จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

เมื่อครูต้องพูดกันนักเรียน


 

 

ผู้สอนต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีสำหรับการสื่อสารกับผู้เรียน ทักษะการสื่อสารของผู้สอนจะมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ทักษะสำคัญที่ใช้เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้สอน คือภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยในการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีข้อควรคำนึง ดังนี้
1) เน้นการสื่อสารที่เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้สติตรึกตรองต่อไป ทั้งนี้ในอัลกุรอานได้กล่าวไว้ มีความหมายว่า 
"แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ หวังว่าพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด" (อัลกุรอาน, 12: 2)
และในอีกโองการหนึ่ง ได้ระบุไว้ว่า อัลกุรอานเป็นสิ่งที่ง่ายดายด้วยกับภาษาที่เข้าใจได้ ซึ่งมีความหมายว่า
“ดังนั้นแท้จริงเราได้ทำให้อัลกุรอานเป็นที่ง่ายดายในภาษาของเจ้า (อาหรับ) เพื่อพวกเขาจะได้ใคร่ครวญ ฉะนั้น จงคอยดูเถิด แท้จริงพวกเขาก็จะเป็นผู้คอยเช่นกัน” (อัลกุรอาน, 44: 58-59)
จากโองการข้างต้น อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงระบุว่า ภาษาที่ใช้ในอัลกุรอานเป็นภาษาที่ง่ายสำหรับการทำความเข้าใจ เพราะเป็นภาษาของท่านศาสนทูต (ซ.ล) และกลุ่มคนที่ได้รับการเผยแพร่ศาสนาจากท่าน คือ ภาษาอาหรับ ซึ่งด้วยภาษาที่ง่ายนี้จะทำให้พวกเขารำลึกและใคร่ครวญได้ และจะนำไปสู่ความศรัทธาและมีความยำเกรง มีคุณธรรม   
2) ผู้สอนจะต้องเลือกใช้ระดับของการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งนี้ท่านศาสนทูต (ซ.ล) ได้กล่าวถึงการสื่อสารกับผู้อื่นว่า จะต้องเป็นการสื่อสารที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจและคิดตามได้ มิเช่นนั้นการสื่อสารก็ล้มเหลว ดังที่ท่านศาสนทูต (ซ.ล) ได้กล่าวไว้ว่า “พวกเราบรรดานบี พวกเราถูกบัญญัติให้พูดกับมนุษย์ด้วยเท่าที่ปัญญาพวกเขาเข้าใจ” (บันทึกโดย อิบนุชะรีอะฮฺ และอัฏเฏาะบะรี: 187)
จากหลักฐานที่นำเสนอข้างต้นจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ผู้สอนจะมีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารมากเพียงใด ก็จะต้องจำกัดระดับความสามารถดังกล่าวไว้เพียงเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งมีทักษะที่น้อยกว่าสามารถเข้าใจสารที่ถูกส่งมาด้วย นอกจากนี้ผู้สอนจะต้องเลือกกลวิธีที่จะสื่อสารไปยังผู้เรียน ดังที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ ซึ่งมีความหมายว่า 
“และจงกล่าวแก่ปวงบ่าวของข้าว่า พวกเขาจะต้องกล่าวแต่คำพูดที่ดียิ่งกว่า” 
(อัลกุรอาน, 17: 53)
3) ผู้สอนจะต้องเลือกการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และจะต้องหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ไร้ประโยชน์ ดังที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซึ่งมีความหมายว่า
“และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้ผินหลังให้จากเรื่องไร้สาระต่างๆ” (อัลกุรอาน, 23: 3)
ทั้งนี้จากโองการข้างต้น อัลลอฮ์ได้ทรงระบุว่า หนึ่งในคุณลักษณะของผู้ศรัทธา ที่เรียกว่า 
“มุมิน” นั้นจะต้องไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งที่ไร้สาระต่างๆ จากการพูดคุยและการกระทำต่างๆ และในอีกโองการหนึ่งระบุไว้ มีความหมายว่า

“และเมื่อพวกเขาได้ยินเรื่องไร้สาระ พวกเขาก็ผินหลังออกห่างไปจากมัน และกล่าวว่าการงานของเราก็จะได้แก่เรา และการงานของพวกท่านก็จะได้แก่พวกท่าน ศานติแด่พวกท่าน เราจะไม่ขอร่วมกับพวกงมงาย” (อัลกุรอาน, 28: 55

 

คืนนี้หัวใจมุ่งมั่นในการแก้ไขวิทยานิพนธ์ดีมากครับ (อัลฮัมดุลิลลาห์) แต่เขียนไปเขียนมา ถึงประเด็นนี้ อดไม่ได้ที่จะเปิดบันทึกเพื่อนำเสนอ คำถามเบื้องต้นคือ แบบไหน อย่างไรสำหรับผู้สอนที่ควรทำสำหรับการสื่อสารกับผู้เรียน ครับ ผมประมวลได้ดังนี้ครับ

1) เน้นการสื่อสารที่เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้สติตรึกตรองต่อไป ทั้งนี้ในอัลกุรอานได้กล่าวไว้ มีความหมายว่า 

"แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ หวังว่าพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด" (อัลกุรอาน, 12: 2)

 และในอีกโองการหนึ่ง ได้ระบุไว้ว่า อัลกุรอานเป็นสิ่งที่ง่ายดายด้วยกับภาษาที่เข้าใจได้ ซึ่งมีความหมายว่า

“ดังนั้นแท้จริงเราได้ทำให้อัลกุรอานเป็นที่ง่ายดายในภาษาของเจ้า (อาหรับ) เพื่อพวกเขาจะได้ใคร่ครวญ ฉะนั้น จงคอยดูเถิด แท้จริงพวกเขาก็จะเป็นผู้คอยเช่นกัน” (อัลกุรอาน, 44: 58-59)

 จากโองการข้างต้น อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงระบุว่า ภาษาที่ใช้ในอัลกุรอานเป็นภาษาที่ง่ายสำหรับการทำความเข้าใจ เพราะเป็นภาษาของท่านศาสนทูต (ซ.ล) และกลุ่มคนที่ได้รับการเผยแพร่ศาสนาจากท่าน คือ ภาษาอาหรับ ซึ่งด้วยภาษาที่ง่ายนี้จะทำให้พวกเขารำลึกและใคร่ครวญได้ และจะนำไปสู่ความศรัทธาและมีความยำเกรง มีคุณธรรม   

 2) ผู้สอนจะต้องเลือกใช้ระดับของการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้เรียน ทั้งนี้ท่านศาสนทูต (ซ.ล) ได้กล่าวถึงการสื่อสารกับผู้อื่นว่า จะต้องเป็นการสื่อสารที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจและคิดตามได้ มิเช่นนั้นการสื่อสารก็ล้มเหลว ดังที่ท่านศาสนทูต (ซ.ล) ได้กล่าวไว้ว่า

“พวกเราบรรดานบี พวกเราถูกบัญญัติให้พูดกับมนุษย์ด้วยเท่าที่ปัญญาพวกเขาเข้าใจ” (บันทึกโดย อิบนุชะรีอะฮฺ และอัฏเฏาะบะรี)

จากหลักฐานที่นำเสนอข้างต้นจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ผู้สอนจะมีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารมากเพียงใด ก็จะต้องจำกัดระดับความสามารถดังกล่าวไว้เพียงเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งมีทักษะที่น้อยกว่าสามารถเข้าใจสารที่ถูกส่งมาด้วย นอกจากนี้ผู้สอนจะต้องเลือกกลวิธีที่จะสื่อสารไปยังผู้เรียน ดังที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ ซึ่งมีความหมายว่า 

“และจงกล่าวแก่ปวงบ่าวของข้าว่า พวกเขาจะต้องกล่าวแต่คำพูดที่ดียิ่งกว่า” (อัลกุรอาน, 17: 53)

 3) ผู้สอนจะต้องเลือกการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และจะต้องหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ไร้ประโยชน์ ดังที่ปรากฏในอัลกุรอาน ซึ่งมีความหมายว่า

“และบรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้ผินหลังให้จากเรื่องไร้สาระต่างๆ” (อัลกุรอาน, 23: 3)

ทั้งนี้จากโองการข้างต้น อัลลอฮ์ได้ทรงระบุว่า หนึ่งในคุณลักษณะของผู้ศรัทธา ที่เรียกว่า “มุมิน” นั้นจะต้องไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งที่ไร้สาระต่างๆ จากการพูดคุยและการกระทำต่างๆ และในอีกโองการหนึ่งระบุไว้ มีความหมายว่า

“และเมื่อพวกเขาได้ยินเรื่องไร้สาระ พวกเขาก็ผินหลังออกห่างไปจากมัน และกล่าวว่าการงานของเราก็จะได้แก่เรา และการงานของพวกท่านก็จะได้แก่พวกท่าน ศานติแด่พวกท่าน เราจะไม่ขอร่วมกับพวกงมงาย” (อัลกุรอาน, 28: 55)

หมายเลขบันทึก: 322475เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ทำยากเหมือนกันนะคะ
  • โชคดีปีใหม่ค่ะ

สวัสดีครับ ก็ดีมากเลยครับ โชคดีปีใหม่นะครับ

ขอบคุณครับ pa_daeng และคุณ ตั้ม

มีความสุขเยอะๆ นะครับ

เมื่อเช้าลูกสาวมาบอกว่า พ่อพูดไม่เข้าใจเลย..

และเมื่อไปตรวจข้อสอบที่ประเมินนักศึกษาที่สอนไปเดือนกว่า.. ผลคือ... ไม่มีใครผ่าน

เลย..ต้องมาทบทวนตัวเอง..ว่า.. หรือนักศึกษาไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด..

ถ้าเป็นอย่างนั้น.. ผมคงห่างไกลจากคำสั่่งสอนที่อาจารย์ยกมา

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

นอกจากอาจารย์แล้ว ผมก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือ ยังห่างไกลจากสิ่งที่ได้ศึกษามา แต่อย่างนี้ก็มีความพยายามที่จะทำให้ได้ครับ อินชาอัลลอฮ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท