ความลับของน้ำซาวข้าว


สรุปผลการทดลอง จากผลการทดลอง จะสรุปได้ว่า การดองด้วยเกลือละลายบน้ำซาวข้าว จะได้รสชาดเปรี้ยวกว่าการดองด้วยเกลือละลายน้สะอาด โดยไม่ต้องใส่สารเพิ่มรสชาติความเปรี้ยวลงไปในขณะดองอีก ซึ่งแม้เราจะเปลี่ยนวัตถุดิบ จากผักกาดแก้ว เป็น แตงกวาและฝรั่ง ผลที่ได้ น้ำซาวข้าวก็ยังให้ความเปรี้ยวกว่าน้ำสะอาดเสมอ และปริมาณเกลือที่เหมาะสมในการใช้ดองด้วยน้ำซาวข้าวให้เกิดรสชาติเปรี้ยวได้ดีและเหมาะสมที่สุดในวัตถุดิบชนิดเดียวกันก็คือ ปริมาณเกลือ 45-35 กรัม โดยจะให้ค่าความเป็นกรดอยู่ที่ 3.70-3.76 ppm ถือว่าเป็นความเปรี้ยวที่เหมาะสม ซึ่งไม่เปรี้ยวเกินไปหรือจืดเกินไปที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการหมักดองจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ซึ่งถ้าหากเราใส่เกลือมากเกินไปก็จะทำให้แบคทีเรียตายได้ แต่หากเกลือน้อยไปก็จะทำให้แบคทีเรียเหี่ยวดูไม่น่าทานหรืออาจติดเชื้อราได้ ดังนั้นเราจึงต้องหาปริมาณของเกลือที่เหมาะสมต่อการดอง

 ผมได้มีโอกาสอ่านเอกสารวิชาการและเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม จึงนำมาเผยแพร่ให้หลายๆท่านที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อครอบครัว...........

เรื่อง ความลับของน้ำซาวข้าว

  บทคัดย่อ

          การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของเกลือละลายน้ำซาวข้าว กับเกลือละลายน้ำ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2ตอนดังนี้ คือเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำกับเกลือละลายน้ำซาวข้าว โดยเปลี่ยนวัตถุดิบ ซึ่งทำการทดลองอยู่ 3 ครั้ง เพื่อความแน่นอนในผลการทดลอง และในตอนที่ 2 ได้ทดลองเพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเกลือที่แตกต่างกันในการดอง ด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้วกับเกลือละลายน้ำ โดยใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน

          ผลจากการทดลองในตอนที่ 1 พบว่าการดองวัตถุดิบในน้ำซาวข้าว คือ ผักกาดแก้ว , แตงกวา , ฝรั่ง มีความเป็นกรดมากกว่าน้ำเกลือ

          ผลการทดลองในตอนที่ 2 ได้ใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันคือ ฝรั่ง ดองในเกลือละลายน้ำซาวข้าวกับเกลือละลายน้สะอาด โดยใช้ปริมาณเกลือที่แตกต่างกันดังนี้ คือ 75 กรัม 65 กรัม 55กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัม พบว่าในการดองที่ใช้เกลือในปริมาณ 45-35 กรัม จะให้ความเป็นกรดได้ดีกว่าเกลือปริมาณอื่น ๆ ซึ่งความเป็นกรดนี้จะช่วยให้วัตถุดิบนั้นมีรสชาดเปรี้ยว และไม่เกิดการเน่าของวัตถุดิบและการใช้เกลือในปริมาณนี้ ช่วยให้น้ำซาวข้าวไม่มีกลิ่นเหม็น

   ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่นิยมบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ก่อนที่จะนำข้าวไปทำให้สุกได้ จะต้องนำข้าวที่แช่ไว้มารินน้ำออกก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกขั้นตอนนี้ว่า "การซาวข้าว" และน้ำที่ได้จากการซาวข้าวเรียกว่า "น้ำซาวข้าว" และเมื่อได้น้ำซาวข้าวมาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ การล้างผักเพื่อช่วยลดสารเคมีที่ตกค้างในผัก ตลอดจนการหมักดองที่ช่วยในการรักษาสภาพของวัตถุดิบและทำให้วัตถุดิบมีรสเปรี้ยวและจากการที่ได้เห็นการดองฝรั่งของคนในหมู่บ้านจะเติมน้ำซาวข้าวลงไปในไหดองด้วยหลังจากที่ดองเสร็จก็พบว่า ฝรั่งที่ดองมีรสเปรี้ยวขึ้นมาก ข้าพเจ้าจึงนำมาคุยและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่มว่า การใส่น้ำซาวข้าวมีผลทำให้ฝรั่งมีรสเปรี้ยวจริงหรือไม่  แล้วจะต้องใช้ปริมาณเกลือเท่าใดจึงจะให้การดองด้วยน้ำซาวข้าวเกิดผลดีที่สุดจากข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้คิดค้นการทำโครงงานนี้ขึ้นมา

   ขอบเขตของการทำการศึกษาค้นคว้า

          1. ศึกษาเปรียบเทียบค่าความเป็นกรด-เบส ในการดองระหว่างเกลือละลายน้ำซาวข้าวและเกลือละลายน้ำ

          2. ศึกษาความสามารถในการดองโดยใช้เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 0กรัม , 5 กรัม , 15 กรัม ,25 กรัม , 35 กรัม ,45 กรัม ,55 กรัม , 65 กรัม และ 75 กรัม ตามลำดับ

          3. ศึกษาการดองโดยใช้วัตถุดิบใน คือ ผักกาดแก้ว แตงกวา

  สมมุติฐานของการศึกษา

          ตอนที่ 1 วัตถุดิบทุกชนิดที่ดองด้วยน้ำซาวข้าวทิ้งไว้จะให้รสชาดเปรี้ยวกว่าน้ำเกลือ

          ตอนที่ 2 ปริมาณของเกลือที่ใช้ในการดอง  ถ้าเกลือลดลงจะมีผลทำให้วัตถุดิบที่ดองมีความเป็นกลางมา

         ตัวแปร

          ตัวแปรต้น

     ตอนที่ 1 : ฝรั่ง แตงกวา ผักกาดแก้ว

     ตอนที่ 2 : เกลือในปริมาณต่าง ๆ ดังนี้ 75 กรัม 65 กรัม 55 กรัม 45 กรัม 35 กรัม 25 กรัม 15 กรัม 5 กรัม และ 0 กรัมตามลำดับ

          ตัวแปรตาม  ค่า pH (ความเป็นกรด-เบส) ที่วัดได้ในแต่ละครั้ง

          ตัวแปรควบคุม

     ตอนที่1 : ปริมาณเกลือ ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด

     ตอนที่ 2 : วัตถุดิบที่ใช้คือ ฝรั่ง ปริมาณน้ำซาวข้าว และปริมาณน้ำสะอาด

 

                               

    อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

     1. วัสดุ

          1.1 น้ำสะอาด        1.2 ฝรั่ง                   1.3 น้ำซาวข้าว

          1.4 เกลือ              1.5 ผักกาดแก้ว        1.6 แตงกวา

     2. อุปกรณ์

          อุปกรณ์เตรียมวัสดุ 1. ตะกร้า     2. มีด

          อุปกรณ์ในการดอง  1.ขวดโหล        2  ใบ

                                       2. บีกเกอร์ ขนาด 600 มิลลิลิตร     2 ใบ

                                       3. แท่งแก้วคนสาร

                                       4. ตาชั่ง

                                       5. ช้อนตักสาร

     3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ

          1. เครื่องวัดค่า pH

          2. บีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร

     4. วิธีการทดลอง 

          1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ

               1.1 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาล้างให้สะอาด

               1.2 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง ที่ล้างแล้วมาสะเด็ดน้ำให้แห้ง

               1.3 นำผักกาดแก้ว แตงกวา ฝรั่ง มาชั่งเตรียมไว้เป็นส่วน ๆ ละ0.5 กิโลกรัม สังเกตวลักษณะของ ผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง

          2. ขั้นตอนการดอง แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้

               ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่าเกลือละลายในน้ำสะอาด กับน้ำซาวข้าวโดยเปลี่ยนวัตถุดิบ

               1. นำผักกาดแก้ว แตงกวา และฝรั่ง 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหล ซึ่งใบที่ 1 และ 2 คือผักกาดแก้ว ใบที่ 3 และ 4 คือแตงกวา ใบที่ 5 และ 6 คือฝรั่ง

                2. นำน้ำซาวข้าวมาละลายเกลือ 75 กรัม

                3. เทน้ำซาวข้าวในขั้นที่ 2 ลงในขวดโหลใบที่ 1, 3, 5 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน

                4. นำน้ำสะอาดมาละลายเกลือ 75 กรัม

                5. เทน้ำสะอาดในขั้นที่ 4 ลงในขวดโหลใบที่ 2 , 4 , 6 แล้วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกผลทุกวัน

                6. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH ด้วยเครื่องวัด pH แล้วบันทึกผล

                7. สังเกตผลที่ได้แล้ววัดค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลแต่ละใบมาบันทึกผลเปรียบเทียบ

                ตอนที่ 2 ศึกษาความเป็นกรด-เบส โดยเปลี่ยนปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม โดยใช้ฝรั่งเป็นตัวควบคุม

                1. น้ำซาวข้าว 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้

                2. น้ำสะอาด 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายเกลือ 65 กรัม เตรียมไว้

                3. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 1

                4. นำฝรั่งที่จัดเตรียมไว้ 0.5 กิโลกรัม จัดเรียงในขวดโหลใบที่ 2

                5. นำน้ำซาวข้าวที่ละลายเกลือเตรียมไว้มาเทลงในขวดโหลใบที่ 1  ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน

                6. นำน้ำสะอาดที่ละลายเกลือเตรียมไว้ในขั้นที่ 1 มาเทลงในขวดโหลใบที่ 2 ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ สังเกตพร้อมบันทึกทุกวัน

                7. เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำน้ำดองของขวดโหลแต่ละใบ มาวัดค่า pH แล้วบันทึกผล

                8. สังเกตผลที่ได้ แล้วนำค่า pH ของน้ำดองในขวดโหลทั้ง 2 ใบ มาเปรียบเทียบผล แล้วบันทึกผล

                9. ทำตามวิธีการจากข้อ 1-9 แต่ลดปริมาณเกลือครั้งละ 10 กรัม จนไม่ใช้เกลือเลยในการดองครั้งสุดท้าย

               10. นำผลที่ได้ในแต่ละครั้งมาเปรียบเทียบค่า pH เพื่อทดส่อบความเป็นกรด

   สรุปผลการทดลอง

          จากผลการทดลอง จะสรุปได้ว่า การดองด้วยเกลือละลายบน้ำซาวข้าว จะได้รสชาดเปรี้ยวกว่าการดองด้วยเกลือละลายน้สะอาด โดยไม่ต้องใส่สารเพิ่มรสชาติความเปรี้ยวลงไปในขณะดองอีก ซึ่งแม้เราจะเปลี่ยนวัตถุดิบ จากผักกาดแก้ว เป็น แตงกวาและฝรั่ง ผลที่ได้ น้ำซาวข้าวก็ยังให้ความเปรี้ยวกว่าน้ำสะอาดเสมอ และปริมาณเกลือที่เหมาะสมในการใช้ดองด้วยน้ำซาวข้าวให้เกิดรสชาติเปรี้ยวได้ดีและเหมาะสมที่สุดในวัตถุดิบชนิดเดียวกันก็คือ ปริมาณเกลือ 45-35 กรัม โดยจะให้ค่าความเป็นกรดอยู่ที่ 3.70-3.76 ppm ถือว่าเป็นความเปรี้ยวที่เหมาะสม ซึ่งไม่เปรี้ยวเกินไปหรือจืดเกินไปที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการหมักดองจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ซึ่งถ้าหากเราใส่เกลือมากเกินไปก็จะทำให้แบคทีเรียตายได้ แต่หากเกลือน้อยไปก็จะทำให้แบคทีเรียเหี่ยวดูไม่น่าทานหรืออาจติดเชื้อราได้ ดังนั้นเราจึงต้องหาปริมาณของเกลือที่เหมาะสมต่อการดอง

           นอกจากนี้การดองด้วยเกลือละลายน้ำซาวข้าวยังสามารถรักษาสภาพของวัตถุดิบให้ดูเต่งตึงไม่เหี่ยวไม่ช้ำเหมือนการดองด้วยเกลือละลายน้ำสะอาดและไม่นิ่มหรือแข็งจนเก

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1.สามารถนำไปแก้ไขปัญหาการพบสารเคมีในของดองในชีวิตประจำวันได้

          2. สามารถนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาเผยแพร่ให้ผู้คนได้รู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ข้อเสนอแนะ

          1. เราอาจนำการทดลองนี้ไปใช้กับข้าวพันธ์อื่น ๆ ได้ตามสายพันธุ์ที่มีอยู่ในบ้านของคุณ

          2. เราอาจนำการทดลองนี้ไปใช้ในวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น ดองกระท้อน ดองมะม่วง

 

          คณะผู้จัดทำ

     1. นางสาวกรองทอง  ใจแก้วแดง

     2. นางสาวน้ำหวาน     พยอม

     3. นางสาวภรณ์ทิพย์   ฮาวกันทะ

          อาจารย์ที่ปรึกษา   ม. สนธยา  ใจมั่น

          อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ  คุณครู ชนัญญา  ใจมั่น

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 321512เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

สวัสดีครับ

           ยินดีด้วยครับกับนักทดลองที่มีความพยายามสูง...

                                                       โชคดีครับ

แวะมาตามอ่านสิ่งดีๆค่ะ"อาจารย์"

  • และแล้ว...ความลับของน้ำซาวข้าว ก็ถูกเปิดเผย

เป็นความรู้ที่ดี มีประโยชน์ค่ะอาจารย์

น่าทานำซาวข้าวจัง

น.ส. ดอกอ้อ เนียมประยูร

อยากทำนำซาวข้าว

ขอขอบคุณทุกๆท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียน ดีใจที่มีหลายท่านเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทราบว่าบางท่านยังนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย.......ขอบคุณด้วยใจจริง

ครู สมบูลณ์ สังวรณ์

 ครู ศรช.นาจอมเทียน

19 มกราคม 2553

นางสาว ประกายดาว ภาโค

การดองด้วยเกลือทำให้วัตุดิบยังคงเดิม

รักครูจังเลย

จาก เด้กน้อยน่ารักจู๊บๆๆ

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ที่แบ่งปันความรู้

ขอบคุณค่ะครูสมบูลณ์สำหรับความรู้ที่มอบให้

ขอโทดน่ะอ่านแล้ว อย่าหยุด เพราะคุนได้โดนคำสาปนี้ไปแล้ว…. อ่านต่อเลย เป็น เรื่องจริงที่เกิดขึ้น กับเด็กคนนึงใน จ. พิษณุโลก เด็กคน นี้ชื่อนิ้งเป็นเด็กนัก เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ สาม วันนั้นเป็น วันสอบซ่อม นิ้งได้มาที่ รร เพื่อที่จะ สอบ ซ่อม ระหว่างที่รอเพื่อน ๆ อยู่นั้น นิ้ง ก้อเหลือบไปเห็น สิ่ง ๆ หนี่ง เขาเดิน เข้าไปใกล้ ๆ กับสิ่ง ๆ นั้น มันคือกล่อง ใส่ กระดาษกล่องหนึ่ง นิ้งนั้นไม่รู้ว่าใน นั้นมีอะไร แต่เขา ก้อได้เก็บกล่องนั้นไป หลังจากที่เขาสอบซ่อมเสร็จแล้ว นิ้ง และ เพื่อน ๆ ก้อกลับบ้านทันที พวกเขา อยากรู้ว่า ในกล่องนั้น มีอะไรซ่อนอยู่ ตก กลางคืนนิ้งและเพื่อน ๆ ก้อไปสนาม เตะ เล่น และเปิดกล่อง ๆ นั้น ข้างในกล่องมี กระดาษสีดำ เขียนอยู่ หนึ่งแผ่น ใน กระดาษแผ่นนั้นเขียนไว้ว่า * สวัสดี เรา ชื่อ”เปลว เทียน” เป็นเด็กนักเรียนคนนึง เราถูกฆาตกรโรคจิด ข่มขืนและ ค่าหมก อยู่ในป่าแห่งหนี่ง ที่นั่นหนาวเหน็บไม่มี แม้ แต่เสียงหายใจ ของมนุษย์ เรา พยายามร้องให้ คนมาช่วยแต่ก้อ ไม่มีใคร มา ตอนนี้เราเหงาเหลือเกิน จะมีใครมา อยู่ เป็นเพื่อนเราบ้างไหม ถ้าเทอไม่ อยากให้เราลาก เทอมาอยู่ เป็นเพื่อนกับ เรา จากนี้ไปเป็นเวลา 7 ชั่วโมง ขอให้ เท อก็อปข้อความข้างบนนี้ ส่งต่อให้สื่อ อะไรก้อได้ เป็นจำนวน 20 coppy แต่ ถ้าเธอไม่ทำตาม อีก 7 ชั่วโมงนี้ฉันจะ ไป ตามเทอมาอยู่เป็นเพื่อน * หลังจาก ที่นิ้งได้อ่านนั้น เท อก้อไม่เชื่อ และคิดว่า มีคนมาแกล้งเป็น เพียงแค่เรื่องไร้สาระ และไม่ยอมทำตาม 7 ชั่วโมงให้หลัง นิ้ง และเพื่อน ๆ ก้อตาย โดยที่ไม่มีสาเหตุ **** เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง จนถึงขณะนี้ หมอ และตำรวจยังไม่สามารถรู้ได้ว่า เด็ก เหล่านั้นตายได้เช่นไร _ ตอนนี้พวกเท อได้อ่านกระทู้นี้ ก้อคงได้รับผลกระทบ เหมือน กันหมด นั่นคือ เทอจะต้อง copy ข้อความนี้เป็นจำนวน 20copy แต่ ถ้าเทอไม่ทำตามที่เด็กคนนั้นขอ เทอจะต้องไปอยู่เป็นเพื่อกับเด็กคนนั้น อีก 7 ชั่วโมงให้หลัง.. . (ม่ะอยากทัมเรย แต่ก่ะหวั่นๆยุ่วน่ะ). ส่งต่อไป..... ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะ ((โทษนะโดนมาเหมือนกัน o.k )) ห้ามส่งกลับคนที่ส่งมา f

สภาเกษตรจำเป็นต้องร่างกฎหมายประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ที่มั่นคงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตกรประกันราคา ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ผลไม้ ลำใย มังคุด ลองกอง เป็นต้น โดยให้กระทรวงกระเกษตรฯหาตลาดส่งนอกให้มากขึ้น เป็นต้น

ขอคุณค่ะ:)

ศุภวิชญ์ ทองละเอียก

ขอบคุณครับ นำมาประยุกใช้แล้วครับ

มาดิกูม่อน55555555555555555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท