คนเป็นครู ครูเป็นคน


ปฏิรูปรอบสองต้องเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน...สถาบันผลิตครูจะต้องพิจารณาความสำคัญของการเตรียมตัวบุคคลที่จะเข้าสู่วิชาชีพครูมากยิ่งขึ้น

วันครูปีนี้..16 มกราคม 2553

  •   ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมวันครู 
  •   ด้วยเพราะมีงานเป็นกรรมการคุมสอบนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในสถานศึกษาจังหวัดยะลา  ปัตตานีและนราธิวาส เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี ประเภทคัดเลือกตรง ประจำปีการศึกษา 2553    มีผู้มีสิทธิ์เข้าสอบคัดเลือกทั้งหมด 1,485 คน

   ในการนี้จำแนกจำนวนในแต่ละสาขาวิชา ดังนี้

สาขาวิชา
จำนวน
คิดเป็นเปอร์เซนต์
ปฐมวัย
230
15.80
คณิตศาสตร์
249
17.10
วิทยาศาสตร์
288
19.75
ภาษาไทย
216
14.82
ภาษาอังกฤษ
328
22.50
สังคมศึกษา
147
10.10
รวม
1,458
100.00

ที่น่าสังเกต มี 2 ประเด็น คือ

         1. นักศึกษาเลือกสาขาวิชาภาษาอังกฤษในเปอร์เซนต์ที่สูงสุด ในขณะที่เปอร์เซนต์ต่ำสุด คือ สังคมศึกษา
            (ทั้งๆที่ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีนักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่ามีปัญหาพื้นฐานมาจากสภาพทางสังคมพหุวัฒนธรรม)
        2. นักศึกษาในห้องที่ผู้บันทึกคุมสอบนั้นมีจำนวนทั้งหมด 45 คน  เข้าสอบ 27 คน ขาดสอบ 18 คน คิดเป็นเปอร์เซนต์ที่ขาดสอบสูงถึง 40 เปอร์เซนต์
        
             ทำให้นึกถึงหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการฝึกหัดครู 
            แต่จากวันนี้ผลที่เห็นจากการคุมสอบที่มีนักศึกษาขาดสอบเป็นจำนวนมาก  เมื่อสอบถามนักเรียนที่มาสอบแล้วทราบว่านักเรียนสอบได้ที่อื่นจึงไม่มาสอบที่ราชภัฏยะลา  ทำให้นึกได้ว่ามีนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเลือกเรียนวิชาชีพครูในลำดับหลังอาชีพอื่นๆ 
        
            ในส่วนของนโยบายการปฏิรูปการศึกษารอบสองที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ ได้กล่าวถึงแนวทางการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาด้วยว่า จะเน้นพัฒนาให้เป็นครูยุคใหม่ ทั้งครูปัจจุบันที่จะต้องมีการอบรมพัฒนาทุกคนทั่วประเทศในปีนี้ และครูที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต โดยมีโครงการครูพันธุ์ใหม่ ที่จะเปิดโอกาสให้คนเก่งเข้ามาเป็นครูมากขึ้น อีกทั้งจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพในการผลิตครูที่จะต้องมีมาตรฐานอย่างน้อย 5 ข้อตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา คือ
                       1) มีคุณธรรมจริยธรรม
                      2) มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
                      3) มีทักษะทางวิชาการในวิชาที่เรียน
                      4) มีทักษะทางสังคม เพื่อจะอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้
                      5) มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 
       
            ดังนั้น   มหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ทำหน้าที่ในการผลิตครู  จึงควรได้ทบทวนบทบาทหน้าที่การผลิตครูทั้งกระบวนการโดยเริ่มจากกระบวนการคัดเลือกนักเรียนเข้ามาเรียนวิชาชีพครู  การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพครู การปฏิรูปการเรียนการสอนและกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

          ปฏิรูปรอบสองต้องเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

         สถาบันผลิตครูจะต้องพิจารณาความสำคัญของการเตรียมตัวบุคคลที่จะเข้าสู่วิชาชีพครูมากยิ่งขึ้น 

 

 

หมายเลขบันทึก: 328518เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2010 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกำลังใจให้ในการทำงานทางการศึกษาค่ะ อยากเห็นครูพันธุ์ใหม่จริงๆ ในสังคมของอาชีพครูค่ะ

คุณ noktalay 

  • อ่านว่า นอกทะเล หรือนกทะเลคะ?
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ..
  • ทำงานอาชีพครูมาแล้ว 24 ปี
  • แต่บัตรข้าราชการตอนนี้ ระบุ "ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา" ไม่ใช่"ข้าราชการครู" ก็งงๆอยู่เหมือนกัน..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท