เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools)


เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวางแผน และป้องกันปัญหาเพื่อให้ได้นโยบาย และมาตรการเชิงรุกที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม

เครื่องมือคุณภาพใหม่  7  อย่าง  (The 7 New QC Tools)

         เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง  (The 7 New QC Tools)  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวางแผน  และป้องกันปัญหาเพื่อให้ได้นโยบาย  และมาตรการเชิงรุกที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม  โดยการระดมความคิดและข้อเท็จจริงในอดีต รวมถึงการมองภาพความต้องการในอนาคตของลูกค้าและคู่แข่งมาใช้เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ขยายฐานลูกค้าใหม่ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ     

เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่างประกอบด้วย

1.  แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram)   เป็นการ หาปัญหา  จากสถานการณ์ที่ตัดสินใจไม่ได้  โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจาการซักถาม  พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ 

2.  แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)  เป็นการ หาสาเหตุของปัญหา  โดยการเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผล  ระหว่างสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นหลังจากจัดกลุ่มข้อมูล (Affinity Diagram)

3.  แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram)  เป็นการ หาวิธีแก้ปัญหา  ในรูปของแผนงาน/แนวทางหรือวิธีการ  เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น โดยการมุ่งเน้นไปที่ต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา จากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)

4.  แผนภูมิเมตริกซ์ (Matrix Diagram)  เป็นการ นำเสนอทางเลือกวิธีแก้ปัญหา  จากความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมายและแผนงาน / มาตรการ / วิธีการ ที่ได้จากการเสนอแนะจากแผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram)    ว่าแนวทางใดน่าจะมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และส่งผลกระทบให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ก่อน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างเต็มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล

5.  แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart)  เป็นการ เลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีหลายวิธี  โดยใช้การเปรียบเทียบสมรรถนะจากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งที่เป็นนำในด้านสินค้า หรือบริการคล้ายๆกับองค์กรของเรา  วิธีนี้จะทำให้เห็นภาพว่าองค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไปอย่างถูกทิศทาง

6.  แผนภาพทางเลือกตัดสินใจเพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart, PDPC) เป็นการ หาวิธีแก้ปัญหาสำรอง ในกรณีที่มีทางเลือก  โดยใช้การหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อทราบถึงทุกอุปสรรคในกระบวนการก็สามารถหาแนวทางในการขจัดอุปสรรคทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คล้ายกับการมีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับไว้เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้องค์กรมีความมั่นใจต่อการเผชิญ

7.  แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram)  เป็นการ วางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรม  ว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

หมายเหตุ เครื่องมือคุณภาพทั้ง 7 อย่าง มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ดังนั้น

                  การนำไปใช้ควรเรียงลำดับขั้นตอนที่เหมาะสม

 

ที่มา http://onzonde.multiply.com/journal/item/62/62

 

คำสำคัญ (Tags): #the 7 new qc tools
หมายเลขบันทึก: 328052เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอยืมไปอ้างอิงหน่อยนะครับ

มีรายละเอียด ข้อหกไหม บล๊อกสวยดีนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท