การประเมินผล (Validation)


การประเมินผล (Validation)
การประเมินผล (Validation)
TOSI®- Test Object Surgical Instruments­­
ในการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างอัตโนมัติ
จัดทำโดย Martin Pfeifer, Waldkraiburg, Federal Republic of Germany
สรุปการประเมิน
                การประเมินผลอรรถประโยชน์การใช้งาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่ง สำหรับผลิตภัณฑ์ชี้วัดตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือทางการแพทย์ทุกชนิด บทความนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายงานการประเมินผลการทำงานของ TOSI® ซึ่งเป็นตัวชี้วัดตามหลักการใหม่ล่าสุด ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเลือด และส่วนประกอบของเลือด สำหรับการควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างอัตโนมัติ ผลประเมินแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างคราบทดสอบบน TOSI® กับเลือดมนุษย์ เช่นเดียวกับคุณสมบัติในการตรวจสอบได้ด้วยการมองด้วยตาเปล่า ทำให้อ่านผลสะดวก และปลอดภัยกว่าตัวชี้วัดที่ใช้หลักการทดสอบด้วยสารเคมี ข้อมูลผลประเมินทั้งหมดยืนยันถึงการทำหน้าที่ของ TOSI® ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการออกแบบของผลิตภัณฑ์ทุกประการ
คำสำคัญสืบค้น: Cleaning efficiency; Reprocessing of instruments; Test objects; Test soil; Validation; Washer-disinfector
แนะนำเบื้องต้น
                จากบทความต่างๆ ได้มีการให้คำจำกัดความของ “การ ประเมินผล” (Validation) ไว้มากมาย เริ่มต้นที่การทดลองถึงคุณภาพที่ระบุ หรือรับประกันไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ได้ผลิตภัณฑ์หนึ่ง ว่ามีประสิทธิภาพจากขั้นตอนการทำงานที่สอดคล้องกับหลักการของทฤษฎีที่กำหนด ในเอกสาร หรือรายงานต่างๆ แน่นอนว่าต้องไม่มีข้อสงสัยในเรื่องของหลักการทางเทคนิค แต่การผ่านการรับรองจะเป็นไปในแนวทางที่คุณภาพผลิตภัณฑ์ในความหมายที่ระบุ เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น อาหารจานด่วนมีคุณลักษณะที่ชัดเจน ถึงแม้ว่าในบางกลุ่มประชากรจะมีการจำกัดความที่แตกต่างกันออกไปก็ตาม
                สำหรับคำจำกัดความทั่วไปของคำว่า “การประเมินผล” (Validation) นั้น หมายถึง การรับรองประสิทธิภาพการทำงานตามขั้นตอน ว่าเป็นไปตามข้อบ่งใช้ของผลิตภัณฑ์นั้น       ๆ อันดับแรก ข้อบ่งใช้ต้องสามารถอธิบายได้ตามความเข้าใจของสาธารณชนทั่วไป และสอดคล้องกับกฎหมาย อันดับต่อมา ข้อบ่งใช้นั้นต้องระบุขั้นตอนการใช้งานอย่างละเอียด ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการทดสอบที่จำเป็นทั้งหมด และคำตอบสำหรับการวัดประสิทธิภาพของแต่ละขั้นตอน ว่าเป็นไปตามลักษณะที่กำหนด เป็นต้น
                สำหรับกรณีนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างอัตโนมัติ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่ระบุไว้ข้างต้น จึงควรมีการดำเนินการ สิ่งที่ผู้คนทั่วไปให้ความสำคัญ คือ การที่จะทราบได้อย่างไรว่าเครื่องมือผ่าตัดชิ้นไหนที่ออกจากหน่วยจ่ายกลาง ด้วยสภาพที่สะอาดปราศจากคราบปนเปื้อน หรือเครื่องมือชิ้นใดที่มีการปนเปื้อน และเป็นอันตรายทั้งต่อผู้ป่วย บุคลากรผู้ทำหน้าที่ หรือแม้กระทั่งกลุ่มบุคคลที่สาม ซึ่งมีมาตรฐานกำกับทั้งจาก European Medical Device Directive รวมทั้งสมาชิกที่มีภาระผูกพันทางกฎหมาย ได้แก่ German Medical Device Law (MPG) และ German Medical Device Operator Regulations (MPBetreibV) ข้อกำหนดต่างๆ ถูกประกาศใช้เมื่อเดือนมิถุนายน 2541 และมีผลบังคับใช้ทันทีโดยไม่มีการผ่อนผัน โดยที่ ข้อกำหนดระบุว่า เครื่องล้างอัตโนมัติต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานตามมาตรฐาน และต้องมีการตรวจสอบซ้ำตลอดอายุการใช้งาน สำหรับมาตรฐาน และแนวปฏิบัติในอนาคตนั้น จะมีการเพิ่มความเข้มข้นตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทางการแพทย์ (Medical Devices) และเครื่องมือควบคุมในกระบวนนำเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Medical Instruments Reprocessing)
วัสดุ และหลักการ
1.       ข้อกำหนดทั่วไป (General Requirements)
มี เครื่องล้างอัตโนมัติหลากหลายผู้ผลิตที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งถูกใช้งานด้วยหลายขั้นตอนการทำงาน เช่น การล้างผ่านด้วยน้ำประปา การทำความสะอาดหลัก การล้างผ่านน้ำ การทำลายเชื้อ การล้างผ่านน้ำ ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องมือ และขั้นตอนการอบแห้ง เป็นต้น
อุปกรณ์ เครื่องมือที่ทำจากวัสดุหลากหลาย เช่น เครื่องมือผ่าตัด ชิ้นส่วนพลาสติก หรือแม้กระทั่งเครื่องแก้วต่างๆ ได้ถูกป้อนเข้าสู่กระบวนการ ดังนั้น คราบปนเปื้อนก็ไม่ความหลากหลายไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเลือด และสารประกอบในเลือดเช่นไขมัน ซึ่งประกอบด้วยสารคัดหลั่ง หรือของเสียจากการขับถ่าย เป็นต้น
เป็น ที่เข้าใจกันว่า ด้วยโปรแกรมการทำงาน วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือ รวมทั้งคราบปนเปื้อนที่หลากหลาย การประเมินผลจึงไม่ควรควบคุมตรวจสอบแค่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง
ใน กรณีเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะประเมินผลเครื่องมือชี้วัด ในการตรวจสอบ และควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องล้างอัตโนมัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลิตภัณฑ์ TOSI® จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องล้างอัตโนมัติ ในการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่มีการปนเปื้อนคราบเลือดจาก สิ่งมีชีวิต คราบเลือดถือเป็นคราบปนเปื้อนที่พบบ่อยที่สุดสำหรับเครื่องมือผ่าตัด และได้รับการพิจารณาว่าเป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงความสะอาดด้วยนัยสำคัญในระดับ สูง ทั้งนี้ การแห้งกรังของคราบเลือด และคราบปนเปื้อนโปรตีนที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งอาจทำปฏิกิริยากับสารเคมีเชิงซ้อน จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำความสะอาดของการนำเครื่องมือที่ใช้แล้วกลับ มาใช้ใหม่เป็นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ชี้วัดที่ใส่ทดสอบร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ดังกล่าวถูก พัฒนาขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมวัสดุต่างๆ และคราบปนเปื้อนสำคัญอื่นๆ นอกเหนือจากคราบเลือดปนเปื้อนเท่านั้น
TOSI®ได้ รับการออกแบบ เพื่อตรวจวัดประสิทธิภาพการทำความสะอาดคราบปนเปื้อนที่มีความสัมพันธ์กับ คราบเลือดของเครื่องล้างอัตโนมัติ ปัจจัยวิกฤติที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำความสะอาดโดยตรงมีอยู่หลายปัจจัย ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านกลไก เช่น แรงดันน้ำ การจ่ายน้ำ หรือพลังงานของคลื่นอัลตราโซนิก หรือปัจจัยได้เคมีของสารทำความสะอาด เช่น ค่า pH รวมทั้งคุณภาพน้ำ และการตั้งค่าอุณหภูมิ เป็นต้น
ผล การทำงานง่ายๆ อย่างการชำระล้างคราบเลือดออกจากพื้นผิวอุปกรณ์เครื่องมือ อาจตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยเฉพาะของโปรตีนต่างๆ ในคราบเลือด ได้แก่
-          ความสามารถทำละลายในน้ำของโปรตีน (Water Solubility of Proteins)
-          ผลของการสลายโครงสร้าง (Denaturation Effects)
-          การทำให้สลายตัวในน้ำ (Hydrolysis)
-          การสลายคราบปนเปื้อนด้วยพลังกล (Machanical Detaching)
การ เปลี่ยนแปลงของปัจจัยควบคุมสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงในประเภท หรือปริมาณป้อนของสารทำความสะอาด การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือเวลาที่ใช้ หรือการถูกรบกวนของพลังกลเพราะช่องฉีดพ่นน้ำอุดตัน เป็นต้น จะทำให้ประประสิทธิภาพการทำความสะอาดลดลง
เพื่อเป็นการควบคุมปัจจัยกำหนดสำคัญทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ TOSI® จึงได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อรวบรวมลักษณะเฉพาะทุกอย่างของเลือดมนุษย์ไว้ในตัวทดสอบ ซึ่งประสิทธิภาพในการทำความสะอาดคราบเลือด จะตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า และให้ผลทันทีหลังสิ้นสุดกระบวนการทำความสะอาด
2.       การทดสอบความเหมาะสมในการใช้งาน (Suitability Test)
คำ ถามแรกที่ต้องให้คำตอบ คือ ประสิทธิภาพการทำความสะอาดของเครื่องล้างอัตโนมัติ ปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้ผลของการทำความสะอาดดี หรือแย่มีอะไรบ้าง และจะตรวจพบได้อย่างไร เป็นที่ทราบกันว่า กระบวนการนำอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่นั้น สารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อทำงานร่วมกับอุณหภูมิสูงจะมีประสิทธิภาพการทำความสะอาดที่ดี เช่นเดียวกับต้องมีระยะเวลาการทำความสะอาดที่เหมาะสม และกลไกการทำงานของเครื่องล้างอัตโนมัติต้องเชื่อถือได้เช่นกัน โดยที่ TOSI® ควรที่จะแสดงผลให้ตรวจสอบได้เช่นกัน
ผล การทำความสะอาดที่ไม่ดี อาจมีสาเหตุจากการควบคุมที่ไม่เหมาะสม หรือกระบวนการที่ผิดพลาดได้เช่นกัน การทดสอบความเหมาะสมในการใช้งาน เพื่อยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างคราบจำลองบน TOSI® กับเลือดมนุษย์ โดยใช้ 2 สถานการณ์จำลอง สถานการณ์ที่หนึ่ง คือ ใช้อุณหภูมิสูงกว่าระดับที่ทำให้โครงสร้างคราบเลือดเปลี่ยนแปลง ในขั้นตอนการชะล้างด้วยน้ำเปล่า ทำให้ไม่สามารถชะล้างคราบโปรตีนที่แข็งกรังออกได้ในกระบวนการดังกล่าว ส่วนสถานการณ์ที่สองนั้น ใช้สารทำความสะอาดภายใต้อุณหภูมิต่ำ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถทำความสะอาดเส้นใยไฟบริน (Fibrin) ได้
ผลการทดสอบ
1. ความสัมพันธ์กับคราบเลือด การ ทดสอบดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการใช้เครื่องล้างอัตโนมัติได้ เนื่องจากระบบกลไกของแขนฉีดพ่นน้ำไม่สามารถควบคุมผลให้คงที่ และดำเนินซ้ำในรูปแบบเดิมซ้ำๆ ได้ การทดลองที่ย่อขนาดลง โดยการใช้อ่างล้างร่วมกับน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralised Water) มีความเหมาะสม และดำเนินการซ้ำได้สะดวกกว่า สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคราบทดสอบบน TOSI® กับเลือดมนุษย์ การตรวจวัดคราบปนเปื้อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวในการทำความสะอาด เพื่อเปรียบเทียบสัมพันธ์ระหว่างคราบทดสอบกับคราบเลือดมนุษย์
รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคราบทดสอบมาตรฐานกับเลือดมนุษย์ ในการทำความสะอาดโดยน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralised Water) ภายใต้อุณหภูมิห้องปกติ
                จาก การทดสอบข้างต้น ทำให้ได้รับการพิสูจน์ถึงข้อสรุปอีกประเด็นหนึ่งของการทำความสะอาดคราบสกปรก ที่ประกอบด้วยเลือด นั่นคือ คราบเลือด และโปรตีนส่วนใหญ่ที่ละลายน้ำได้จะถูกทำความสะอาด ยกเว้นเส้นใยไฟบริน (Fibrin) ที่ยังคงติดค้างอยู่ แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าการทำความสะอาดคราบเลือดให้หมดจด ไม่สามารถดำเนินการโดยใช้น้ำเพียงอย่างเดียว นั่นบ่งบอกให้เราทราบว่าสารทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นเป็นอย่าง ยิ่ง คราบทดสอบมาตรฐานบน TOSI® ได้จำลองลักษณะพิเศษทั้งหมดไว้ โดยคราบไฟบริน (Fibrin) ที่อยู่บน TOSI® มีสภาพการแห้งกรังที่ติดแน่นกว่าเลือดมนุษย์ทั่วไป เพื่อจำลองสถานการณ์การปนเปื้อนที่เลวร้ายที่สุด
2. การอ่านค่าประสิทธิภาพการทำความสะอาด
                นอกจากแบบจำลองการทดสอบประสิทธิภาพขนาดย่อตามที่กล่าวไว้แล้ว คราบทดสอบมาตรฐานบน TOSI® ยังผ่านการทดสอบภายใต้สถานการณ์จำลองต่างๆ โดยเครื่องล้างอัตโนมัติอีกด้วย แต่ละสถานการณ์จำลองจะมีการทดสอบกระบวนการทำความสะอาดด้วยตัวชี้วัด 3 ตัว และทำซ้ำ 6 ครั้ง
การทดสอบแบบ A สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานการณ์ที่ใช้อุณหภูมิสูงในขั้นการทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยน้ำเปล่า จนทำให้โครงสร้างโปรตีนเปลี่ยนแปลง
                การทดลองนี้ ดำเนินการด้วยน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralised Water) ที่อุณหภูมิ 60°C เป็นเวลา 10 นาที
ผลการทดสอบ คราบทดสอบยังคงติดค้างอยู่บนตัวชี้วัดไม่มากก็น้อย
การทดสอบแบบ B สร้าง ขึ้นเพื่อจำลองสถานการณ์ที่การทำความสะอาดด้อยประสิทธิภาพเพราะเลือกใช้ อุณหภูมิผิดพลาด  ดำเนินการโดยใช้สารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ที่ความเข้มข้น 0.5% ในขั้นตอนทำความสะอาด ที่ระดับอุณหภูมิ 30°C เป็นเวลา 10 นาที
ผลการทดสอบ คราบเส้นใยไฟบริน (Fibrin) ตกค้างจะถูกตรวจพบได้อย่างชัดเจน
การทดสอบแบบ C สร้างขึ้นเพื่อจำลองประสิทธิภาพการทำความสะอาดที่มีการสลายคราบโปรตีนในน้ำ (Hydrolysis)
ดำเนินการโดยใช้สารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ที่ความเข้มข้น 0.5% ในขั้นตอนทำความสะอาด ที่ระดับอุณหภูมิ 80°C เป็นเวลา 10 นาที
ผลการทดสอบ ได้ประสิทธิภาพการทำความสะอาดสูงสุด โดยตัวชี้วัดทุกตัวสะอาดหมดจด ปราศจากคราบสกปรกตกค้าง
ทั้งนี้ นอกจากการตรวจสอบคราบตกค้างบนตัวชี้วัดด้วยสายตาแล้ว การตรวจสอบด้วยไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) และการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีโดยใช้สเปคตรัมของรังสีอัลตราไวโอเลต ก็ถูกนำมาใช้ได้เช่นเดียวกัน
รูปที่ 2 แสดงคราบโปรตีนตกค้างบนตัวชี้วัด หลังการทดสอบแต่ละรอบตามวิธีการสลายตัวในน้ำ ด้วยไฮโดรเจน เปอร์-ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) กราฟแสดงค่าเฉลี่ยของตัวทดสอบ 18 ตัว สำหรับแต่ละสถานการณ์จำลอง
รูปที่ 3 แสดงผลการทดสอบที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
หมายเหตุ เพื่อให้ได้รูปถ่ายที่ชัดเจน จะนำเอาที่คลอบพลาสติกบนตัวชี้วัดออกก่อนแล้วจึงถ่ายภาพ
TOSI® ก่อนการทดสอบ
การทดสอบแบบ A
การทดสอบแบบ B
การทดสอบแบบ C
 
 
 

 

                สำหรับการตรวจสอบด้วยตาเปล่า ได้มีการจัดทำสรุปผลลงในตาราง ซึ่งแสดงประสิทธิภาพไว้เป็น 6 ระดับ (ระดับ 0 ถึงระดับ 5) โดยที่ระดับ 0 แสดงถึงประสิทธิภาพการทำความสะอาดสูงสุด ในขณะที่ระดับ 5 หมายถึงว่าคราบทดสอบบนตัวชี้วัดยังคงตกค้างอยู่เกือบทั้งหมด
ตารางที่ 1 แสดงผลการทดสอบแบบ A, B และ C ตามระดับประสิทธิภาพของการทำความสะอาดตั้งแต่ระดับ 0 ถึง 5
การทดสอบแบบ
0
1
2
3
4
5
A
 
 
 
 
 
×
B
 
 
×
 
 
 
C
×
 
 
 
 
 
หมายเหตุ ตัวชี้วัดทั้ง 18 ตัวในแต่ละแบบทดสอบ ให้ผลตรงกันจากการตรวจสอบด้วยตาเปล่า
                การประเมินด้านเคมีโดยการเปรียบเทียบผลด้วยตาเปล่า แสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวชี้วัดที่สามารถประเมินผลด้วยตาเปล่าถือเป็นระบบการตรวจสอบที่ทรงคุณค่า และเป็นที่ทราบกันแล้วว่าคราบโปรตีนปนเปื้อนเพียงระดับ µg ก็สามารถตรวจพบด้านอย่างง่ายดาย สำหรับข้อสังเกตด้านเคมีที่เจาะลึกมากขึ้นนั้น คราบโปรตีนตกค้างดังที่ปรากฏในการทดสอบแบบ B อาจผลกระทบที่ร้ายแรงอันเกิดจากคราบสารทำความสะอาดตกค้างได้เช่นกัน
สรุป
                คราบทดสอบบน TOSI® มีลักษณะสอดคล้องกับเลือดมนุษย์ จึงสามารถตรวจสอบและควบคุมขั้นตอนที่สลับซับซ้อนของการทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย ความผิดพลาดจากการทำงาน หรือการปัจจัยควบคุม อันส่งผลให้การทำความสะอาดไร้ประสิทธิภาพ จะถูกตรวจพบด้วยความปลอดภัย
                TOSI® ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อการตรวจสอบข้อผิดพลาดในขั้นตอนการทำลายเชื้อ และการอบแห้งของเครื่องล้างอัตโนมัติ
                วัตถุประสงค์การใช้งานของ TOSI® คือการตรวจสอบความผิดพลาดในขั้นตอนการทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติ ทั้งนี้ ข้อผิดพลาดต่างๆ อาจเกิดจากปัจจัยควบคุมหลายตัว ซึ่งทำให้ปัจจัยควบคุมที่มีความสำคัญกว่าบดบังผลของปัจจัยควบคุมที่สำคัญ น้อยกว่าได้
ผู้แสดงความคิดเห็น หมู (thanakron_prajit-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-29 22:49:58

 

ความเห็นที่ 9 (1462283)

ผมจะต้องถามก่อนนะครับ ว่า คุณจะเอาไปตรวจอะไรจะได้แนะนำถูก  

HemoCheck-S
ตรวจวัดคราบเลือดตกค้าง
 
แนะนำเบื้องต้น
                HemoCheck-S เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตรวจจับคราบเลือดตกค้างบนอุปกรณ์เครื่องมือ รูท่อต่างๆ หรือพื้นผิวอื่นๆ ที่มีการสัมผัสกับเลือดก่อนการทำความสะอาด คราบเลือดจะถูกตรวจจับได้ด้วยปฏิกิริยาจากเอนไซม์ เนื่องจากประกอบด้วย Peroxidases ปริมาณมาก สีที่เปลี่ยนแปลงของ Guajac Resin หรือ Benzidin จะให้ผลบวกเมื่อมีคราบเลือดปนเปื้อนที่ระดับ 1 ต่อ 1 ล้าน (Lit. 1) ซึ่งสามารถอธิบายตามทฤษฎีของ Kastle-Meyer-Test (Lit. 2) ได้เช่นกัน สาร Peroxidases ในเลือดจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาใน Leuco-Compounds ในรูปแบบของ Hydrogen Peroxide ทำให้เกิดเม็ดสีขึ้น ซึ่งง่ายต่อการตรวจจับ ซึ่งจะทำให้คราบเลือดตกค้างเกิดสีน้ำเงินขึ้นบนพื้นผิว หรือสารละลาย ทั้งนี้ Peroxidases ในเลือดจะยังคงแสดงคุณสมบัติแม้ผ่านกระบวนการที่ต้องเผชิญกับความร้อน ความเป็นด่าง หรือสารเคมีกลุ่มอัลดีไฮส์
ขั้นตอนการทดสอบ
                เช็ดถูพื้นผิว หรือรูท่อที่ต้องการทดสอบด้วยแปรงเก็บตัวอย่าง หากใช้แปรงเก็บตัวอย่างอื่นที่ไม่ได้มาพร้อมผลิตภัณฑ์ ควรยืนยันการไม่เกิดปฏิกิริยากับสารทดสอบด้วยการทดลองแบบไม่มีคราบปนเปื้อน (Blind Control) ถ้าพื้นผิวแห้ง ควรทำแปรงเก็บตัวอย่างให้ชื้นด้วยน้ำที่ปราศจากคลอรีน (Non Chlorinated Water) จากนั้น หย่อนแปรงเก็บตัวอย่างลงในสารทดสอบที่กระตุ้นแล้ว ซึ่งคราบเลือดตกค้างจะแสดงผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินภายในเวลาไม่กี่วินาที ผลิตภัณฑ์ HemoCheck-S สามารถตรวจจับคราบเลือดตกค้าง ณ ระดับการปนเปื้อนเพียง 0.1 µg ได้อย่างชัดเจน แม้คราบเลือดดังกล่าวจะมีการแปรสภาพจากความร้อนแล้วก็ตาม
ข้อควรระวัง          HemoCheck-S สามารถตรวจจับคราบเลือดตกค้าง หรือสารตกค้างจากเลือด หรือฮีโมโกรบิน อย่างไรก็ตามคราบเลือดตกค้างที่ผ่านการฟอกสี (เช่น สัมผัสกับกรดเพอราเซติก หรือ Hydrogenperoxide) จะไม่สามารถตรวจจับได้ เนื่องจากโครงสร้างของ Peroxidases ได้ถูกทำลายแล้ว
การยืนยันขอบเขตประสิทธิภาพการตรวจจับคราบลือดของ HemoCheck-S
                เลือดสดปริมาณ 100 µl ไว้ในตู้อบเป็นเวลา 2 ชั่วโมง การตรวจวัดมวลด้วยระบบ Gravimetric Measurement ได้ผลว่าเลือดสด 100 µl มีเนื้อมวล 26.5 มิลลิกรัม เลือดบริสุทธิ์ของมนุษย์ถูกทำละลายในน้ำปราศจากแร่ธาตุด้วยอัตราส่วน 1:10, 1:100, 1: 1000 และ 1:10.000 สารละลาย 3.8 µl ของทั้ง 4 ความเข้มข้น จะให้คราบเลือดแห้งขนาด 100 µg, 10 µg, 1 µg และ 0.1 µg ตามลำดับ (รูป 1)
รูป 2 ผลการทดสอบด้วย HemoCheck-S ที่ระดับการปนเปื้อน 100 µg, 10 µg, 1 µg, 0.1 µg และตัวอย่างควบคุม (Blind Control) จากซ้ายไปขวาตามลำดับ
รูป 1 คราบเลือดตกค้าง 100 µg, 10 µg, 1 µg และ 0.1 µg จากซ้ายไปขวา ตามลำดับ

สารละลายของเลือดถูกหยดลงบนแผ่นสแตนเลสที่อุณหภูมิ 90ºC เพื่อจำลองคราบเลือดตกค้างแปรสภาพหลังผ่านขั้นตอนการทำลายเชื้อในเครื่องทำ ความสะอาด และทำลายเชื้ออัตโนมัติ (WD) ตัวอย่างคราบเลือดตกค้างบนแผ่นสแตนเลสจะถูกเก็บด้วยแปรงเก็บตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบขอบเขตของ HemoCheck-S ในการตรวจจับคราบเลือดตกค้างบนพื้นผิว

 
ผลการทดลอง
รูป 2 แสดงตัวอย่างที่ทดสอบด้วย HemoCheck-S ซึ่ง Peroxidases ให้ผลอย่างรวดเร็ว ทุกตัวอย่างให้ผลบวกโดยเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ยกเว้นตัวอย่างควบคุม คราบเลือดตกค้างระดับสูง (100 µg กับ 10 µg) ทำให้สารทดสอบทั้งหมดเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน การทดสอบเพิ่มเติมที่สารละลายเลือดบริสุทธิ์ 1:100.000 หรือจำลองคราบปนเปื้อน 0.01 µg แต่ให้ผลเป็นลบ
 
สรุป จากหลักการทำงานของระบบเอนไซม์ Peroxide ทำให้ HemoCheck-S สามารถตรวจจับคราบเลือดตกค้างได้ในระดับต่ำกว่าการทดสอบคราบโปรตีนตามหลัก การ Biuret Reaction และ Ninhyrin Reaction จุดเด่นอีกประการหนึ่งคือความไวต่อคราบเลือดที่นิยมใช้ในนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสำคัญทางการแพทย์ คราบปนเปื้อนที่ไม่เป็นอันตรายเช่นรอยนิ้วมือจะไม่ให้ผลบวก การไม่ต้องใช้เวลานาน และไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูง ทำให้ HemoCheck-S ใช้งานสะดวก และให้ผลในทันที นอกจากนี้ HemoCheck-S ยังสามารถใช้งานได้ทันทีที่เกิดความสงสัยถึงคราบปนเปื้อนทั้งบนอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือพื้นผิวใดๆ ที่อาจเกิดจากปัญหาการทำงาน หรือกระบวนการทำงาน
เอกสารอ้างอิง
1.       G. Schrader, G. Görisch: The Limitations of Instrument Cleaning Based on Data Collected on vCJD-Risks Posed by Medical Instrument. Hygiene & Medizin August 2003, 28. Jahrgang S. 306-309
2.       Louise M. Edmunds, Andrew Rawlinson: The effect of cleaning on blood contamination in the dental surgery following periodontal procedures. Australian Dental Journal 1998; 43 (5): 349-353
ข้อมูลความปลอดภัยในการใช้งาน
o      สารละลายใน HemoCheck-S มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ และอาจเกิดอาการระคายเคือง
o      สามารถกำจัด HemoCheck-S โดยจัดเป็นขยะไร้พิษ
หมายเลขบันทึก: 323496เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สรุป จากหลักการทำงานของระบบเอนไซม์ Peroxide ทำให้ HemoCheck-S สามารถตรวจจับคราบเลือดตกค้างได้ในระดับต่ำกว่าการทดสอบคราบโปรตีนตามหลัก การ Biuret Reaction และ Ninhyrin Reaction จุดเด่นอีกประการหนึ่งคือความไวต่อคราบเลือดที่นิยมใช้ในนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสำคัญทางการแพทย์ คราบปนเปื้อนที่ไม่เป็นอันตรายเช่นรอยนิ้วมือจะไม่ให้ผลบวก การไม่ต้องใช้เวลานาน และไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูง ทำให้ HemoCheck-S ใช้งานสะดวก และให้ผลในทันที นอกจากนี้ HemoCheck-S ยังสามารถใช้งานได้ทันทีที่เกิดความสงสัยถึงคราบปนเปื้อนทั้งบนอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือพื้นผิวใดๆ ที่อาจเกิดจากปัญหาการทำงาน หรือกระบวนการทำงาน

สรุป

คราบทดสอบบน TOSI® มีลักษณะสอดคล้องกับเลือดมนุษย์ จึงสามารถตรวจสอบและควบคุมขั้นตอนที่สลับซับซ้อนของการทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย ความผิดพลาดจากการทำงาน หรือการปัจจัยควบคุม อันส่งผลให้การทำความสะอาดไร้ประสิทธิภาพ จะถูกตรวจพบด้วยความปลอดภัย

TOSI® ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อการตรวจสอบข้อผิดพลาดในขั้นตอนการทำลายเชื้อ และการอบแห้งของเครื่องล้างอัตโนมัติ

วัตถุประสงค์การใช้งานของ TOSI® คือการตรวจสอบความผิดพลาดในขั้นตอนการทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติ ทั้งนี้ ข้อผิดพลาดต่างๆ อาจเกิดจากปัจจัยควบคุมหลายตัว ซึ่งทำให้ปัจจัยควบคุมที่มีความสำคัญกว่าบดบังผลของปัจจัยควบคุมที่สำคัญ น้อยกว่าได้

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท