แนวคิด หลักการพื้นฐาน ของการพิจารณาอาจารย์ตัวอย่าง


จะอย่างไรก็ตาม ส่วนสำคัญที่สภาคณาจารย์ให้ความสำคัญก็คือ การวางหลักการพื้นฐานถึงหลักเกณฑ์เรื่องจริยธรรม คุณธรรม นั้นพิจารณาอย่างไร และ เหตุแห่งการเสียสิทธิ เพราะ เหตุจากการถุกฟ้องร้องดำเนินคดี ในแต่ละคดี ทั้งคดีแพ่ง อาญา ปกครอง หรือ วินัย ส่งผลต่อคุณสมบัติเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือไม่ ?

ในการประชุมสภาคณาจารย์ในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๓ นับเป็นการประชุมครั้งแรกของปี ๒๕๕๓ ในการประชุมครั้งนี้ มีประเด็นการพิจารณาที่ค้างมาจากสภาคณาจารย์ในชุดที่แล้ว ก็คือ การพิจารณาให้รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง

ข้อพิจารณาร่วมกันของสภาคณาจารย์ มีประเด็นหนึ่งว่า หากอาจารย์ที่ถูกเสนอชื่อผ่านกระบวนการขั้นตอนการสรรหาตามระเบียบมหาวิทยาลัยแล้ว ต่อมาพบว่า อาจารย์ที่ถูกเสนอชื่อนั้น ถูกกล่าวหาเป็นคดีฟ้องร้องทางคดีปกครอง และ มีการร้องเรียนในกรณีทุจริต ต่อ ปปช กรณีดังกล่าว ทางสภาคณาจารย์จะให้การรับรองอาจารย์ที่ถูกร้องเรียน หรือ กล่าวหา หรือ ฟ้องร้องเป็นคดีความ ในฐานะอาจารย์ตัวอย่างหรือไม่ ?

ประเด็นสำคัญของการพิจารณาของคณะกรรมการสภาคณาจารย์ ไปถึง มติของสภาคณาจารย์มีมติอย่างไร อาจถูกดำเนินคดีในทางปกครองด้วย และ การแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่ เน้น การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย

ในความเห็นเบื้องต้น (ในฐานะส่วนตัว) มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวเป็น ๒ ส่วน

ส่วนแรก การอธิบายหลักการพื้นฐาน หรือ แนวคิดพื้นฐาน ต่อ หลักเกณฑ์ในการพิจารณา เรื่องคุณสมบัติของการเป็นอาจารย์ตัวอย่าง ที่จะเป็นบรรทัดฐานของการพิจารณาเรื่องเกณฑ์อันเป็นคุณสมบัติของอาจารย์ตัวอย่าง

  • เรื่องนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะแนวทางในการพิจารณา จะเป็นการสร้างหลักการพื้นฐานในเรื่องเกณฑ์การพิจารณา โดยเฉพาะเรื่อง การอธิบายว่า อาจารย์ที่ได้รับเสนอชื่อ ผ่านกระบวนการพิจารณาสรรหาโดยชอบด้วยขั้นตอน แต่ ปรากฎว่า อาจารย์ที่ได้รับเสนอชื่อ ถูกกล่าวหา ร้องเรียน หรือ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และ คดีอยู่ในชั้นสอบสวน หรือ อยู่ในชั้นศาล กรณีดังกล่าว มีผลต่อการพิจารณาหรือไม่ ?
  • และผลจะเป็นอย่างไร หากคดีดังกล่าว เป็น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือ คดีทางวินัย ?
  • การค้นหาบรรทัดฐานดังกล่าว ต้องกลับไปพิจารณาจาก เจตนารมย์ ของการให้รางวัลนั้นว่ามีเจตนารมย์อย่างไร ซึ่งหากย้อนกลับไปพิจารณาที่ระเบียบสภาคณาจารย์ ม.มหิดล ว่าด้วย อาจารย์ตัวอย่างของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็จะพบเจตนารมย์ ซึ่งปรากฎในตอนต้นของประกาศว่า "น่าจะมีการยกย่องอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหิดล  ซึ่งมีความสามารถ มีจริยธรรม และอุทิศตนในด้านต่างๆเพื่อเป็นตัวอย่างอันดี" แสดงให้เห็นชัดว่า น่าจะต้องเน้นประเด็นเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักใหญ่
  • ส่วนการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้น ในระเบียบนี้ เป็นเพียงกติกาชั้นแรกในการเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก กล่าวคือ เป็นอาจารย์ประจำ สอนนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และ ไม่เป็นสมาชิกสภาคณาจารย์ในขณะที่มีการพิจารณา
  • ในระเบียบนี้เอง ก็กำหนดแนวทางในการคัดเลือกให้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินการท้ายระเบียบ ซึ่งก็มีหลักใหญ่ใจความสำคัญ ที่ จริยธรรม ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ การอุทิศตนเพื่อส่วนรวม และความรู้ ความสามารถในเชิงวิชาการ
  • ความน่าสนใจก็คือ การอธิบาย คำว่า จริยธรรม นั้น จะพิจารณาอย่างไร ประเด็นเรื่อง การถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดี ถือเป็น เหตุของการ "ไม่มีจริยธรรม" ได้หรือไม่
  • เรื่องนี้ ยังคงต้องหาคำตอบต่อไป ......

ส่วนที่สอง ต่อข้อกังวลใจเรื่อง มติของสภาคณาจารย์ จะถูกดำเนินคดีปกครองได้หรือไม่

  • มติของสภาคณาจารย์ เป็นมติของส่วนงานที่อยู่ภายใต้ พรบ.มหิดล ๒๕๕๐ ซึ่งกำหนดให้เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ เท่ากับว่า มติของสภาคณาจารย์ ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง นั่นหมายความว่า สามารถเข้าสู่ศาลปกครองได้
  • โอกาสในการเข้าสู่ศาลปกครองได้แบ่งเป็น ๒ ทาง ทางแรก คือ การใช้ดุลยพินิจเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ทางที่สอง ก็คือ กระบวนการพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • ในส่วนแรก เรื่องการใช้อำนาจดุลยพินิจ หลักการพื้นฐานเบื้องต้นในเรื่องนี้ ก็คือ การกระทำทางปกครองในเรื่องนี้ เป็นการใช้อำนาจดุลยพินิจ แต่การใช้อำนาจดุลยพินิจ นั้น ไม่ได้หมายความว่าใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ แต่ต้องมีหลักการพื้นฐานในการที่จะใช้ดุลยพินิจ
  • หลักการที่ว่านั้น ก็คือ "หลักการด้านสาระในการพิจารณาเรื่องเกณฑ์" ซึ่งหากพิจารณาในเรื่อง คุณสมบัติในประเด็นเรื่องจริยธรรม กับ ประเด็นเรื่องการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ต้องเป็นไปโดยชอบด้วยหลักการพื้นฐาน
  • ในส่วนที่สองก็คือ ส่วนของกระบวนการคัดเลือก ก็ต้องพิจารณาจากกระบวนการขั้นตอนในการสรรหา คัดเลือก และ ให้ความเห็นชอบ ต้องถุกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

จะอย่างไรก็ตาม ส่วนสำคัญที่สภาคณาจารย์ให้ความสำคัญก็คือ การวางหลักการพื้นฐานถึงหลักเกณฑ์เรื่องจริยธรรม คุณธรรม นั้นพิจารณาอย่างไร และ เหตุแห่งการเสียสิทธิ เพราะ เหตุจากการถุกฟ้องร้องดำเนินคดี ในแต่ละคดี ทั้งคดีแพ่ง อาญา ปกครอง หรือ วินัย  ส่งผลต่อคุณสมบัติเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือไม่ ?

ทั้งหมด อาจจะไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย หรือ การตีความกฎหมาย แต่เป็นการอธิบายหลักการพื้นฐานที่สำคัญกว่ากฎหมาย

หมายเลขบันทึก: 325477เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2010 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท