ปัญหาด้านการอ่าน


สภาพปัญหาด้านการอ่าน

ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ ความบันเทิง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลายและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศและใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่าย กว้างขวางขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2551:1)

จากความสำคัญของภาษาต่างประเทศตามที่กล่าวมานี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศทุกช่วงชั้น เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ สร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์ เป็นรากฐานและเตรียมความพร้อมในการเรียนของเยาวชนรุ่มใหม่ ให้สอดคล้องกับสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร ช่วยให้นักเรียนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถพัฒนาความคิดและมองโลกกว้างขึ้น โดยมีความคาดหวังว่าเมื่อนักเรียนเรียนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา นักเรียนจะมีความรู้ความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม (กรมวิชาการ, 2551) โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่ให้ประโยชน์สำหรับการแสวงหาความรู้เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

ทักษะการอ่านเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้บุคคลก้าวหน้าทันต่อเหตุการณ์ ทักษะการอ่านควรเป็นทักษะที่ได้รับการส่งเสริมเพราะเป็นทักษะที่คงอยู่กับนักเรียนได้นานที่สุด เป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะสำเร็จการศึกษาไปแล้ว กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รณรงค์ให้เด็กไทยมีนิสัยรักการอ่านอย่างถาวร โดยประกาศให้ปีการศึกษา 2546 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ และในปี พ.ศ. 2549 เป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จึงกำหนดนโยบายให้สถานศึกษาเข้าร่วมมหกรรมรักการอ่านเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งกำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นวันแห่งการรักการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็ก เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า “หนังสือเป็นสื่อเผยแพร่ความรู้ที่อยู่คู่กับมนุษย์เป็นเวลานาน หนังสือดีมีสาระมีส่วนช่วยยกระดับสติปัญญาและจิตใจของมนุษย์ คติคำสอนหรือตัวอย่างต่าง ๆที่ปรากฏในหนังสือยังช่วยกล่อมเกลาความรู้สึกนึกคิด คุณธรรมจริยธรรมด้วย” ฉะนั้น การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เยาวชน จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้นักวิชาการด้านการศึกษาในสหรัฐอเมริกา หลุยส์ เอ็ม โกเมซ (Louis M. Gomez) แห่งสถาบันสอนนโยบายการศึกษาและสังคม มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) และคิมเบอร์ลี่ โกเมซ (Kimberley Gomez) แห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) กล่าวว่า การขาดทักษะการอ่านของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลต่อการทำงานในอนาคต เนื่องจากเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ต้องการแรงงานคนที่มีทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้นักเรียนมีทักษะดังกล่าวคือ การอ่านเพื่อการเรียนรู้นั่นเอง (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 10 เมษายน 2551) รวมทั้งคลิฟฟอร์ด(Clifford: 1966)และฮาร์เมอร์ (Harmer. 2546: 93)(อ้างถึงในประภาพร ชัยป่ายาง, 2549: 37)ได้กล่าวพ้องกันว่า การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ช่วยในการกระตุ้นการพูดคุยแสดงความคิดเห็น การใช้จินตนาการ ให้ความรู้และทักษะเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ช่วยพัฒนาจริยธรรม เกิดความมั่นใจในตนเอง

                     อย่างไรก็ตามสิ่งที่มีความสำคัญและช่วยให้การอ่านประสบความสำเร็จ ก็คือความสามารถในการอ่านและความเข้าใจในการอ่านโดยเฉพาะความเข้าใจในการอ่านนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก การอ่านจะไม่เกิดประโยชน์หากผู้อ่านไม่เข้าใจเรื่องที่ตนอ่านซึ่ง สมุทร เซ็นเชาวนิช (2549: 73) กล่าวถึงความเข้าใจในการอ่านว่า เป็นความสามารถที่จะอนุมานข้อสนเทศ หรือความหมายอันพึงประสงค์จากสิ่งที่อ่านมาแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพมากทีสุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งความเข้าใจนี้เป็นเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการศึกษา และประสบการณ์ต่าง ๆ ในหลาย ๆด้านของแต่ละคน และถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการอ่าน ถ้าอ่านแล้วไม่เกิดความเข้าใจใด ๆ เลยก็อาจกล่าวได้ว่าการอ่านที่แท้จริงยังไม่เกิดขึ้น ส่วนกรองแก้ว กรรณสูต (2546 : 19) กล่าวว่า ในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ หรือใช้เป็นภาษาที่สอง เช่น ประเทศไทย ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เป็นทักษะที่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับชนในชาติ 

                     แม้ว่าการอ่านจะมีความสำคัญและได้รับการส่งเสริมมากดังที่กล่าวมาแล้วก็ตามแต่ปรากฏว่าสภาพในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ชอบการอ่าน ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปอ่านหนังสือน้อยลงนั่นคือ จากปี พ.ศ. 2548 มีการอ่านร้อยละ 69.1 แต่ในปี พ.ศ. 2551 กลับอ่านลดลงเหลือร้อยละ 66.3 ส่วนในด้านของเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือพบว่า ในปี พ.ศ. 2548 คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย 51 นาทีต่อวัน แต่ในปีพ.ศ. 2551 ลดลงเหลือเพียง 39 นาทีต่อวัน (ทอม, 11 พฤษภาคม 2552) ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจการอ่านของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่ไม่อ่านหนังสือ 22.4 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่เด็กอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 60ให้เหตุผลว่า ไม่ชอบอ่าน ไม่สนใจที่จะอ่าน และอ่านหนังสือไม่ออก ส่งผลให้จินตนาการของเด็กและคนไทยทั่วไปลดลง รวมทั้งเกิดปัญหาต่อผลการเรียนของเด็กไทย และพบว่าทักษะการอ่านของนักเรียนไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2 จากทั้งหมด 5 ระดับ

ตามรายงานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับองค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) มีโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA (Programmer for International Student Assessment) ได้ทำการประเมินผลนักเรียนจำนวนกว่า 400,000 คน ในกลุ่มนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นวัยจบการศึกษาภาคบังคับ จาก 57 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาว่า ระบบได้เตรียมเยาวชนให้พร้อมสำหรับอนาคตหรือไม่เพียงใด ได้เปิดเผยรายงานจากการประเมินผลนักเรียนดังกล่าวในวันที่ 4 ธันวาคม 2550 ด้านวิชาการอ่าน มีความหมายรวมไปถึงการเข้าใจความหมายของคำ การคิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สะท้อนและประเมินสาระที่อ่าน โดยกำหนดให้มี 5 ระดับ คือ ระดับ 1 ถึงระดับ 5  และระดับ 2 เป็นระดับพื้นฐาน พบว่า ในระดับนานาชาติแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.2549   ประเทศสมาชิก OECD คะแนนเฉลี่ยการอ่านไม่เปลี่ยนแปลง หลายประเทศคะแนนเพิ่มขึ้น เช่น เกาหลี เพิ่มขึ้น 31 คะแนน และโปแลนด์ เพิ่มขึ้น 17 คะแนน ขณะเดียวกันอีกหลายประเทศที่มีคะแนนการอ่านต่ำลง เช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีคะแนนเฉลี่ยลดต่ำลง14 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย 417 จากคะแนนเต็ม 600 คะแนน อยู่ในอันดับระหว่าง 41-42 จาก 57 ประเทศ สัดส่วนจำนวนนักเรียนที่มีการอ่านต่ำกว่าระดับพื้นฐานเพิ่มขึ้นจาก 37% (ปี พ.ศ.2543) เป็น 44.5%(ในปี พ.ศ.2549) และสัดส่วนนักเรียนที่มีการอ่านระดับสูง(ระดับ 4+ระดับ 5) มีสัดส่วนลดลง ถือว่าเป็นจำนวนที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาตามกลุ่มโรงเรียน พบว่า นักเรียนโรงเรียนสาธิตมีคะแนนการอ่านสูงกว่าค่าเฉลี่ย OECD (ค่าเฉลี่ย 500) โดยนักเรียนสาธิต 96% มีการอ่านสูงกว่าระดับพื้นฐาน นั่นคือนักเรียนสาธิตไม่ถึง 5% มีการอ่านต่ำกว่าระดับพื้นฐาน ในขณะที่หลายกลุ่มมีนักเรียนจำนวนมากได้แก่ โรงเรียนขยายโอกาส(เดิม) (75%) โรงเรียนของกรุงเทพมหานคร (71%) และวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐ (57%) โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน (49.5%) โรงเรียนในสังกัดการศึกษาท้องถิ่น (47%) โรงเรียนเอกชน (41%) และโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา (เดิม) (37.5%)(สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2549) นั่นแสดงว่านักเรียนจากโรงเรียนขยายโอกาส(เดิม)มีความรู้และทักษะการอ่านต่ำกว่านักเรียนจากสังกัดอื่น ๆ

ทักษะการอ่านของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุเนื่องมาจากผู้สอนใช้วิธีการสอนที่ไม่เหมาะสมทำให้การอ่านของนักเรียนล้มเหลว และการสอนไม่ได้ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้สอนจะเน้นไปในด้านการแปล เน้นความจำคำศัพท์ กฎไวยากรณ์ซึ่งไม่ส่งเสริมทักษะการคิด ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจในการอ่าน ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้จากการอ่านให้ออกมาเป็นคำพูดหรือตัวอักษรได้ ประกอบกับผู้สอนไม่ได้สอนให้นักเรียนฝึกฝนกระบวนการอ่านอย่างแท้จริง แต่จะสอนโดยวิธีแปลเป็นภาษาไทย แทนที่จะให้นักเรียนทำความเข้าใจโดยใช้ภาษาอังกฤษและที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการอ่านต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้เดิม ประสบการณ์ในการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งมีอิทธิพลที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพอใจในการเรียน โดยผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความถนัดในการเรียน และต้องให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุดไม่ควรใช้ภาษาไทย ควรสอนให้นักเรียนมีความสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจกับสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏจริงในชีวิตประจำวัน มีแบบฝึกหัดให้นักเรียนใช้ภาษาโดยอัตโนมัติและจัดกิจกรรมทางภาษาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกใช้ภาษา เพื่อติดต่อสื่อสารในสถานการณ์จริง และกิจกรรมต้องมีสภาพการณ์ใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุด

จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยซึ่งปฏิบัติหน้าที่สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นการสอนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น (Beginner Level) นักเรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพียงพอที่จะไปศึกษาต่อในระดับพัฒนา (Developing Level) ต่อไป ครูผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องศึกษาเพื่อหากลวิธีการสอนที่มีความเหมาะสมไปใช้ในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน จากการศึกษาพบว่า กลวิธี KWL PLUS เป็นกลวิธีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากกลวิธี KWL ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยโอเกิ้ล (Ogle) ในปี ค.ศ. 1986 ต่อมาในปีค.ศ. 1987 โอเกิ้ล (Ogle) ร่วมกับคาร์ (Carr) ได้ศึกษาพัฒนากลวิธี KWL เป็นกลวิธี KWL PLUS ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มการทำแผนผังความคิดให้นักเรียนได้สรุปเรื่องที่อ่านอีกครั้งหนึ่ง คาร์และโอเกิ้ล (1987: 626-631) กล่าวว่า กลวิธี KWL PLUS เป็นกลวิธีการสอนที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนได้ เพราะเป็นกลวิธีการสอนอ่านที่ช่วยกระตุ้นนักเรียนให้เป็นนักคิดในขณะที่อ่านซึ่งขั้นตอนประกอบด้วย 1) K หมายถึง Know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่าตนเองมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องจะอ่านมากน้อยเพียงใด โดยนำความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมของนักเรียนมาใช้ในการเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่เป็นสำคัญก่อนที่จะเริ่มอ่านเรื่องที่กำหนด 2) W หมายถึง Want to know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่อ่านบ้าง ซึ่งคำถามที่นักเรียนสร้างขึ้นก่อนการอ่านนี้เป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่านและเป็นการคาดหวังว่าจะพบอะไรในบทอ่านบ้าง 3) L หมายถึง Learned เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่า ตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน นักเรียนจะหาคำตอบให้กับคำถามที่ตนเองตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 2 แล้วจดบันทึกสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ 4) PLUS หมายถึง การเพิ่มกิจกรรมการทำแผนภูมิบทอ่าน หรือผังสัมพันธ์ทางความหมายเพื่อใช้ในการสรุปความหลังการอ่าน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านและสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น

จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากลวิธี KWL PLUS เป็นกลวิธีที่ฝึกทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้นักเรียนจัดระบบความคิดและผลการเรียนรู้จากการอ่าน นอกจากนี้กลวิธี KWL PLUS ยังเป็นกลวิธีที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนแต่ละคนให้มีความรับผิดชอบต่อการอ่านของตนเองซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและช่วยครูในการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ถูกต้องแก่นักเรียนเพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจเรื่องที่อ่านแก่นักเรียนมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ในทุกระดับ มีกรอบและแนวทางฝึกให้คิดเป็นลำดับขั้นตอน โดยครูเป็นผู้มีบทบาทคอยดูแลการฝึกของนักเรียน คอยถามคำถาม เพื่อให้นักเรียนแสวงหาคำตอบและคอยกระตุ้นให้นักเรียนถามคำถามจากเรื่องที่อ่าน ซึ่งการใช้กลวิธีแบบนี้มีการส่งเสริมการเรียนรู้โดยการระดมพลังสมองภายในกลุ่ม มีกิจกรรมการอ่านที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความรู้เดิมโดยใช้ประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและกัน นอกจากนี้ในขั้นตอนสุดท้ายของการอ่านมีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดระบบ จัดประเภทแล้วสร้างเป็นแผนภาพความคิด ซึ่งแผนภาพความคิดนี้ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมไปสู่การเรียนรู้เรื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น และเชื่อมโยงการเรียนรู้ได้อย่างสัมพันธ์กัน แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านหรือไม่ เพียงใด ช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านและสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม  ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้จากการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยกลวิธีดังกล่าวส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน จากผลการวิจัยของสิสโค (Sisco 1991: abstract) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้ในการช่วยเหลือด้านความสามารถในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ในการช่วยเหลือด้านความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนที่สอนด้วยกลวิธี KWL และการจัดการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้กันของนักเรียนระดับชั้นที่ 3 ที่เรียนซ่อมเสริมจำนวน 6 คน ปรากฏว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านความสามารถในการเข้าใจจากการอ่านของนักเรียนและนักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อโครงการและเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ สำหรับการวิจัยที่นำกลวิธี KWL PLUS มาใช้ภายในประเทศ อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ์ (2550: 93) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี KWL PLUS ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี KWL PLUS แตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี KWL PLUS อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน แสดงว่า กลวิธี KWL PLUS สามารถใช้ได้กับนักเรียนในประเทศไทยในระดับหนึ่ง 

ทักษะการอ่านของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุเนื่องมาจากผู้สอนใช้วิธีการสอนที่ไม่เหมาะสมทำให้การอ่านของนักเรียนล้มเหลว และการสอนไม่ได้ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้สอนจะเน้นไปในด้านการแปล เน้นความจำคำศัพท์ กฎไวยากรณ์ซึ่งไม่ส่งเสริมทักษะการคิด ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจในการอ่าน ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้จากการอ่านให้ออกมาเป็นคำพูดหรือตัวอักษรได้ ประกอบกับผู้สอนไม่ได้สอนให้นักเรียนฝึกฝนกระบวนการอ่านอย่างแท้จริง แต่จะสอนโดยวิธีแปลเป็นภาษาไทย แทนที่จะให้นักเรียนทำความเข้าใจโดยใช้ภาษาอังกฤษและที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการอ่านต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้เดิม ประสบการณ์ในการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งมีอิทธิพลที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพอใจในการเรียน โดยผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความถนัดในการเรียน และต้องให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุดไม่ควรใช้ภาษาไทย ควรสอนให้นักเรียนมีความสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจกับสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏจริงในชีวิตประจำวัน มีแบบฝึกหัดให้นักเรียนใช้ภาษาโดยอัตโนมัติและจัดกิจกรรมทางภาษาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกใช้ภาษา เพื่อติดต่อสื่อสารในสถานการณ์จริง และกิจกรรมต้องมีสภาพการณ์ใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุด

จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยซึ่งปฏิบัติหน้าที่สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นการสอนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น (Beginner Level) นักเรียนจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพียงพอที่จะไปศึกษาต่อในระดับพัฒนา (Developing Level) ต่อไป ครูผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องศึกษาเพื่อหากลวิธีการสอนที่มีความเหมาะสมไปใช้ในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียน จากการศึกษาพบว่า กลวิธี KWL PLUS เป็นกลวิธีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากกลวิธี KWL ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยโอเกิ้ล (Ogle) ในปี ค.ศ. 1986 ต่อมาในปีค.ศ. 1987 โอเกิ้ล (Ogle) ร่วมกับคาร์ (Carr) ได้ศึกษาพัฒนากลวิธี KWL เป็นกลวิธี KWL PLUS ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มการทำแผนผังความคิดให้นักเรียนได้สรุปเรื่องที่อ่านอีกครั้งหนึ่ง คาร์และโอเกิ้ล (1987: 626-631) กล่าวว่า กลวิธี KWL PLUS เป็นกลวิธีการสอนที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนได้ เพราะเป็นกลวิธีการสอนอ่านที่ช่วยกระตุ้นนักเรียนให้เป็นนักคิดในขณะที่อ่านซึ่งขั้นตอนประกอบด้วย 1) K หมายถึง Know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่าตนเองมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องจะอ่านมากน้อยเพียงใด โดยนำความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมของนักเรียนมาใช้ในการเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่เป็นสำคัญก่อนที่จะเริ่มอ่านเรื่องที่กำหนด 2) W หมายถึง Want to know เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่อ่านบ้าง ซึ่งคำถามที่นักเรียนสร้างขึ้นก่อนการอ่านนี้เป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่านและเป็นการคาดหวังว่าจะพบอะไรในบทอ่านบ้าง 3) L หมายถึง Learned เป็นขั้นตอนที่นักเรียนสำรวจว่า ตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน นักเรียนจะหาคำตอบให้กับคำถามที่ตนเองตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 2 แล้วจดบันทึกสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ 4) PLUS หมายถึง การเพิ่มกิจกรรมการทำแผนภูมิบทอ่าน หรือผังสัมพันธ์ทางความหมายเพื่อใช้ในการสรุปความหลังการอ่าน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านและสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น

จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากลวิธี KWL PLUS เป็นกลวิธีที่ฝึกทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้นักเรียนจัดระบบความคิดและผลการเรียนรู้จากการอ่าน นอกจากนี้กลวิธี KWL PLUS ยังเป็นกลวิธีที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนแต่ละคนให้มีความรับผิดชอบต่อการอ่านของตนเองซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและช่วยครูในการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ถูกต้องแก่นักเรียนเพื่อช่วยพัฒนาความเข้าใจเรื่องที่อ่านแก่นักเรียนมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านได้ในทุกระดับ มีกรอบและแนวทางฝึกให้คิดเป็นลำดับขั้นตอน โดยครูเป็นผู้มีบทบาทคอยดูแลการฝึกของนักเรียน คอยถามคำถาม เพื่อให้นักเรียนแสวงหาคำตอบและคอยกระตุ้นให้นักเรียนถามคำถามจากเรื่องที่อ่าน ซึ่งการใช้กลวิธีแบบนี้มีการส่งเสริมการเรียนรู้โดยการระดมพลังสมองภายในกลุ่ม มีกิจกรรมการอ่านที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีความรู้เดิมโดยใช้ประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและกัน นอกจากนี้ในขั้นตอนสุดท้ายของการอ่านมีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดระบบ จัดประเภทแล้วสร้างเป็นแผนภาพความคิด ซึ่งแผนภาพความคิดนี้ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมไปสู่การเรียนรู้เรื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น และเชื่อมโยงการเรียนรู้ได้อย่างสัมพันธ์กัน แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านหรือไม่ เพียงใด ช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านและสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม  ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้จากการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยกลวิธีดังกล่าวส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน จากผลการวิจัยของสิสโค (Sisco 1991: abstract) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้ในการช่วยเหลือด้านความสามารถในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ในการช่วยเหลือด้านความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนที่สอนด้วยกลวิธี KWL และการจัดการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้กันของนักเรียนระดับชั้นที่ 3 ที่เรียนซ่อมเสริมจำนวน 6 คน ปรากฏว่ามีผลต่อพัฒนาการด้านความสามารถในการเข้าใจจากการอ่านของนักเรียนและนักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อโครงการและเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ สำหรับการวิจัยที่นำกลวิธี KWL PLUS มาใช้ภายในประเทศ อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ์ (2550: 93) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี KWL PLUS ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี KWL PLUS แตกต่างกัน โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี KWL PLUS อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน แสดงว่า กลวิธี KWL PLUS สามารถใช้ได้กับนักเรียนในประเทศไทยในระดับหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #การอ่าน
หมายเลขบันทึก: 328541เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2010 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท