EFFECT OF Thunbergia laurifolia Linn. ON BLOOD GLUCOSE LEVEL AND BEHAVIOR OF PATIENT’S ALCOHOL WITHDRAWAL SYNDROME รางจืด..สมุนไพรมหัศจรรย์ถอนพิษสุรา ในผู้ป่วย alcohol withdrawal ในงานบริบาลผู้ป่วยใน


งานเเพทย์แผนไทยกับการบูรณาการงานบริบาลผู้ป่วยใน ในวันนี้่
รางจืด..สมุนไพรมหัศจรรย์ถอนพิษสุราได้

                                 

        โรงพยาบาลสอง อำเภอสอง จังหวัดเเพร่ เป็นโรงพยาบาลอีกเเห่งหนึ่งที่ต้องประสบปัญหาผู้มารับบริการการรักษา ถูกส่งตัวเข้ารับ การรักษาด้วยภาวะถอนพิษสุราฉับพลัน หรือ กลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุรา(Alcohol withdrawal syndrome) เป็นจำนวนมาก จะสังเกตได้ว่าในเเต่ละวัน  จะมีผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน วันละ 2-3 ราย ด้วยสาเหตุหลักๆ จากการดิ่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน บางราย ดื่มสุราในปริมาณที่มาก เเล้วหยุดดื่มอย่างกระทันหัน โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการดื่มสุราติดต่อกัน ระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เกิดการทำงานเพิ่มขึ้น ของ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทรอบนอก ซึ่งอาจจะเกิด เพียงเล็กน้อย หรือมีอาการของ Autonomic hyperactivity, seizure, delirium หรือ general physiolglc dyspregulation อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจาก เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 2-3 วันด้วยความเจ็บป่วยอื่นหรือได้รับอุบัติเหตุ และอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จากการดื่มวิสกี้ปริมาณ 16 ออนซ์ หรือ 2/3 ขวดต่อวันติดต่อกันเป็นเวลานาน 14-21 วัน

                เเพทย์แผนปัจจุบัน ได้ร่วมกันประเมินการรักษาเเละร่วมวางเเผนการรักษา ตลอดจนหาเเนวทางเเก้ไข ปัญหา Alcohol withdrawal กับนักการเเพทย์แผนไทยที่รับผิดชอบงานบริบาลผู้ป่วยใน เเละให้ทำการศึกษาค้นคว้าสมุนไพร งานวิจัย ตำรา เอกสารทางวิชาการ พิษวิทยา การออกฤทธิ์ของเเอลกอฮอล์ ตลอดจน นำเเนวทางการรักษาโดยใช้ศาสตร์การเเพทย์แผนไทยมาบูรณาการร่วมกันกัับเเนวทางการรักษาของเเพทย์แผนปัจจุบัน เเละในที่สุดเราก็เหลือบไปเห็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง เป็นสมุนไพรใกล้ตัว เเละมีในสวนสมุนไพรในโรงพยาบาลสอง เก็บง่าย ใช้ง่าย หาง่าย ปลอดภัย เพราะ ปลูกกันเอง  นั่นก็คือ ต้นรางจืด นั่นเอง นักการเเพทย์แผนไทย  จึงได้ปรึกษากับเเพทย์แผนปัจจุบัน เภสัชกรเเละ พยาบาลผู้รับผิดชอบงานบริบาลในหอผู้ป่วยในตลอดจนทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เห็นควรว่าแล้วว่า ควรนำสมุนไพรรางจืดเข้ามาช่วยในการบำบัดรักษาผู้ป่วย Alcohol withdrawal syndrome ร่วมกันกับเเรวทางการรักษาของเเพทย์แผนปัุุจจุบัน ในหอผู้ป่วยในดู เเละร่วมกันประเมินเเละติดตามอาการของผู้ป่วยทุกวัน ผลปรากฏว่า ผู้ป่วย Alcohol withdrawal syndrome ที่ รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งมีอาการ สั่น ชัก เกร็ง ไม่มีสติ ไม่รู้ตัว หลังจากรับประทานสมุนไพรรางจืดต้มไปเเล้ว 1 เเก้ว หลังจากนั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง ทัดมา สามารถพูดคุยเเละโต้ตอบ กับ พยาบาลได้ เกือบเป็นปกติ และผู้ป่วยใช้เวลารู้สึกตัวเร็วขึ้นกว่าเดิม 

              นักการเเพทย์แผนไทย (นางสาวอัจฉรา ชำนาญยาหรือน้องตาล) จึงได้ทำการ ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล เเละได้พบกับบทความ เกี่ยวกับสมุนไพรรางจืด เเละเห็นว่า สมุนไพร ชนิดนี้ มีคุณค่า สำหรับ ใช้ในการรักษา ผู้ป่วย Alcohol withdrawal syndrome เเต่ควรใช้ภายใต้ คำสั่งของเเพทย์แผนปัจจุบัน เภสัชกร  เเพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือแพทย์เเผนไทย และควรใช้ในกรอบเเห่งศีลธรรม ใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์เพื่อให้สมุนไพรชนิดนี้ มีคุณค่า ใช้รักษาผู้ป่วย ได้ตลอดไป  บทความได้กล่าวไว้ ดังนี้  

               ศูนย์ ข้อมูลด้านสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่ารางจืดได้ชื่อว่าเป็นยอดสมุนไพรต้านพิษ ใช้ล้างพิษได้สารพัด ทั้งพิษจากเหล้า บุหรี่ ยาฆ่าแมลง สารเคมี มลภาวะต่างๆ ไปจนถึงพิษร้ายแรงจากสัตว์ อาทิ แมงกะพรุนไฟ แมงดาทะเล

                ปัจจุบัน นี้ ปัญหาสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้มีจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นผลให้ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ใน ภายหลัง การล้างพิษสามารถทำได้โดยการกินอาหารที่มีแอนติออกซิแดนต์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระให้มาก เช่น ผัก ผลไม้ ผักใบเขียวๆ มะละกอ แครอต ตำลึง ฯลฯ สมัยก่อนชาวบ้านมักจะเชื่อว่า รางจืด, ว่านจืด, ข่าจืด ช่วยล้างพิษได้ แต่ที่นิยมมากที่สุดขณะนี้คือ รางจืด สรรพคุณรางจืดตามตำรายาไทยกล่าวไว้ว่า "รางจืดรสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ รักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง และแก้ผื่นคันจากอาการแพ้ต่างๆ ใช้แก้พิษเบื่อเมาเนื่องจากเห็ดพิษ สารหนู หรือแม้ยาเบื่อประเภทยาสั่ง สำหรับคนที่เป็นนักดื่มสุราย่อมรู้ดีว่ารางจืดช่วยถอนพิษสุราได้ สิ่งที่ยอมรับคือ หากดื่มสุราจัดเกินขนาดแล้วเกิดอาการเมาค้าง รางจืดช่วยถอนอาการเมาค้างได้แน่ นอกจากนี้ผู้นิยมสมุนไพรยังแจ้งผลการใช้มาว่าแก้พิษได้อีกหลายอย่าง เช่น สุนัขโดนวางยาเบื่อก็รอดชีวิตมาได้ โดยเจ้าของคั้นน้ำรางจืดให้กิน หรือในอดีตใครที่ถูกวางยาก็มักแก้ด้วยรางจืดเช่นกัน
               รางจืดมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia Linn. และมีชื่อไทยอีกหลายชื่อ ได้แก่ กำลังช้างเผือก หนามแน่ ขอบชะนาง รางเย็น เขาเขียวเถา เครือเขาเขียว ยาเขียว ดุเหว่า ทิดพุด น้ำนอง แอดแอ ย้ำแย้     มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง อาการแพ้ ผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ แก้พิษจากสารในยากำจัดศัตรูพืช แก้พิษเคมี พิษเบื่อเมา พิษแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง พิษสะสมในร่างกาย ไข้ร้อนใน ฯลฯ ปัจจุบันมีผู้นำรางจืดมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใบชา หรือถุงชาในแพ็กเกจสวยหรูดูดี และยังทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรสำเร็จรูป ซึ่งเป็นของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ราคาย่อมเยา สามารถชงดื่มได้ทันที ใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่นใบไม้แห้งหอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ชารางจืดไม่มีพิษ ดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน ใบสดนำมาคั้นกับน้ำเพื่อให้ผู้ป่วยที่กินยาฆ่าแมลงดื่ม เป็นการปฐมพยาบาลก่อนนำส่งโรงพยาบาลได้ แต่จะไม่ให้ผลในการกินเพื่อป้องกันก่อนสัมผัสยาฆ่าแมลง ในทางกลับกันสมุนไพรรางจืดนี้ซึ่งหาได้ง่ายในแถบชนบทอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถนำใบรางจืดมาต้มทำเป็นชารางจืด ดื่มแทนน้ำธรรมดาเพื่อให้ทำลายและขับพิษสารเคมีไม่ให้ตกค้างในร่างกาย

                โดยพิษของยากำจัดศัตรูพืชจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สำหรับความเชื่อในวงเหล้า ที่นำรางจืดมาเคี้ยวเพื่อดับฤทธิ์เอทิลแอลกอฮอล์ เพื่อทำให้ดื่มได้นานไม่เมานั้น ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อนและไม่แนะนำให้ปฏิบัติด้วย เพราะสุดท้ายเมื่อเหล้าเข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปทำลายอวัยวะที่เป็นทางผ่านทั้งหมดและทำลายที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนักที่สุด ตับจึงได้รับพิษจากเหล้ามากที่สุด เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันไปเกาะแทนที่ ทำให้เกิดตับอักเสบเนื่องจากการคั่งของไขมัน ทำให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นไปอีก และเมื่อเซลล์ตับตายลงถึงระดับหนึ่ง ก็จะมีพังผืดไปขึ้นที่บริเวณนั้นลักษณะคล้ายแผลเป็น ส่งผลให้เนื้อตับที่เคยอ่อนนุ่มกลับแข็งตัวขึ้น เกิดอาการตับแข็งได้ในที่สุด โอกาสเสียชีวิตมีเร็วขึ้นรางจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia lauriflolia Linn. โดยมีชื่ออื่นว่า ยาเขียว, เครือเขาเขียว, กำลังช้างเผือก, หนามแน่, ย้ำแย้, น้ำนอง, คาย, ดุเหว่า, รางเย็น, ทิดพุด, แอดแอ, ขอบชะนางจัดอยู่ในวงศ์ THUNBERGIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ รางจืดเป็นพืชที่ชอบอยู่ตามลุ่มน้ำ ลำห้วย ลำธาร ขึ้นในป่าชื้นจะงามมาก ใบมีขนาดใหญ่ ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำให้ความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์จะออกเถาไม่รู้จบสิ้น ต้นเดียวจะออกเถาคลุมเนื้อที่เป็นงานๆ ชอบดินร่วนปนทราย

 

 


                            ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ 3-4 ดอกห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยต้นๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซ.ม. ตรงปลายดอกก็จะแยกเป็นแฉกอยู่ 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆ หรือสีคราม ดอกที่ยังอ่อนยังไม่บานนั้นจะมีกาบห่อหุ้มอยู่ ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอดดอกนั้นเป็นสีขาว มีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4 อัน จะผลิดอกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม สำหรับผลนั้น พอดอกนั้นร่วงโรยไปก็จะติดเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นฝักตรงปลายฝักจะแหลมคล้ายกับปากนก ส่วนโคนใบนั้นกลมยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อผลแก่ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีกส่วนที่ใช้เป็นยานั้นคือ ทั้งต้น รากและเถา ใช้เป็นยา สรรพคุณเด่น จะมีรสเย็น ใช้ถอนพิษยาเบื่อเมาหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้และพิษทั้งปวง

                           แก้ร้อนในกระหายน้ำวิธีใช้ในครัวเรือนนำรากหรือใบรางจืดมาโขลกให้แหลก ผสมนำซาวข้าวคั้นเอาแต่น้ำใช้ดื่ม หรือเอาใบรางจืดมาผึ่งลมให้แห้ง แล้วเก็บใบชงกับน้ำร้อนดื่มต่างน้ำก็ได้ วิธีการปลูกและการดูแลรักษาปลูกโดยเพาะเมล็ดหรือใช้เถาปักชำ เมล็ดรางจืดจะแก่ในราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เก็บเมล็ดก่อนฝักจะแตก นำมาใส่กระด้งหรือผ้าพลาสติกเขียวเพื่อป้องกันเมล็ดกระเด็น นำเมล็ดไปเพาะแล้วย้ายปลูก การเพาะเมล็ดไม่นิยมเท่าการใช้เถา เนื่องจากใช้เวลานานกว่าและเมล็ดมีจำนวนน้อย สำหรับการชำเถา ให้เลือกเถาแก่นำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณคืบเศษ (6-8 นิ้ว) ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ช่วงตาหรือข้อของเถาอาจยาวไม่เท่ากัน อย่างน้อยให้มีตา 2 ตา ในฤดูฝนสามารถนำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ได้เลย ไม่ต้องชำ แต่ถ้าเป็นฤดูอื่นควรนำไปชำในกระบะเพาะหรือถุง ปักเถาให้เอียงเล็กน้อย ถ้าชำในฤดูฝนจะออกรากเร็วใช้เวลาราว 2 อาทิตย์

                        ในฤดูแล้งจะช้ากว่า เมื่อเถาชำอายุได้ 45 วัน ก็นำไปปลูกในหลุมที่รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ห่างจากค้างประมาณ 50 ซ.ม. รางจืดนั้นไม่เหมาะจะปลูกร่วมกับไม้ผล แต่ปลูกให้ขึ้นร่วมกับไม้ใหญ่อื่นๆ ได้ ถ้าจะให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวควรทำค้างให้ขึ้นสูงประมาณ 1.20 เมตร ค้างควรมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพราะรางจืดมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การปักเสามีสายสลิงหรือทำรั้วไม้ปักขัดกันไปมาจะช่วยให้เก็บเกี่ยวได้ง่าย การเก็บเกี่ยวควรเก็บใบกลางแก่กลางอ่อน จับดูใบไม่นิ่มไม่แข็งเกินไป ถ้ามีซุ้มหรือค้างให้รางจืดเลื้อยพัน จะเก็บเอาเฉพาะใบมาใช้ไม่ต้องตัดทั้งเถา แต่ถ้ารางจืดขึ้นพันไม้อื่นให้ตัดจากโคนเถามาลิดใบ.

ข้อมูลที่มีประโยชน์ที่มา..yoot.blogspot.com- ภาพจาก อินเตอร์เน็ต
ลิงค์หัวข้อ: http://www.trytodream.com/topic/8112

 

 


                       ลักษณะ เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นหรือเถามีเนื้อแข็ง ลักษณะของเถานั้นจะกลมเป็นข้อปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม เลื้อยพาดไปตามกำแพงรั้วแล้วจะทิ้งตัวห้อยเป็นระย้าลงสู่เบื้องล่าง มักพบอยู่ตามชายป่าดิบทั่วๆ ไปทางภาคกลางและภาคเหนือ ชอบอาศัยพันเกาะเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ มีเถาที่แข็งแรงมาก ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ และขนาดของใบนั้นจะไล่กันขึ้นไปตั้งแต่ขนาดใหญ่ คือตรงโคนก้านไปหาขนาดเล็กคือ ปลายก้าน ใบเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยง ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ใบจะมีความกว้างยาวประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 4-5 นิ้ว


                            ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ 3-4 ดอกห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยต้นๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซ.ม. ตรงปลายดอกก็จะแยกเป็นแฉกอยู่ 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆ หรือสีคราม ดอกที่ยังอ่อนยังไม่บานนั้นจะมีกาบห่อหุ้มอยู่ ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอดดอกนั้นเป็นสีขาว มีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4 อัน จะผลิดอกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม สำหรับผลนั้น พอดอกนั้นร่วงโรยไปก็จะติดเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นฝักตรงปลายฝักจะแหลมคล้ายกับปากนก ส่วนโคนใบนั้นกลมยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อผลแก่ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีกส่วนที่ใช้เป็นยานั้นคือ ทั้งต้น รากและเถา ใช้เป็นยา สรรพคุณเด่น จะมีรสเย็น ใช้ถอนพิษยาเบื่อเมาหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้และพิษทั้งปวง

                           แก้ร้อนในกระหายน้ำวิธีใช้ในครัวเรือนนำรากหรือใบรางจืดมาโขลกให้แหลก ผสมนำซาวข้าวคั้นเอาแต่น้ำใช้ดื่ม หรือเอาใบรางจืดมาผึ่งลมให้แห้ง แล้วเก็บใบชงกับน้ำร้อนดื่มต่างน้ำก็ได้ วิธีการปลูกและการดูแลรักษาปลูกโดยเพาะเมล็ดหรือใช้เถาปักชำ เมล็ดรางจืดจะแก่ในราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เก็บเมล็ดก่อนฝักจะแตก นำมาใส่กระด้งหรือผ้าพลาสติกเขียวเพื่อป้องกันเมล็ดกระเด็น นำเมล็ดไปเพาะแล้วย้ายปลูก การเพาะเมล็ดไม่นิยมเท่าการใช้เถา เนื่องจากใช้เวลานานกว่าและเมล็ดมีจำนวนน้อย สำหรับการชำเถา ให้เลือกเถาแก่นำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณคืบเศษ (6-8 นิ้ว) ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ช่วงตาหรือข้อของเถาอาจยาวไม่เท่ากัน อย่างน้อยให้มีตา 2 ตา ในฤดูฝนสามารถนำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ได้เลย ไม่ต้องชำ แต่ถ้าเป็นฤดูอื่นควรนำไปชำในกระบะเพาะหรือถุง ปักเถาให้เอียงเล็กน้อย ถ้าชำในฤดูฝนจะออกรากเร็วใช้เวลาราว 2 อาทิตย์

                        ในฤดูแล้งจะช้ากว่า เมื่อเถาชำอายุได้ 45 วัน ก็นำไปปลูกในหลุมที่รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ห่างจากค้างประมาณ 50 ซ.ม. รางจืดนั้นไม่เหมาะจะปลูกร่วมกับไม้ผล แต่ปลูกให้ขึ้นร่วมกับไม้ใหญ่อื่นๆ ได้ ถ้าจะให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวควรทำค้างให้ขึ้นสูงประมาณ 1.20 เมตร ค้างควรมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เพราะรางจืดมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การปักเสามีสายสลิงหรือทำรั้วไม้ปักขัดกันไปมาจะช่วยให้เก็บเกี่ยวได้ง่าย การเก็บเกี่ยวควรเก็บใบกลางแก่กลางอ่อน จับดูใบไม่นิ่มไม่แข็งเกินไป ถ้ามีซุ้มหรือค้างให้รางจืดเลื้อยพัน จะเก็บเอาเฉพาะใบมาใช้ไม่ต้องตัดทั้งเถา แต่ถ้ารางจืดขึ้นพันไม้อื่นให้ตัดจากโคนเถามาลิดใบ.

                           ดังนั้น ควรรับประทาน เเคปซูลรางจืด แต่พอดีค่ะ ไม่กินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ห่างๆเว้้นบ้างสลับกับ ชาสมุนไพร ที่มีประโยชน์ตัวอื่นๆไปก็ได้ค่ะ เพราะความสามารถในการขับพิษในตัวเรา อาศัยอวัยวะไตและตับซึ่งปกติจะทำหน้าที่ในการขับสารพิษ  กรองของเสีย โดยตรง ถ้าเรารับประทานรางจืดในปริมาณที่มาก โดยรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อวัียวะเหล่านี้ก็จะทำงานหนักขึ้นเรื่อยๆ  ดังนั้น ควรรับประทานสมุนไพรรางจืด แต่พอดี หรือตามเเพทย์สั่ง เพื่อความปลอดภัย

                        ปัจจุบันนักการเเพทย์แผนไทย นางสาวอัจฉรา ชำนาญยา ได้เริ่มจัดทำงานวิจัย เรื่อง"การศึกษาประสิทธิผลสมุนไพรรางจืดต่อระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด และพฤติกรรมในผู้ป่วยกลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุรา (  Alcohol withdrawal syndrome) ที่เป็นอาสาสมัคร ในชุมชนอำเภอสอง จังหวัดแพร่" 

 EFFECT OF Thunbergia laurifolia Linn. ON BLOOD GLUCOSE LEVEL AND BEHAVIOR OF PATIENT’S ALCOHOL WITHDRAWAL SYNDROME

เอกสารอ้างอิง:

1.รางจืดถอนพิษ.http://www.trytodream.com/topic/8112
2.รัชฎาพร อุ่นศิวิไลย์.คุณสมบัติเชิงหน้าที่และโภชนเภสัชของสารสกัดรางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) 
3. Cetin, Y. and Bullerman, L.B.( 2005). Cytotoxicity of Fusarium mycotoxins tomammalian cell cultures as determined by the MTT bioassay. Food and Chemical Toxicology. 43(5): 755 – 764.
4.Chamreondararassame, B.(2003). The effects of Rangjert leaves on body temperature.Faculty of Pharmacy, Chiangmai University, Chiangmai, Thailand.
5. Thongsaard, W. and Marsden, C.A.(2002). A herbal medicine used in the treatment
of addiction mimics the action of amphetamine on in vitro rat strial dopamine
release. Neuroscience Letters. 329(2): 129-132.
6.Yamini, Y., Asghari-Khiavi, M., and Bahramifar, M.(2002). Effects of different parameters on supercritical fluid extraction of steroid drugs, from spike matrices and tablets. Talanta, 58 (5): 1003-1010.

7.นันทยา กระสายทองและคณะ.ฤทธิ์ ของสารสกัดสมุนไพรรางจืดต่อการลดกลุ่มอาการเนื่องจากการขาดสุราและ การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองส่วนมีโซลิมบิคของหนู ที่เหนี่ยวนำให้ติดแอลกอฮอล์.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2547 7

หมายเลขบันทึก: 326747เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีจังเลยครับ มีข้อมูลชัดเจนที่บ้านปลูกไว้เหมือนกันครับ

เย้...ปรับปรุงแล้ว

     

ฝากมาจำหน่ายที่หนองม่วงไข่ด้วยจ้า

เพิ่งทราบว่านี่คื่อรางจืด แถวบ้านจะขึ้นตามรั้วบ้าน นึกว่าเป็นดอกอินทนิน

ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ !! อาจารย์ขจิต ฝอยทอง พี่ตี้ คุณท้องฟ้า sha-รพ.แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น น่ะค่ะ ทางโรงพยาบาลสอง อำเภอสอง จังหวัดเเพร่ มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเเพทย์แผนไทยเเละการเเพทย์ทางเลือก  ตลอดจนพัฒนาและส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร  เพื่อให้บุคคลากร ตลอดจนประชาชน อำเภอสอง จังหวัดเเพร่ เเละ อำเภอใกล้เคียง มีสุขภาพ ร่างกายที่แข็งเเรง เเละสามารถ ดูแลตลอดจนพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้ศาสตร์การเเพทย์แผนไทยเเละการเเพทย์พื้นบ้านมาบูรณาการ กับเเพทย์แผนปัจจุบัน บุคลากร เเละเจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาล ต่างร่วมมือกัน เเละทุ่มเทเต็มที่ เพื่อ พี่น้องชาวไทยทุกคน อยู่ได้ ด้วยการเเพทย์ที่พึ่งพาตนเองค่ะ ....... หากท่านมีข้อข้องใจ ก็สมารถสอบถามได้น่ะค่ะ เรายินดี รับฟังเเละเเสดงคววามคิดเห็นทุกคำถามเเละข้อสงสัยค่ะ

โรงพยาบาลสองโชคดีน่ะคับ ที่มีนักการเเพทย์แผนไทย ๆ ที่ไฟแรงเเละเก่ง น่ะคับ  รู้จักสรรหาสมุนไพรมาทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วย เเล้วถ้าผมอยากได้รับความรู้เรื่องยาต้มสมุนไพร สูตรนี้ละคับ ติดต่อได้ที่ไหนคับ

ผู้ช่วยในห้องจ่ายยาหน่วยงานเภสัชกรรมที่โรงพยาบาลสองใจดีพูดเพราะยิ้มเป็นมิตรกันทุกคนเลยคับ

....คนต่างจังหวัด...

อยากทราบว่าชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn ในเนื้อหา กับ Thunbergia laurifolia Lindl ที่อยู่ในเอกสารอ้างอิง เป็นชนิดเดียวกันเดียวกันหรือต่างกันคะ สงสัยอ่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท