การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี


ธรรมาภิบาล

                การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล

                                    (G๐๐D G๐VERNANCE)

                    หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศ   ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๒ มีสาระสำคัญประกอบด้วยหลักพื้นฐาน ๖ ประการ ได้แก่

๑. หลักนิติธรรม                                   ๔. หลักความมีส่วนร่วม

๒. หลักคุณธรรม                                   ๕. หลักความรับผิดชอบ

๓. หลักความโปร่งใส                             ๖. หลักความคุ้มค่า

แต่ละหลัก สามารถจำแนกใช้ในการบริหารเป็น ๓ ระดับคือ ระดับประเทศ ระดับภาครัฐและระดับองค์กร

ซึ่งแต่ละระดับมีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ องค์กรที่มีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีจะช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดีของระดับภาครัฐและระดับประเทศต่อไป ในทางกลับกัน การกำหนดบทบาทของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนในระดับประเทศจะมีผลต่อบทบาทภารกิจและการบริหารจัดการของระดับภาครัฐและระดับองค์กรด้วย ในที่นี้จะเสนอแนวปฏิบัติงานหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ทั้ง ๖ ประการ ในระดับองค์กรดังต่อไปนี้

 . หลักนิติธรรม (The Rule ๐f Law)

                หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย

 แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักนิติธรรมในองค์กร

 ๑.๑ ให้ความรู้แก่สมาชิกในองค์กรเรื่อง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สิทธิเสรีภาพบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กร รวมทั้งขอบเขตในการมีส่วนร่วมในการบริหารแบบประชาธิปไตย

๑.๒ พัฒนาบุคลากรให้มีจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมเป็น

แบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน และพัฒนาการผลิตบุคลากรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ตัวชี้วัด กฎ ข้อบังคับ

ระเบียบต่างๆ มีความเป็นธรรม สามารถปกป้องคนดี และลงโทษคนไม่ดี และมีการปรับปรุงกฎ ข้อบังคับ

และระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลง ก็จะเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญประการหนึ่ง

๑.๓ องค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว โปร่งใส

ตรวจสอบได้ และได้รับการยอมรับจากประชาชน ส่วนด้านการปฏิบัติหน้าที่มีความเป็นธรรม มีความ

ประพฤติสุจริต ปราศจากการคอรัปชั่น นอกจากนี้ขนาดองค์กร อัตรากำลังคน และงบประมาณลดลง

๑.๔ สภาพสังคมในองค์กร

- มีข้อร้องเรียนคดีความและการฟ้องร้อง รวมทั้งสถิติการทำผิดกฎต่างๆ ลดลง

- คนในองค์กรตระหนักในสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพของตนเอง รู้และเข้าใจกฎ ระเบียบข้อบังคับ

และมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยในการแสดงความคิดเห็นในกรณีต่างๆ

 

. หลักคุณธรรม (M๐rality)

 

                                หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน  มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ

 

แนวทางการดำเนินการตามหลักคุณธรรม

 

- สถาบันการศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้ และปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เริ่มจากเยาวชนในและนอกระบบการศึกษาของชาติอย่างจริงจัง

- รณรงค์ใช้หลักคุณธรรมอย่างกว้างขวาง จริงจัง โดยเริ่มจากผู้บังคับบัญชา

- รณรงค์ให้สังคมร่วมสนับสนุนผู้ปฏิบัติที่มีคุณธรรมที่ ถูกรังแกโดยผู้มีอำนาจเหนือกว่า รวมถึงการยอมรับ เชิดชูให้เกียรติ และการให้แรงเสริม ในรูปแบบต่างๆ

- องค์กรระดับต่าง ๆ มีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ

- ทุกหน่วยงานภาครัฐควรมีหลักจริยธรรมของตนเองหรือจริยธรรมแต่ละสาขาวิชาชีพอย่างเปิดเผย

 ตัวชี้วัดหลักคุณธรรม

 - การร้องเรียนหรือร้องทุกข์ในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ทั้งในและนอกองค์กรลดลง

- คุณภาพชีวิตของคนในองค์กรมีการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

- องค์กรมีเสถียรภาพอยู่กันอย่างสงบสุข ด้วยความมีระเบียบ

. หลักความโปร่งใส (Acc๐untability)

                                 หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย  ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบ

ความถูกต้องอย่างชัดเจน  ในการนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญ              พระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ได้ทรงมีพระราช กระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ

 แนวทางในการสร้างความโปร่งใสในองค์กร

 - สำรวจความเห็นชอบของบุคลากรในหน่วยงานในเรื่องความโปร่งใสที่ต้องการจากบุคลากร

- บุคลากรตระหนักในความสำคัญและปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการปกครอง  พ.ศ. ๒๕๓๙

- ปรับปรุงระบบเอกสาร ระบบสารสนเทศให้เป็นระเบียบ สะดวกต่อการใช้งานและการสืบค้นตรวจสอบของประชาชน

- จัดทำเอกสารคู่มือเกี่ยวกับการให้บริการของส่วนราชการที่เข้าใจง่าย สะดวกต่อการติดต่องานของหน่วยงานประชาชน

- มีระบบการประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กร

- สร้างทัศนคติที่ดีในการให้บริการข้อมูลข่าวสารและตอบข้อสงสัยของประชาชน

 ตัวชี้วัดความโปร่งใส

 - สำรวจความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ

- จำนวนเรื่องกล่าวหาร้องเรียน การถูกสอบสวนลดลง

- เกณฑ์ในการใช้ดุลยพินิจของหน่วยงานมีความชัดเจนเป็นที่ยอมรับ

- องค์กรมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมและเปิดเผยต่อสาธารณะ

. หลักการมีส่วนร่วม (Participati๐n)

                                 หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น                  เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ

 แนวทางการสร้างความมีส่วนร่วม

 - องค์กรต้องกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน พร้อมทั้งออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับให้บุคลากรในองค์กรถือปฏิบัติ รวมทั้งพัฒนากลไก ระบบการทำงานและการบริหารจัดการให้ มีประสิทธิภาพเพื่อเอื้อต่อการสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กร และประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

- กระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่บุคลากรตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้บุคลากรสามารถบริหารภารกิจตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างตรงตามความต้องการ

- รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรและประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการมีส่วนร่วม

- จัดทำคู่มือชี้แนะแนวทางการมีส่วนร่วมในงาน/โครงการต่างๆ รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนซึ่งจะทำให้การมีส่วนร่วมนั้นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

- แสดงผลลัพธ์จากการเข้ามามีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนได้ทราบ พร้อมทั้งมีรางวัลตอบแทนแก่เจ้าของความคิดเห็นที่นำไปสู่การปฏิบัตินั้นๆ

- สร้างหลักประกันในความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานขององค์กร

 ตัวชี้วัดหลักความมีส่วนร่วม

 - ความสัมฤทธิ์ผลของโครงการต่างๆ รวมถึงการประหยัดงบประมาณ

- ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ได้รับผลกระทบ

- จำนวนผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหรือจำนวนข้อเสนอแนะหรือเสนอข้อคิดเห็นจากบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง/ประชาชนในการดำเนินการเรื่องต่างๆ รวมถึงคุณภาพของการมีส่วนร่วม

. หลักความรับผิดชอบ (Resp๐nsibility)

                                 หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้น               ในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง

 

แนวทางในการดำเนินการตามหลักความรับผิดชอบ

 - ผู้บังคับบัญชาเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งการสร้างแบบอย่างที่ดี ด้วยการยกย่องและส่งเสริมความประพฤติของบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดี

- สร้างความรับผิดชอบของตนเอง โดยใช้การมีส่วนร่วม มีระบบตรวจสอบและการประเมินผลที่น่าเชื่อถือได้

- ส่งเสริมผู้ มีความสามารถ โดยการให้รางวัล และลงโทษที่เหมาะสม รวมทั้งการจูงใจด้วยค่าตอบแทนและอื่น ๆ

 ตัวชี้วัดเรื่องความรับผิดชอบ

 - ได้รับการยอมรับและความพึงพอใจจากผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง

- ผลปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

- คุณภาพของงานทั้งด้านปริมาณ ความถูกต้อง ครบถ้วน รวมทั้งจำนวนความผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติงานและจำนวนการเรียกร้องหรือการกล่าวหาที่ได้รับ

 . หลักความคุ้มค่า (C๐st – effectiveness ๐r Ec๐n๐my)

                                 หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด     เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

 แนวทางการดำเนินการตามหลักความคุ้มค่า

 - ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต้องให้ความสำคัญ

- ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สั้นหรือเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว เพื่อให้สะดวกและรวดเร็ว

- ปฏิบัติงานอย่างประหยัดทรัพยากร ประหยัดเวลาและบรรลุ ในวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม

- กำหนดมาตรฐานการทำงานในหน้าที่และเป้าหมายให้ชัดเจน

- สร้างระบบความคุ้มค่าและรายงานผลการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับเพื่อการตรวจสอบ

- นำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการทำงาน

- เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะวิธีการต่างๆ ที่นำไปสู่ความคุ้มค่า

- รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกเพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานในองค์กร

- ให้ความสำคัญกับระบบติดตามประเมินผลและควรประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทราบเป็นระยะ ๆ

- ใช้ ระบบการประเมินการปฏิบัติงาน (Result-based Management : RBM)และใช้การจัดสรรงบประมาณเป็นเครื่องมือในการพิจารณางบประมาณในโครงการ

- จัดสรรงบประมาณตามผลสัมฤทธิ์ของงาน

- ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติให้สอดคล้องในหลักความคุ้มค่า

- ให้รางวัลหน่วยงาน/กลุ่ม/บุคลากรที่ดำเนินการในวิธีดังกล่าวได้อย่างถูกต้องคุ้มค่าที่สุด

 

ตัวชี้วัดในหลักความคุ้มค่า

 - ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

- ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้ง  ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ  ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

 การนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีสู่การปฏิบัติ

 ๑. การสรรหาบุคลากรเข้าทำงาน

๒.  การปฐมนิเทศ

๓. การบรรจุหลักสูตรการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีในหลักสูตร

การพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐ

๔. การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนและระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น

๕.  เชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

๖. ผู้บริหารใช้เครื่องมือในการพัฒนาองค์กร

๗. เน้นหลักปฏิบัติของผู้บริหารในฐานะต้นแบบ

 

ประโยชน์การนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีลงสู่หน่วยงาน

 

ทำให้บุคลากรและองค์กรมีประสิทธิภาพ ดังนี้

 ๑. พฤติกรรมในการทำงานเพื่อประชาชนและองค์กร

๒. กล้าตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง

๓. ไม่ถูกชี้นำในการตัดสินใจและการทำงาน

๔. มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ

๕. รักษาเกียรติ/อาชีพตนเอง

๖. โปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติ

๗. ระบบงานของรัฐได้รับความศรัทธา เชื่อถือ

 ดังนั้น จึงต้องพัฒนาข้าราชการไทยไปสู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่เหมาะกับระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีคือ ข้าราชการต้องเป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ขยันตั้งใจทำงาน มีศีลธรรม  คุณธรรม ปรับตัวได้ทันโลก รับผิดชอบต่อผลงาน มีใจและการกระทำที่ เป็นประชาธิปไตยและทำงาน มุ่งเน้นผลงาน เพื่อให้ระบบราชการไทยมีความเป็นเลิศ สามารถรับการพัฒนาประเทศได้ในยุคโลกาภิวัตน์  นอกจากนี้ยังมีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ. ๒๕๔๖  โดยมีความประสงค์จะให้ใช้บังคับกับส่วนราชการในทุกกระทรวง  ทบวง  กรม  ทั้งที่เป็นราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค  รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มีการจัดตั้งขึ้นและมีการปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับกระทรวง  ทบวง  กรม

                                อย่างไรก็ตาม  โดยที่หลายเรื่องเป็นเรื่องใหม่ในการปฏิบัติราชการ  อาจต้องใช้เวลาในการปรับปรุงองค์กรและเตรียมการให้พร้อมกับการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกานี้  รวมทั้งเพื่อมิให้เกิดการสับสนในการปฏิบัติราชการ  ด้วยเหตุนี้  การกำหนดที่จะให้เรื่องใดจะใช้บังคับกับส่วนราชการใด  ในเวลาใด  โดยจะมีเงื่อนไขกำหนดให้ต้องปฏิบัติอย่างไรตามพระราชบัญญัตินี้  จึงให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่ง  ก.พ.ร.  จะทำหน้าที่สำรวจความพร้อม  การเตรียมการล่วงหน้าและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป  โดยในทางปฏิบัติ  ก.พ.ร.  จะจัดทำเป็นปฏิทินกำหนดเรื่องและหน่วยงานที่จะต้องปฏิบัติในเวลาใดให้ชัดเจน  ทั้งนี้หลังจากที่  ก.พ.ร.  ได้สร้างความเข้าใจและออกแบบแนวทางปฏิบัติในแต่ละเรื่องเสร็จเรียบร้อย  เว้นแต่เรื่องใดที่  ก.พ.ร.  เห็นว่า  ส่วนราชการสามารถดำเนินการได้ทันที  ก็จะกำหนดให้นำเรื่องนั้นไปปฏิบัติ  ตัวอย่างเรื่องที่สมควรดำเนินการได้ทันที  คือ 

หมวด ๑ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  หมวด  ๒ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน  หมวด  ๕  การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและหมวด  ๗  การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน

                                สำหรับรัฐวิสาหกิจ  องค์การมหาชน  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งปกติตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรเหล่านี้จะให้อำนาจอิสระในการบริหารงานขององค์กร  จึงไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกานี้ไปใช้บังคับกับองค์กรเหล่านั้นได้  แต่อย่างไรก็ตาม   เนื่องจากการปฏิบัติงานขององค์กรเหล่านั้นมีส่วนใกล้ชิดต่อการให้บริการประชาชนโดยตรง  ในการปฏิบัติภารกิจจึงควรนำหลักการตามพระราชกฤษฎีกาไปใช้ด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน  และการบริหารงานแบบผลสัมฤทธิ์  ทั้งนี้  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน  และเพื่อให้การบริหารงานภาครัฐเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  ในพระราชกฤษฎีกานี้จึงกำหนดให้องค์กรเหล่านั้นต้องไปกำหนดหลักเกณฑ์ของแต่ละองค์กรขึ้น  โดยให้มีแนวทางสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้  โดยให้หน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลองค์กรเหล่านั้นตามกฎหมายมีหน้าที่ดูแลให้มีการกำหนดแนวทางการบริหารงานให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย

                                การกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้  เป็นการกำหนด  มาตรฐานทั่วไป  หากนำหลักการตามพระราชกฤษฎีกาไปใช้บังคับระยะหนึ่งแล้ว  ก.พ.ร.  เห็นสมควรที่จะกำหนดแนวทางปฏิบัติในเรื่องใดเพิ่มขึ้นเพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ  ก.พ.ร.  อาจเสนอให้คณะรัฐมนตรีกำหนดมาตรการอื่น  ๆ  เพิ่มเติมให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติอีกก็ได้

                                โดยที่พระราชกฤษฎีกานี้มีการกำหนดให้จัดทำแผนขึ้นหลายเรื่องแต่มิได้ประสงค์จะให้เกิดภาระแก่ส่วนราชการเกินความจำเป็น  จึงกำหนดให้แผนใดต้องทำซ้ำกับแผนตามกฎหมายอื่น  เมื่อส่วนราชการได้จัดทำแผนงานตามกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งแล้ว  และมีลักษณะอย่างเดียวกัน  ให้ถือว่าเป็นแผนเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 326742เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กำลังจะสอบประมวลความรู้พอดีเลยคะคิดว่าเนื้อหาน่าจะนำไปใช้ได้

สำหรับโรงเรียนประยุกต์ใช้เช่นเดียวกันใช่ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท