มิถุนายน เป็นวันสมโภชพระตรีเอกภาพ วันที่ 13

มิถุนายนเป็นวันสมโภชพระวรกายและโลหิตพระคริสต์เจ้า วันที่ 18 มิถุนายน เป็นวัน

สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันสมโภช น.ยอหน์บัปติสต์

บังเกิด วันที่ 27 มิถุนายน เป็นวันฉลองพระมารดานิจจานุเคราะห์ วันที่ 29 มิถุนายน

เป็นวันสมโภช น.เปโตร และ น.เปาโล อัตรสาวก

-         เดือนกรกฎาคม วันที่ 18 กรกฎาคม เป็นวันสมโภชพระมหาไถ่

-         เดือนสิงหาคม วันที่ 15 สิงหาคม เป็นวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้น

สวรรค์

-         เดือนกันยายน ทุกวันอาทิตย์เป็นเทศกาละธรรมดา

-         เดือนตุลาคม ทุกวันอาทิตย์เป็นวันเทศกาลธรรมดา

-         เดือนพฤศจิกายน วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย วันที่ 9

พฤศจิกายน เป็นวันฉลองวันเกิดคณะพระมหาไถ่ วันที่ 21  พฤศจิกายน เป็นวันสมโภช

พระเยซูเจ้ากษัตริย์แก่สากลจักรวาล

-         เดือนธันวาคม วันที่ 5 ธันวาคม เป็นสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล วันที่

25 ธันวาคม เป็นวันสมโภชพระคริสต์สมภพ หรือวันคริสต์มาส และวันที่ 31 ธันวาคม

เป็นวันสิ้นปี

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

1)     น้ำมันเหลืองสมุนไพร

2)     นวดแผนโบราณ,อบสมุนไพร

3)     จักสานไม้ไผ่ ตะกร้า กระดง ไซ ข้อง

4)     ทอเสื่อกก

5)     ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

6)     ความรู้ด้านการเกษตร เช่นทำนา ปลูกข้าวหอมมะลิ 105,เลี้ยงสัตว์ เช่น โค,

กระบือ,สุกร เป็นต้น

 

ผลิตภัณฑ์ชุมชน 

1)     น้ำมันเหลืองสมุนไพร

2)     นวกแผนโบราณ,อบสมุนไพร

3)     จักสานด้วยไม้ไผ่ เช่น ตะกร้า,กระดง,ไซ ข้อง เป็นต้น

4)     เสื่อกก

5)     ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

6)     ปลูกข้าวหอมมะลิ 105, เลี้ยงสัตว์ เช่น โค,กระบือ,สุกร เป็นต้น

 

2.การประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้าน 

 

2.1 ผลการวิเคราะห์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดนครราชสีมา 

           

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร

            ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรทำนา เลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีปัญหาด้านการขาด

น้ำเพื่อการเกษตรเพราะอาศัยน้ำฝน ในรอบปีที่ผ่านมาหมู่บ้านนี้ประสบภัยแล้งมาก ทำ

ให้ผลผลิตจากการทำนาตกต่ำประสบปัญหาขาดทุน ควรมีโครงการขุดลอกแหล่งน้ำ

การปลูกไม้ยืนต้นในไร่นา ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตเอง ส่วนการเลี้ยงวัวช่วงนี้

ราคาวัวต่ำมาก และขาดแหล่งปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านขาด

น้ำ ควรมีการฝึกอบรมการทำหญ้าหมักไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง

         

 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไหม

           หมู่บ้านนี้ไม่มีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไหม แต่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ควรมีการส่งเสริมให้ทอผ้าไหมครบวงจร เป็นอาชีพเสริม

         

 ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว

           บ้านโนนแก้วไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว แต่มีโรงเรียนเทเรซาอุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงอยู่

ในหมู่บ้าน โดยมีชาวต่างอำเภอ ส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเดินทาง

มาจากอำเภอใกล้เคียง เช่น อำเภอจักราช,ชุมพวง,พิมาย และเขตอำเภอลำปลายมาส

จังหวัดบุรีรัมย์

ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาสังคมและความเดือดร้อนของประชาชน

           -ปัญหาเยาวชนส่วนใหญ่ว่างงาน ไม่ช่วยงาน และดื่มสุรา ตีกัน ควรมีการ

รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโทษของการดื่มสุรา จัดค่ายเยาวชน และฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพ

เยาวชน

           -ปัญหาประชากรส่วนใหญ่ว่างงานระหว่างเลี้ยงสัตว์ เพราะอาชีพเสริมส่วนมาก

จะเป็นอาชีพเลี้ยงโค ควรฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพที่ใช้เวลาว่างในการทำ เพื่อให้เกิดราย

ได้เสริม เช่น การจักสานด้วยไม้ไผ่,การทำของชำร่วย เป็นต้น

         -การขุดป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน ควรฝึกอบรมและจัดตั้งหน่วยกู้ภัยประจำตำบล

            -ชุมชนมีขยะ ควรรณรงค์กำจัดขยะในชุมชน ก่อสร้างเตาเผาในชุมชน

            -บางครัวเรือนไม่มีรั้วรอบบ้าน ควรรณรงค์ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

            ปัญหาต่างๆเหล่านี้ เวทีประชาคมได้บรรจุลงในแผนชุมชนของหมู่บ้าน และถือ

ปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาของชุมชนต่อไปนี้

         

  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

            ในการบริหารจัดการชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วน

ตำบล คณะกรรมการกลุ่มองค์กรให้ความสนใจในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นอย่างดี มีการจัด

เวทีประชาคม ในการวางแผนแก้ปัญหาของหมู่บ้านสม่ำเสมอ

 

2.2ผลการวิเคราะห์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน

           

การทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพที่ดีมีความสุข

 

1) การเสริมสร้วงภาวะผู้นำ

                ็็็็็ผู้นำขาดความรู้ในการบริหารจัดการชุมชน ควรมีการฝึกอบรมเพิ่ม

ประสิทธิภาพเกี่ยวกับภาวะผู้นำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 2) การเสริมสร้างจิตสำนึกพลเมือง

                ประชากรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี มี

อาชีพเสริมหลังการทำนา มีการออม โดยการถือหุ้นกองทุนหมู่บ้าน และฝากเงินกลุ่ม

ออมทรัพย์เพื่อการผลิต

  3) การเสริมสร้างทักษะในชีวิต

       มีการเสริมสร้างทักษะในชีวิต เพราะประชากรจะมีอาชีพเสริมทุกครัวเรือน เช่น

เลี้ยงโค,ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม,ทอเสื่อกก,จักสาน เป็นต้น

4) การส่งเสริมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

     มีการปลูกผักสวนครัวเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร เหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริม มีการ

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประหยัด และออม ควรมีการรณรงค์ให้มีการออมเพิ่มขึ้นเพื่อ

ใช้หนี้ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของชุมชน

 

 การทำให้ชุมชนมีภูมิคุ้มกันทางสังคม

 

1)การเสริมสร้างกระบวนการชุมชนในการจัดการชุมชน

มีการประชุมประจำเดือนทุกเดือน มีการจัดเวทีประชาคมในการพิจารณาการบริหาร

จัดการชุมชน โครงการต่างๆ ของชุมชนโดยตัวแทนของทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัด

เวทีประชาคม

2)การเสริมสร้างระบบความสัมพันธ์ของชุมชน

ชุมชนมีความสามัคคี  ทำกิจกรรมร่วมกันเสมอ  โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับขนบ

ธรรมเนียมประเพณีของหมูบ้าน จะมาร่วมกิจกรรมทุกครัวเรือน

 

การทำให้ชุมชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 

 

1)ส่งเสริมการออมทรัพย์เพื่อผลิต

มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สมาชิกครบทุกครัวเรือนควรรณรงค์ให้มีการออมเพิ่มขึ้น

2)การส่งเสริมการสร้างอาชีพในชุมชน

มีอาชีพหลักละอาชีพเสริมทุกครัวเรือน ปัญหาคือส่วนใหญ่มีอาชีพเสริมคือการเลี้ยงวัว

ซึ่งขณะนี้ราคาโคตกต่ำ ทำให้การขายขาดทุนเป็นส่วนใหญ่ ควรส่งเสริมอาชีพอื่นๆเพิ่ม

ขึ้น

3)ส่งเสริมผู้ประกอบการ

ไม่มีผู้ประกอบการในหมู่บ้าน ควรส่งเสริมกลุ่มทำน้ำมันเหลืองสมุนไพร เพื่อจะได้จด

ทะเบียน OTOP ให้เป็นธุรกิจขนาดเล็กได้

 

การทำให้ชุมชนมีระบบการความรู้และระบบสารสนเทศ

 

1)พัฒนาฐานข้อมูลชุมชนให้เป็นระบบสารสนเทศชุมชน

มีการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ครบทุกครัวเรือน และจัดเก็บข้อมูล กกช. 2 ค.  ทุก 2 ปี

บันทึกข้อมูลประมวลผลเข้าระบบสารสนเทศชุมชนหมู่บ้าน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด 

เขต  และกรมการพัฒนาชุมชน

2)ส่งเสริมการจัดการความรู้และภูมิปัญญาโดยชุมชน

มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล ในการฝึกอบรม

เยาวชนช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน และมีการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพแก่กลุ่มอาชีพ โดย

การสนับสนุนจากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 

 

ข้อ 1 ถนน ถนนในหมู่บ้านยังไม่ทั่วถึงการคมนาคมระหว่างหมู่บ้านยังไม่สะดวก

 

ด้านโครงสร้าง

  

ข้อ 2 น้ำดื่ม บังมีปัญหาเรื่องน้ำดื่มยังไม่สะอาดควรให้ความรู้ในการบริโภคน้ำดื่มที่

สะอาดและถูกสุขอนามัย

ข้อ 3 น้ำใช้ ยังมีปัญหาเรื่องน้ำใช้ไม่เพียงพอควรขุดบ่อน้ำไว้เก็บกักน้ำไว้ใช้

ข้อ4 น้ำเพื่อการเกษตร มีปัญหาเรื่องฝนแล้ง แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตื้นเขิน ไม่สามารถ

เก็บกักน้ำได้

ข้อ 5 ไฟฟ้า ยังมีปัญหาไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึง ควรขอรับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.

เพื่อขยายเขตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ข้อ 6 การมีที่ดินทำกิน ประชาชนยังขาดที่ดินทำกิน

ข้อ 7 การติดต่อสื่อสาร ยังมีปัญหาเรื่องการติดต่อสื่อสารอยู่บ้างในบางพื้นที่ เช่น

โทรศัพท์สาธารณะเสีย และไม่มีโทรศัพท์บ้าน

 

ด้านสุขอนามัย

  

ข้อ 15 ความปล่อยภัยในการทำงาน ยังมีปัญหาเรื่องประชาชนขาดความปลอดภัยในการ

ทำงาน ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลรักษาความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อ 16 การป้องกันโรคติดต่อ  ขาดการป้องกันโรคติดต่อ เช่นโรคไข้เลือดออก มือปาก

เท้าเปื่อย ควรให้ความรู้และดำเนินการป้องกันโรคในชุมชน

ข้อ 18 การปลอดภัยยาเสพติด ยังมีปัญหาเรื่องการปลอดยาเสพติด ควรให้ความรู้ใน

เรื่อง ยาเสพติด รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และอบรมให้ความรู้ถึงโทษของยาเสพติด

 

ด้านความรู้และการศึกษา

ข้อ 19 ระดับการศึกษาของประชาชน ยังมีปัญหาเรื่องประชาชนยังมีระดับการศึกษาที่ยัง

ไม่สูงเท่าที่ควร ควรอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมการศึกษาแก่บุตรหลาน

ให้เรียนในระดับสูงขึ้น

ข้อ 20 อัตราการเรียนต่อของประชาชน ยังมีปัญหาเรื่องการเรียนต่อยังน้อย ควรให้ความ

รู้ในเรื่องการศึกษามากขึ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #โรมันคาร์ทอริก
หมายเลขบันทึก: 329136เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท