แนวทางการสร้างชุมชนบล็อก รป.ม 4 ของคุณอ้อ สุชานาถ แห่ง มมส.



สำหรับชาว gotoknow  ที่เป็นสมาชิกของที่นี่มาเพียงไม่กี่เดือน ยังไม่เชี่ยวชาญเรื่องของการเขียนบล็อกเหมือนระดับอาจารย์หลายท่าน หากอยากจะสร้างชุมชนบล็อกของตัวเอง เชื่อมโยงเครือข่าย และเป็นผู้ขับเคลื่อนชุมชนที่ตนสร้างขึ้นมา….   จะทำได้หรือไม่

บันทึกตอนนี้ เปิดประเด็นที่ยากจังเลย ลำพังแค่การเขียนบล็อก หลายท่านก็ว่ายากแล้ว นี่จะให้สร้างชุมชนบล็อก และให้เป็นผู้ขับเคลื่อนชุมชน… แค่นึกๆก็มืดแปดด้านแล้วครับ

นายบอน พึ่ง ลปรร กับคุณ อ้อ สุชานาถ รป.ม. 4 แห่ง มมส ในบันทึกแนวทางการชักชวนเพื่อน รป.ม 4 ของคุณอ้อ สุชานาถ แห่งคนเขียนบล็อก มมส เข้าร่วมใน gotoknow
ถ้าคุณอ้อ จะต้องสร้างและขับเคลื่อนชุมชนบล็อกล่ะครับ จะทำได้หรือเปล่า

ถ้าคุณอ้อ หรือท่านอื่นๆอ่านแล้วคงงง ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะความรู้ประสบการณ์มีน้อย แต่ในความเป็นจริง ทำได้ครับ ไม่ว่าจะมือใหม่ มือเก๋า มีประสบการณ์แค่ไหนก็ตาม ก็สามารถทำในแบบของตัวเองได้เลย

นายบอนเอามาขยายความต่อ หลังจากที่ได้ ลปรร. ในบันทึกแนวทางการชักชวนเพื่อน รป.ม 4 ฯ
ไปแล้ว สำหรับคุณอ้อ สุชานาถ สามารถสร้างบล็อกของรุ่น รป.ม.4 ที่สามารถขับเคลื่อนด้วย
-  มิตรภาพ
- ความรู้สึกที่ดีๆ
- ความจริงใจ
- ความมีชีวิตชีวา

ซึ่งจะทำให้เจ้าของบล็อกเอง และคนอ่าน (ชาว รป.ม. 4) มีความสุข และเข้ามาติดตามอ่าน แสดงข้อคิดเห็น เกิดความผูกพันในวันที่ห่างเหิน

เริ่มต้น เปิดบล็อกและเขียนบันทึกกันก่อน สมาชิกชาว รป.ม. 4 มีมากมายหลายท่าน จึงสามารถบันทึกเรื่องราวของรุ่นตั้งแต่ความเคลื่อนไหว การนัดสังสรรค์ แจ้งข่าวเรื่องเงินเดือนขึ้น, เลื่อนตำแหน่ง, ถูกหวย, แต่งงาน, ป่วย, ซื้อรถใหม่ ฯลฯ มีประเด็นคุยกันได้เยอะแยะ


ก็ขนาดตอนเจอหน้ากัน ยังมีเรื่องคุยกันได้ตลอด ยิ่งมีความผูกพัน รู้จิตรู้ใจกัน จึงหยิบประเด็นบันทึกได้เยอะ ทั้งการฝากข่าว แจ้งข่าว แซวในแบบกันเอง ซึ่งสามารถเปิดเป็นบล็อกส่วนตัว ไม่ปรากฏในหน้าหลักของ gotoknow เพื่อความเป็นกันเองระหว่างเพื่อนในรุ่น


เมื่อเปิดบล็อก ก็ไม่ต้องคิดวางแผนให้หนักสมอง เอาเวลาไปคิดอย่างอื่นที่สำคัญกว่า เปิดบล็อกแล้วก็บอกเพื่อนสนิทของคุณอ้อนั่นแหละ บอกสั้นๆว่า เปิดบล็อกของรุ่นแล้ว เพื่ออะไร มีประโยชน์ยังไง แล้วก็ฝากบอกเพื่อนคนอื่นๆต่อไปแบบปากต่อปาก ทุกรูปแบบที่คุณอ้อ ติดต่อสื่อสารเพื่อนๆ

เมื่อเพื่อนรู้ เพื่อนก็จะเข้ามาใช้ เข้ามาฝากความคิดถึง มาแซว ฯลฯ ซึ่งสามารถเขียนบันทึกได้เท่าที่ใจอยากจะเขียน ไม่ต้องเกร็งเหมือนการเขียนในบล็อกทั่วๆไป ที่คนแปลกหน้าก็มีโอกาสได้อ่านด้วย

ความยาวของบันทึกที่เขียน ก็ตามแต่ใจของคุณอ้อล่ะครับ อาจจะบันทึกสั้นๆแค่ไม่กี่คำ หรือเป็นสำนวนเฉพาะที่รู้กัน ขำๆ เฮฮากันในรุ่น  อาจเป็นบันทึกง่ายๆ สั้นๆ เช่น “อ้อถูกหวยงวดนี้ เพื่อนๆมาเจอกันด่วนที่ร้าน…….”

เมื่อมีข่าวสารให้ติดตาม เพื่อนๆที่ไม่อยากตกข่าว ก็จะเข้ามาติดตามครับ ยิ่งสนิทกันมากเท่าไหร่ ยิ่งจะเข้ามาเขียนข้อคิดเห็นบ่อยครั้งมากขึ้น เพื่อนบางคนเห็นคุณอ้อมีบล็อกส่วนตัว ก็อยากจะมีบ้าง หรือคุณอ้ออาจจะแนะนำให้เพื่อนในรุ่นลองเปิดบล็อกเป็นของตัวเองดู  แล้วก็รวบรวม สร้างชุมชนชาว รป.ม.4  เชื่อมโยงชาว รป.ม.4 คราวนี้ ใครอยากจะบอกอะไร อยากจะฝากข่าว ก็บันทึกได้ทันที

การที่คุณอ้อ เปิดบล็อก บันทึกเรื่องราวในแบบของคุณเอง  คุณอ้อจะได้ฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกสื่อสารบ่อยๆ ก็จะมีเทคนิคเฉพาะตัว มีความชำนาญ รู้มากขึ้น ประสบการณ์ในส่วนนี้เพิ่มขึ้น  

จากการฝึกเขียนบล็อกส่วนตัว คราวนี้ ในบล็อกอื่นๆ ก็สามารถเขียนได้คล่องแล้วล่ะครับ สามารถอธิบายเทคนิค วิธีการ และมีมุมมองที่กว้างขึ้น คุณอ้อจะสามารถแบ่งปันความรู้ได้เหมือน อ. Beeman คุณวิชิต อ.JJ อ.Panda และเมื่อถึงวันนั้น หลายคนก็จะชื่นชม ทึ่งในความสามารถ ความพยายามของคุณอ้อ… ชมว่า ขยันบ้าง

เมื่อได้ฝึกฝน พัฒนาทักษะความชำนาญตามวันเวลาที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีเทคนิคเฉพาะตัว คุณอ้อย่อมสามารถเขียนบันทึกได้ในเวลาที่สั้นลง ในขณะที่ท่านอื่นๆต้องใช้เวลาในการคิด และเขียนออกมา มากกว่าคุณอ้อ

ดังนั้น คุณอ้อ หรือท่านใดก็สามารถทำได้ สามารถฝึกฝนพัฒนาทักษะได้ เพราะทุกคนมี 1 สมอง 2 มือ 2 ตาเหมือนกัน




คำสำคัญ (Tags): #gotoknow#msu#msukm
หมายเลขบันทึก: 32714เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท