Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการทำวิจัยในชั้นเรียน


การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการศึกษาอย่างเป็นระบบ ถึงปรากฏการณ์ทุกอย่างในกระบวนการเรียนการสอนของอาจารย์เพื่อทำความเข้าใจ เพื่อการพัฒนา และเพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอน ให้มีคุณภาพมากขึ้น   เป็นการเสาะแสวงหาความจริง ที่ดำเนินงานในเชิงสะสมของอาจารย์ ภายในบริบทของการเรียนการสอนในชั้นเรียนของตน โดยได้ผลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่ออาจารย์และนักศึกษา โดยการร่วมมือกันในการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นทุกชั่วโมงที่มีการเรียนการสอน 

การวิจัยในชั้นเรียนมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนางานการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ ลักษณะของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research) คือ เป็นการวิจัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริง โดยมีอาจารย์เป็นทั้งผู้ผลิตงานวิจัย  และผู้บริโภคผลการวิจัย   นำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแล้วจะพัฒนาข้อความรู้ที่ได้นั้นต่อไปให้มีความถูกต้องเป็นสากลและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนานักศึกษาของอาจารย์ให้มีคุณภาพยิ่งๆ ขึ้นไป

วัตถุประสงค์หลัก

 

๑.           เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยได้เรียนรู้และเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน

๒.           เพื่อให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยสยามมีงานวิจัยในชั้นเรียน

๓.           เพื่อให้คณาจารย์สามารถนำเทคนิคที่ได้จากการฝึกอบรมไปเลือกและปรับใช้ในกระบวนการการวิจัยในชั้นเรียนได้

๔.           เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยในชั้นเรียนให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวางและทั่วถึง

กลุ่มเป้าหมาย  

         คณาจารย์ ทุกคณะ/ภาควิชาของมหาวิทยาลัยสยามและ คณาจารย์   นักวิชาการที่สนใจ จำนวน ๕๐ คน

กิจกรรมของโครงการ

๑.       ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำวิจัยในชั้นเรียน ที่หลากหลายในระดับอุดมศึกษา

๒.       แบ่งกลุ่มผู้อบรมเพื่อการลงมือฝึกปฏิบัติ โดยจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา

๓.       ให้อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม นำเอาความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรทั้งเชิงทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม ไปเขียนโครงการวิจัยคนละ 1 โครงการ

๔.       ให้ผู้เข้าอบรมนำเสนอโครงการวิจัยของตนเอง โดยมีคณะกรรมการที่อธิการบดีแต่งตั้งเข้าร่วมฟัง โดยให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งผู้นำเสนองโครงการวิจัยปรับปรุงแก้ไขสมบูรณ์แล้วให้นำโครงการไปยื่นเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยของมหาวิทยาลัย เพื่อขอรับทุนในการทำวิจัยต่อไป

๕.        ประเมินผลงานของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑.       สำรวจจำนวนผู้เข้ารับการอบรมและแจ้งไปยัง คณะวิชาให้ทราบวันเวลาของการฝึกอบรม

๒.       ติดต่อวิทยากรและกำหนด  วัน  เวลา  สถานที่  สำหรับการอบรม

๓.       ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ

๔.       ประเมินผลความพึงพอใจของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม

๕.       ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการจากการพิจารณาคุณภาพการวิจัยในชั้นเรียนของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม (เมษายน 2553 เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบปลายปี)

ดัชนีบ่งชี้ความสำเร็จ

๑.         จำนวนร้อยละของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม ที่ได้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน

๒.         จำนวนร้อยละของรายวิชา ที่ได้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน

๓.         ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม

๔.         ความพึงพอใจของคณะกรรมการจากการประเมินคุณภาพการวิจัยในชั้นเรียน ของอาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

 

ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในวันศุกร์ที่ ๑๕, ๒๒  มกราคม  ๒๕๕๓และ วันศุกร์ที่ ๕ ก.พ. ๒๕๕๓

การประเมินผลโครงการ

 

๑.         จำนวนอาจารย์ผู้ผ่านการอบรม และจำนวนร้อยละของรายวิชาที่ได้มีการยื่นเสนอขอทุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน/โครงการวิจัยในชั้นเรียน

๒.           ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

๑.             อาจารย์ที่เข้าอบรมสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนในรายวิชาที่สอนได้

๒.           อาจารย์ได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักศึกษา

๓.            เพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาลัยด้านการวิจัย

 

สถานที่จัดฝึกอบรม

 

                อาคาร ๑๙  ชั้น ๑๐  ห้อง ๑๐๐๓   ม.สยาม

 

กำหนดการ

โครงการฝึกอบรมเทคนิคการทำวิจัยในชั้นเรียน

วันศุกร์ที่ ๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓ และ วันศุกร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

ณ ห้อง ๑๐๐๓   ชั้น ๑๐  เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

. . . . . . . . . . . . . .  . . .. . . . . . . . . . . . . . . . . . .. . . .  .. . . . . . . . . . . . . . 

 

วันศุกร์ที่ ๑๕ ม.ค. ๒๕๕๓

๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕  น.            ลงทะเบียน

๐๙.๐๐  - ๐๙.๑๕   น.            อธิการบดีกล่าวเปิดการฝึกอบรม

๐๙.๑๕ - ๐๙.๔๕  น.             อธิการบดีบรรยาย บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน การสอน พร้อมทั้งให้นโยบายและแนวทางเกี่ยวกับโครงการวิจัยเพื่อพัฒนา  การเรียนการสอนและการวิจัยในชั้นเรียนแบบ Outcome Oriented

๐๙.๔๕ - ๑๐.๓๐   น.            แนวคิด ทฤษฎี และ กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและวิจัยในชั้นเรียน   

๑๐.๓๐ - ๑๐.๔๕   น.            พักรับประทานอาหารว่าง-เครื่องดื่ม

๑๐.๔๕ - ๑๒.๐๐   น.            แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและวิจัยในชั้นเรียน ( ต่อ)

๑๒.๐๐  - ๑๓.๐๐  น.             พักรับประทานอาหาร

๑๓.๐๐  - ๑๓.๑๕  น.            ลงทะเบียนช่วงบ่าย

๑๓.๑๕  -๑๔.๓๐  น.            รูปแบบต่างๆ ของการวิจัยในชั้นเรียน

๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕  น.            พักรับประทานอาหารว่าง-เครื่องดื่ม

๑๔.๔๕  - ๑๖.๐๐  น.            Work Shop:

                                                - แบ่งกลุ่มสรุปประเด็นปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริงในการเรียนการสอน   

                                                - แต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นปัญหาที่สรุปและแนวทางในการแก้ไข โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

วันศุกร์ที่ ๒๒ ม.ค. ๒๕๕๓

๑๒.๕๐ - ๑๓.๐๐  น.             ลงทะเบียน

๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐   น.            แนวทางและวิธีในการเขียนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและวิจัยในชั้นเรียน

๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕  น.            พักรับประทานอาหารว่าง-เครื่องดื่ม

๑๔.๔๕  - ๑๖.๓๐ น.            Work Shop:  ผู้เข้าอบรมนำประเด็นปัญหาที่สำคัญ ที่เกิดขึ้นจริงใน การเรียนการสอน มากำหนดเป็นปัญหาของการวิจัย แล้วลงมือเขียนร่างโครงการวิจัย คนละ 1 โครงการ ตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้

หมายเหตุ

ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม กลับไปทบทวนและปรับปรุงร่างโครงการวิจัยให้สมบูรณ์ เพื่อนำเสนอ ต่อคณะกรรมการในวันสุดท้ายของการอบรมเชิงปฏิบัติการ (วันศุกร์ที่ ๕ ก.พ. ๒๕๕๓)

                               

วันศุกร์ที่ ๕ ก.พ. ๒๕๕๓

 

๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕  น.            ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐    น.            ทบทวนและตรวจทานโครงการวิจัยที่จะนำเสนอ และจัดเตรียมการนำเสนอ

๐๙.๓๐ - ๑๐.๓๐    น.            นำเสนอโครงการวิจัย โดยมีคณะกรรมการที่อธิการบดีแต่งตั้งเข้าร่วมรับชมการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข

๑๐.๓๐ - ๑๐.๔๕   น.            พักรับประทานอาหารว่าง-เครื่องดื่ม

๑๐.๔๕ - ๑๒.๐๐   น.            นำเสนอโครงการวิจัย โดยมีคณะกรรมการที่อธิการบดีแต่งตั้งเข้าร่วมรับชมการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข  (ต่อ)

๑๒.๐๐  -  ๑๓.๐๐  น.            พักรับประทานอาหารเที่ยง

๑๓.๐๐  -  ๑๓.๑๕ น.            ลงทะเบียนช่วงบ่าย

๑๓.๑๕  - ๑๔.๓๐ น.            นำเสนอโครงการวิจัย โดยมีคณะกรรมการที่อธิการบดีแต่งตั้งเข้าร่วมรับชมการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข  (ต่อ)

๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕ น.             พักรับประทานอาหารว่าง-เครื่องดื่ม

๑๔.๔๕  - ๑๖.๐๐  น.            นำเสนอโครงการวิจัย โดยมีคณะกรรมการที่อธิการบดีแต่งตั้งเข้าร่วมรับชมการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข  (ต่อ)

๑๖.๐๐ – ๑๖.๒๐  น.             สรุป และ ปิดการฝึกอบรม

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

หมายเหตุ:    สิ่งที่ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับจากการฝึกอบรม

 

๑.    ความรู้และทักษะการวิจัยในชั้นเรียนและการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน

๒.    วุฒิบัตรการฝึกอบรม ( หากเข้ารับการอบรมครบถ้วนทุกกระบวนการ )

๓.    โอกาสในการได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ ในการอนุมัติทุนการวิจัยภายใน เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม นำโครงการที่ได้นำเสนอในวันฝึกอบรมและผ่านการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการแล้ว ไปยื่นเสนอขอทุนอุดหนุนอุดหนุนการวิจัยภายในของมหาวิทยาลัยสยาม

หมายเลขบันทึก: 321922เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2009 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าสนใจดีนะครับอาจารย์ บุคคลภายนอกเข้ารับการอบรมได้ไหมครับ

แวะมาชื่นชมค่ะ

เป็นสิ่งที่ดีค่ะ

งานนี้ รับบุคคลภายนอกเข้าร่วมอบรมด้วยค่ะ

ถ้าอาจารย์สนใจนะคะติดต่อสมัครได้ที่

ดร.บุญส่ง หาญพาณิช ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยสยาม

02-457-0068 ต่อ 134

ดีมากๆเลยครับ ขอบพระคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท