แบบประเมิน ความฉลาดทางอารมณ์ เด็กอายุ 3-5 ปี


แบบประเมิน  ความฉลาดทางอารมณ์  เด็กอายุ  3-5 ปี

ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์เด็ก

หมายถึง ความสามารถในการรู้จัก  เข้าใจและควบคุมอารมณ์ของตนได้สอดคล้องกับวัย มีการประพฤติปฎิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสมและมีความสุข ความฉลาดทางอารมณ์เป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทั้งความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม

การประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก

                การประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กจะช่วยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้ทราบถึงจุดดีจุดเด่นของลักษณะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรส่งเสริมและจุดอ่อนที่ควรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป รวมทั้งสามารถใช้ในการติดตามเพื่อดูพัฒนาการทางอารมณ์ว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดเมื่ออายุเพิ่มขึ้น

                การประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก  ประเมินคุณลักษณะ  3 ด้าน  คือ

  1. ด้านดี  เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะร่วมกับผู้อื่น  โดยประเมินจากการรู้จักอารมณ์  การมีน้ำใจ และการรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
  2. ด้านเก่ง  คือความพร้อมที่จะพัฒนาตนไปสู่ความสำเร็จ  โดยประเมินจากความกระตือรือร้น/สนใจใฝ่รู้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง  และการกล้าพูดกล้าบอก
  3. ด้านสุข  คือความพร้อมทางอารมณ์ที่ทำให้เกิดความสุข  โดยประเมินจากการมีความพอใจ  ความอบอุ่นใจ และความสนุกสนานร่าเริง

ความฉลาดทางอารมณ์  ประเมินได้โดยการตอบข้อความที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์  ความรู้สึกและพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ในช่วง 4 เดือน ที่ผ่านมา  แม้ว่าบางประโยคอาจจะไม่ตรงกับที่เด็กเป็นอยู่ก็ตาม ขอให้ท่านเลือกคำตอบที่ใกล้เคียงกับที่เด็กเป็นอยู่จริงมากที่สุด  การตอบตามความเป็นจริงและตอบทุกข้อจะทำให้ท่านได้รู้จักเด็กและหาแนวทางในการพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้นได้

มีคำตอบที่เป็นไปได้ 4  คำตอบ  สำหรับข้อความแต่ละประโยค คือ ไม่เป็นเลย เป็นบางครั้ง เป็นบ่อยครั้ง เป็นประจำ การประเมินให้ใช้ความรู้สึกของผู้ประเมินเป็นหลัก แต่กรณีที่ไม่แน่ใจให้ใช้เกณฑ์ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการประเมิน

                                ไม่เป็นเลย      หมายถึง   ไม่เคยปรากฏ

                                เป็นบางครั้ง    หมายถึง   นาน ๆ ครั้ง หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง

                                เป็นบ่อยครั้ง    หมายถึง  ทำบ่อย ๆ หรือเกือบทุกครั้ง

                                เป็นประจำ        หมายถึง  ทำทุกครั้งเมื่อเกิดสถานการณ์นั้น

การประเมินมีข้อพึงระวังดังนี้

  1. ผู้ตอบแบบประเมินจะต้องรู้จักหรือคุ้นเคยกับเด็กเป็นอย่างดีไม่น้อยกว่า 6 เดือน  เพื่อจะได้มีโอกาสให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้อย่างละเอียดและถูกต้อง
  2. ผู้ตอบแบบประเมิน ต้องตอบตามที่เด็กเป็นอยู่จริง
  3. ถ้าผู้ตอบมีความรู้ต่ำกว่า ป. 6 ควรใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยผู้ที่นำแบบประเมินไปใช้
  4. ไม่ควรนำผลการประเมินไปเปรียบเทียบกับเด็กอื่น ว่ากล่าวตำหนิเด็ก หรือใช้เป็นข้อตัดสินในการคัดเลือกเด็กในโอกาสต่าง ๆ

ข้อความต่อไปนี้เป็นการอธิบายถึงอารมณ์  ความรู้สึกและพฤติกรรมของเด็กในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา

โปรดใส่เครื่องหมาย  P ในช่องที่ท่านคิดว่าตรงกับตัวเด็กมากที่สุด  มีคำตอบที่เป็นไปได้ 4 คำตอบ  สำหรับข้อความแต่ละประโยคคือ  ไม่เป็นเลย  เป็นบางครั้ง  เป็นบ่อยครั้ง  เป็นประจำ

 

 

ไม่เป็น

เลย

เป็น

บางครั้ง

เป็น

บ่อยครั้ง

เป็น

ประจำ

คะแนน

1

บอกความรู้สึกของตนเองได้เมื่อถูกถาม  เช่น รู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ ไม่พอใจ

 

 

 

 

 

2

มักโอบกอดหรือคลอเคลียคนที่ตนรัก

 

 

 

 

 

3

ยิ้มแย้มเมื่อเล่นกับเพื่อน

 

 

 

 

 

4

แสดงความเห็นใจเมื่อเห็นเพื่อหรือผู้อื่นทุกข์ร้อน  เช่น  บอกว่าสงสาร เข้าไป

ปลอบหรือเข้าไปช่วย

 

 

 

 

 

5

หยุดการกระทำที่ไม่ดีเมื่อเห็นสีหน้าไม่พอใจของผู้ใหญ่

 

 

 

 

 

6

ร้องไห้งอแงเวลาไปโรงเรียนหรือสานที่ที่ไม่อยากไป

 

 

 

 

 

7

กลัวสิ่งที่อยู่ในจิตนาการ เช่น ผี สัตว์ประหลาด

 

 

 

 

 

8

เอาแต่ใจตนเอง

 

 

 

 

 

9

กลัวคนแปลกหน้า

 

 

 

 

 

รวมข้อ 1 - 9

 

10

เต็มใจแบ่งปันสิ่งของให้คนอื่นๆ เช่น  ขนม  ของเล่น

 

 

 

 

 

11

ชวนคนอื่นให้เล่นด้วยกัน

 

 

 

 

 

12

สงสาร  ไม่ทำร้ายสัตว์

 

 

 

 

 

13

บอกผู้ใหญ่เมื่อเพื่อนหรือคนในครอบครัวไม่สบาย

 

 

 

 

 

14

ใจดีกับเด็กที่เล็กกว่า

 

 

 

 

 

15

อาสาช่วยผื่น เช่น  งานบ้าน  เก็บของที่เกะกะ

 

 

 

 

 

16

ไม่ช่วยเหลือเมื่อได้รับการขอร้อง

 

 

 

 

 

รวมข้อ 10 - 16

 

17

เชื่อฟังและทำตามที่ผู้ใหญ่ต้องการ

 

 

 

 

 

18

บอกขอโทษหรือเข้ามาประจบเมื่อทำผิด

 

 

 

 

 

19

ไม่เล่นของที่เป็นอันตราย  เช่น ไม้ขีดไฟ มีด หลังการได้รับการห้ามปรามจากผู้ใหญ่

 

 

 

 

 

20

ไหว้ขอบคุณเมื่อผู้อื่นให้ของโดยผู้ใหญ่ไม่ต้องบอก

 

 

 

 

 

21

ไหว้หรือสวัสดีเมื่อพบผู้ใหญ่

 

 

 

 

 

22

บอกให้คอยก็ไม่งอแง

 

 

 

 

 

23

อดทนได้ รอคอยได้ ไม่ลงมือลงเท้า

 

 

 

 

 

24

เรียกร้องเอาแต่ใจตนเอง

 

 

 

 

 

รวมข้อ 17 - 24

 

25

ช่างสังเกตและตั้งคำถามผู้ใหญ่ถึงสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็น

 

 

 

 

 

26

มักอยากรู้ยากเห็นกับของเล่นหรือสิ่งแปลกใหม่

 

 

 

 

 

27

กล้าชักถามหรือแสดงท่าทีสนใจเมื่อมีข้อสงสัย

 

 

 

 

 

28

สนใจ รุ้สึกสนุนกับงานหรือกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ

 

 

 

 

 

29

ชอบเดินสำรวจเมื่ออยู่สนสถานที่ใหม่ๆ

 

 

 

 

 

30

ตั้งใจฟังเมื่อผู้ใหญ่ตอบเรื่องที่อยากรู้

 

 

 

 

 

รวมข้อ  25 - 30

 

 

31

ร้องไห้เมื่อไปโรงเรียน

 

 

 

 

 

32

เมื่อไม่ได้ของเล่นที่อยากได้ก็สามารถเล่นของอื่นแทน

 

 

 

 

 

33

ยอมรับคำอธิบายเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

 

 

 

 

 

34

เข้ากับเด็กคนอื่นๆ ได้ง่ายเมื่อเริ่มรู้จักกัน

 

 

 

 

 

35

หงุดหงิดเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่คุ้นเคย

 

 

 

 

 

36

ไม่ชอบไปในสถานที่ไม่คุ้นเคย เช่น บ้านญาติ บ้านเพื่อนของพ่อแม่

 

 

 

 

 

รวมข้อ  31 - 36

 

37

กล้าบอกเรื่องที่ตนเองทำผิดพลาดให้ผู้ใหญ่ฟัง

 

 

 

 

 

38

บอกผู้ใหญ่เมื่อทำของเสียหาย

 

 

 

 

 

39

กล้าปฎิเสธเมื่อผู้ใหญ่จะช่วยเหลือเพราะเด็กอยากทำด้วยตัวเอง

 

 

 

 

 

40

บอกความต้องการของตนเองให้ผู้อื่นรู้

 

 

 

 

 

41

บอกปฎิเสธเมื่อมีผู้ชวนเล่นสิ่งที่ไม่ชอบ

 

 

 

 

 

42

กล้าพูด กล้าคุย ทักทายตอบกลับผู้อื่น

 

 

 

 

 

รวมข้อ  37 - 42

 

43

เมื่อได้รับคำชมเชย มักบอกเล่าให้คนอื่นรู้

 

 

 

 

 

44

ช่วยเหลือตนเองมากขึ้นเมื่อได้รับคำชม

 

 

 

 

 

45

ชอบเอาผลงานที่ทำเสร็จมาให้ผู้ใหญ่ดู

 

 

 

 

 

46

พอใจที่ผู้ใหญ่ชมว่าเป็นเด็กดี

 

 

 

 

 

รวมข้อ  43 - 46

 

47

ช่วยเหลือตัวเองได้ดีเมื่อผู้ใหญ่กำลังใจ

 

 

 

 

 

48

ไม่หวาดกลัวเมื่อต้องอยู่กับคนที่ไม่คุ้นเคย

 

 

 

 

 

49

รู้จักเผื่อแผ่ความรักให้คนอื่น  เช่น กอด ปลอบน้องหรือเด็กที่เล็กกว่า

 

 

 

 

 

รวมข้อ  47 - 49

 

50

ร่วมเล่นสนุกสนานกับคนอื่นๆ ได้

 

 

 

 

 

51

รู้จักค้นหาของมาเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน

 

 

 

 

 

52

ถึงแม้ไม่ได้เล่นก็สนุกกับการดูคนอื่นเล่นได้

 

 

 

 

 

53

ถึงแม้ไม่ได้เล่นก็สนุกกับการดูคนอื่นเล่นได้

 

 

 

 

 

54

แสดงอารมณ์สนุกร่วมตามไปกับสิ่งที่เห็น เช่น ร้องเพลง กระโดดโลดเต้น หัวเราะเฮฮา

 

 

 

 

 

55

เก็บตัว  ไม่เล่นสนุกสนามกับเด็กคนอื่นๆ

 

 

 

 

 

รวมข้อ  50 - 55

 

 

การให้คะแนน       แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ดังนี้

                กลุ่มที่ 1 ให้คะแนนแต่ละข้อดังนี้                                                          กลุ่มที่ 2 ให้คะแนนแต่ละข้อดังนี้

                ไม่เป็นเลย              ให้           1              คะแนน                                   ไม่เป็นเลย              ให้           4              คะแนน

                เป็นบางครั้ง            ให้           2              คะแนน                                   เป็นบางครั้ง            ให้           3              คะแนน

                เป็นบ่อยครั้ง           ให้           3              คะแนน                                   เป็นบ่อยครั้ง           ให้           2              คะแนน

                เป็นประจำ              ให้           4              คะแนน                                   เป็นประจำ              ให้           1              คะแนน

 

 

                              

               กลุ่มที่  1  ได้แก่ข้อ                                                                                            กลุ่มที่ 2 ได้แก่ข้อ                          

1

2

3

4

10

11

12

13

14

15

17

18

19

 

    

6

7

8

9

16

20

21

22

23

26

27

28

29

30

32

33

34

37

 

 

24

31

35

36

55

38

39

40

41

43

44

45

46

47

48

49

50

51

 

 

 

 

 

 

 

52

53

54

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การแปลผล

                เมื่อให้คะแนนครบทุกข้อแล้ว  ให้รวมคะแนนในแต่ละด้านย่อยทั้ง  9  ด้าน แล้วนำคะแนนแต่ละด้าน
มาใส่ในช่องผลรวมของคะแนนในกราฟความฉลาดทางอารมณ์  หลังจากนั้นให้นำคะแนนที่ได้ไปทำทำเครื่องหมาย  X  ลงบนเส้นประในกราฟความฉลาดทางอารมณ์  หลังจากนั้นให้นำคะแนนที่ได้ไปทำ เครื่องหมาย X ลงบนเส้นประในกราฟความฉลาดทางอารมณ์แล้วลากเส้นเชื่อมระหว่างเครื่องหมาย   X  ให้   ต่อกัน  แล้วพิจารณาดูว่ามีคะแนนในด้านใดที่สูงหรือต่ำกว่าช่วงคะแนนของเด็กส่วนใหญ่

กราฟความฉลาดทางอารมณ์

 

องค์ประกอบ

ความฉลาดทางอารมณ์

การรวม

คะแนน

ผลรวม

ของ

คะแนน

 

ด้าน

ดี

1.1  รู้จักอารมณ์

ข้อ 1-9

 

 

1.2 มีน้ำใจ

ข้อ 10-16

 

 

1.3 รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด

ข้อ 17-24

 

 

ด้านเก่ง

2.1 กระตือรือร้น/สนใจใฝ่รู้

ข้อ 25–30

 

 

2.2 ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

ข้อ 31-36

 

 

2.3 กล้าพูดกล้าบอก

ข้อ 37-42

 

 

ด้านสุข

3.1 มีความพอใจ

ข้อ 43-46

 

 

3.2  อบอุ่นใจ

ข้อ 47-49

 

 

3.3สนุกสนานร่าเริง

ข้อ 50-55

 

 

                                                                                                                                                                                              

คะแนนได้จากการสำรวจความฉลาดทางอารมณ์เด็กจำนวน ............ คน  จากศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์  เทศบาลตำบลนาหว้า

 อำเภอนาหว้า  จังหวัดนครพนม  ในปี  พ.ศ.2552

                กราฟนี้จะทำให้ทราบโดยสังเขปว่าเด็กมีระดับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับใด  มีความจำเป็นต้องพัฒนาความลาดทางอารมณ์ในด้านนั้น ๆ มากน้อยเพียงใด

                คะแนนที่อยู่ในแถบ            บ่งบอกว่าเด็กมีความฉลาดทาง อารมณ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี  ควรส่งเสริมและ

รักษาคุณลักษณะนี้ให้คงไว้

                คะแนนที่อยู่ในแถบ            บ่งบอกว่าเด็กควรได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในด้านนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น  ผู้ใหญ่ควรร่วมกันส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในด้านนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง

                คะแนนที่อยู่ต่ำกว่าแถบ             บ่งบอกว่าเด็กจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในด้านนั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันเอาใจใส่พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เด็กอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ

                กล่าวโดยสรุป  หากคะแนนของเด็กแตกต่างจากช่วงคะแนนของเด็กส่วนใหญ่ที่ได้จากการสำรวจ ไม่ว่าคะแนนจะมากหรือน้อยก็ตาม ผู้ใหญ่ควรตระหนักและส่งเสริมให้เด็กประพฤติปฎิบัติให้เหมาะสมตามแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์แต่ละด้าน

 

แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3 – 5 ปี  ในด้านต่างๆ

                ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กควรทำสิ่งเหล่านี้ให้สมาเสมอในชีวิตประจำวันเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็ก

  1. 1.       ด้านดี

1.1   การรู้จักอารมณ์  เมื่อเด็กมีอารมณ์เกิดขึ้น เช่น โกรธ โมโห ผู้ใหญ่ควรช่วยให้เด็กรู้จักอารมณ์ของตนเอง

         อันเป็นพื้นฐานของการควบคุมอารมณ์ได้ในอนาคต  โดยไม่ตำหนิเด็ก  แต่ควรแสดงท่าทีที่เข้าใจ  เช่น

        โอบกอดเด็ก  จะทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย  และผู้ใหญ่ควรถามเพื่อเป็นการให้เด็กทบทวนอารมณ์ของตนเอง

         เช่น “ หนูรู้ตัวหรือเปล่าว่ากำลังโกรธ”   “หนูรู้สึกกว่าใคร ๆ ก็พากันรักน้องมากกว่าหนูใช่ไหม”

1.2 มีน้ำใจ  ผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็กรู้จักแบ่งปัน

1.3 รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด  เมื่อเด็กทำผิด  เช่น  เดินชนผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ  ควรสอนเด็กให้รู้จักกล่าวคำขอโทษเพราะการเดินชนผู้อื่นอาจจะทำให้เขาเจ็บหรือไม่พอใจได้  การขอโทษทำให้ผู้อื่นไม่ถือโทษโกรธเด็ก

                2.  ด้านเก่ง

2.1  กระตือรือร้น/สนใจใฝ่รู้  ผู้ใหญ่ควรมีท่าทีสนใจเมื่อเด็กมีข้อสงสัยหรือซักถาม  เพราะเด็กวัยนี้มักมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งแปลกใหม่รอบตัว  นอกจากนี้  ผู้ใหญ่ควรส่งเสริมให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบอย่างง่ายที่สอดคล้องกับวัยของเด็ก

2.2 ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเด็กมักจะเกิดความหวั่นไหว  ดังนั้น  ผู้ใหญ่ควรปลอบใจ

ให้ความมั่นใจเด็กเพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นใจและปรับตัวได้  นอกจากนี้  ผู้ใหญ่ควรให้เด็กได้พบปะคนอื่นๆ

 นอกบ้านบ้าง เช่น พาไปเที่ยวบ้านญาติ  บ้านเพื่อ หรือเล่นกับเพื่อนนอกบ้าน  ซึ่งจะทำให้เด็กได้เรียนรู้

 เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับคนอื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว

2.3  กล้าพูดกล้าบอก   เมื่อเด็กบอกความรู้สึก  หรือแสดงความคิดเห็น  ผู้ใหญ่ควรรับฟังด้วยความสนใจ  และ 

 ถามเหตุผล  ท่าทีของผู้ใหญ่จะเป็นการสนับสนุนให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง   และผู้ใหญ่ก็จะเข้าใจเด็กมากขึ้นด้วย

                3. ด้านสุข

3.1  มีความพอใจ  ผู้ใหญ่ควรสนับสนุนให้เด็กทำอะไรด้วยตนเองหรือแสดงความสามารถเฉพาะตัว  เมื่อเด็กทำได้ผู้ใหญ่ควรกล่าวชมเชย  จะทำให้เด็กเกิดความภูมิใจและมีความสุข

3.2  อบอุ่นใจ  เด็กทุกคนต้องการให้ผู้ใหญ่อยู่ใกล้ชิด  คอยปกป้องและให้กำลังใจ  โดยเฉพาะเวลาเด็กเริ่มทำ   อะไรด้วยตนเองเป็นครั้งแรก  เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นใจ  ไม่กังวล  มีความมั่นคงทางอามรณ์  และกล้าที่จะทำสิ่งต่างๆ  ด้วยตนเองในระยะต่อไป

3.3  สนุกสนานร่าเริง  ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่น  หรือร่วมสนุกสนานเฮฮากับเพื่อนเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตเด็ก  ทั้งนี้พ่อแม่อาจจะมีส่วนช่วยกระตุ้นโดยการร่วมกิจกรรมกับเด็ก  สิ่งเหล่านี้จะเป็นการฝึกให้เด็กเป็นคนอารมณ์ดี  และเป็นการช่วยผ่อนคลายอารมณ์ที่ขุ่นมัวทั้งหลายได้เป็นอย่างดี  สำหรับเด็กที่มีท่าทางหงอยเหงา  ผู้ใหญ่ไม่ควรละเลย  แต่ควรสนับสนุนให้เด็กร่วมในกิจกรรมที่สนุกสนานกับผู้อื่น

                นอกจากแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอามรณ์ที่กล่าวมาแล้ว  หากสนในรายละเอียดเพิ่มเติมท่านอาจจะหาความรู้ได้จากคู่มือการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ  3 – 11  ปีของกร

คำสำคัญ (Tags): #พรเจริญ4
หมายเลขบันทึก: 323209เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท