ข้ามแม่น้ำโขงเยือนหลวงพระบาง ตามหาแรงงาน


(เพื่อเป็นกำลังใจ กรุณาแสดงความคิดเห็น ขอบคุณครับ)

 

 

 

ข้ามแม่น้ำโขงเยือนหลวงพระบาง ตามหาแรงงาน 

ดร.สุรศักดิ์ ราษี

วิทยาลัยเทคนิคเลย

        นับเป็นความประทับใจของผมอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสไปหาประสบการณ์ในเมืองหลวงพระบาง  ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผมมีความสุขและตื่นเต้นมาก ผมจัดเตรียมอุปกรณ์ ต่าง ๆ พร้อมกับสัมภาระที่จำเป็น

        เช้าของวันที่ 8 เมษายน 2549 รถได้จอดรอคณะพวกเราอยู่ที่อาคารภูคำ  ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย พวกเราต่างทยอยขึ้นรถจนหมดกันทุกคน 05.00 น. รถออกเดินทางไปถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองที่จังหวัดหนองคาย  เวลา 08.00 น.  คณะพวกเราผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งสองประเทศด้วยความเรียบร้อย คณะพวกเราเดินทางด้วยรถบัสคันเล็ก ๆ ไปยังสนามบิน เมืองกำแพงนครเวียงจันทร์ ไปส่งคณะส่วนหนึ่งที่เดินทางด้วยเครื่องบิน ที่จะเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ส่วนผมกับเพื่อน ๆ อีกส่วนหนึ่งอาสาที่จะนั่งรถชมธรรมชาติตามถนน หมู่บ้านและเมืองต่าง ๆ และผมก็แปลกใจสองข้างถนนที่ผ่าน ข้าวกำลังออกรวงสีทองเต็มท้องทุ่งพร้อมที่จะให้ชาวนาเก็บเกี่ยวมาใส่ยุ่งฉางดูแล้วรู้สึกสบายตาเป็นยิ่งนัก แต่สำหรับประเทศไทยเริ่มตั้งแต่จังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่นและเลย แห้งแล้งมาก เพราะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ผมอดใจไม่ได้ที่จะถามเพื่อนที่เดินทางมาด้วยกัน ก็ได้คำตอบว่า น้ำที่ใช้ทำนานั้น นำมาจากเขื่อนน้ำงึม  ที่กำลังผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้า ที่ส่งมาขายให้กับประเทศไทยเรา ณ. อยู่ปัจจุบัน

        ต่อจากนั้นผมกับคณะ ก็เดินทางต่อไปตามถนนสายเวียงจันทร์-หลวงพระบาง ผ่านภูเขาที่สูงเด่นเป็นสง่า พร้อมกับโค้งหักศอกอีก 3,000 กว่าโค้ง สลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีความเขียว ชอุ่ม มองดูแล้วมีความรู้สึกสบายตาในธรรมชาติที่สวยงาม บรรจงแต่งแต้มสีสันให้สวยงามตลอดสองข้างถนนพร้อมกับสิ่งปลูกสร้าง ทรงสถาปัตยกรรมของพี่น้องชุมชนชาวลาว ทั้งลาวลุ่มและลาวเทิง ตามถนนที่ผ่าน ถึงแม้ถนนจะมีความยากลำบาก พวกเราจะอาเจียน (เมารถ) ก็ต้องทนเพราะธรรมชาติที่สวยงามที่อยู่ข้างหน้า ทำให้คณะพวกเราลืมทุกอย่าง อยากจะรู้อยากจะเห็น ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลายของชาวเขา ที่อาศัยอยู่ตามถนนเป็นระยะ ๆ พร้อมกับวิถีการดำรงชีวิตการเลี้ยงแพะ หมูป่า ไก่ป่า ตามใต้ถุนบ้าน ที่คณะพวกเราเดินทางผ่าน ดูพวกเขาจะมีความสุขกับชีวิตและความเป็นอยู่อย่างมาก หลังจากนั้นคณะพวกเราก็ได้เดินทางมาถึงเมืองหลวงพระบาง เวลา 23.30 น.

        วันที่ 9 เมษายน 2549  คณะพวกเราได้ไปเยี่ยมชมวิทยาลัยครูหลวงพระบาง มีผู้อำนวยการวิทยาลัยครูหลวงพระบางให้การต้อนรับ ผมก็พึ่งรู้ว่าท่านเคยมาเรียนระดับปริญญาโทที่ประเทศไทยเรา ผมยิ่งชื่นชมท่านอย่างมาก ท่านเข้าใจในอัธยาศัยและบริบทของคนไทยเป็นอย่างมาก ทำให้คณะของพวกเราคลายความวิตกกังวลลงไปได้มาก ขณะที่คณะพวกเราเยี่ยมชมวิทยาลัยครูหลวงพระบางอยู่นั้น ผมกับเพื่อนอีกส่วนหนึ่งก็ได้ไปสังเกตการณ์ภายในและรอบ ๆ วิทยาลัย ผมก็ประทับใจและรู้สึกชื่นชมกับนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังทำหน้าเปิด ปิด ประตู ถนนหน้าวิทยาลัย คอยแนะนำและอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนที่เดินทางเข้าออกวิทยาลัย ทำให้ผู้คนที่พบเห็น ซึ่งรวมกับผมด้วยมีความรู้สึกประทับใจในการกระทำของเด็กกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก และมีความรู้สึกที่ดี ๆ ต่อเมืองหลวงพระบางขึ้นมาทันที ผมก็อดสงสัยไม่ได้ จึงเข้าไปถาม ทำไมถึงมาทำหน้าที่แทนยามรักษาการณ์และยามรักษาการณ์ไปไหน แล้วพวกเขาก็ตอบว่ามันเป็นหน้าที่ ๆ จะต้องทำกันทุกคนในวิทยาลัย ต้องผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่ตลอดภาคการศึกษา ผมมีความชื่นชมเป็นอย่างมาก และผมก็ได้สังเกตเห็นวิธีการก่อสร้างบ้านพักอาศัย รวมถึงอาคารต่าง ๆ ในเมืองหลวงพระบาง เขาจะก่ออิฐผนังกำแพงก่อน จึงจะมุงหลังคาบ้าน ซึ่งมีความแตกต่างกับประเทศไทยเรา ที่มุงหลังคาก่อนจึงจะก่ออิฐผนังกำแพง ผมก็อดใจไม่ได้เหมือนกันที่จะเข้าไปถามก็ได้รับคำตอบว่า การก่ออิฐผนังกำแพงของชาวลาว จะทำให้บ้านพักอาศัยและอาคารมีความแข็งแรงทนทาน สามารถทน พายุ ลมและฝนได้ และจากอดีตที่ผ่านมา ลาวและเวียตนาม ซึ่งมีประเทศใกล้เคียงกัน ได้รับวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ได้ผ่านมรสุมสงครามมาค่อนข้างมาก จึงต้องทำบ้านพักอาศัยที่ก่อด้วยอิฐมอญที่มีก้อนใหญ่มาก และถ้าเทียบกับประเทศไทยประมาณ 2  ก้อนครึ่ง จึงสามารถทนแรงกระแทกจากระเบิดได้ เขาเชื่ออย่างนั้นและหลังจากนั้น  ผมก็ได้เห็นจานรับดาวเทียม เส้นผ่าศูนย์กลาง  2.00 ม. จะมีแทบทุกหลังคาบ้าน ไม่เว้นแม้แต่บ้านบนภูเขา  ชนบท ในเขตเมืองหลวงพระบาง หรือเมืองต่าง ๆ ที่ผมนั่งรถบัสผ่านมา จะมีจานรับดาวเทียมกันทั้งนั้น และยังสามารถรับคลื่นโทรทัศน์จากประเทศไทยได้ดีอีกด้วย ผมจึงไปสอบถามกับชาวลาวที่อยู่ในเมืองหลวงพระบาง ก็ได้รับคำตอบว่า จานรับดาวเทียมมีราคาถูกมาก ประมาณ  250,000 กว่ากีบ ถ้าเทียบเป็นเงินไทยประมาณ 1,000 กว่าบาท จึงทำให้ประชาชนชาวลาวสามารถซื้อหาได้ง่ายและซื้อได้อย่างสบายใจ และต่อจากนั้นผมก็ขออนุญาติอาจารย์และคณะที่เดินทางมาด้วยกันไปเก็บข้อมูลที่ศูนย์พัฒนาวิชาชีพหลัก 8  บ้านเชียงเงิน ซึ่งห่างจากเมืองหลวงพระบาง  30 กิโลเมตร กับอาจารย์อ๊อด ท่านเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่วิทยาลัยครูหลวงพระบาง พวกเรานั่งรถสามล้อเครื่องคันเก่า ๆ สีเขียว เหลือง คล้าย ๆ กับสามล้อเครื่องในเมืองไทยบ้านเรา ราคาจ้างเหมา 50,000 กีบ ถ้าเทียบกับเงินของเมืองไทยเท่ากับ 200  บาท ขณะที่นั่งรถผ่านตามถนนจะมีนักเรียนกลับมากินข้าวในช่วงพักกลางวันที่บ้าน พร้อมกับถีบจักรยานคันเก่าบ้าง ใหม่บ้าง มาเป็นแถวทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนผู้หญิงจะใส่ผ้าถุง เสื้อสีขาว ผู้ชายจะใส่กางเกงสีดำ เสื้อสีขาว เป็นชุดฟร์อมของนักเรียน เป็นแถวยาวมองดูแล้วสบายตาและดูดีเป็นอย่างมาก ทำให้ผมชื่นชมในความพอเพียงและเป็นชาตินิยมของพวกเขา ไม่เห่อกับทุนนิยมมากจนเกินไป หรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” และผมไปถึงศูนย์พัฒนาวิชาชีพ ผมได้เห็นเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในศูนย์พัฒนาวิชาชีพ ส่วนมากมาจากครอบครัวที่ยากจน และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ในประเทศลาว  เข้ามาศึกษาอาชีพ สาขาต่าง ๆ เช่น ช่างไม้  ช่างไฟฟ้า ช่างเย็บปักถักร้อย เป็นต้น บางคนก็เข้ามาเรียนสายสามัญ ม.1-ม.6แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน พวกเขาเหล่านี้จะต้องอยู่หอพักที่ศูนย์พัฒนาวิชาชีพจัดให้ ผมรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมากกับความมีมานะบากบั่นในการเอาจริงเอาจังกับการศึกษาของเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ และครู-อาจารย์ที่มีความทุ่มเท การเรียนการสอนอย่างเต็มที่กับลูกศิษย์ อนาคตข้างหน้าเด็กเหล่านี้คงจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศลาวและในอุษาคเนย์นี้ อย่างแน่นอน

        ในวันที่ 10-11 เมษายน 2549 ช่วงเวลาเช้า 07.50 น  ผมกับอาจารย์อ๊อด ออกเดินทางจากที่พักเหมือนทุกวันที่เคยปฎิบัติ  ขึ้นรถสามล้อเครื่องคันเดิมหน้าที่พัก  วันนี้ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่ จะสอบถามข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมเริ่มต้นสอบถามข้อมูลแรงงานจากแผนกอุตสาหกรรมและหัตถกรรม  แผนกสวัสดิการแรงงานและสังคม สหพันธ์กำมะบานลาว แผนกคมนาคมขนส่งไปรษณีย์และก่อสร้าง (การเคหะและผังเมือง) บริษัทหลวงพระบางก่อสร้าง จำกัด  โรงงานผลิตท่อ เสา อิฐบล็อก ช่องลม วิศวกรโยธา หัวหน้าผู้ควบคุมงานก่อสร้าง เจ้าของบริษัท ผู้จัดการโรงงาน และแรงงานก่อสร้างที่กำลังทำงานอยู่ในโครงการก่อสร้างโรงเรียนการเมืองการปกครอง พร้อมกับเก็บข้อมูลทั่ว ๆ ไป รวมทั้งรับฟังการบรรยายของ ดร.บ่อสายคำ  วงศ์ดาหลา  ท่านเป็นประธานกรรมการสหพันธ์กำมะบานลาว  ได้มาพูดหาเสียง เลือกตั้ง ที่ห้องประชุมแผนกการเงินเมืองหลวงพระบาง เกี่ยวกับแรงงาน  เศรษฐกิจ  และ การเมือง จากการสอบถามข้อมูลต่าง ๆ  พบว่า มีความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านอุตสาหกรรม ด้านการท่องเที่ยว    ด้านทักษะฝีมือแรงงานโดยเฉพาะการฝึกอบรมในงานหรือฝึกอบรมนอกงาน เช่น การ  ส่งเสริมการฝึกอบรมงานก่ออิฐ-ฉาบปูน งานคอนกรีตเสริมเหล็ก งานปูกระเบื้อง งานไฟฟ้า งานอิเลคทรอนิกส์ งานเชื่อม งานหัตถกรรมฝีมือต่าง ๆ  เป็นต้น  และอยากจะให้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน  ส่งเสริมอาชีพที่แรงงานต้องการทำให้มากขึ้น  และที่สำคัญแรงงานส่วนมากขาดทักษะ   ฝีมือในการทำงาน และต้องการให้บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับแรงงานไปศึกษาดูงานระหว่างเมือง   หรือระหว่างประเทศ จะได้มีประสบการณ์มากขึ้น และนำความรู้กลับมาพัฒนาแรงงานให้มีทักษะ ฝีมือที่ดีขึ้น พร้อมที่จะพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต

         วันที่ 12-14  เมษายน 2549  เป็นช่วงเทศกาลประเพณีสงการณ์ ประชาชนที่อยู่เมืองหลวงพระบาง ต่างก็ออกมาเล่นสงการณ์อย่างสนุกสนาน ซึ่งรวมกับผม เพื่อน ๆ ด้วย  สิ่งที่ผมสังเกตและประทับใจไม่มีวันลืม สำหรับผู้คนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มและมีจำนวนมาก  ไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว แสดงให้เห็นว่าประชาชนชาวลาว รักความสงบ  มีความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่สร้างความแตกแยกในสังคม  เป็นเมืองที่สงบ ผู้คนต่างยิ้มแย้มแจ่มใส  ตามถนนมีจักรยานเป็นจำนวนมากที่ผู้คนขี่ไปมา พร้อมกับการละเล่นสงการณ์ ตามประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และขบวนแห่มีความงดงามอัศจรรย์ใจยิ่งนัก พร้อมกับการประกวดนางงามสงการณ์ หรือที่เรียกว่า  “นางสังขาร”  และประเพณีก่อเจดีย์ทราย พร้อมการละเล่นประเพณีต่างๆ               บนหาดทรายที่สวยงาม ริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับวัดธาตุทอง ยิ่งทำให้ผู้คนซึ่งรวมกับผมด้วย       ต่างชื่นชมประเพณีสงการณ์อย่างมิรู้ลืม สมกับที่องค์การสหประชาชาติยกย่องให้เป็น “เมืองมรดกโลก”  อย่างแท้จริง

         เช้าของวันที่ 15 เมษายน 2549  เวลา 04.30 น. คณะพวกเราได้เดินทางกลับโดยทาง รถยนต์ เดินทางลัดเลาะตามถนนที่ตัดผ่านภูเขาน้อยใหญ่ และประเพณีต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างสองข้างถนน คณะพวกเรามาถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย เวลา 21.00 น พวก   เราต่างตื่นเต้นดีใจที่จะได้กลับบ้านหาคนที่เรารัก หลังจากที่พวกเราจากบ้านไปนาน

         ประสบการณ์ในการเก็บข้อมูลภาคสนามของผมและคณะ ที่เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว นับว่ามีคุณค่ายิ่ง และสิ่งที่สำคัญที่จะปฎิเสธไม่ได้เลย ผมได้พบกับมิตรต่างแดน เพื่อนต่างสาขาอาชีพ  ความผูกพันธ์ทางจิตใจ  ระหว่างคนสองแผ่นดิน  ที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างดียิ่ง  และเป็นโอกาสที่ดีต่อความร่วมมือกันในการพัฒนาอาชีพของผู้คนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนี้  ต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 321771เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผมเคยไปตอน ปี 47 ตื่นเต้นเช่นกันครับ ประทับใจมาก

อ่านแล้วอยากไปร่วมด้วยจังเลยครับ คราวหน้าถ้ามีทริปอย่างงี้อีกไม่ทราบว่า ผมขอร่วมไปด้วยคนได้ไหม๊ครับ

นาย สิทธิเดช วงศ์คำโสม

เป็นการไปเยือนที่ดีมากครับได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านด้วย

อาจารไปเที่ยวไหนมาคับผม ศราวุธนะคับมาเม้นตามคำสั่งคับ5คะแนนนะคับอาจาร

อาจารทำมั้ยเท่จังเยยคับ

+5555555555 เห็นด้วยกับ สิทธิเดชคับ

นายวินัย พรมพิมพ์ ปวส1/1 ก่อสร้าง

อาจารย์สั่งให้ผมมาเม้นคำว่า OK กับ ดีมาก

อย่าลืม 5 คะเเนนน่ะคับอาจารย์

ผมได้อ่านแล้วผมเห็นด้วยครับ

นายยุทธชัย พรมมี

OK ครับ

นายโยธา โยธาไทย 1 ชส.2 เลขที่ 8

อ่านแล้วสนุก

เหมือนได้ไปเที่ยวด้วยตัวเองเลยคับ

นายพัลลภ ยศพิมพ์ ชส.1 เลขที่ 7 1/1

เห็นด้วยมักมากคับ

นายอภิสิทธิ์ ต่อศักดิ์

สุดยอดครับ

น่าไปศึกษามากครับ ดร.สุรศักดิ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท