แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ความเหมือนในความแตกต่าง


แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ความเหมือนในความแตกต่าง

แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ความเหมือนในความแตกต่าง

               สวัสดีค่ะ ชาวโฮงยาสอง ที่รักทุกคน มีใครหลายคนคง เริ่มงง และสงสัย กันน่ะค่ะว่า ตกลง โรงพยาบาลสองของเรา มีนักการแพทย์แผนไทยมาประจำกันกี่คนกันแน่ และแต่ละคนเรียนจบสาขาเหมือนกันหรือไม่   

                วันนี้นักการเเพทย์แผนไทยก็จะมาขอชี้แจงแถลงไข ให้ชาวโฮงยาสองที่รักทุกท่านเข้าใจกัน น่ะค่ะว่า อายุรเวท แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ เหมือนกันอย่างไรและแตกต่าง กันอย่างไร?  โรงพยาบาลของเรา มีผู้จบปริญญาตรีสาขาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต จำนวน 2 คน คือคนที่ 1 ชื่อ อ.พท.ญ ณัฐวลักษณ์ ซื่อสัตย์ ชื่อเล่น ยิมส์ ( ตำแหน่งหน้าที่เดิมก่อนย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลสอง) คนที่สอง น้องใหม่ เพิ่งจบปีนี้เอง ชื่อ นางสาวยุวดี คำปา  ชื่อเล่น แป้ง จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต จำนวน 1 คน ชื่อ  นางสาว อัจฉรา ชำนาญยา ชื่อเล่น ลูกตาล จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย  ค่ะ ส่วน คุณแสดงดาว วงษ์ดี และ คุณเชาว์ลิตร์ วงษ์ดี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่พนักงานสาธารณสุขชุมชน ค่ะ ( อายุรเวท) ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกั ก่อนน่ะค่ะ ว่า แพทย์แผนไทย  หมายถึงอะไร

                 การแพทย์แผนไทย หรือมักเป็นที่รู้จักกันว่า การแพทย์แผนโบราณ (Thai Traditional Medicine) อินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือชีวกโกมารภัจจ์ เป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรม

                    การแพทย์แผนไทย อาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge) ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลลปะ สาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใด ๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่

 การจัดการเรียนการสอนสาขาการแพทย์แผนไทย

ในปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตในสาขาการแพทย์แผนไทยมากขึ้น ซึ่งการแพทย์แผนไทยกับการเเพทย์แผนไทยประยุกต์นั้นมีความแตกต่างกันชัดเจน คือ การแพทย์แผนไทย เน้นการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยา ด้วยหลักการของการแพทย์แผนไทย และจ่ายยาด้วยสมุนไพรเพียงแต่มีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบตะวันตก ซึ่งต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเช่นเดียวกัน แต่ขึ้นทะเบียนกันคนละประเภทกัน โดยมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนการแพทย์แผนไทย ดังนี้

1. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำเเเหง (หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย)
2.  คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย)
3. วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย(หลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย)
4. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช 5. วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 

           ดังนั้น แพทย์แผนไทย  คือ  บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง ที่สำคัญ ที่พร้อมจะดูรักษาพี่น้องประชาชนชาวอำเภอสอง ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยความรักและจริงใจ และพร้อมให้ การรักษา ดูแล ประชาชน ด้วย ศาสตร์และทฤษฏี ที่บรมครูและบรรพบุรุษ ครู ชาวไทย  ให้การถ่ายทอด  สืบทอดกันมา

              พี่น้องโฮงยาสอง คงพอเข้าใจกัน แล้วน่ะค่ะ ว่าแพทย์แผนไทยคืออะไร มีหน้าที่อะไรกัน แล้วน่ะค่ะ แต่ตอนนี้ รู้จักแพทย์แผนไทยประยุกต์ กันอีกสักหน่อย น่ะค่ะ

 

           

       

  แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ บุคลากรทางการแพทย์สาขาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายแพทย์ อวย เหตุสิงห์ ซึ่งต้องการพัฒนาและยกฐานะของ การเเพทย์แผนโบราณให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์และมีหลักวิชาการรองรับในการอธิบาย อาจกล่าวได้ว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นบุคลากรการแพทย์สายพันธุ์ใหม่ของสังคมไทย ที่ครึ่งหนึ่งขององค์ความรู้จะต้องร่ำเรียนตามหลักวิชาการทางการเเพทย์แผนตะวันตกผสมผสานกับคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของไทย สามารถใช้เครื่องมือทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้บางอย่าง (ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด 13 รายการ) สามารถวินิจฉัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน เพียงแต่เมื่อถึงขั้นตอนในการรักษานั้น ต้องรักษาด้วยวิธีการการแพทย์แผนไทยอาทิการใช้ยาสมุนไพร นวด อบ ประคบ นอกจากนั้น ยังสามารถทำคลอดและให้การบำรุงแม่และทารก ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ

            แพทย์แผนไทยประยุกต์จะต้องสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยเฉพาะเสียก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ การสอบใบประกอบโรคศิลปะนั้น จะต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์เท่านั้น จึงจะเป็นแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สมบูรณ์และถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะสอบใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทยสาขาเวชกรรม เภสัชกรรม และผดุงครรภ์

 การจัดการเรียนการสอนสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

ปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้จัดการเรียนการสอนสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ดังนี้

 

หลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต

1.  คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2.   คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
3.   คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรมหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
4.  วิทยาลัยการเเพทย์แผนไทย มหาวิทยาัลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
5. คณะเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6.   คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (การแพทย์แผนไทยประยุกต์)
7.   คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

     

       เห็นไหมค่ะว่า แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ ก็ มีบรมครูคนเดียวกัน เรียน ด้วยศาสตร์แขนงเดียวกัน แม้จะแตกต่างกันด้วยสถาบัน การเรียนการสอน และขอบเขตการประกอบวิชาชีพ แต่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ หรอกค่ะ เพราะ ถ้าผู้ป่วยมาหาเรา เราพร้อมให้การส่งเสริมทางด้วยสุขภาพ ดูแล รักษา ตลอดจนฟื้นฟูทางด้านสุขภาพ  มีจุดประสงค์เดียวกันนั่นก็คือ ให้การดูแล รักษาประชาชนชาวไทย ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย พร้อมสืบทอดเจตนารมของบรรพบุรุษไทย ประกอบโรคศิลปะด้วยใช้ จริยะธรรมและจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ

        ใครจะรู้ว่า เพียงท่านหลับตาแค่ หนึ่งวินาที โลกก็ก้าวไกลไปถึงไหนกันแล้ว แล้วเหตุไฉน แพทย์แผนไทย ศาสตร์นี้ก้าวไกลไปถึงไหนแล้ว แพทย์แผนไทยเดี๋ยวนี้ไม่ได้มีความรู้ ทางด้านแผนโบราณเพียงอย่างเดียว แล้วน่ะค่ะ  แต่ตอนนี้ บุคลากร ทางสาขานี้ เป็นกำลังสำคัญ ที่พร้อมจะให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขและพร้อมที่จะไปพัฒนาตลอดจนดูแลประชาชน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนชาวไทย หันมาสนใจ การดูแลสุขภาพ ด้วยวิถีไทย

            สรุป ว่า  ดิฉันอยากให้ ทุกท่านเค้าใจว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์ คือ เป็นคนกลางซึ่งจะ ทำหน้าที่ผสานงาน ระหว่างการแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนปัจจุบัน ให้บุคลากรทั้งสองฝ่าย สามารถพูดคุยประสานงานกัน ตลอดจนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการดูแลสุขภาพของประชาชนร่วมกัน และยอมรับในศาสตร์ซึ่งกันและกัน และไม่อยากให้ใครเข้าใจว่า แพทย์แผนไทยประยุกต์ เป็นผู้ทำให้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งเดิม   เพราะ แพทย์แผนไทยประยุกต์ยังคงยึดมั่นในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ไม่เสื่อมคลาย  แพทย์แผนไทยประยุกต์เชื่อมั่นว่าเรามี คุณธรรม จริยะธรรม ตลอดจนจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะเราเป็นศิษย์มีครู

อ้างอิง  

  1.   ^ ดร.สมหมาย แตงสกุล, ดร.ธาดา วิมลวัตรเวที. สุขศึกษาและพลศึกษา มัธยม 5. บริษัท วัฒนาพานิช จำกัด : พิมพ์ที่ สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช, ปี 2548. ISBN 974-249-632-3. หน้า 65http://www.applythaimed.org/doc/basic1.pdf

หมายเลขบันทึก: 326729เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • อ. น้องพอลล่า จะมาเมื่อไหร่เอ่ย ยินดีให้บริการค่ะ
  • เหมือนเดิมนะคะ อยากให้ภาพปรพกอบ และ ปรับตัวหนังสือค่ะ

                             

..หวัดดีจ้า...ยิมส์...เราน้ำฝนนะคิดถึงเพื่อนเสมอนะ..ตั้งใจทำงานนะจ๊ะจะเป็นกำลังใจให้...

ยอดหล้า พินิจมนตรี

หวัดดีค่ะพี่ยิม

ทำงานเหนื่อยไหม พักผ่อนบ้างนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท