พัฒนาชีวิตด้วยดนตรี (3)


ถ้าครูทำให้เด็กรู้สึกว่า "ทำได้" เขาจะ "เชื่อฟัง" ครู

ส่ิงที่ครูทำก็ คือ ค่อยๆ สอนให้เด็กอ่าน "จังหวะ" ก่อน

เมื่อครูแบ่งกลุ่ม  และเติมทำนองให้เด็กรับผิดชอบเสียงของตัวเอง
ทุกคนจะรู้ว่า "หนึ่งเสียง" ของเขา  มีผลต่อเสียงของกลุ่ม กลุ่มก็มีผลต่อวง
และเขามีส่วนร่วมในความสำเร็จ หรือล้มเหลวของวงด้วย

ถ้าทำให้เด็กรู้สึกได้ด้วยตัวเองว่าเขา "ทำได้"  เขาก็จะ "เชื่อ" ครู
และครูก็ทำอย่างนี้ไปจนครบ 7 ครั้งที่เรียน
และเมื่อเด็กส่วนใหญ่ "ทำได้" และ "เชื่อ"  ที่เหลือก็ต้องตาม
เพราะเด็กวัยรุ่นย่อมอยากเป็นที่ยอมรับของเพื่อน และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

แน่นอนว่าครูไม่ได้ให้โจทย์ยากเกินกว่าที่เด็กจะทำได้
ฉะนั้น  ทุกชั่วโมง  เด็กจะได้สัมผัสความสำเร็จที่เขาทำเอง
ได้ต่อยอดความสำเร็จไปเรื่อยๆ ทุกๆ ครั้งที่มาเรียน
เกิดแรงอย่างไม่รู้ตัวที่จะ  "ทำต่อไปให้ได้มากขึ้น" อีก
ยังไม่อยากเรียกว่าเป็นความมุ่งมั่น  เพราะออกจะเป็นคำใหญ่โตเกินไป
สำหรับการเรียนๆ เล่นๆ ในคลาสนี้  ถึงแม้ว่าครูจะตั้งใจสอนจริงๆ ก็ตาม

เด็กไม่ต้องรู้ก่อนด้วยซ้ำว่า  เพลงที่เขากำลังจะร้องด้วยกันนั้น
ผสมกันออกมาแล้วท้ายสุดจะเป็นอย่างไร 
แต่เขาจะค่อยๆ สะสม  ร่วมกันก่อทีละนิด
จนเป็นผลงานในวันสอบ

หมายเหตุ clip นี้เป็นการสอบวิชาดนตรีชีวิต ของมัธยมปลาย เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.52

หมายเลขบันทึก: 323426เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ...

มาติดตามบันทึกต่อเนื่องจากตอนแล้วครับ

ขอบคุณ คุณหนานเกียรติอีกครั้งค่ะ

และสวัสดีปีใหม่คุณประจักษ์เช่นกันค่ะ

การเรียนรู้ทางดนตรีเป็นการพัฒนาทักษะในการใช้สมอง สมาธิ ให้สัมพันธ์กับทางกายภาพ
เช่นทักษะการใช้นิ้ว  และทักษะการจำแนกเสียง

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อความที่คุณกล่าวมาคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท