ตำแหน่งการวางเครื่องในวงดนตรีไทย


หลักพื้นฐานการจัดวงดนตรีไทย มีหลักการสำคัญ ๒ ประการคือ หลักการแบ่งกลุ่มเครื่องนำและเครื่องตาม และ หลักความสมดุลตามธรรมชาติ

วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๓ คณะศึกษาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ได้จัดงานกตัญญุตา บูชาครู ขี้น ณ หอประชุมวิทยาเขตปัตตานี  โรงเรียนสาธิตฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ ได้จัดวงดนตรีไทยประเภทเครื่องสายผสมปี่พาทย์ (ชื่อ ประเภทวงตามความหมายที่ตรงตามลักษณะเครื่องดนตรี คือนำเครื่องวงปี่พาทย์มาบรรเลงรวมกับวงเครื่องสาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ วงดนตรีไทยประเภทวงมโหรีแต่ไม่มีซอสามสายนั้นเอง) มาร่วมบรรเลงเพื่อสร้างบรรยากาศในงาน

ขอนอกเรื่องนิดหน่อยครับ ก่อนจะเข้าประเด็นตามชื่อเรื่อง...

เนื่องจากวงดนตรีไทยของโรงเรียนสาธิตฯ เพิ่งได้รับการพื้นฟูขึ้นมาใหม่ หลังจากครูดนตรีไทยท่านเดิมย้ายไปสอนที่คณะศิลปกรรม จึงห่างหายไปเป็นเวลาพอควร ครูที่ได้รับการบรรจุเข้ามาใหม่ถึงแม้จะจบทางด้านดนตรีสากล แต่ก็มีความพยายามเป็นอย่างยิ่ง จนสามารถตั้งวงดนตรีไทยขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะยังไม่เข้าที่ มีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีและมีคุณค่าต่อการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ไทย ขอปรบมือดังๆแก่ ครูยศ ครับผม เพราะการได้ริเริ่มแม้จะยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ดีกว่าการไม่ได้ลงมือทำ

กลับเข้าเรื่องครับ...

การบรรเลงดนตรีไทยของโรงเรียนสาธิตฯ ในวันนี้มีอุปสรรคนิดหน่อย แต่ที่สังเกตเห็นได้ชัด และขอนำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้คือ "ตำแหน่งการวางเครื่องในวงดนตรีไทย" ครับ

เครื่องดนตรีไทยในวงเครื่องสายผสมปี่พาทย์ ประกอบด้วย จะเข้ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง และ กลองแขก (ตัวผู้ และ ตัวเมีย) บางครั้งอาจจะมีการนำ ขิม มาประสมในวงด้วย

หลักพื้นฐานการจัดวงดนตรีไทย มีหลักการสำคัญ ๒ ประการคือ หลักการแบ่งกลุ่มเครื่องนำและเครื่องตาม และ หลักความสมดุลตามธรรมชาติ ดังนี้

  • หลักการแบ่งกลุ่มเครื่องนำและเครื่องตาม คือการแบ่งเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องบรรเลงเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องนำ ได้แก่  จะเข้ ซอด้วง ขลุ่ยหลิบ ระนาดเอก และฆ้องวงเล็ก ส่วนกลุ่มเครื่องตาม ได้แก่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดทุ้ม และฆ้องวงใหญ่ หากมีการนำ ขิม มาบรรเลงก็จะอยู่ในกลุ่มเครื่องตามด้วย
  • หลักความสมดุลตามธรรมชาติ คือการจัดวางเครื่องดนตรีไทยตามหลักความสมดุล คล้ายกับความสมดุลของร่างกาย กล่าวคือ หากเครื่องดนตรีไทยในกลุ่มเครื่องนำและกลุ่มเครื่องตามชนิดใดจับคู่กันได้ ก็ให้จัดไว้ ด้านซ้ายและด้านขวาอย่างละชนิด  แต่หากมีชิ้นเดียวหรือจับคู่ไม่ได้ก็ให้จัดวางตรงกลาง นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดให้จัดวางกลุ่มเครื่องนำไว้ทางขวาของวง และกลุ่มเครื่องตามไว้ทางซ้ายของวง (ยกเว้น ฆ้องวงใหญ่ เนื่อง จากเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองหลัง จึงจัดวงไว้หลังระนาดเอกเพื่อให้ผู้บรรเลงระนาดเอกสามารถฟังทำนองหลักของ เพลงได้อย่างชัดเจน และ ฉิ่ง ซึ่งจะจัดวางไว้กลางวงดนตรีไทย เพื่อให้ผู้บรรเลงทุกคนสามารถฟังเสียงจังหวะได้ชัดเจน)

จากหลักการดังกล่าวข้างต้น สามารถเขียนเป็นแผนผังการจัดวงได้ดังนี้

แผนผังวงเครื่องสายผสมปี่พาทย์ (เครื่องคู่)





แผนผังวงเครื่องสายผสมปี่พาทย์ (เครื่องคู่ กรณีไม่มีฆ้องวงเล็ก และผสมขิม)

หมายเลขบันทึก: 329066เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2010 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เข้ามาลองศึกษาดนตรีไทยดูบ้าง ตัวเองเป่าขลุ่ยไทยได้เพราะเคยหัดตอนเด็กแต่ก็ไม่เคยเข้าวงดนตรีไทยจริงจัง อันที่จริงชอบเสียงซอแต่ไม่ได้หัด กลับมาหัดซอฝรั่งแทน : )

ดนตรีทุกชนิดมีคุณอนันต์

เป็นกำลังใจในการมาเล่นดนตรีไทยครับ

กราบงามๆ คาราวะรุ่นพี่ค่ะ..อ๋อ จำได้แล้ว  แหมนึกว่าคราย.. พี่คงจำหนูไม่ได้ หนูอยู่หอป้าแก้วจ๊ะ  ตอนแรกคิดว่าไม่รู้จัก  พี่อ้วนขึ้น  เหมือนหมู เอ้ย! เหมือนหนูเลย   สมัยนั้นคิดว่าพี่อยู่รุ่นๆเดียวกับพี่ ออ พี่จุ๊บ  ประมาณนี้ใช่มั้ยค่ะ  ท่านพี่..เอ! ชื่อพี่วุฒิ รึปล่าวน้อ..

เอ้าดูหน้ากันให้ชัดๆ  ..ความสวยยังเหมือนเดิมแต่เพิ่มความเจ้าเนื้อค่า..

 

ถูกหมดทุกข้อครับ ยินดีที่รู้จัก และภูมิใจที่จำพี่ได้

แต่พี่คงจำเราไม่ได้จริงๆแหละ คิดว่าถ้าเดาไม่ผิด ตอนพี่ยังเรียนอยู่ เราน่าจะเป็นเด็กกะโปโลอยู่นะ อิอิ

มีอะไรให้รับใช้ก็บอกว่า ปัตตานี กับ ระนอง ไม่ไกลกันนักหรอก ฮา...

สุดท้ายนำรูปมาใากครับ

สมัยเรียนอยู่กลางสอง

น่าสมัยเรียนอยู่กลางสาม

 

พบเพื่อนนศน.ที่ กทม.
 คลิกเพื่อดูรูปทั้งหมด

 

งานศพพ่อแตง บ้านส่อง
คลิกเพื่อดูรูปทั้งหมด

 

ไหว้ครู นศน.49
คลิกเพื่อดูรูปทั้งหมด

หนูเรียนรุ่นเดียวกับ  ว่าที่  ดร.  ปุ้ย   ณ.  ม.ทักษิณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท