ข้อห้ามบางประการจากอัล-กุรอาน


อัลลอฮ์ทรงห้ามบริโภคอาหาร...... สิ่งมึนเมา การพนัน การผิดประเวณี

สูเราะฮฺอัล บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่  219

 

يَسْأَلُونَكَ عَنِ الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ قُلْ فِيهِمَا إِثْمٌ كَبِيرٌ وَمَنَافِعُ لِلنَّاسِ وَإِثْمُهُمَآ أَكْبَرُ مِن نَّفْعِهِمَا وَيَسْأَلُونَكَ مَاذَا يُنفِقُونَ قُلِ الْعَفْوَ كَذَلِكَ يُبيِّنُ اللّهُ لَكُمُ الآيَاتِ لَعَلَّكُمْ تَتَفَكَّرُونَ =  

 

ความหมายของอายะฮ 

            พวกเขาถามเจ้า (มุฮัมมัด)   เกี่ยวกับสิ่งมึนเมาและการพนัน  จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองอย่างนั้น  มีโทษอย่างมหันต์  และมีคุณบ้างแก่มนุษย์  แต่โทษของมันทั้งสองอย่างนั้น  มีมากกว่าคุณของมัน (ทั้งสอง)  และพวกเขาถามเจ้าอีกว่า  พวกเขาบริจาคสิ่งใดบ้าง     จงกล่าวเถิดว่า  สิ่งที่เหลือจากการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น  ในทำนองนั้นแหละ  อัลลอฮ์ทรงแจกแจงอายะฮฺทั้งหลายแก่พวกเจ้า  หวังว่าพวกเจ้า  (จะ)ได้ใคร่ครวญ 

 

คำอธิบาย 

            มุอาซ  บุตรญะบัล  และเศาะหาบะฮ์อื่น ๆ    ได้ถามท่านนบีมุฮัมมัด   ศ็อลลัลลอฮุ    อะลัยฮิ    วะสัสลัม เกี่ยวกับกฎข้อบังคับและการปฏิบัติตัวในเรื่องของมึนเมาและการพนัน       เพราะทั้งสองชนิดนี้ให้โทษมากกว่าให้คุณ  ทำให้มนุษย์ขาดสติปัญญาและสูญเสียทรัพย์ นี่คือสาเหตุที่อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์นี้ลงมา

            อีกรายงานหนึ่งระบุว่า  มุอาซ บุตรญะบัล    และษะอฺละบะฮฺ    ได้ไปหาท่านนบีมุฮัมมัด    ศ็อลลัลลอฮุ  อะลัยฮิ วะสัสลัม และถามว่า “โอ้ท่านรสูลุลลอฮ์  เรามีทาสมากมายและมีสมาชิกครอบครัวก็มาก   ทรัพย์สมบัติอันไหนที่เราต้องจ่ายแจก”  จึงได้ลงอายะฮฺ 

“ وَيَسْأَلُونَكَ مَاذَا يُنفِقُونَ قُلِ الْعَفْوَ كَذَلِكَ يُبيِّنُ اللّهُ لَكُمُ الآيَاتِ لَعَلَّكُمْ تَتَفَكَّرُونَ  ”

            สภาพของชาวมะดีนะฮ์ในขณะที่ท่านนบีมุฮัมมัด  ศ็อลลัลลอฮุ    อะลัยฮิ    วะสัสลัม      อพยพมาถึงนั้น  มีการดื่มสุราและเล่นการพนัน  บรรดาเศาะหาบะฮ์จึงได้ถามท่านนบีฯ  ถึงเรื่องสุราและการพนัน    เมื่ออายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาแล้ว  ประชาชนก็พูดกันว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามเราดื่มสุราและเล่นการพนัน     แต่ทรงกล่าวว่า สิ่งมึนเมาต่าง ๆ และการพนันนั้นก่อให้เกิดโทษมากกว่าให้คุณ แล้วพวกเขาก็ยังคงดื่มกันต่อไป

            ครั้งหนึ่งมีเศาะหาบะฮฺคนหนึ่งนำละหมาดในขณะที่มึนเมาอยู่ ทำให้เขาอ่านสับสน     เพราะควบคุมสติไม่ได้  ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ประทานอายะฮฺห้ามละหมาดขณะที่มึนเมาอยู่  ดังอัล – กุรฺอานกล่าวไว้ความว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَقْرَبُواْ الصَّلاَةَ وَأَنتُمْ سُكَارَى حَتَّىَ تَعْلَمُواْ مَا تَقُولُونَ

            ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอย่าเข้าใกล้การละหมาดขณะที่พวกเจ้ากำลังมึนเมาอยู่ จนกว่าพวกเจ้าจะรู้สิ่งที่พวกเจ้ากล่าว….”

(สูเราะฮฺอัน – นิสาอ์ อายะฮฺที่ 43)

            หลังจากอายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาแล้ว ก็ยังมีคนดื่มสุรากันอยู่อีก  อัลลอฮฺจึงได้ประทานอายะฮฺห้ามดื่มสุราและเล่นการพนันโดยเด็ดขาด  ดังอัล–กุรฺอานกล่าวไว้ความว่า

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ  =       إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَن يُوقِعَ بَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاء فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّكُمْ عَن ذِكْرِ اللّهِ وَعَنِ الصَّلاَةِ فَهَلْ أَنتُم مُّنتَهُونَ  =

                ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย  แท้จริงสิ่งมึนเมา การพนัน  แท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชา   และติ้วเสี่ยงทายนั้น  ล้วนเป็นสิ่งโสมมที่เกิดจากการกระทำของชัยฏอน  พวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงมันเสียเถิด       แน่นอนพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ  แท้จริงชัยฏอนมันต้องการให้เกิดขึ้นระหว่างพวกเจ้า ซึ่งการเป็นศัตรูและการเกลียดชังกันเนื่องจากน้ำเมาและการพนัน      และต้องการที่จะขัดขวางพวกเจ้าให้หันเหออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์และการละหมาดอีกด้วย และพวกเจ้าจงยุติเถิด”

(สูเราะฮฺอัล – มาอิดะฮฺ  อายะฮฺที่ 90 - 91)

 

                ผู้ที่เสพสิ่งเสพย์ติด   เมื่อเสพจนเป็นนิสัยแล้วยากที่จะเลิกได้     ดังนั้นการห้ามเสพสิ่งมึนเมาที่ปรากฏในอัล– กุรฺอาน มีลำดับขั้นตอนที่เด่นชัด    กล่าวคือ  เมื่อมีผู้ถามท่านนบีมุฮัมมัด  ศ็อลลัลลอฮุ    อะลัยฮิ    วะสัสลัม เกี่ยวกับสิ่งมึนเมา  อัลลอฮฺทรงสั่งให้ท่านตอบว่า    มันมีทั้งคุณและโทษ  แต่มีโทษมากกว่า    เป็นการกล่าวเตือนให้คิดเพื่อให้เลิกกระทำ  เมื่อบ่าวของพระองค์ยังเสพอยู่จนถึงกับทำการละหมาดในขณะที่มึนเมา  ทำให้การอ่านอายะฮฺต่างๆ ในการละหมาดคลาดเคลื่อนผิดความหมาย พระองค์จึงห้ามละหมาดในขณะที่มึนเมา       จะเห็นว่าเป็นการห้ามเพื่อให้ผู้เสพลดปริมาณการเสพลงไป           เป็นการห้ามเฉพาะกรณี และเมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว  พระองค์จึงห้ามการเสพของมึนเมาทุกชนิดอย่างเด็ดขาด  ขั้นตอนต่าง ๆ นั้นเป็นข้อคิดแก่มนุษย์ในการแก้ปัญหาสังคมได้

 

บทสรุป 

  1. สิ่งที่เสพแล้วก่อให้เกิดความมึนเมา   ขาดสติปัญญา   ความคิด    สูญเสียทรัพย์สิน มีโทษต่อร่างกาย  ทำให้เสียบุคลิกภาพแห่งความเป็นมนุษย์   เช่น   ฝิ่น   เฮโรอิน   เหล้า  กัญชา  เบียร์ ฯลฯ    ถือว่าเป็นสิ่งที่หะรอมตามหลักการอิสลาม
  2. ผลประโยชน์ที่ได้จากการเสี่ยงในการเล่นการพนันด้วยการลงทุนน้อย  เพื่อหวังผลตอบแทนที่มากกว่า หรือการกระทำให้ทรัพย์สินหมดไปด้วยการเสี่ยง  เช่น  การพนันทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นม้า  ไพ่   หวย ฯลฯ  ถือว่าเป็นสิ่งที่หะรอมตามหลักการอิสลาม

 

โทษของสุรามีหลายประการ ดังนี้ 

  1. ทำให้สติฟั่นเฟือน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท
  2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สมบัติ
  3. ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ  เช่น  โรคตับแข็ง  โรคพิษสุราเรื้อรัง
  4. ทำให้เสียเวลาทำมาหากิน
  5. ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในครอบครัว  ตลอดจนเป็นบ่อเกิดของปัญหาสังคม เช่น การปล้น  จี้  การฆาตกรรม  การขูดรีด และทำให้เกิดหนี้สิน

 

โทษของการพนันมีหลายประการ ดังนี้ 

  1. ทำให้เสียเวลา
  2. ทำให้สูญเสียเงินทองและเป็นหนี้สิน
  3. ส่งเสริมให้บุคคลหวังในโชคลาภมากเกินไป จนเกียจคร้านในการทำงาน
  4. ทำให้ครอบครัวแตกแยกสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความทุกข์   เป็นการกระทำที่ศาสนาห้ามปฏิบัติ    ทั้งนี้เพื่อความสันติสุขของส่วนรวม

               

กิจกรรมท้ายบท 

  1. นักเรียนอภิปรายผลเสียของการดื่มสุรา และการเล่นการพนัน
  2. นักเรียนอภิปรายการเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคมไปสู่หนทางที่ดีงาม มีหลักเกณฑ์อย่างไร
    1. นักเรียนอถิปรายเรื่อง การทำตัวเองให้ห่างไกลยาเสพติด

สูเราะฮ์อัล มาอิดะฮ์   อายะฮ์ที่  3

 

حُرِّمَتْ عَلَيْكُمُ الْمَيْتَةُ وَالْدَّمُ وَلَحْمُ الْخِنْزِيرِ وَمَا أُهِلَّ لِغَيْرِ اللّهِ بِهِ وَالْمُنْخَنِقَةُ وَالْمَوْقُوذَةُ وَالْمُتَرَدِّيَةُ وَالنَّطِيحَةُ وَمَا أَكَلَ السَّبُعُ إِلاَّ مَا ذَكَّيْتُمْ وَمَا ذُبِحَ عَلَى النُّصُبِ وَأَن تَسْتَقْسِمُواْ بِالأَزْلاَمِ ذَلِكُمْ فِسْقٌ الْيَوْمَ يَئِسَ الَّذِينَ كَفَرُواْ مِن دِينِكُمْ فَلاَ تَخْشَوْهُمْ وَاخْشَوْنِ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا فَمَنِ اضْطُرَّ فِي مَخْمَصَةٍ غَيْرَ مُتَجَانِفٍ لِّإِثْمٍ فَإِنَّ اللّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ   =

 

ความหมายของอายะฮฺ 

                ได้มีบทบัญญัติเป็นข้อห้ามแก่สูเจ้าทั้งหลาย (ซึ่ง)ซากสัตว์  และเลือด  และเนื้อสุกร  และสัตว์ที่ถูกเชือดโดยกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮ์  และสัตว์ตายเพราะถูกรัดคอ  และสัตว์ตายเพราะถูกตี และสัตว์ตายเพราะตกจากที่สูง และสัตว์ที่ถูกขวิดตาย  และสัตว์ที่ถูกสัตว์ร้ายกัดตายยกเว้นที่พวกสูเจ้าเชือดทัน  และสัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นบูชา  และที่สูเจ้าเสี่ยงทาย  ด้วยถ้วยตะไล (แบบเดียวกับการใช้ติ้ว)  เหล่านั้นล้วนเป็นการฝ่าฝืน (บทบัญญัติของอัลลอฮ์)   (ใน) วันนี้  บรรดาผู้เนรคุณได้สิ้นหวังที่จะทำให้สูเจ้าออกจากศาสนาของสูเจ้า  ดังนั้นจงอย่ากลัวพวกเขา  แต่จงกลัวฉัน  (ใน) วันนี้ฉัน (อัลลอฮ์) ได้ทำให้ศาสนาของสูเจ้ามีความสมบูรณ์เพื่อสูเจ้าแล้ว  และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้า  และฉันพึงใจให้อิสลามเป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า  ดังนั้นบุคคลใดประสบความเดือดร้อน  เนื่องจากความหิวโหย (จนถึงกับต้องบริโภคสิ่งต้องห้าม) โดยมิได้จงใจทำบาป  แท้จริงอัลลอฮ์ทรงให้อภัย  อีกทั้งทรงเมตตายิ่ง 

คำอธิบาย 

                อัลลอฮ์ทรงอนุมัติให้มุสลิมรับประทานเนื้อสัตว์  ทั้งจากสัตว์น้ำและสัตว์บก  จากอายะฮฺดังกล่าวข้างต้น  อัลลอฮฺทรงห้ามมุสลิมบริโภคอาหารจากสัตว์ประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1.   ซากสัตว์ หรือสัตว์ที่ตายเอง (ยกเว้นสัตว์น้ำ) ได้แก่

1.1 สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย

1.2 สัตว์ที่ถูกตีตาย

1.3 สัตว์ที่ตกลงมาตาย

1.4 สัตว์ที่ถูกสัตว์อื่นขวิดตาย

1.5 สัตว์ที่ถูกสัตว์ร้ายกัดตาย

2.   เลือด คือ เลือดที่ไหลออกมาจากร่างของสัตว์

3.   หญิงผู้ผิดประเวณี  และชายผู้ผิดประเวณี  พวกเจ้าจงโบย  แต่ละคนจากทั้งสอนนั้น  หนึ่งร้อยครั้ง  รวมทั้งเลือด ไขมัน หรือทุกส่วนของสุกร

4.   สัตว์ที่ถูกเชือดด้วยการกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮ์

5.   สัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นบูชา

               

หญิงผู้ผิดประเวณี  และชายผู้ผิดประเวณี  พวกเจ้าจงโบย  แต่ละคนจากทั้งสอนนั้น  หนึ่งร้อยครั้ง จากสัตว์ดังกล่าวข้างต้น      ส่วนหนึ่งเพื่อสุขภาพพลานามัย     เพราะสัตว์บางประเภทมีพยาธิบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ    ส่วนหนึ่งเพื่อมิให้ทำทารุณสัตว์   เช่น    รัดคอ    ตี    โยนให้ตกลงมา  ปล่อยให้มันขวิดกันตาย และส่วนหนึ่งเพื่อขัดเกลาจิตใจ ไม่ตั้งสิ่งอื่นใดเป็นภาคีกับอัลลอฮ์

            ในสมัยญาฮิลียะฮฺ  การเสี่ยงโชคชะตาเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง  แต่เป็นสิ่งที่สร้างความหวังอันเลื่อนลอย และบางครั้งก็ฝากความหวังไว้กับหมอดู     ซึ่งเป็นการตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ     อัลลอฮฺจึงทรงห้ามการเสี่ยงโชคชะตาอย่างเด็ดขาด  อิสลามเป็นศาสนาที่บริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ เพราะสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงห้ามไว้ทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดโทษต่อตัวผู้กระทำเอง

            ท่านรสูลุลลอฮ์     ได้กล่าวคำปราศรัยในหัจญะตุลวะดาอ    (หัจญ์อำลา)   ณ    ทุ่งอะเราะฟะฮ์    ความว่า 

            “เหล่ากาฟิร (ผู้ปฏิเสธศาสนา) หมดหวังที่จะทำลายศาสนาอิสลามแล้ว       ด้วยเหตุนี้พวกเจ้าอย่าได้กลัวเกรงผู้ใดทั้งสิ้นนอกจากอัลลอฮ์          และในวันนี้อัลลอฮ์ได้ทรงให้ความสมบูรณ์แก่ศาสนาอิสลาม       กล่าวคือ  ได้ห้ามในสิ่งที่ควรห้าม และได้ทรงอนุมัติสิ่งที่ควรอนุมัติ จนไม่มีอะไรเป็นที่ข้องใจแก่ผู้ใดอีกแล้ว”

                และตั้งแต่ปีนั้น  (ปีที่  10  ฮิจญเราะฮ์ศักราช)   เป็นต้นมา     บรรดาผู้ปฏิเสธไม่สามารถจะเข้าไปในนครมักกะฮฺได้อีกแล้ว      เพราะปีนั้นเป็นปีที่มุสลิมได้ครอบครองนครมักกะฮฺอย่างสมบูรณ์และได้มีผู้คนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

            จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า        ไม่เป็นที่อนุมัติแก่มุสลิมที่จะบริโภคอาหารต้องห้ามเหล่านั้น  นอกจากในบางกรณี  เช่น  อยู่ในภาวะที่คับขันไม่มีอาหารอื่นใดอีกแล้ว และรับประทานเพื่อความอยู่รอดเท่านั้น  ศาสนาอนุมัติให้มีการผ่อนปรนตามสภาพความจำเป็นได้                แสดงให้เห็นว่าอิสลามเป็นศาสนาที่มีเหตุผล  ซึ่งอัลลอฮฺรับรองว่า     เป็นศาสนาสำหรับปวงชนผู้มีสติใคร่ครวญ    แท้จริงแล้วพระองค์ทรงให้อภัยต่อบ่าวของพระองค์

 

หิกมะฮฺ 

            จากเหตุผลที่อัลลอฮฺห้ามมนุษย์บริโภคสิ่งต่าง ๆ   ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น    พอจะเป็นแนวทางให้ผู้มีสติปัญญาได้คิดว่า   สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นให้โทษแก่มนุษย์มากกว่าให้คุณ    นักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันได้ค้นพบและยอมรับว่าสิ่งที่อิสลามได้ห้ามไว้เป็นเวลาพันกว่าปีมาแล้วนั้น เป็นสิ่งที่นำอันตรายมาสู่มนุษย์   หากมนุษย์ยังขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามหลักการที่พระผู้เป็นเจ้าทรงห้ามไว้

            ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์กันแล้วว่า     การรอคอยความหวังโดยอาศัยโชคชะตานั้น       ทำให้มนุษย์มีนิสัยเกียจคร้าน ไม่อาจทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้

 

บทสรุป

            อัลลอฮ์ทรงห้ามบริโภคอาหารจากสัตว์ดังนี้

1.   ซากสัตว์ หรือสัตว์ที่ตายเอง กล่าวคือ

1.1 สัตว์ที่ถูกสัตว์อื่นขวิดตาย

1.2 สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย

1.3 สัตว์ที่ถูกตีตาย

1.4 สัตว์ที่ตกลงมาตาย

1.5 สัตว์ที่ถูกสัตว์ร้ายกัดตาย

2.   เลือดที่ไหลออกมา

3.   เนื้อสุกร

4.   สัตว์ที่ถูกเชือดด้วยการกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮ์

5.   สัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นบูชา แม้จะกล่าวนามของอัลลอฮ์ก็ตาม

              ถ้าหากตกอยู่ในสภาพการณ์ขั้นคับขัน  โดยไม่มีทางเลือกหรือเพราะถูกบังคับ ก็อนุโลมให้บริโภคสิ่งที่ต้องห้ามที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นคราว ๆ ไป

 กิจกรรมท้ายบท  

1        ให้นักเรียนบอกสิ่งต่างๆ ที่ศาสนาอิสลามมีข้อห้ามในการรับประทาน และที่ห้ามนั้นเพราะอะไร

2        การเสี่ยงทายโชคชะตา การดูหมอดู เป็นข้อห้ามของอิสลาม ทั้งนี้เพราะสาเหตุใด จงอธิบาย

3        นักเรียนเขียนคำปราศรัยครั้งสุดท้านใน หัจญะตุ้ลวะดาอฺ ทุ่งอารอฟะฮิ โดยค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน หรืออินเตอร์เน็ต

สูเราะฮ์อัล อิสรออ์ (บนิอิสรออีล อายะฮ์ที่  31 – 39

وَلاَ تَقْتُلُواْ أَوْلادَكُمْ خَشْيَةَ إِمْلاقٍ نَّحْنُ نَرْزُقُهُمْ وَإِيَّاكُم إنَّ قَتْلَهُمْ كَانَ خِطْءًا كَبِيرًا =    وَلاَ تَقْرَبُواْ الزِّنَى إِنَّهُ كَانَ فَاحِشَةً وَسَاء سَبِيلاً =         وَلاَ تَقْتُلُواْ النَّفْسَ الَّتِي حَرَّمَ اللّهُ إِلاَّ بِالحَقِّ وَمَن قُتِلَ مَظْلُومًا فَقَدْ جَعَلْنَا لِوَلِيِّهِ سُلْطَانًا فَلاَ يُسْرِف فِّي الْقَتْلِ إِنَّهُ كَانَ مَنْصُورًا =         وَلاَ تَقْرَبُواْ مَالَ الْيَتِيمِ إِلاَّ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ حَتَّى يَبْلُغَ أَشُدَّهُ وَأَوْفُواْ بِالْعَهْدِ إِنَّ الْعَهْدَ كَانَ مَسْؤُولاً  =       وَأَوْفُوا الْكَيْلَ إِذا كِلْتُمْ وَزِنُواْ بِالقِسْطَاسِ الْمُسْتَقِيمِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً  =         وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ إِنَّ السَّمْعَ وَالْبَصَرَ وَالْفُؤَادَ كُلُّ أُولـئِكَ كَانَ عَنْهُ مَسْؤُولاً =      وَلاَ تَمْشِ فِي الأَرْضِ مَرَحًا إِنَّكَ لَن تَخْرِقَ الأَرْضَ وَلَن تَبْلُغَ الْجِبَالَ طُولاً =         كُلُّ ذَلِكَ كَانَ سَيٍّئُهُ عِنْدَ رَبِّكَ مَكْرُوهًا  =        ذَلِكَ مِمَّا أَوْحَى إِلَيْكَ رَبُّكَ مِنَ الْحِكْمَةِ وَلاَ تَجْعَلْ مَعَ اللّهِ إِلَهًا آخَرَ فَتُلْقَى فِي جَهَنَّمَ مَلُومًا مَّدْحُورًا  =

 

ความหมายของอายะฮ์

            และสูเจ้าจงอย่าฆ่าลูก ๆ ของสูเจ้า  เพราะกลัวความยากจน  เรา(อัลลอฮฺ)  เป็นผู้ประทานเครื่องยังชีพแก่พวกเขาและแก่สูเจ้าโดยเฉพาะ  แท้จริงการฆ่าพวกเขานั้น  เป็นความผิดอันร้ายแรง  และสูเจ้าจงอย่าเข้าใกล้  การผิดประเวณี  แท้จริงมันเป็นสิ่งลามก  และทางชั่วช้า  และสูเจ้าจงอย่าฆ่าชีวิต  ที่อัลลอฮ์ทรงห้ามไว้  เว้นไว้แต่ด้วยสิทธิอันชอบธรรม  และผู้ใดถูกฆ่าโดยไม่เป็นธรรม  ดังนั้นเราได้ให้อำนาจแก่ทายาทหรือผู้ปกครองของเขา(ที่จะดำเนินคดี)  ฉะนั้นจงอย่าล่วงเกินขอบเขตในเรื่องมาตกรรม  แท้จริงเขาจะได้รับการช่วยเหลือ  และสูเจ้าจงอย่าเข้าใกล้ทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้า  เว้นแต่โดยวิธีที่ดียิ่ง  จนกว่าเขาจะบรรลุความเป็นผู้ใหญ่ของเขา  และจงปฏิบัติให้ครบตามสัญญา  แท้จริงสัญญานั้น  จะถูกสอบสวน    และจงตวงให้เต็ม  เมื่อสูเจ้าตวง  และจงชั่งด้วยตาชั่งที่เที่ยงตรง  นั้นเป็นการดีและประเสริฐยิ่งในบั้นปลาย  และสูเจ้าจงอย่าตาม  สิ่งที่สูเจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น  แท้จริงหู  และตา  และใจ  ทุกสิ่งเหล่านี้จะถูกสอบสวน  และสูเจ้าจงอย่าสัญจร บนแผ่นดินอย่างผู้ทะนง  แท้จริงเจ้า ไม่สามารถทำให้แผ่นดินแยก  และสูเจ้าไม่สามารถยึดตนให้สูงเท่าภูเขาได้  ทั้งหมดนั้น  ความเลวของมัน  เป็นที่รังเกียจยิ่ง  ณ  พระผู้อภิบาลของเจ้า  นั้นคือส่วนหนึ่งจากวิทยปัญญาที่พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ทรงวะหยุแก่เจ้า  และจงอย่าตั้ง  พระเจ้าอื่นใดมาเคียงคู่กับอัลลอฮ์  มิฉะนั้นเจ้าจะถูกโยนลงในนรก  ในฐานะผู้ถูกครหา  ผู้ถูกขับไส

 

คำอธิบาย

            สูเราะฮฺอัล – อิสรออ์   หรือสูเราะฮฺบนีอิสรออีล  อายะฮ์ที่  31 – 39      เน้นในเรื่องของสวัสดิภาพสังคม ครอบครัว     การรักษาเกียรติของตนเองและผู้อื่น     การรักษาสิทธิของเด็กกำพร้า    ความยุติธรรมในการค้าขาย    รวมทั้งกำหราบไม่ให้หยิ่งยโส     ตลอดจนสั่งสอนให้มนุษย์ใส่ใจและใคร่ครวญเนื้อหาในอัล – กุรอานให้ถ่องแท้  ไม่ตั้งภาคีต่ออัลลฮ์  ซึ่งเป็นการกระทำที่มีโทษหนักในอาคิเราะฮ์

           

อายะฮ์ที่  31 

            อิสลามห้ามฆ่าลูกเนื่องจากกลัวความยากจนหรือความละอาย  ความยากจนไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว หรือเป็นอุปสรรคในการดำรงชีพ     เพราะอัลลอฮฺเป็นผู้ประทานปัจจัยยังชีพแก่มนุษย์และบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายในจักรวาล       ดังนั้นการที่บิดามารดาฆ่าลูก    เพราะกลัวความยากจนหรือความละอายนั้น เป็นความผิดและบาปมหันต์

อายะฮ์ที่  32

            การผิดประเวณี   (ซินา) นั้น     เป็นเรื่องต้องห้ามตามกฎหมายอิสลาม    เป็นการกระทำที่ชั่วช้าลามก  ทำลายศีลธรรม ประเพณี  ระบบครอบครัวและสร้างปัญหาสังคม  อัลลอฮ์จะทรงลงโทษแก่ผู้ที่ทำผิดประเวณีอย่างรุนแรง

อายะฮฺที่  33

อัลลอฮฺทรงห้ามฆ่าชีวิตใดโดยไม่เป็นธรรม     แต่ถ้าศาลได้พิสูจน์แล้วว่าฆาตกรมีความผิดจริงและถูกสั่งให้ประหารชีวิตตามบทบัญญัติกฎหมาย  การฆ่าในกรณีนี้อิสลามถือว่าเป็นการฆ่าที่ชอบธรรม  หากผู้ใดถูกฆ่าโดยไม่เป็นธรรม             ทายาทหรือญาติผู้ตายมีสิทธิ์จะเรียกร้องความเป็นธรรมได้ และการฆ่ามาตกรให้ตายตกตามไปนั้นจะต้องไม่เกินขอบเขต   กล่าวคือ  ไม่ใช่ไปฆ่าผิดตัวหรือไปฆ่าลูกหลานของเขาด้วย   แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงช่วยเหลือผู้ได้รับความไม่เป็นธรรม

 

อายะฮฺที่  34

            อิสลามเป็นระบบการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์    เป็นศาสนาที่ปลูกฝังศีลธรรมจรรยาอันดีงาม   อิสลามให้ความคุ้มครองสิทธิแก่ทุกคน        ห้ามโกงและทำลายทรัพย์สมบัติ              โดยเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กกำพร้าที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้า  หากมีการนำทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปลงทุนหรือดำเนินกิจการเพื่อเพิ่มพูนกำไรตามวิธีการของอิสลาม ก็เป็นสิ่งที่อนุมัติให้กระทำได้

                “และจงปฏิบัติให้ครบตามสัญญา  แท้จริงสัญญานั้นจะถูกสอบสวน”  อายะฮ์นี้ อัลลอฮ์ทรงสั่งให้มุสลิมระมัดระวังสัญญาต่าง ๆ เพราะการรักษาคำมั่นสัญญานั้นเป็นคุณสมบัติที่ดี ในอัล – กุรอาน ได้กล่าวเตือนและย้ำหลายครั้งให้ซื่อสัตย์ และดำรงมั่นในสัญญา  การไม่รักษาคำมั่นสัญญาถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเป็นลักษณะของคนหน้าไหว้หลังหลอก (มุนาฟิก)

 

อายะฮ์ที่  35

            เรื่องการชั่ง   ตวง   วัด     ให้ครบสมบูรณ์เป็นคำสอนที่อิสลามเน้นให้มนุษย์ปฏิบัติและให้หลีกเลี่ยงการคดโกงและหลอกลวงผู้อื่น     เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น  ซึ่งทำให้ขาดความเชื่อถือและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม

อายะฮ์ที่  36

อิสลามสอนไม่ให้มนุษย์มองคนในแง่ร้าย  ห้ามคิดและห้ามฟังในสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม หรือสอดรู้สอดเห็นในเรื่องของผู้อื่นเพื่อจะเปิดเผยเรื่องส่วนตัวของเขาสู่สาธารณชน  เพราะการกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดปัญหาแก่ตนเองและสังคม การฟัง การมองและการคิด  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ  จะถูกสอบสวนในอาคิเราะฮ์

 

อายะฮ์ที่  37

            การแสดงกิริยาเย่อหยิ่งจองหอง  เป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่หลงผิดคิดว่าตนเองเหนือกว่าบุคคลอื่น  เป็นลักษณะที่น่ารังเกียจ  ซึ่งอิสลามห้ามการกระทำดังกล่าวโดยเด็ดขาด เพราะไม่ว่าบุคคลนั้นจะทะนงตนสักเพียงใดก็ตาม เขาก็ไม่สามารถจะทำให้แผ่นดินแยกออกจากกันได้ และไม่สามารถยึดตนให้สูงเทียมภูเขาได้

 

อายะฮ์ที่  38

            อิสลามห้ามประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่ไม่ดีที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เพราะเป็นสิ่งที่อัลลอฮ์  สุบหานะฮูวะตะอาลาทรงรังเกียจ

 

อายะฮ์ที่  39               

คำสอนที่ได้กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด  เป็นสัจธรรมที่ทุกคนต้องศึกษาใคร่ครวญและยึดถือปฏิบัติ และไม่นำสิ่งอื่นมาเป็นภาคีต่ออัลลอฮ์            เพื่อเป็นเกราะป้องกันตนเองให้พ้นจากความงมงายและการถูกลงโทษในอาคิเราะฮ์

 

บทสรุป

  1. ห้ามฆ่าลูก  เพราะกลัวยากจน อัลลอฮ์ได้ทรงยืนยันว่า พระองค์เป็นผู้ประทานปัจจัยยังชีพแก่ทุกชีวิตในโลกนี้ และการฆ่าลูกนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์
  2. ห้ามผิดประเวณีและสิ่งที่จะนำพาไปสู่การผิดประเวณี เพราะเป็นการผิดศีลธรรมและทำลายประเพณีอันดีงาม  ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย
  3. ห้ามการฆ่าตัวตายและฆ่าผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรม
  4. ลูกหลานหรือญาติผู้ใกล้ชิดของผู้ถูกฆ่า  สามารถจะเรียกร้องความยุติธรรมจากกฎหมายของรัฐได้
  5. การฆ่าฆาตกรห้ามทำเกินขอบเขตที่ศาสนาบัญญัติไว้  การลงโทษฆาตกรหรือผู้กระทำผิด เป็นการชำระล้างมลทิน และเป็นการเตือนสติผู้อื่นไม่ให้กระทำเยี่ยงนั้นอีก  ไม่ใช่ให้ฆ่าหรือลงโทษเพื่อล้างแค้น
  6. ห้ามทำลายหรือยักยอกทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้า แต่อนุญาให้เพิ่มพูนทรัพย์นั้นให้มากยิ่งขึ้นตามกฎหมายที่อัลลอฮ์กำหนดไว้
  7. สำหรับผู้ที่รับผิดชอบดูแลทรัพย์สินและผลประโยชน์ต่างๆของเด็กกำพร้า เมื่อเขาบรรลุศาสนภาวะแล้วก็ให้มอบทรัพย์สมบัติของเด็กกำพร้าคืนให้เขาไป
  8. การรักษาคำมั่นสัญญา และการตรงต่อเวลา เป็นคุณสมบัติของมุสลิม
  9. การระมัดระวังเรื่องชั่ง  ตวง  วัด  ให้สมบูรณ์ เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน   เพราะผลประโยชน์จะกลับคืนไปสู่ผู้ปฏิบัติ
  10. ห้ามเปิดเผยความลับของผู้อื่น  การนินทาเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด      อีกทั้งเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจในสังคมเป็นอย่างยิ่ง
  11. การกระทำทุกอย่างจะถูกสอบสวนในอาคิเราะฮ์
  12. ห้ามมุสลิมแสดงกิริยาเย่อหยิ่งจองหองหรือยกตนข่มท่าน
  13. ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงในอาคิเราะฮ์   

กิจกรรมท้ายบท

นักเรียนแบ่งกลุมอภิปราย

            -       สิทธิเด็ก

-       ความยุติธรรม

-       การทำซินา

-        การฆาตกรรม

-        การค้าที่ซื่อสัตว์ เที่ยงตรง

-        ความหยิ่งผยอง

-        การทุจริจต่อตนเองและสังคม

สูเราะฮฺอัน นูร   อายะฮฺที่  2-3

الزَّانِيَةُ وَالزَّانِي فَاجْلِدُوا كُلَّ وَاحِدٍ مِّنْهُمَا مِئَةَ جَلْدَةٍ وَلَا تَأْخُذْكُم بِهِمَا رَأْفَةٌ فِي دِينِ اللَّهِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَلْيَشْهَدْ عَذَابَهُمَا طَائِفَةٌ مِّنَ الْمُؤْمِنِينَ  =         الزَّانِي لَا يَنكِحُ إلَّا زَانِيَةً أَوْ مُشْرِكَةً وَالزَّانِيَةُ لَا يَنكِحُهَا إِلَّا زَانٍ أَوْ مُشْرِكٌ وَحُرِّمَ ذَلِكَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ  =

 ความหมายของอายะฮฺ

            หญิงผู้ผิดประเวณี  และชายผู้ผิดประเวณี  พวกเจ้าจงโบย  แต่ละคนจากทั้งสอนนั้น  หนึ่งร้อยครั้ง  และเจ้าจงอย่าสงสารคนทั้งสอง  ในเรื่องศาสนาของอัลลอฮ์  หากพวกเจ้าศรัทธา  ในอัลลอฮ์  และวันอาคิร และ (จง) เป็นสักขีพยานในการลงโทษบุคคลทั้งสอง  (จาก) กลุ่มหนึ่งในมวลผู้ศรัทธา    ชายผู้ผิดประเวณี  ไม่สมควรสมรสกับหญิงอื่น  นอกจากกับหญิงที่ผิดประเวณีด้วยกัน หรือกับหญิงผู้ตั้งภาคี  และหญิงผู้ผิดประเวณี  (ก็) ไม่สมควรสมรสกับชายอื่น   นอกจากกับชายผู้ผิดประเวณีหรือชายผู้ตั้งภาคี  และสิ่งนั้นถูกห้ามไว้แล้วแก่บรรดาศรัทธาชนทั้งหลาย 

คำอธิบาย

            ชายและหญิงผู้ประพฤติประเวณีนั้น  จะต้องถูกโบยคนละ 100   ที    โดยห้ามสงสารหรือลดหย่อนผ่อนโทษ ไม่ว่าเขาหรือหล่อนผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม     เพราะการประพฤติผิดประเวณีนั้นทำให้เกิดความเสียหายทางศีลธรรม    ชื่อเสียงวงศ์ตระกูล   เด็กที่เกิดมาย่อมไม่มีบิดาให้ความรับผิดชอบดูแล และยังก่อให้เกิดผลเสียหายที่กระทบต่อสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย  ด้วยเหตุนี้อิสลามได้กำหนดโทษสถานหนักต่อบุคคลผู้กระทำผิดดังกล่าว และการลงโทษผู้กระทำผิดประเวณีนั้นจะต้องกระทำต่อหน้ากลุ่มชนหรือในที่สาธารณะเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเห็นถึงการลงโทษ  จะได้เกิดความหวาดกลัว ไม่ประพฤติผิดในลักษณะดังกล่าว

            อัลลอฮ์ทรงห้ามไม่ให้มีความสงสารเมตตาแก่ผู้ผิดประเวณี  การลงโทษผู้กระทำผิดเหล่านี้เป็นการรักษาคนส่วนใหญ่ให้ปลอดภัยจากพฤติกรรมเช่นนี้  และเป็นการสร้างความสำนึกให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย

            อัลลอฮ์ยังทรงยืนยันอีกว่า  ชายผู้ประพฤติผิดประเวณีไม่คู่ควรที่จะแต่งงานกับหญิงอื่น  นอกจากหญิงผู้ประพฤติผิดประเวณีหรือหญิงผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์    และในทำนองเดียวกันหญิงผู้ประพฤติผิดประเวณีก็ไม่คู่ควรที่จะแต่งงานกับชายใด  นอกจากชายผู้ประพฤติผิดประเวณีหรือชายผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์    ดังนั้น คนชั่วนั้นย่อมคู่ควรกับคนชั่ว  อังอัล – กุรอานกล่าวไว้ความว่า

الْخَبِيثَاتُ لِلْخَبِيثِينَ وَالْخَبِيثُونَ لِلْخَبِيثَاتِ وَالطَّيِّبَاتُ لِلطَّيِّبِينَ وَالطَّيِّبُونَ لِلطَّيِّبَاتِ أُوْلَئِكَ مُبَرَّؤُونَ مِمَّا يَقُولُونَ   لَهُم مَّغْفِرَةٌ وَرِزْقٌ كَرِيمٌ  =  

            ความว่า“บรรดาหญิงชั่วย่อมคู่ควรกับบรรดาชายชั่ว    และบรรดาชายชั่วก็คู่ควรกับบรรดาหญิงชั่ว    และบรรดาหญิงดีย่อมคู่ควรกับบรรดาชายดี และบรรดาชายดีย่อมคู่ควรกับบรรดาหญิงดี”

(สูเราะฮฺอัน – นูร  อายะฮฺที่  26)

บทสรุป

            สาระสำคัญจากอ

หมายเลขบันทึก: 327816เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อัสลามูอาลัยกุม

อาจารย์ วัยครูนี้

ขอให้อัลเลาะทรงประทาน ริสกี

ความสุข สาลามัต แก่อาจารย์

และครอบครัวของอาจารย์

อามีน

สลามครู

สบายดีนะคับ

ไปเเละสลาม

สลาม ครับ อาจารย์

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเลยครับ..!

สลามค่ะอาจารย์ หนูตัวแทนนักเรียนชั้น ม 4/7

ได้อะไรหลายๆๆอย่างที่เรายังรู้ไม่ทั่งถึงค่ะ

อัสสาลามูอาลัยกุม? อาจารย์

ได้รู้จัก al-gur an มากขึ้นครับ

อาจารย์ สบายไหมครับ

ผมก็ขอให้อาจารย์

มีความสุขในการสอนน่ะครับ

wassalam............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท