ราชภัฎkm


ค่อยๆเรียนรู้ไปกับผมและอย่ามองให้การเรียนเป็นแบบตำรา

ผมจะไปพูดที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่วันที่ 31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน 2549 ผมจึงขอเริ่ม Blog ใหม่โดยใช้ชื่อว่า ราชภัฎ km ผมอยากเรียนว่าคำว่า “KM” เป็นคำพูดที่ไร้สาระเพราะเน้นด้านวิชาการมากเกินไป  ผมจึงจะสรุปง่ายๆให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ สามารถเรียนเรื่อง KM จากผมแบบง่ายๆโดยเน้นว่า อาจารย์ 100 คนที่มาให้เกียรติผม

ผมจะเริ่มให้อาจารย์สนใจนำเอาความรู้ที่มีอยู่แล้วไปสู่มูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นโดยค่อยๆเรียนรู้ไปกับผม และเชื่อว่าถ้าทุกคนเอาใจใส่ก็จะเพิ่มคุณค่าได้ไม่มากก็น้อย และไม่อยากมองให้การเรียนเป็นแบบตำรา เพราะ KM เน้นตำรามากเกินไป
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 32141เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

คนคือทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร ต้องยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ดังนั้นทรัพยากรที่มีค่าของคณะฯ ก็คือ ครู-อาจารย์ และบุคคลากรฝ่ายสนับสนุน  ครู-อาจารย์ต้องตระหนักในการพัฒนาตนเองโดยพัฒนาความรู้ให้ทันสมัย - สด มีประโยชน์ กับนักศึกษา  และคนภายนอก   สอดคล้องกับความจริงของโลกปัจจุบัน  ความรู้นั้นต้องเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นได้ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง  บัณฑิตที่จบออกไปต้องสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี 

ในคณะวิทย์-เทคโน  ต้องทำลายกำแพงที่ขวางกั้นระหว่างภาควิชา หรือสาขาวิชาให้ได้  การเชื่อมโยงของศาสตร์จึงจะเกิดขึ้นได้   ควรมีการ share ความรู้ระหว่างกันและกัน  มีการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้มากประสบการณ์สู่อาจารย์รุ่นใหม่   ขณะเดียวกันอาจารย์รุ่นใหม่ก็ต้องเคารพและรับฟังความคิดเห็นด้วย

การบริหารจัดการของคณะฯ ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเองของอาจารย์และองค์กร  (เช่นสนับสนุนการเดินทางไปราชการ เพื่อฟังสัมมนาดี ๆ )    ทรัพยากรหรือแหล่งความรู้ (เช่นคอมพิวเตอร์) ควรมีจำนวนเพียงพอเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ

 

ฟิสิกส์ (เพิ่มเติม)

KM สรุปได้ 3 หัวข้อใหญ่

1. วิธีการหาความรู้ ต้องแสวงหาความรู้ที่สด ใหม่ ทันสมัย มีประโยชน์กว้างลึก ความรู้ต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในยุกโลกาภิวัฒน์ได้ ต้องเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสาขาในคณะ แล้วจึงเรียนรู้ข้ามคณะ และมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศมากขึ้น

2. วิธีการถ่ายทอดความรู้ โดยใช้ทฤษฎี 4L และ 8K

3. ทำอย่างไรจึงจะใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะขึ้นกับการบริหารและวัฒนธรรมขององค์กร

สรุปจากการดู VDO

1. ในการที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรม ต้องเรียนรู้แนวคิดแบบดั้งเดิมอย่างถ่องแท้ และในขณะเดียวกันก็ต้องแสวงหาความรู้ใหม่และแนวคิดที่แตกต่างออกไปซึ่งมีความง่ายและเห็นผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจนในการปฏิบัติ

2. ในการแสดงความคิดเห็น จะต้องดูผู้ร่วมสนทนาว่ามีแนวคิดอย่างไร ซึ่งบางครั้งกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดแบบดั้งเดิมอาจจะไม่ยอมรับในแนวคิดแบบนอกกรอบ ซึ่งเราก็อาจต้องสนทนาบนพื้นฐานแนวคิดเดิมเป็นส่วนใหญ่และสอดแทรกแนวคิดใหม่บ้างเล็กน้อย จึงจะทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

1.ได้อะไรจากการเรียน KM

KM คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีหลัก 3 ประการ คือ

1. acquired  คือ คนมีการแสวงหาความรู้และการพัฒนาความรู้อย่างไร

2. share คือ คนมีการถ่ายทอดความรู้อย่างไร

3.useful คือ ผู้ใช้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร 

ซึ่งหลักทั้ง 3 ประการ จะต้องยึดหลัก 2R's คือ Reality และ Relevance

2.เราจะนำวิทยาศาสตร์มาช่วยได้อย่างไร

1.ทางด้านคอมพิวเตอร์จะนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเป็น Tools เช่น E-commerce E-Education E-Banking  Database DSS และ ฯลฯ  เพื่อช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าของท้องถิ่น เช่น OTOP  SME  และช่วยให้มีโอกาสในการกระจายสินค้ามากขึ้น   มีการหมุนเวียนเศรษฐกิจดีขึ้น

2. มีการนำความรู้ทางด้าน GIS มาช่วยในการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ และวิเคราะห์ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม

3. มีการสร้างพื้นที่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับแสดงความคิดเห็น ในด้านต่างๆ

4. สามารถนำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาพัฒนาสารสนเทศที่แสดงให้เห็นถึงพิษภัยของการทำสงครามและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น

5.พยายามที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนจากสังคมผู้บริโภคไปสู่สังคมผู้ผลิต (One Person One Program :OPOP)

KM มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นและพัฒนาไปในทิศทางใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว บุคลากรของคณะฯ ทุกคนจำเป็นต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิมที่เน้นการเรียนการสอนความรู้แบบบอกให้นักศึกษาท่องจำความรู้เก่าๆ อย่างเดียวเป็นการสอนนักศึกษาให้ทราบความรู้พื้นฐานและปรับใช้ได้กับความรู้ใหม่ๆ ให้คิดและวิเคราะห์ปัญหาให้เป็น และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น ก็จะทำให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรู้ และมีคุณภาพ เป็นการเพิ่มคุณค่า ไม่ใช่เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการ

 

อาจารย์เป็นบุคคลแรกที่จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของตนเองก่อน เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพขององค์กรซึ่งจะสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้ โดยอาศัยกระบวนการ KM ทั้ง 3 ขั้นตอน คือ การแสวงหาและสั่งสมความรู้ (ด้วยความอยากรู้จริงๆ ไม่เกี่ยวกับวุฒิการศึกษา) จากแหล่งข้อมูลทุกชนิดอย่างไม่มีวันสิ้นสุด และการนำความรู้ความเชี่ยวชาญไปแลกเปลี่ยน หรือการสร้างร่วมมือทางความรู้ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร (สาขาวิชาอื่น หรือสถาบันอื่น) อย่างสร้างสรรค์ จากนั้นนำความรู้ไปสู่การพัฒนาสังคมโดยประยุกต์ความรู้ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือการบริการชุมชนอย่างมีวิสัยทัศน์ (ไม่ใช่ทำเพื่อให้ได้ Paper ขอผลงานวิชาการอย่างเดียว) ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง (อาจมีจินตนาการดีแต่ต้องทำได้จริง) ตรงกับความต้องการของผู้รับ และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมได้ หากบุคคลากรท่านใดตระหนักว่า KM คือแนวปฏิบัติเพื่อการเพิ่มคุณภาพของอาจารย์เอง และยินดีปฏิบัติตามอย่างไม่รู้สึกอึดอัดใจ ก็จะทำให้เราไม่ล้าหลังและไม่หลุดโลก และมั่นใจได้ว่าเราได้กลายเป็นทรัพยากรทรงคุณค่าต่อองค์กรและจะมีความสุขกับการทำงานต่อไป

โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์

สิ่งที่ได้จากการอบรมความรู้เรื่อง Super Teachers and Knowledge Management ในวันแรก พอสรุปได้ถึงสิ่งที่ควรนำมาใส่ใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คือ

1.ได้ความรู้ด้วยวิธีอะไร?

2.ถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีอะไร?

3.คนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากเรานำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร?

สิ่งที่อยากเพิ่มเติมประเด็นของการนำคณิตศาสตร์ไปพัฒนาประเทศชาติที่มีทั้งหมด 8 ข้อนั้น จะขอยกตัวอย่างสิ่งที่พอจะนำมาปฏิบัติได้จริงก็คือ ในประเทศไทย(ในโลก)ในยุคปัจจุบันนี้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง มีผู้ประกอบการมากขึ้น หากผู้ประกอบการมีปัญหาเรื่องการคิดผลกำไรที่จะได้หลังจากมีการลงทุนไปแล้วว่าจะคุ้มทุนหรือไม่ ในทางคณิตศาสตร์สามารถช่วยผู้ประกอบการเหล่านี้ได้ กล่าวคือถ้าผู้ประกอบการมีปัญหาว่า มีต้นทุนเท่านี้ มีจำนวนของที่เป็นต้นทุนจำนวนเท่านี้ ใช้ระยะเวลาเท่านี้ ขายราคาเท่านี้ ถ้าขายของหมดไปแล้ว จะขาดทุนหรือได้กำไร เราอาจจะประกาศใน web ของคณะวิทยาศาสตร์หรือของมหาวิทยาลัยเลยว่าเรารับแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยคิดราคาบ้างเล็กน้อย เพื่อเป็นการหารายได้เข้าคณะ

ขอเสริมเรื่องการพัฒนาบุคลากรของคณะวิทย์ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาใดการพัฒนาที่ดีก็คือการให้อาจารย์ทำวิจัย เพราะจะเป็นการช่วยให้ขัดเกลาความคิดอยู่เสมอ ช่วยให้ทันโลก และเป็นการพัฒนาสาขาวิชาของตัวเองให้พัฒนาเทียบเท่านานาชาติในอนาคตต่อไป อีกเรื่องที่เห็นด้วยกับอาจารย์จีระ ก็คือมีการร่วมคิดทำวิจัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งก็ควรเริ่มจากมหาวิทยาลัยในไทยก่อนแล้วค่อยขยายไปนานาชาติต่อไป แบบนี้คณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จึงจะพัฒนาเทียบเท่ามหาวิทยาลัยระดับนานาชาติได้

โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์

ได้มีโอกาสเข้ารับฟังอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่  พวกเรารู้สึกประทับใจในการถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์  โดยเฉพาะการกล่าวถึงอาจารย์อาวุโส กับอาจารย์รุ่นใหม่ อาจารย์ได้พยายามเน้นให้เห็นถึงคุณค่าของคน และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และได้กล่าวถึงเสน่ห์ในความเป็นไทย ที่คนรุ่นใหม่ ควรเรียนรู้จากคนรุ่นเก่า ขนบธรรมเนียมของไทยบางอย่างก็ใช่ว่าจะล้าสมัยถ้าเรารู้จักการหยิบเอาความเป็นไทยมาใช้ให้ถูกกาละเทศะ หรือใช้ให้ถูกกับโอกาส ก็จะทำให้สังคมเราอยู่อย่างพี่อย่างน้อง มีความเอื้ออาทรต่อกัน นอกจากนี้อาจารย์ยังได้ชี้ให้เห็นถึงระบบเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการพัฒนาคนให้เรียนรู้เท่าทันกับเศรษฐกิจในระบบต่าง ๆ  อย่างไรก็ตาม พวกเรามีความคิดว่า นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวยังคงเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน.

ชีววิทยา (ความคิดเห็นส่วนตัว)

การจัดการความรู้ knowledge management เป็นวิธีการที่ มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยในมหาวิทยาลัยก็ได้แก่ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ โดยจะต้องมีกระบวนการ 3 ขั้นตอนใหญ่ คือ

  1. แสวงหาความรู้ จากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยไม่เป็นเพียงแต่ตำรา อาจเป็น บุคคล อินเตอร์เนต  หนังสือพิมพ์ วารสาร หรือ ทางโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดความรู้ โดยการแสวงหาความรู้นั้นต้องเป็นการแสวงหาตลอดชีวิต เนื่องจาก ถ้าหยุดนิ่งก็เหมือนแก้วน้ำที่เต็มอยู่ ต้องทำตนเองเป็นแก้วน้ำที่ว่างตลอดเวลา เนื่องจากจะได้เติมเต็มความรู้ตลอดเวลา
  2. แล้วนำเอาความรู้ที่ได้มาจัดการ ให้เป็นระบบ โดยความรู้นั้นต้องเป็นที่ต้องการของลูกค้า ในที่นี้ก็ได้แก่ นักศึกษา หรือ ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่เราให้บริการวิชาการ
  3. และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในส่วนของอาจารย์ ก็ได้แก่ การถ่ายทอดความรู้นั้นให้แก่ นักศึกษา หรือ ผู้ที่สนใจ ผู้ที่เราให้บริการวิชาการ เพื่อที่ บุคคลเหล่านี้จะได้มีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้พัฒนาตนเอง สังคม ประเทศ และโลกต่อไป
เนื่องจากในปัจจุบันทุกมหาวิทยาลัย ต้องมีการประเมินคุณภาพทางการศึกษา โดยจาก สมศ ดังนั้น การจัดการความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในปัจจุบัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยจะต้องมีคุณภาพ โดยขั้นตอนที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำให้มีคุณภาพได้แก่ การพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย นั่นเอง เนื่องจากปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่เพียงผลิตบัณฑิต เท่านั้น ต้องมีการทำงานวิจัย  และการบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น หรือชุมชน โดยการทำวิจัยนั้น ต้องมีการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรมวิชา เพื่อให้การทำวิจัยเป็นไปในภาพรวม และแก้ปัญหา หรือพัฒนาในทุกจุด  และอาจารย์ในคณะต้องร่วมมือกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกเป็นภาควิชา หรือโปรแกรมวิชา (ความคิดเห็นส่วนตัว)

๑. การจัดการความรู้เป็นสิ่งที่ดีถ้าทุกคนทำได้ อย่างที่ท่านวิทยากรให้ความรู้มา แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่า การจัดการความรู้เป็นเรื่องส่วนบุคคลหรือขององค์กร เพราะหลายคนก็หาความเป็นเลิศให้กับตนเองโดยไม่สนใจองค์กร หรือบางคนก็ทุมเทให้กับองค์กรโดยไม่ให้ความสำคัญของความเป็นเลิศของแต่ละบุคคล

๒. การที่จะได้มาซึ่ง ๘ ทุน ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะกบที่อยู่ในกะลา และรวมถึงกบที่อยู่นอกกะลา (ที่รู้เรื่องของคนอื่นแต่ไม่รู้เรื่องของตนเอง) ส่งผลให้เกิดอัตตาสูง ก็จะทำให้ขาดทุนทางจริยธรรม (การเข้าใจ เห็นใจ และยอมรับ) โดยเฉพาะราชภัฏที่มีความหลากหลายสาขาวิชา สาขาที่ไม่กี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงในการบริการลูกค้าก็จะได้กำไร(เป็นเนื้อเงินหรือปริญญา) มากกว่า (มีคุณภาพหรือไม่ อาจเป็นอย่างที่ท่านอาจารย์ว่า) ในขณะที่สาขาทางวิทยาศาสตร์ต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าเพราะต้องใช้เครื่องมือมาก ก็จะถูกมองว่าไม่ทำกำไรให้องค์กรที่เป็นบริษัทเดียวกัน หรือแม้แต่ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ด้วยกันก็อาจจะไม่ยอมรับในธรรมชาติวิชาของสาขาที่ต่างไปจากตน ก็เกิด GAP ขึ้น สิ่งที่ยากคือทำอย่างไรที่จะให้ช่องว่างนี้หายไป คนที่เด่นกว่าทำอย่างไรจึงจะดึงคนที่ด้อย คนที่ด้อยทำอย่างไรที่จะมีคนช่วยผลักให้เด่น บริษัทซึ่งจะได้กำไรสูงสุด

 

โปรแกรมวิชาเทคโนฯ ก่อสร้าง

การจัดการความรู้ KM ที่คุยกันในวันนี้ จะม่งประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับ 

  1. ปัญหาที่เกิดจากในโลกปัจจุบัน เช่น การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนพลังงาน ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ปัญหาเกี่ยวกับโรคใหม่ๆที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายมนุษย์ เปิดโอกาสให้มนุษย์ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา  วิธีการแก้ปัญหาที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ได้หลายๆ ครั้ง เราก็นำมันมาจัดเก็บเป็นความรู้ ดังนั้นการแสวงหาความรู้ สามารถที่จะมาจาก ตำรา งานวิจัย คนที่มีประสบการณ์ อินเตอร์เนต  สื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ที่ได้มามีความใหม่ ทันสมัย และสามารถใช้ได้กับปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราต้องมีความขยัน หมั่นค้นคว้าหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อมองแล้วก็คล้ายกับกระบวนการ Review Literature ในการสร้างงานวิจัยครับ
  2. การสร้างเครือข่ายความรู้  ความรู้ต้องไม่จำกัดเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ควรเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นๆ เนื่องจากมันมีความสัมพันธ์กัน เช่น การศึกษาเกี่ยวกับอุบัติเหตุ  ถ้าเราศึกษาทางวิศวะโยธาในอดีตเราจะไปมองเฉพาะในการออกแบบและก่อสร้างถนนเท่านั้น   แต่ถ้าในปัจจุบันจะมีการคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของประชาพิจารณ์ การศึกษาองค์ประกอบของคนซึ่งมีผลต่ออุบัติเหตุบนถนน
  3. การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น GPS, IT
  4. การนำความรู้มาใช้ ควรดูความสอดคล้องในเรื่องวิธีที่จะนำมาใช้กับทรัพยากรและลักษณะภูมิประเทศที่มีอยู่ในประเทศ
  5. การสร้างระบบการถ่ายทอดและเรียนรู้ และการหาความรู้ร่วมกัน เช่น ระบบพี่เลี้ยง
  6. หมั่นหาประสบการณ์อยู่เสมอ นอกจากการสอน เช่น การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์  เช่น การให้บริการวิชาการกับชุมชน ในด้านงานก่อสร้างก็อย่างเช่น การรับทดสอบวัสดุ  การรับงานวิจัยศึกษาวัสดุประหยัดพลังงาน การจัดอบรมสัมนาให้ความรู้กับหน่วยงานช่าง อบต อบจ โยธา   การรับเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างต่างๆ การรับงานออกแบบ เพราะจะทำให้เราใช้ความรู้ที่มีอยู่จริงให้เกิดประโยชน์ แล้วยังจะได้รับประสบการณ์ใหม่มาเล่าให้นักศึกษาฟัง ซึ่งทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อหน่าย และทำให้เด็กสนใจเข้าเรียน นอกจากนี้เด็กก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพ
  7. อยากเขียนอีกมากมายครับ แต่พอก่อนดีกว่า  วันหลังถ้ามีเวลามากกว่านี้ ผมอยากจะจัดกล่มองค์ความรู้ที่ได้รับมาวันนี้อีกซักครั้งครับ

                                                   ขอบคุณครับ

เนื่องจากในปัจจุบันทุกมหาวิทยาลัย

โปรแกรมวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

๑. การจัดการความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสหวิทยาการที่ต้องใช้องค์ความรู้หลายสาขามาบูรณาการร่วมกันในการศึกษาปัญหา แก้ไขปัญหา และการถ่ายทอดความรู้ เช่น ปัญหา Global worming ที่ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลก ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสังเกต ตรวจวัด การให้ความรู้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ และการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จึงเป็นปัญหาที่เป็นข้อมูลหรือความรู้ที่"สด" เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลก

๒. การนำความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไปใช้จึงเป็นการเชื่อมโยงระหว่าง ปัญหา สถานที่เกิดปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

๓. บทบาทหน้าที่ของอาจารย์สิ่งแวดล้อมคือการจัดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย การวิจัย และการให้บริการชุมชน ที่ต้องเชื่อมโยงความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายทอดให้เกิดสติหรือการรู้ (awareness) ในปัญหาสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหาแก่นักศึกษาและประชาชน เป็นเครือข่ายความรู้ที่สามารถพัฒนาขึ้นโดยใช้แหล่งทุนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับต่างประเทศได้

การจัดการความรู้ด้สนสิ่งแวดล้อมจึงเป็นการเชื่อมโยงองค์ความรู้สาขาต่าง ๆ มาใช้ เนื่องจากสามารถนำปัญหา และฐานทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้ามสาขาไปสู่สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างบูรณาการและมีความยั่งยืน

ขอขอบพระคุณอาจารย์และคณะเป็นอย่างสูงที่ได้สละเวลามาให้ความรู้และได้ให้โอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  วันนี้ได้แนวคิดเป็นอย่างมากที่ ทั้งเอกสาร บรรยาย ข้อคิดเห็น ดู VDO ดังเช่น

 

1. การดึงศักยภาพความสามารถของบุคคลซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่า มาจัดการและพัฒนาในการนำความรู้ สร้างปัญญา นำไปปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์

 

2. มีการบูรณาการความรู้ ข้ามสาขาวิชาตามธรรมชาติ เพื่อความสมบูรณ์ในการจัดการองค์ความรู้ให้สมบูรณ์แบบ สถิติสามารถไปร่วมพัฒนากับสาขาอื่นได้มาก ตลอดจนการบริการและให้คำปรึกษาทางสถิติแก่บุคลากร ชุมชน หน่วยงาน ฯลฯ

 

3. การสร้างผู้เรียนไม่ใช่มีแต่ความรู้ แต่ต้องให้ผู้เรียนเกิดปัญญา และนำปัญญาไปใช้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ดึงความสามารถของผู้เรียน  ผู้เรียนเกิดความคิดอย่างสร้างสรรค์ สอดคล้องกับหลักคำสอนพระพุทธเจ้า ที่สอนให้คิดเป็น ผู้สอนต้องมีความรู้ที่สด ถ่ายทอดได้ดี ผู้เรียนอยากเรียน เรียนอย่างมีความสุข

 

4. ในฐานะทางสถิติประยุกต์ช่วยได้มากในเรื่อง Data Management ที่ทันสมัย สะดวกใช้ ถูกต้อง IT ฯลฯ  การนำข้อมูลให้มีคุณค่า ทั้งทางสร้างสรรค์ปัญญา เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน

 

5. ความสามารถ เกิดจากความรู้บวกด้วยประสบการณ์ที่ปะทะของจริง ความรู้จะเกิดเป็นปัญญาต้องหมั่นฝึกฝนเป็นประจำทุกวัน  ดังนั้นต้องหมั่นศึกษาความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ศึกษาดูงาน ฯลฯ  ทำความรู้ให้มีมูลค่า จับต้องได้

 

6. จากทฤษฎี 8 K's ... ตามที่อาจารย์... "ถ้าเราไม่มีความสุข ไม่มีวันที่จะทำอย่างอื่นได้สำเร็จ"  นั้น   แนวคิดนี้ ความสุขที่จะทำก็คือ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

 

7. จากVDO ทำให้เกิดแนวคิดว่าการพัฒนาจากจุดเล็กๆ พัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ จะเกิดค่ามากในอนาคต ถ้าทุกคนช่วยกัน ปัญหา 8 อย่างในสังคมไทยคงน้อยมาก

 

    มีอะไรอีกมากที่ได้รับความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากอาจารย์ ภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย ใต้ร่มพระบารมีของในหลวง และเป็นถิ่นฐานที่ถูกมองว่ามีทุนทางจริยธรรมสูง จะรักษา และทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

 

 

            

 

การทำ KM ต้องคำนึงถึงบริบทขององค์กร

ผมเชื่อในคุณค่าของทรัพยากรณ์มนุษย์ ประสิทธิภาพของสมาชิกในองค์กรทุกคน และเชื่อว่าหลายๆ คน เข้าใจและกำลังพยายามปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ยังไปไม่ได้เท่าไรนัก เนื่องจากบริบทขององค์กร เป็นตัวบีบให้เป็นอย่างที่เป็นเช่น

1.ภาระงานสอนที่ค่อนข้างหนัก บางคนสอน 16 คาบต่อสัปดาห์ และมีสอนภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ก็ยังมีสอนอีก จำนวนนักศึกษาก็ 50 คน ต่อ ห้อง ส่งสัยว่าเอาเวลาที่ไหนมาตรวจงาน เอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด  

2.โดยธรรมชาติขององค์กรเกิดจากความไม่พร้อม เช่นเปิดสอนไปก่อนการอนุมัติหลักสูตร บางหลักสูตรนักศึกษาใกล้จะจบแล้วยังไม่ได้อนุมัติหลักสูตร แล้วใช้ช่วงเวลาบีบ หรือเปิดสอนขณะที่เครื่องมือยังไม่พร้อม หรือไม่เพียงพอ

3.ในสมัยก่อนที่จะเป็นมหาวิทยาลัย ผู้บริหารมีนโยบายส่งคนไปเรียนต่อน้อยมาก เมื่ออนาคตมาถึงจึงไม่มีบุคลากรที่มีคุณวุฒิเพียงพอ ต่อการขยายงานและการแข่งขัน ซึ่งส่งผลการจะพัฒนาต้องเสียเวลาไปอีกระยะหนึ่งซึ่งต้องเข้าใจบริบทนี้

4.วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่พึงประสงค์ ที่จริงไม่ควรเรียกวัฒนธรรม ขอเรียกเป็นพฤติกรรมจะเหมาะสมกว่า เช่น มาสาย กลับก่อน กลับป่าหวายระหว่างประชุมหรือสัมมนา หรือเห็นความสำคัญของงานอื่นมากกว่า หรือเข้าเข้าออก ออก ห้องประชุม หรือจัดประชุมซ้อนกัน ขาดการจัดเวลาที่เหมาะสมเป็นต้น

5.การเรียนรู้ทฤษฏีย่อมกระทำได้ไม่ยากนัก แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมยากมาก

6.ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ของตัวเอง/ครอบครัว จึงต้องสอนภาคพิเศษมาก

7.บริบทของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

     7.1 เป้าหมายการเข้าเรียนแตกต่างกัน เช่น มาเรียนเพื่อเอาวุฒิ เอาความรู้จริงๆ ตามเพื่อน

     7.2 ผู้เรียนส่วนใหญ่ยากจน และคุณภาพผู้เรียนถูกกรองออก ก่อนมาถึงมหาวิทยาลัยหลายชั้น ทำให้ได้คุณภาพต่ำ

ฯลฯ

ดังนั้น

1. การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ค่อนข้างเป็นไปได้ดวยความยากลำบากต้องใช้ความพยายามมาก

2. การแชร์ความรู้ค่อนข้าง จัดยากเนื่องจากเหตุผลข้อ 1 4 5 6

3. การนำองค์ความรู้ สด ไปใช้สอนผู้เรียนให้ตรงความต้องการของผู้เรียน และนำไปใช้ประโยชน์จริง ก็ต้องใช้ความพยายาม ทำตามข้อ 1 2 ให้ได้เสียก่อนถึงจะเกิดข้อ 3 

สรุปแล้วจะให้เกิดผลสำเร็จต้อง อดทน พยายาม และพยายาม

การจะทำ KM ให้ประสบผลสำเร็จได้ จะต้องคิดถึงบริบทขององค์กรเป็นลำดับแรก ระดับความสำเร็จขึ้นกับหัวเรื่อใหญ่ที่มีคณะบดีเป็นผู้คุมหางเสือและขับเคลื่อนด้วยกำลังฝีพายคืออาจารย์ทุกคนในคณะ ถ้าไม่ช่วยกันพาย เรือลำนี้จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างไร  คนในเรื่อก็คงเห็นเรือลำอื่นวิ่งแซงไปลำแล้วลำเล่า เอ แล้วเหตุที่ฝีพายในเรือไม่ยอมออกแรงพาย มันเกิดจากอะไร นะ  น่าคิดเหมือนกัน   หมดแรง? เป็นง่อยเบลี้ย? พายไม่มี? พายหัก? ไม่มีที่ให้นั่งพาย? ไม่มีอาหารนำดื่มเพียงพอ? เลยหมดแรงเลยไม่พาย หรือพายมานานแล้วเรือไม่เคลื่อนเลยพักพายก่อน?  หรือการพายเรือก็เหนื่อยอยู่แล้ว ต้องต่อสู้ เพื่อให้ได้พาย ขณะที่คนอื่นหยุดพาย แล้วจะต่อสู้เพื่อจะพายทำไม คนอื่นไม่พายก็สบายดี พายไปเรื่อก็ไม่เคลื่อน? อะไรทำนองนี้

อย่างไรก็ตามขอเอาตัว และใจช่วย ทุกคนในคณะวิทย์ ให้ทำ  KM ให้ประสบผลสำเร็จครับ

ขอบคุณครับ

มิสเตอร์ก๊วก

 

สาขาเทคโนโลยีเซรามิกส์

ในยุคโลกาภิวัฒน์สงครามที่เกิดขึ้นจะเป็นสงครามที่มีอาวุธเป็นความรู้ ทั่วโลกจะต้องสร้างคลังความรู้เป็นของตนเองเพื่อความอยู่รอดในสภาวะการที่มีการแข่งขันในทุก ๆ ด้านที่สูง ซึ่งการได้มาซึ่งความรู้ นั้น เราจะต้องรู้จักสร้างความรู้  ทุกวันนี้เราได้ความรู้จากไหน ความรู้เกิดจาก ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกใบนี้หรือจักรวาลนี้ก็เป็นได้  มนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกใบนี้ล้วนผ่านพบข้อเท็จจริงต่าง ๆ นาๆ  ที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาดูโลก  บางคนรู้มาก บางคนรู้น้อย ถ้าเราเอาข้อเท็จจริงที่ทุกคนรับรู้มาร่วมกัน แล้วกลายเป็นข้อเท็จจริงขนาดใหญ่ก็สามารถใช้แก้ปัญหาได้ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมือนกับภาพ jigsaw แต่ละชิ้นก็เหมือนหนึ่งข้อเท็จจริงถ้ามันกระจัดกระจายกันอยู่ก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลยหรือใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย แต่ถ้านำมาร่วมกันเกิดเป็นภาพเป็นข้อเท็จจริงที่ใหญ่ขึ้นแล้ว มันก็จะมีความหมาย สามารถใช้ประโยชน์ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้แหละ เราเรียกว่า ความรู้

เพราะฉะนั้นเราจะช้าอยู่ใย รีบหันมาคุยกัน แล้วสร้างความรู้ด้วยกันก่อนที่มันจะสายเกินไป  ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ต้องมองไกลตัวมากสำหรับการเริ่มฝึกสร้างความรู้ โดยเริ่มจากคนในสาขาเดียวกัน แล้วค่อยขยายไปต่างสาขา ต่างคณะ ต่างมหาวิทยาลัย ต่างประเทศ 

ป. ล. ถูกไม่ถูกช่วยชี้แนะด้วย

KM  หรือ การจัดการความรู้ นั้นสรุปได้ว่า

เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเริ่มตนจากตนเองในการใฝ่หาความรู้ (บ้าความรู้) โดยความรู้นั้นต้องเป็นความรู้ที่สด เป็นความรู้ที่มีควาโยงใย มีเครือข่าย (ข้ามศาสตร์) ไม่ใช่เพียงแต่ความรู้แบบกบในกะลา เป็นการจัดการเอาความรู้เหล่านั้น ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสภาพความเป็นจริง ต่อสถานการณ์จริงไม่เพ้อฝัน โดยมีกระบวนการคือ

1.  การได้มาซึ่งความรู้ กล่าวคือมีความรู้อะไรบ้าง ความรู้เหล่านั้นได้มาอย่างไร

2.  การถ่ายทอดความรู้นั้น ใช้วิธีการใด

3.  ความรู้นั้นมีประโยชน์อย่างไร

และสำหรับการทำกิจกรรมเมื่อวานเรื่องวิทยาศาสตร์ในด้านของตนมีส่วนช่วยในเรื่องปัญหาทั้ง 8 ประการอย่างไร กระผมในฐานะตัวแทนได้มีโอกาสได้ฟังการสัมภาษณ์ในรายการถึงลูกถึงคนซึ่งได้ทราบข่าว กรณี จดเครื่องหมายการค้า คำว่า "Russie Duttun" ซึ่งญี่ปุ่นได้ทำการจดคำว่า "ฤาษีดัดตน" เป็นภาษาอังกฤษ และ เป็นภาษาญุ่ปุ่น ซึ่งจากข่าวอยู่ในช่วงระหว่างการขอยับยั้งการจดดังกล่าว แต่ก็ทำให้เห็นถึงการจัดการความรู้ของไทยด้านการแพทย์แผนไทย นั้นทำล่าช้า มาก เห็นได้ว่าหากมีความรู้ด้านการจัดการความรู้แล้ว ปัญหาดังกล่วคงจะไม่เกิดขึ้น หรือแม้แต่ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรไทยที่ ต่างชาตินำไปจดสิทธิบัตรแล้ว ไทยก็(โง่) ซื้อมาใช้ทั้งๆ ที่ไทยเองมีดีอยู่แล้ว

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์จีระและทีมงานทุกคนที่ได้แบ่งปันเวลามาเยี่ยมเยือน ให้ความรู้ แนวคิด แนวปฏิบัติ ที่มีประโยชน์และคุณค่าอย่างยิ่ง ตั้งแต่เริ่มย่างก้าวเข้ามาปฏิบัติงานที่ราชภัฏ เข้าใจเรื่อง KM น้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ผ่านมามีแต่การบรรยายแต่ภาคทฤษฎี แต่ไม่เคยได้ฟังหรือได้รับคำแนะนำ ชี้แนะให้เห็นแนวทางปฏิบัติ ที่สามารถเป็นรูปธรรมหรือการนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรและตนเองได้จริง

แต่สำหรับวันนี้ เริ่มตั้งแต่เมื่อวานที่อาจารย์ได้มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง องค์กร ระบบการศึกษาของไทย ทำให้ได้มีมโนภาพที่ชัดเจน มองเห็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้จริง ปัจจุบันการศึกษาของไทยมุ่งผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากกว่าคุณภาพการศึกษา แต่จะทำอย่างไรให้คุณภาพการศึกษาของไทยอยู่บนพื้นฐานของระบบธุรกิจซึ่งจะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ แข่งขันการหาลูกค้ากันอย่างมากมาย แต่มีเพียงไม่กี่แห่งที่ยังคงระดับคุณภาพการศึกษาของบัณฑิตที่จบออกไป สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่เหตุฉะไนล่ะคนเรียนทางวิทยาศาสตร์น้อยลง หรือจบออกไปแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ในวิชาชีพที่ตนเองเรียนมาอย่างแท้จริง นี้แหละน่าสนใจและเป็นวิกฤตที่ราชภัฏเผชิญอยู่ในปัจจุบัน บางแห่งต้องปิดตัวลงเนื่องจากไม่มีผู้เข้าเรียน และพฤติกรรมสอนอย่างเดียว พันธมิตรรอบข้างไม่สนไม่แคร์ ถ้าราชภัฏยังไม่ลุกขึ้นมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาหรือเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ แล้วเมื่อไรท่านจะเห็นราชภัฏเราเติบโต และภาคภูมิใจทุกครั้งเมื่อเหลียวกลับมามอง

วันที่สองของการอบรม Super teacher เป็นการปฏิบัติการโดยนำเอาทฤษฏี ที่พูดถึงในวันแรกเป็นฐานความรู้  หากลองพิจารณาดู(แบบไม่ได้เข้าข้างตัวเองหรือหลงตัวอยู่ในกะลาว่าฉันเก่งแล้ว) พบว่าในมุมมองเรื่องความเสียสละ-จริยธรรมแล้ว เราก็ไม่แพ้ใคร เราเสียสละสอน เราเหนื่อย โดยไม่ได้มองที่อัตราค่าตอบแทน(ไม่ต้องเทียบกับอัตราค่าสอนที่ กรุงเทพฯ จ่ายกัน) เพราะถ้าเราไม่ทำเช่นนี้แล้ว ใครจะทำ  มหาวิทยาลัยก็บอกว่ารับได้จำกัด แล้วเด็กๆที่ สอบเอ็นทรานซ์ไม่ได้จะทำอะไร เรียนที่ไหน จะเกิดปัญหาอะไรขึ้น ซึ่งเราก็ absorb ให้มาเป็นเวลานาน ซึ่งเคยพูด เคยวิเคราะห์กันแล้ว
     การทำ KM ให้สำเร็จนั้นจะทำอย่างไร? เป็นปัญหาที่วิทยากรตั้งขึ้นมาให้พวกเราคิดกัน ซึ่งบางกลุ่มมองว่า มันไปสัมพันธ์-สอดคล้อง กับ กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ที่พวกเราพอมีประสบการณ์ การคิดวิเคราะห์และทำมาจนถึงขีดสุดแล้ว กล่าวคือ เราวิเคราะห์ปัจจัยของปัญหาภายในที่เราควบคุมได้ เราจะทำอย่างไรให้การเรียน การสอนมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับ ตามดรรชนีชี้วัด ซึ่งเราก็ทำกันมามากกว่า 2 ปี และก็ได้ระดมความคิด และดำเนินการแก้ไขปัญหา และปฏิบัติการ กับทรัพยากรณ์(ทั้งทรัพยากรณ์มนุษย์และทรัพยากรณ์สนับสนุนอื่นๆ) เท่าที่มีอยู่ อย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งมีผลงาน เอกสาร ปรากฏให้เห็นชัดเจน  ผมเชื่อว่าการอบรม KM นั้น เป็นส่วนหนึ่ง กระบวนการคุณภาพ และเชื่อว่าทุกคนก็ทำอยู่แต่มีขอบเขตอยู่ที่รายละเอียดขององค์กร (content)
     ในอดีตที่ผ่านมา วิทยากรอบรมหลายๆ คน หรือแทบทุกคนมักชอบบอกว่า มันอยู่ที่ตัวคุณ พัฒนาที่ตัวคุณเองก่อน พัฒนาจากทรัพยากรณ์เท่าที่เรามีอยู่ให้ดีที่สุดเสียก่อน แก้ปัญหาที่ปัจจัยภายในก่อน เราควบคุมได้ วันนี้เราบอกได้ว่าเราทำกันมาแล้ว เฟืองตัวเล็กๆ กลุ่มนี้ หมุนจี๋ จัดจนจะพังแล้ว ซึ่งถ้าเฟืองตัวใหญ่ไม่เริ่มหมุนวันนี้ (การพัฒนาปัจจัยภายนอก) เฟืองตัวเล็กๆ กลุ่มนี้ มันจะพังลงเพราะรับแรงไม่ไหวอีกต่อไป (แม้จะหยอดน้ำมันหล่อลื่น แบบSynthetic ก็ตาม  วันนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความฝืด หากแต่อยู่ที่ภาระโหลดของ กลไกขับเคลื่อนที่มากเกินกว่าที่จะรับได้  การใช้เฟืองทดทำงานเกินกว่าภาระที่มันรับได้ เกลียวมันก็ขาด ตามกฏของแรง เป็นธรรมดา)     
      การทำ KM ให้สำเร็จนั้นจะทำอย่างไร? วันนี้ บริบทนี้ ถึงเวลาแล้วที่ เฟืองตัวใหณ่ต้องหมุนตาม ซึ่งจะ Feedback กลับไปที่ จะ Knowledge Acquired อย่างไร Share อย่างไร Apply อย่างไร ซึ่งเป็นของกล้วยๆ มากสำหรับอาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนั้นๆ ผมเชื่อว่าเขาทราบปัญหานี้ดีกว่าผู้อื่นแน่นอน และเป็นเรื่องเล็กมากที่จะดำเนินการ ตามทฤษฏีการบริหารจัดการองค์ความรู้ ของอาจารย์จิระ (ที่เรายอมรับว่าเข้าใจง่าย และสุดยอดจริงๆ)
     โดยสรุปก็คือ ขอแค่เพียงแก้ไขปัจจัยพื้นฐานให้ได้ก่อนคือ
                   วันก่อนเราจัดการกับปัจจัยภายในแล้ว เราหมุนกันจวนจะพังใกล้ถึงขีดสุดแล้ว วันนี้ เฟืองตัวใหญ่ต้องหมุนคือ......การจัดการอาคารสถานที่ การจัดการทรัพยากรณ์มนุษย์ เครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งเป็นวัตถุ ให้เพียงพอให้ได้ บรรยากาศการทำงานที่ดีจะตามมา
ผมเชื่อในคุณค่าของทรัพยากรณ์มนุษย์
มิสเตอร์ก๊วก
          วิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์เฉพาะ ผมเชื่อว่าอาจารย์ทุกคนรู้จริง และลึกซึ้งถึงแก่น ครับ หากแต่อาจจะไม่ค่อยสดนัก เพราะบริบทเฉพาะของเราเท่านั้น และโดยธรรมชาติของครูวิทยาศาสตร์แล้ว และเราเชื่อว่าเราเป็นแม่แบบของครูที่ไม่เป็นรองใคร ถ้ารู้ไม่จริงจะไม่พูดหรือนำไปสอนแน่นอน ต้องไปค้นคว้าและพิสูจน์มาให้ได้เสียก่อน ยิ่งหากข้ามศาสตร์แล้วผมจะให้เกียรติทั้งวาจาและแสดงออก ผู้ที่อยู่ต่างศาสตร์นั้นอย่างมากเสมอ
  

 

อาจารย์ภาคภูมิ รัตน์จิรานุกูล โปรแกรมฟิสิกส์

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

        การวิเคราะห์และพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญในการวางแผนป้องกัน บรรเทาทุกข์ ภัยธรรมชาติจากฝนตกหนักน้ำท่วมและการใช้ทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำเพื่อลดปัญหาภัยแล้ง ถ้าอาจารย์มีเวลาว่างลองเข้าไปดูผลงานการพยากรณ์อากาศและเส้นทางพายุของหน่วยวิจัยฟิสิกส์บรรยากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งผมอยู่ในทีมวิจัยด้วยที่  http://physics.science.cmu.ac.th/nwp_index.html ในการดำเนินการต่อไปทางหน่วยวิจัยเรายังขาดทุนสนับสนุนงานวิจัย อาจารย์จะกรุณาบอกแหล่งทุนได้มั้ย

                                       ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

                                            ภาคภูมิ  รัตน์จิรานุกูล

                                โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์

อาจารย์ภาคภูมิ รัตน์จิรานุกูล โปรแกรมฟิสิกส์
ยม นาคสุข "สัปดาห์แห่งความปลื้มปิติของปวงชนชาวไทย"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ชาวราชภัฎkm และท่านผู้อ่านทุกท่าน


ขณะนี้ ผมเชื่อว่าคนไทยทั่วหน้า ล้วนมีความปิติยินดีและร่วมถวายความจงรักภักดี ด้วยการมุ่งมั่นทำความดี ในวโรกาสที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สมบัติมานานครบ 60 ปี ผมได้อ่าน

น.ส.พ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 3 มิ.ย. “บทเรียนจากความจริง”
ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพระปรีชาสามารถ แนวทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของพระองค์ท่าน ซึ่งพวกเรา บรรดาลูกศิษย์ของ ศ.ดร.จีระ  และคนไทยทั้งปวง น่าจะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อเจริญลอยตามฝ่าพระบาทฯ  รายละเอียดของบทความเป็นอย่างไร ผมได้ Copy มาไว้ในตอนท้ายของ Blog นี้


ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก ท้ายนี้ ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว


สวัสดีครับ


ยม
น.ศ. ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(กทม.) 2

.............................................................................

สัปดาห์แห่งความปลื้มปีติ
ของปวงชนชาวไทย
[1]
โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์
(คัดมาจาก น.ส.พ.แนวหน้า วันที่ 3 มิ.ย. 2549)

สัปดาห์นี้คงไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับงานเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทย


งานเฉลิมฉลองดังกล่าว คงไม่ใช่แค่มีพระราชพิธีเท่านั้น ผมคิดว่า ถ้าเราจะคิดสะท้อนพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านว่า ได้ทรงสะสมความรู้ แสวงหาความรู้โดยตลอดมา ( Acquired ) แบ่งปันให้คนไทย (Share) และนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนคนไทยอย่างไร บทเรียนดังกล่าวควรจะสอนให้คนไทยได้เรียนรู้ในพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน เป็นการสร้างสังคมการเรียนรู้ไปด้วย


สิ่งแรกที่น่าจะพูดถึงคือ วิธีการหาความรู้ของพระองค์ท่าน พระองค์ท่านคิด พระองค์ท่านทรงศึกษามาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่วิทยาศาสตร์แบบตำราอย่างเดียว แต่ทรงนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มา apply กับสถานการณ์ความจริง แก้ปัญหาต่างๆ ได้ โดยทำอย่างต่อเนื่องไม่ลดละ ซึ่งทฤษฎีดังกล่าว เรียกว่าทฤษฎีข้ามศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ของพระองค์ท่านนั้นผสมผสานกับนิติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ ซึ่งบทเรียนนี้เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ เพราะคนไทยมักจะรู้เฉพาะทาง และสนใจในเรื่องที่ตัวเองรู้ แต่ไม่สนใจศาสตร์อื่นๆ จึงทำให้ปัญหาบางอย่างแก้ไม่สำเร็จ

ประเด็นที่สอง พระองค์ทรงเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะปัจจุบันความรู้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา หรือที่มีความจริงหนึ่งบอกว่า "ในอดีต ทุก 300 ปี ความรู้จึงจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่ปัจจุบัน ความรู้เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก 2 ปี" ความรู้ของพระองค์ท่านเป็นความรู้ที่สด และทันสมัยเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือภัยธรรมชาติ

อีกประการหนึ่งคือ วิธีการเรียนรู้ของพระองค์ท่าน คือพระองค์ท่านเป็นกษัตริย์ที่สนใจ IT และ Internet ตั้งแต่แรก ปัจจุบันยังมีคนไทยจำนวนมากที่ยังใช้ Internet ไม่เป็น แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน นอกจาก IT แล้ว พระองค์ท่านทรงอ่านหนังสือหลากหลายชนิด ที่สำคัญ ทรงฟังวิทยุ และวิทยุสื่อสารของราชการ พระองค์ท่านทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตลอดเวลา เห็นได้จากเวลาเสด็จฯทรงเยี่ยมราษฎร หรือเปิดงาน ทรงสนทนากับผู้รู้เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมงอย่างสนพระทัย ด้วยการรับฟังปัญหาจากประชาชน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ ทำให้งานของพระองค์ไปสู่ความสำเร็จอย่างสูง เพราะพระองค์ทรงคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ไม่เหมือนกับผู้ที่มองตัวเองเป็นหลักว่าตัวเองได้อะไร ไม่ค่อยจะถามว่าประชาชนได้อะไร


สุดท้ายทฤษฎีเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย


ถึงแม้ว่าหลายคนคิดว่า เศรษฐกิจ Knowledge based society ของตะวันตก จริง ๆ แล้ว น่าจะพูดได้ว่ามาจากพระองค์ท่านก่อน เพราะอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หรือเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ พระองค์ท่านได้ทรงทดลองเก็บข้อมูล จากศูนย์ศึกษา 6 แห่งของท่าน คือ
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
·        ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส

และค่อย ๆ นำมาเป็นข่าวสาร มาเป็นฐานความรู้ และนำไปใช้ ในที่สุดไปสู่ Wisdom   การที่พระองค์ท่านทรงได้ความรู้ดังกล่าว ก็คือข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เป็นวิทยาศาสตร์ หลายครั้งหลายหน จนเป็นที่แน่ใจแล้ว ที่สำคัญที่สุดคือ ในช่วงสัปดาห์นี้ ประชาชน คนทั่วโลกจะได้เรียนรู้แนวคิดและปรัชญาของพระองค์ท่านมากขึ้น ไม่ใช่มองเพียงแต่รางวัล Human Development Prize ได้รับการถวายจากองค์การสหประชาชาติ โดยโคฟี อันนัน เท่านั้น นับเป็นเกียรติประวัติที่คนไทยภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

ผมเชื่อว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านจะขยายวงเป็นที่แพร่หลายไปในต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

การขยายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปต่างประเทศ ขอพูดในส่วนที่ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้ทำไป และเป็นรูปธรรมชัดเจน

เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เริ่มไปทำการทูตภาคประชาชนที่กัมพูชา เป็นประเทศแรก ได้เริ่มการสร้างสังคมการเรียนรู้ โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในครั้งแรกมีองคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย ไปร่วมบรรยายที่พนมเปญ และได้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประชาชน และเกษตรกรของกัมพูชารวมทั้งหมด 4 ครั้ง

หลังจากนั้นได้ไปทำสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่พม่า เน้นเรื่องการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้พม่าเดินสายกลาง มองการขยายตัวเรื่องการท่องเที่ยว ตัวอย่างที่ไม่ดีของไทยคือ ขยายตัวเร็วเกินไป ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ได้รับการยอมรับมากในประเทศพม่า และจะทำต่อในปีนี้

นอกจากนี้ ผมยังได้ไปทำการบรรยายเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับประเทศจีน เมืองคุนหมิง โดยได้เชิญ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ไปร่วมการบรรยายด้วย ได้รับการยอมรับจากประเทศจีนอย่างสูงในครั้งนั้น

ส่วนในเดือนหน้า จะจัดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศเวียดนาม


เรื่อง APEC ซึ่งผมเป็นประธานคณะทำงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD Working Group) ผมเคยนำผู้แทน APEC ไปดูงานที่เขาหินซ้อน เมื่อมีการประชุมประจำปีของคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ APEC ครั้งที่ 27 วันที่ 20-24 มิถุนายน 2548 ที่พัทยา ซึ่งทำให้ผู้แทน APEC ได้เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้ง

สุดท้ายนี้ ผมเพิ่งกลับมาจากการประชุม APEC SOM II ที่ Ho Chi Minh ได้รายงานให้ที่ประชุมว่า ในการประชุม HRD Minister ครั้งที่ 5 ซึ่งจะจัดที่กรุงเทพฯ ในปลายเดือนตุลาคมนี้ จะมีการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ในเรื่องพระเจ้าอยู่หัวกับ HRD ซึ่งทาง APEC ได้เห็นชอบและอนุมัติ แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของคนไทยเป็นบุคคลที่โลกยอมรับอย่างแท้จริง

ดังนั้น คนไทยควรต้องศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านอย่างรอบคอบชาวต่างชาติ ให้ความสนใจปรัชญาดังกล่าว รวมทั้งนักวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายแห่ง เป็นมุมมองที่ทำให้โลกอยู่ได้อย่างยั่งยืน ยิ่งนับวัน ภัยธรรมชาติคุกคามมนุษย์เรา ยิ่งต้องเดินสายกลาง

ผมวิงวอนให้คนไทยในสัปดาห์นี้ ตั้งใจที่จะหาความรู้ในปรัชญาของพระองค์ท่าน ศึกษาให้แท้จริง และนำความรู้มาใช้ เพราะปรัชญาดังกล่าว จะช่วยให้โลกเดินสายกลางและทำให้ประชากรโลก ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และจะทำให้โลกของเรายั่งยืน


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

จีระ หงส์ลดารมภ์

[email protected]
โทร.
02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร
0-2273-0181
ยม "การทูตภาคประชาชนฯ/Talent Management บทความของ ศ.ดร.จีระ (น.ส.พ.แนวหน้า 10 มิ.ย.2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ผมติดตามสาระน่ารู้จาก ศ.ดร.จีระ จาก น.ส.พ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 10 มิ.ย. 2549 อาจารย์เขียน บทความเรื่อง "การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์" มีสาระน่าสนใจมากครับ ผมอ่านแล้วจับประเด็นได้ มีดังนี้ ครับ

  • สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่ในหลวงของเรา
  • คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม ต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม
  • การสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร
  • การเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's
  • เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity
  • Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ
  • Talent น่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน
  • ทฤษฎี 20/70/10 ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับคนอื่นๆด้วย และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยฯ
  • การบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น
  • และการทูตภาคประชาชน บทบาทของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และการไปเยือนลาวฯ

 

ผมอ่านแล้ว รู้สึกว่าได้สาระความรู้ และเหมือนกับได้ไปลาวกับอาจารย์ด้วย ที่น่าสนใจ มากคือเรื่องเกี่ยวกับ Talent Management ที่สั้น เข้าใจง่าย แบบภูมิปัญญาไทย ซึ่งท่านผู้อ่าน หรือ นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าร่วมการอบรมกับ Asia business forum สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ง่าย

 

นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านที่มีครอบครัวยังสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับ Talent Management ไปบริหารจัดการลูกหลานได้อีกด้วย เช่น ศ.ดร.จีระ กล่าวว่า องค์ประกอบของ Talent มี 3 อย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน คือ KSM, knowledge(ความรู้) Skill (ทักษะ ความชำนาญ) Mindset (ทัศนคติ) 3 อย่างนี้ ท่านสามารถนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างบุตรหลานของท่าน ให้เป็นมรกดกแก่แผ่นดินได้ เป็นอย่างดี     ส่วนการทูตภาคประชาชน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างทุนทางสังคม ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครือข่าย สร้างสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ได้

รายละเอียดบทความของ ศ.ดร.จีระ ในเรื่อง ดังกล่าว ผมคัดมาให้ไว้ตอนท้ายนี้ครับ ขอให้ท่านโชคดี

 

สวัสดีครับ

ยม

 

การทูตภาคประชาชนที่เวียงจันทน์ *

 

สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์มหามงคลแห่งความปลื้มปีติของคนไทย นอกจากที่สหประชาชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลแด่พระองค์ท่านแล้ว ยังมีรางวัลของ European Union เรื่องสิทธิบัตร "ฝน หลวง" ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวง ชนชาวไทย ในยุคโลกไร้พรมแดนนี้

 

ในสัปดาห์นี้ สีเหลืองเป็นสีที่ทุกคนภาคภูมิใจและหล่อหลอมรวมดวงใจของคนไทยด้วย แต่มีพ่อค้าบางคนยังเอาเปรียบสังคม ขายราคาแพง ยุคนี้คนไทยต้องหันกลับมาสู่คุณธรรม จริยธรรม หากรัฐบาลใดยังเน้นเรื่อง growth การเจริญเติบโต เรื่องความร่ำรวย การบริโภคนิยม และวัตถุนิยม โดยไม่มองมิติอื่นๆ ก็จะทำให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความรุนแรง เพราะแข่งขันกัน และเอารัดเอาเปรียบกันตลอดเวลา ยิ่งนานไป เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นบทเรียนราคาแพง ให้คนไทย ฉะนั้นคนไทยต้องวิเคราะห์ให้เป็น คิดให้เป็น ต้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไร้สาระ และ อะไรคือความดีคุณธรรมที่จรรโลงสังคม ในที่สุดแล้ว ความดีน่าจะสำคัญกว่าความเก่ง ซึ่งไปเพิ่ม ผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวมคงไม่ได้

 

ช่วงนี้ คนไทยทุกคนควรจะต้องปรับตัว และคิดให้รอบคอบว่าอะไรจะเกิดกับสังคมไทย ระหว่างที่อ่านบทความนี้เป็นช่วงที่หยุดหลายวัน นอกจากพักผ่อนแล้วก็ขอความกรุณา สนใจข่าวสารและเรียนรู้ในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปด้วย

 

เพราะอีก 2 -3 สัปดาห์ข้างหน้าคงจะมีการต่อสู้ทางการเมืองรุนแรงต่อไป และคงจะเป็น การต่อสู้ที่กำหนดอนาคตของประเทศไทย คนไทยต้องเฝ้ามอง ระวังและตั้งสติให้ดี สัปดาห์นี้ ผมทำงานใหญ่หลายเรื่อง

 

เรื่องแรกคือ ในการสัมมนาของกลุ่ม Asia business forum เป็นเรื่องการบริหาร Talent หรือ การบริหารดาวดวงเด่นขององค์กร ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปแสดงความคิดเห็นด้วย การประชุมเช่นนี้ น่าสนใจที่ว่า ผู้ที่ไปร่วมประชุมจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับค่อนข้างสูงของธุรกิจใหญ่ บางแห่งเป็นธุรกิจ ระหว่างประเทศที่เริ่มเห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์และเน้นทรัพยากรมนุษย์เป็น ยุทธศาสตร์มากขึ้น

 

ผมเน้นว่าการเรียนยุคใหม่ ต้องเรียนกันเป็นทีม style 4 L's ด้วย เพราะฉะนั้นการมีผู้แสดง ความเห็นจำนวนมาก แต่คนละแนว บางครั้งจะได้ประโยชน์ไม่มาก เพราะได้แต่ความคิด แต่ไม่ได้ ปะทะกับความจริง ทฤษฎี 2 R's และไม่ตรงประเด็น เป็นแบบดาวกระจาย แทนที่จะเน้นการเรียน เป็น team work ผมพูดเพียง 1 ชั่วโมง แต่ก็เห็นความสนใจของผู้ฟังที่อยากจะออกความเห็น และ อยากเอาไปใช้ share ความรู้ให้มากขึ้น

 

เรื่อง Talent management ต้องทำให้ง่ายๆ แบบ Simplicity ซึ่ง Talent ก็คือเรื่องทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง แต่ที่สำคัญสุดก็คือ

- องค์กรต้องปรับตัวและแข่งขันมาก ( Change and Innovate )

- customer ในโลกมีความคาดหวังสูง สลับซับซ้อน และมีประสบการณ์ในการบริโภค มายาวนาน

- สินค้าและบริการมีวงจรสั้นลง ต้องปรับตัวทั้งการผลิตและการบริการให้รวดเร็วอยู่ ตลอดเวลา วงจรจะสั้นลงเรื่อยๆ

- สุดท้าย Talent ต้องเน้นการทำงานข้ามชาติ เพราะ performance ผลประกอบการใน การทำงานมี Benchmark มาตรฐานอันเดียวคือ Global benchmark มาตรฐานโลก คือ มีการแย่งตัวกันระดับระหว่างประเทศ สรุป Talent ในความเห็นของผมน่าจะประกอบ 3 เรื่องในตัวคนเดียวกัน ( คนอื่นอาจจะคิด แนวอื่น )

- skill

- ความรู้

- ทัศนคติ mindset

 

คนที่จะทำงานสำเร็จได้จะต้องเป็นคนที่มีหลายๆอย่างอยู่ในตัวคนเดียวกัน Talent ที่ดี ทำงานคนเดียวไม่ได้ ผมยกทฤษฎี 20/70/10 มาให้ดูว่า ผู้ที่เป็นดาวเด่น 20% จะต้องทำงานกับ คนอื่นๆด้วย

 

และจะต้องพัฒนาคนในองค์กร 70% ให้เก่งด้วยคือถ้า 20% เป็น Talent อีก 70% จะต้องพัฒนาด้วย และอีก 10% ที่ไม่เอาไหน จะต้องดูแลว่าจะให้เขาอยู่อย่างไร และสุดท้ายการบริหารหรือเก็บเกี่ยว Talent ให้ได้ผลสูงสุดอย่างไร น่าจะอยู่ 3 ขั้น

1) หาได้อย่างไร

2) เก็บรักษาได้อย่างไร

3) บริหารไปสู่ High performance ผลการทำงานอย่างไร

 

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมภาคภูมิใจคือ การที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ระดับชาติของไทยได้ไปจัดงานคืนสู่เหย้าที่ เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อคืนวันที่ 6 มิถุนายนที่ ผ่านมา เพราะมหาวิทยาลัยขอนแก่นผลิตบุคลากรคนลาว ที่จบระดับปริญญาทั้งตรี โท เอก ประมาณ 200 คนและมีตำแหน่งสูงในประเทศ หากนับคนลาวที่มาเรียนหลักสูตรระยะสั้นอีก ก็มี ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ซึ่งได้จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อธิการบดี ดร.สมกต มังหน่อเมฆ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของลาวมาร่วมงานด้วย

 

ฝ่ายขอนแก่นนำโดยนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น พลตำรวจเอกเภา สารสิน ได้ร่วมกัน จัดพบปะศิษย์เก่ากว่า 300 คนในคืนนั้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ โดยมีท่านทูต ไทย คุณรัฐกิจ มานะทัต ซึ่งเป็นทูตที่ให้ความสนใจเรื่องการทูตภาคประชาชน แสดงความเห็นเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย /ลาว ร่วมกัน ชี้ให้เห็นถึงการทูตภาคประชาชนยุคใหม่ ซึ่งมี ภาควิชาการมาร่วมทำงานเป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

แนวคิดทางการทูตภาคประชาชน เป็นแนวคิดที่ปฎิบัติได้ และจะช่วยทำความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความไว้ใจ trust ระหว่างกัน เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศลาวได้ประท้วงผู้สร้างหนัง ไทย " หมากเก็บ โลกตะลึง " ที่ไม่ได้มองความละเอียดอ่อนของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน คนไทย มักจะดูแคลนว่าประเทศลาวยากจน โดยไม่ได้คิดลึกซึ้งในด้านประวัติศาสตร์อันยาวนานและ วัฒนธรรมที่แตกต่าง ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น จะทำหน้าที่การทูตภาคประชาชนต่อไป และ คงขยายความร่วมมือไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นด้วย เช่น พม่า เขมร จีน เวียดนาม รวมทั้ง มาเลเซีย

 

อนาคต รัฐบาลไทย น่าจะเพิ่มทุนให้กับรัฐบาลของลาว ให้ส่งนักศึกษามาเมืองไทยมากขึ้น และในระดับปริญญาเอกมากขึ้นด้วย และไปช่วยสร้างอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวด้วย จะสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ผมในฐานะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นผู้คิดเรื่องการทูตภาคประชาชน ซึ่งได้ทำอยู่ตลอดเวลาในนามของ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย/ ลาว น่าจะเป็นบันไดไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจของประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาก็เป็นการ แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของสองประเทศด้วย ซึ่งในคืนนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมของทั้งสอง ประเทศรวมกันอย่างสวยงาม โดยการรำวง

 

ผมภูมิใจมากครับ

 

จีระ หงส์ลดารมภ์ [email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3

โทรสาร 0-2273-0181

------------------------------------------

*คัดมาจาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97

ยม บทความของ ศ.ดร.จีระ "คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน" จาก น.ส.พ. แนวหน้า เสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

  

วันนี้ ผมขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า (17 มิ.ย. 49) ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับบทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่พระองค์ท่านทรงเน้นให้คนไทย สามัคคี  สุจริต มีคุณธรรม
มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป 

 

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเขียนเกี่ยวกับ ภารกิจที่ท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมหน้าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ  ท่านผู้อ่านสามารถ ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ได้ทางรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก

 

  

ท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว

 

 

สวัสดีครับ

 

 ยม

 

  คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์


 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั้ง 64 ล้านคนปลาบปลื้มกับบรรยากาศการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครองราชย์ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โชคดีได้เห็นภาพต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ต่าง ๆ 25 ประเทศ มาร่วม ถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

 

ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ และสะท้อนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า อย่างยิ่ง
ประเด็นแรกคือ บทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำว่า ประชาชนคนไทย ของพระองค์ท่านคือ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ในฐานะประชาชน เพื่อรักษาชาติให้อยู่อย่างยั่งยืนและ ผาสุก และมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แม้แต่พระองค์ท่านเอง ยังทรงตรัสว่า พระองค์ท่านก็ เป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องทำหน้าที่ต่อชาติ ซึ่งผมว่ามีความหมายอย่างมาก ให้คนไทยหลายฝ่าย คิดว่า เราได้อะไรอย่างมากจากประเทศ บางกลุ่มก็ได้มากมาย แต่ต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราคืนอะไร ให้แก่ชาติ หากรับใช้ชาติ ชาติก็อยู่รอด
ประเด็นที่สองคือ เรื่องที่ท่านมีพระราชดำรัสในการออกมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ เน้นให้คนไทย
- สามัคคี
- สุจริต
- มีคุณธรรม
- มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป


ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
ที่ผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมว่า ระบบกษัตริย์ในโลกจะค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันมีอยู่เพียง 29 ประเทศ และอนาคตก็จะมีน้อยลง ในยุคที่โลกมีข่าวสาร มีประชาธิปไตย มีความเสมอภาค บทบาท ของกษัตริย์จะถูกเพ่งเล็งค่อนข้างมาก ว่าจะทำอะไรให้แก่ประชาชนและประชาชนได้อะไร


ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมและ เป็นที่รักทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และเป็นบทเรียนให้ระบบราชวงศ์อื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดี


โดยเฉพาะข่าวที่ออกไปทั่วโลก 2-3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะเป็น
- BBC
- CNN
- NHK
- CCTV
- AP หรืออื่น ๆ


นับว่าเป็นการสร้างเกียรติประวัติ ภาพลักษณ์และแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ ประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยก็มีอะไรที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเราคือ เราได้เกิดเป็นคนไทย เราทำอะไรเพื่อประเทศบ้าง เพื่อ จรรโลงระบบที่เป็นเลิศให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน สำคัญที่สุด เราทำอะไรเพื่อสนอง แนวทางและปรัชญาของพระองค์ท่าน


ผมจึงรายงานให้ทราบว่า สัปดาห์นี้มี 3 เรื่อง ที่เราทำและเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน
เรื่องแรกคือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ วปอ33 จัดการ ประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2549 ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการจัดครั้ง ใหญ่ระดับรวบยอดและระดับชาติ เพราะหลายครั้งเราจัดที่ต่างจังหวัด และจัดเฉพาะภูมิภาค


มูลนิธิฯได้ริเริ่มและดำเนินการ มาโดยตลอดกว่า 4-5 ปี ซึ่งในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ มีประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถานำ พร้อมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คุณอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ดร. ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
- พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4
- ดร. ณรงค์ โชควัฒนา
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น


ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่เชิดชูและรับใช้ พระมหากษัตริย์และแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ รายการคิดเป็นก้าวเป็น ทาง UBC 7 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 13.00-14.00 น. ผมและคุณพิชญ์ภูรี ได้สรุปประเด็นงานที่ได้ทำในช่วง 4-5 ปีที่แล้วได้ทำอะไรบ้างใน รายการ พบว่า เราได้ทำเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบต่อเนื่องกันหลายเรื่อง ซึ่งผู้อ่าน สามารถติดตามได้ทาง UBC 7


เริ่มตั้งแต่ การแนะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประชุมนานาชาติ Leadership Forum ติดต่อกัน 5 ครั้ง ได้เชิญตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมทุกครั้ง
 

เรื่องต่อมาคือ การเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
- เขมร 4 ครั้ง
- พม่า 1 ครั้ง
- จีน 1 ครั้ง


ซึ่งเป็นที่มาของการทูตภาคประชาชน People to people diplomacy (PPD ) โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง


เป็นความโชคดีในการทำงานของเรา ที่มีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึก ๆ ให้เพื่อนบ้านได้ทราบ เช่น องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย และเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล


เรื่องทำรายการโทรทัศน์ 6 ครั้ง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาและการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของ พระองค์ท่าน 6 แห่ง คือ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส
ให้วิธีการศึกษาปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นปัญหาที่แท้จริง และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมา วิเคราะห์ ให้เกิด wisdom


และสุดท้าย การที่มูลนิธิฯได้เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลายแห่งในประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสงคราม

 

ส่วนการเทิดพระเกียรติโครงการสุดท้าย คือ เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นการ ประชุม workshop นานาชาติในระดับ APEC ที่ขอนแก่น ซึ่งเน้นการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยคิด และวิเคราะห์เป็น โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผมในฐานะ เป็น Lead shepherd ถือว่าเป็นการ ยกย่องและเทิดพระเกียรติ ให้ตัวแทน APEC 13 เขตเศรษฐกิจได้ทราบถึงสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง มหามงคล และยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้และสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนา ชนบท


คนไทยต้องทำเพื่อแผ่นดินและทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

km ในราชภัฏ "เกิดยาก" ทำไมถึงเกิดยาก เพราะเกิดจากวัฒนธรรมองค์กร ที่ฝังรากลึก อาจารย์ส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยผู้อยู่ก่อน และที่สำคัญการวางแผนด้านกำลังคนยังต้องทำอีกมาก จากประสบการณ์ผมเองราชภัฏที่ผมอยู่เป็นราชภัฏขนาดเล็ก ขาดทั้งงบประมาณและผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มุ่งเน้นที่โครงสร้างมากเกินไปขาดการใส่ใจเรื่องพัฒนาความรู้แก่อาจารย์ จำเป็นต้องค้นคว้าแสวงหาด้วยตนเองทั้งทุนและอื่นๆ ปัจจุบันจึงเกิดปัญหาสมองไหลและคุณสมบัติอาจารย์ไม่ได้ตามเกณฑ์หลักสูตรของ สกอ. ถ้าได้ให้ผู้บริหารได้ทำความเข้าใจตามที่ท่านอาจารย์เคยสั่งสอนคงจะเกิดผลบ้างไม่มากก็น้อยตามหลัก KM 3 ข้อ 1. วิธีการหาความรู้ ต้องแสวงหาความรู้ที่สด ใหม่ ทันสมัย มีประโยชน์กว้างลึก ความรู้ต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในยุกโลกาภิวัฒน์ได้ 2. วิธีการถ่ายทอดความรู้ โดยใช้ทฤษฎี 4L และ 8K และ 2R 3. ใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะขึ้นกับการบริหารและวัฒนธรรมขององค์กร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้นำองค์กร เข้าใจ hr architecture แค่นี้ผมว่าองค์กรจะเป็นองค์กรแห่ง KM (ราชภัฏอื่นๆ ที่เรียนด้วยกันได้ทุนทุกคน มีแต่ราชภัฏผมที่ผู้นำไม่ไส่ใจ ในการพัฒนาอาจารย์)ทุกคนที่ไปเรียนต่อหาทุนเองทุกคน!!! ผมก็ขอระบายแค่นี้ครับ รักและเคารพท่านอาจารย์อย่างสูง รป.ด.1 ศูนย์อุบลราชธานี
ยม "บทเรียนจากความจริง บทเรียน HRDS โดย ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet  ดังที่เคยปฏิบัติ รายการแรกที่ผมค้นหาก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียน :  HRDS  ได้สาระน่าสนใจมาก ผมทำงานด้าน HRM, HRD เมื่ออ่านบทความนี้แล้ว ผมเชื่อมั่นว่าผมจะสามารถนำสาระจากบทความนี้ไปบูรณาการในการพัฒนาตนเอง และการทำงานให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี

 
ในบทความเรื่อง บทเรียน : HRDS ศ.ดร.จีระ มีประเด็นน่าสนใจหลายประเด็น เช่น  
  • การไปบรรยายให้ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จันทบุรี
  • บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 
  • คำแนะนำของ ศ.ดร.จีระ ที่มีให้กับองค์กรที่ เชิญอาจารย์ไปบรรยาย ให้เอาจริง ให้เน้นคุณภาพ  เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's และวัดผล ให้เป็นรูปธรรม (เรื่อง ทฤฏี 4 L’s ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.chiraacademy.com/chiratheory.html )
  • การไปบรรยายที่กระทรวงพาณิชย์ สาระที่สนทนากับอธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร
  • การไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน
  • แนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ ให้ไว้ 1 เรื่องคือ HRDS  น่าสนใจมากครับ  อาจารย์เขชื่อมโยง พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ากับ เรื่อง HRDS ได้เป็นอย่างดี  น่าสนใจมาก

  รายละเอียดของบทความ บทเรียนจากความจริง เรื่อง บทเรียน :  HRDS ดูชื่อเรื่องจะเป็นฝรั่ง แต่สาระที่อาจารย์เขียนอ่านแล้วแบบไทย ๆ น่าเชิญชวนให้ติดตาม   ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถอ่านได้จากตอนท้ายนี้ 

ท่านผู้อ่านสามารถติดตามสาระน่ารู้กับ ศ.ดร.จีระ ได้อีก นอกจากบทความใน น.ส.พ.แนวหน้าทุกวันเสาร์แล้ว  วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทาง ททบ.ช่อง 5 เวลา 8.30 น. ท่านจะได้พบ กับ ศ.ดร.จีระ ในรายการ เจาะลึกประเทศไทย ส่วนวันอาทิตย์ทาง UBC รายการโทรทัศน์ "สู่ศตวรรษใหม่" ออกอากาศครั้งแรกทาง สทท.11 ทุกวันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน เวลา 14.00 - 14.50 น.  และออกอากาศซ้ำทาง UBC News ช่อง 07 ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 เวลา 13.05 - 14.00 น.  และรายการวิทยุ  "Knowledge for People”   ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น.  สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. " คลื่นความคิด "  

 

  สุดสัปดาห์นี้ คนไทยเรายังคงมีความสุข ปิติยินดี กับไออุ่นจากการฉลองครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมขอเชิญชวนท่านร่วมเขียนถวาย เขียนการทำความดี ถวายพระพรแด่พระองค์ท่าน ใน Blog เทิดพระเกียรติ 60 ปี ครองราชย์ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ กรุณาเปิดให้บรรดาลูกศิษย์ ที่http://gotoknow.org/blog/chirakm  

 

สวัสดีครับ

 

ยม

 

น.ศ.ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.รุ่น 2) 

  

 บทเรียน : HRDS[1]

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ผมเขียนบทความนี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี บางท่านอาจจะยังไม่เคยรู้จัก เป็นพระราชวังเก่าของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มีโรงแรมเล็กประมาณ 50 ห้อง มีห้องประชุมจัดสัมมนา ภายในยังมีสวนผลไม้ และมีอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมกับทฤษฎี 4 L's Learning Environment ของผม


ผมพาเจ้าหน้าที่ระดับสูง C8 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือสภาวิจัย มาฝึกเรื่องเตรียมภาวะผู้นำ ในวันที่ 22 - 23 มิถุนายน 2549 บุคลากรเหล่านี้ เป็นผู้มีมันสมองยอดเยี่ยม เพราะอาชีพการวิจัยเป็นอาชีพที่สำคัญ ผมได้ทำต่อเนื่องกันมา รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 โดยผมอยู่ 1 วัน 1 คืนเต็ม ได้รับความกรุณาและอบอุ่นแบบครอบครัวเดียวกัน การเรียนรู้ยุคใหม่ ผู้ฝึกกับผู้เรียนต้องช่วยกันแสดงความเห็นร่วมกัน นำเอาความรู้ใหม่ ๆ ไปใช้ หวังว่าจะปรับพฤติกรรมของผู้เรียนบ้างไม่มากก็น้อย


บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจะต้องเข้มแข็งและพัฒนาต่อไป เพราะ

- stake holders ข้างนอกมีมากมาย เช่น นักการเมือง , นักธุรกิจ , นักวิชาการ , ต่างประเทศ , สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป
- ของดีมีมาก แต่นำไปใช้ไม่เป็น เพราะขาดการประชาสัมพันธ์แบบมืออาชีพ
- Brand ยังไม่ชัดในสายตาคนทั่วไป
การอยู่ด้วยกันกับรุ่นแรก 60 ชั่วโมงได้ประโยชน์มากระดับหนึ่ง และรุ่น 2 อีก 40 คน ใน 60 ชั่วโมง คงจะได้อะไรมากขึ้นอีกไม่มากก็น้อย ผมบอกเขาว่า ต้องทำการพัฒนาแบบ
- ต่อเนื่อง
- เรียนในสิ่งที่ตัวเขาสนใจ นำไปใช้ และต่อยอด
- เรียนเพื่อสร้างสังคมการเรียนแบบ 4 L's
- เรียนกันเองเป็นทีม
- มีความคิดใหม่และนอกกรอบ
- work smart ไม่ใช่ work hard
ช่วงนี้ผู้อ่านที่ติดตามงานของผม จะเห็นว่ามีผู้สนใจเชิญผมหลายแห่ง สิ่งที่ผมขอองค์กรทุกแห่งที่เชิญคือ
- ให้เอาจริง
- ให้เน้นคุณภาพ
- เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's
- วัดผล ให้เป็นรูปธรรม


นอกจากงานของสภาวิจัยแล้ว ผมภูมิใจที่มาเป็นแขกของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพราะคุณพ่อผม นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เคยเป็นรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ 2 สมัย กว่า 40 ปีแล้ว


ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าต่างประเทศ ย้ายไปอยู่จังหวัดนนทบุรี สถานที่สบาย ติดแม่น้ำเจ้าพระยา


อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งรู้จักกันมานาน เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร พยายามสร้าง capacity building ให้ข้าราชการทุกระดับ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะอธิบดีส่วนมากในระบบราชการไทย ใช้เวลาในการดูแลคนน้อยมาก อธิบดี รองอธิบดี และข้าราชการมีระดับ C8 , C7 ประมาณ 150 คน มาฟังการบรรยายของผม มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยผ่านการถาม/ตอบ ซึ่งผมเน้นเรื่อง Leadership กับ Innovation ว่า กรมการค้าต่างประเทศจะต้องเร่งรัดเรื่อง การทำงานเร็ว นอกกรอบ เพราะ
- การค้าต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงเร็ว และมีปัจจัยหลากหลาย
- จะต้องเปิดโอกาสให้ Ideas ต่าง ๆ เกิดขึ้น และ share กัน
- ระดมความคิดให้เป็น bottom up มากขึ้น
- ผู้นำต้องกระตุ้นให้เกิด Execution ในโครงการใหม่ ๆ เพราะภาระงานประจำของกรมมีมากมาย
ส่วนเมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน ผมไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน ปรากฏว่าได้ความรู้มากมาย เช่น
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีภาควิชากว่า 10 ภาควิชายังทำงานไม่ข้ามศาสตร์ ต่างคนต่างทำ
- การวิจัยยังไม่บูรณาการเข้าหากัน ซึ่งจะต้องปรับการทำงานให้มากขึ้น


มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องทำงานเชิง paradigm shift และต้องพัฒนาวิธีการทำงานให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ตลอดเวลา


สัปดาห์นี้ ผมขอฝากแนวคิดไว้ 1 เรื่องคือ HRDS ทุกท่านน่าจะนำไปต่อยอด ซึ่งผมสร้างมาจากความปลื้มปีติของคนไทยทั้งชาติ ในช่วงมหามงคลเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ผมคิดว่าบทเรียนที่เราได้รับจากความรู้และ wisdom ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีมากมาย และมีคุณค่ามหาศาล แต่ถ้าจะสรุป จะได้ 4 เรื่องใหญ่ คือ HRDS

- Happiness พระองค์ท่านทรงเน้น คำว่าประโยชน์สุข คนไทยต้องมีความสุข จึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่มองเงินเป็นเครื่องวัดความสุข ไม่ว่าจะทำงานหรืออยู่กับครอบครัว จะต้องเน้นความสุขก่อนเงิน คนที่เป็นนักธุรกิจ หรือนักการเมืองต้องเสียสละเพื่อคนอื่นบ้าง เรื่องความสุขจึงเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นจุดสำคัญของทุนมนุษย์ 8 K's ที่ผมได้พูดไว้
" ทำอะไรจงทำเพื่อความสุข ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน "
คนรวยบางคนมีเงินทองมากมาย แต่ครอบครัวแตกแยก ลูกเกเร ความสุขก็ไม่ได้เกิดขึ้น
- Respect ผมคิดว่าพระองค์ท่านทรงมองมนุษย์เท่ากัน ให้เกียรติและยกย่องซึ่งกันและกัน ผมคิดว่า สำหรับประเทศไทย นายจ้างมองแรงงานคล้ายๆ กันว่าได้เงินจากฉัน ต้องทำงานให้ฉัน ไม่ได้ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
- Dignity เรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ก็สำคัญ การเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี จะทำให้คนมีความภูมิใจ และจะทำให้เขาได้มีความสำเร็จในชีวิตและงาน
- Sustainability นอกจากมีผลงาน (Performance) แล้ว คนเป็นจุดสร้างความยั่งยืน ไม่ว่ามาจากคุณธรรม จริยธรรม หรือมองระยะสั้นให้สอดคล้องกับระยะยาว ที่จะต้องสร้างขึ้นมา เพราะสังคมไทยต้องการความยั่งยืน


ทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นบทเรียนที่บรรดาคนไทยหรือชาวต่างประเทศ ให้มองเรื่องคน ในแนวเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมองลึก และมักจะวัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ (Intangible) และนำไปสู่ความสำเร็จ ท่านลองนำไปคิดดู ถ้าดี นำไปเป็นบทเรียนปรับตัวเองต่อไป

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"

เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม

 

   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  ประโยคนี้จะเห็นว่า ศ.ดร.จีระ สะท้อนให้เห็น อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคต  ผมมีความเชื่อว่า คนเราถ้าทำอะไร แล้วไม่มีอารมณ์ที่ดี หรือมีอารมณ์มากเกินไป นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์ ความสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ จะมีความสมดุลทางอารมณ์ได้ดี  นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เป็นบิดา มารดา ควรที่จะบริหารพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดแก่สมาชิกในองค์กร สถาบันที่ตนเองเป็นผู้นำ อย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถ้าปล่อยให้สมาชิกในองค์กร ไม่มีความสมดุลทางอารมณ์ จะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาได้



·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

ประโยคนี้น่าสนใจ ผมจับประเด็นได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งนาน ยิ่งเก่า ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม  ไม่เหมือนเครื่องจักร ยิ่งนานไปยิ่งเสียค่าเสื่อม ใช้งานไม่ค่อยได้ดีเรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความวิสัยทัศน์ ความสามารถของนักบริหาร หรือผู้นำเป็นอย่างมาก ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้คนเก่าแก่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้หรือไม่ 

 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  เท่ากับสร้างความสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

 

·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี

- วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว

- วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    

 

ประโยคนี้ ผมคิดว่า เป็นผลพวงจากการใช้ระบบทุนนิยม ในการบริหารสังคมโลก ทำให้เกิดผู้ได้เปรียบ ผู้เสียเปรียบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีการวัดความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นระยะ และควรมีมาตรฐานว่า ในแต่ละปัจจัยที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำนั้น ควรมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ เมื่อวัดออกมาแล้ว หัวข้อใดเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ควรมีสัญญาณเตือนภัย เรื่องพวกนี้ และมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขและปัองกันภัยแห่งความเหลื่อมล้ำของสังคม ไม่ให้เกิดภัยแก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ของโลก

 

เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 

 

 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ

- Head และ

- Heart  

 

ศ.ดร.จีระ มีงานได้รับเชิญไปสอนหลายแห่งมาก  ทั้งสถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน  อาจารย์มีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย  เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำ เมื่อมีความรู้ เมื่อมีโอกาส ก็เผื่อแผ่เมตตา กับผู้อื่น  ผมได้มีโอกาสเรียนและใกล้ชิดกับ ศ.ดร.จีระ ทำให้ทราบว่า นอกจากท่านมีความรู้ มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ เหมือน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ แล้ว ท่านยังมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ และให้โอกาส ให้ความรู้ กับศิษย์เสมอ

 

จากประโยคข้างต้น ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  

 

 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

 o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

 o       I ตัวที่ 2 เน้น    Imagination   เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย  

 

ข้อความนี้ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง แนวทางในการสอนเด็กของไทยเรา  ในอดีตเราสอนให้เด็กท่องจำ คนไหนท่องจำเก่ง คนนั้นคะแนนดี คนไหนคิดนอกกรอบ จะโดนข้อหาว่า นอกคอก ทำตัวไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ผลผลิตของโรงเรียน ได้นักเรียนที่จบการศึกษา  ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดในกรอบเท่านั้น และที่อันตรายมาก คือใครคิดไม่เหมือนตนเองคือคนไม่ดี ต้องขจัดออกไป พอโลกหรือสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอด ไม่มีความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาชาติ ใครคิดใหม่ ๆ จะถูกวิจารณ์อย่างมาก  ประเทศเราไม่สามารถพัฒนาไปได้รวดเร็วนัก

 

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งหนึ่งในชนบท  มีการจัดสถานที่ให้เด็กเล็กไว้เล่นคือมีสวนเด็กเล่น กั้นคอกไว้ ข้างในมีพื้นเป็นทราย และมีล้อยางรถเก่าอยู่ สี่ห้าเส้น ผมถามว่านั่นคืออะไร  ได้รับคำตอบว่าเด็กชอบเล่นทราย จึงทำไว้ให้เด็กเล่น  ของเล่นภายในไม่ได้เอื้อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นัก ปัญหามาจากผู้ใหญ่ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ กลายเป็นวัฐจักรแห่งความทางตันแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  ยังมีการสอนแบบนี้อยู่มาก  นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับบริหารการศึกษา การสอนเด็กนักเรียน  ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  

 

 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ให้ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายทั้งในระดับผู้ใหญ่ และเยาวชน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็กในโรงเรียน และถ้าจะลึกไปกว่านั้น ต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ด้วย 

  

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR Manager หรือผู้บริหารในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ถึงระดับลูกหลานพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล อย่างมียุทธศาสตร์ครับ

 


  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

     

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  

 

ยม  

น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.) 

ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สร้าง Ideas ใหม่ๆ[1] 
ฟุตบอลโลกใกล้จะปิดฉากแล้ว ผมไม่ค่อยเขียนถึง เพราะมีเรื่องอื่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สร้างความ ปลาบปลื้มให้แก่คนไทย 64 ล้านคน

เมื่อจบงานพระราชพิธีไปแล้ว การเมืองร้อนเริ่มตึงเครียดอีกแล้ว ต้องอดทน และติดตาม ศึกษาต่อไป
มีบทเรียนมากมายจากการกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่เราสามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานของเรา

สัปดาห์นี้ ผมจึงเลือกเสนอ Ideas ใหม่ๆ 2-3 เรื่องเท่านั้นว่า ควันหลงฟุตบอลโลกทิ้งอะไร เป็นบทเรียน
-
เรื่องทุนทางอารมณ์ใน 5 K's ของผม หรือ Emotional Capital เป็นจุดหักเหในความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง การ เล่น 10 คนของอังกฤษยังเกือบชนะโปรตุเกส
Rooney สมบูรณ์ทางร่างกาย หายจากบาดเจ็บทัน แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กระทืบเท้า ใส่คู่อริ แค่วินาทีเดียวก็ต้องโดนใบแดง การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว
 
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก วันนี้ฟุตบอลทีม ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

อีกเรื่องหนึ่งคือ การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ มีการพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกัน ระดับนานาชาติ ในระดับ APEC ในปีนี้และปีหน้าเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาด้วย

ในฐานะที่ผมดูแลเรื่อง APEC HRD จะต้องเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีความสุข ในภูมิภาค APEC มากขึ้น

ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart

Heart คือ Feeling ความรู้สึกมาจากใจ มี Heart อย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องมี Head ด้วย
Head
คือการมองเป้าหมาย การมีข้อมูล การมียุทธวิธี เข้าใจ การเงิน การตลาด การ แข่งขัน ที่ทำให้ Heart ไปสู่ความสำเร็จ

ถ้ามี Head แต่ไม่มี Heart ก็ไม่สำเร็จ ลูกศิษย์หลายคนบอกว่า วิศวกร มี Head มาก แต่ ไม่มี Heart เลย
ให้ดูตัวอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นวิศวกร แต่มี Heart ที่เห็นคุณค่าของคน ให้การทำงานของ Heart และ Head ไปด้วยกัน
ผมยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's

- I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการคิดสร้างสรรค์และนอกกรอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 95% เป็นอาจารย์ที่ลอกตำรามาสอน และบางครั้งไม่เคยฝึกวิธีการสอน ให้เด็กมีส่วนร่วม และ Apply กับความจริง

- ส่วน I ตัวที่ 2 ผมเน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า " Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ "

เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย

เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์ ปรากฏว่าให้เด็ก ส่ง Blog มาถึงผมว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้ นักเรียนสนใจส่ง Blog มากเกือบทุก คน และแสดงความตั้งใจ คิดเป็น ไม่ว่าคุณภาพของเด็กจะอ่อนอย่างไร ถ้าสนใจก็สามารถพัฒนา สมองได้

การสอนหนังสือยุคใหม่ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจ ซึ่งผมประทับใจมากที่เด็ก โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระหายจะได้ความรู้ และใน Blog ก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I's และทฤษฎี 2 R's ของผม  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร.
02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร
0-2273-0181  
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1.ได้อะไรจากการเรียน KM

KM คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีหลัก 3 ประการ คือ

1. acquired  คือ คนมีการแสวงหาความรู้และการพัฒนาความรู้อย่างไร

2. share คือ คนมีการถ่ายทอดความรู้อย่างไร

3.useful คือ ผู้ใช้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร 

ซึ่งหลักทั้ง 3 ประการ จะต้องยึดหลัก 2R's คือ Reality และ Relevance

2.เราจะนำวิทยาศาสตร์มาช่วยได้อย่างไร

1.ทางด้านคอมพิวเตอร์จะนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเป็น Tools เช่น E-commerce E-Education E-Banking  Database DSS และ ฯลฯ  เพื่อช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าของท้องถิ่น เช่น OTOP  SME  และช่วยให้มีโอกาสในการกระจายสินค้ามากขึ้น   มีการหมุนเวียนเศรษฐกิจดีขึ้น

2. มีการนำความรู้ทางด้าน GIS มาช่วยในการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ และวิเคราะห์ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม

3. มีการสร้างพื้นที่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับแสดงความคิดเห็น ในด้านต่างๆ

4. สามารถนำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาพัฒนาสารสนเทศที่แสดงให้เห็นถึงพิษภัยของการทำสงครามและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น

5.พยายามที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนจากสังคมผู้บริโภคไปสู่สังคมผู้ผลิต (One Person One Program :OPOP)

เรียน ดร.จิระที่เคารพ

         กับประเด็นที่ว่าจะกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และเรียนอย่างมีความสุขได้อย่างไรนั้น คุณครูของดิฉันสอนไว้ว่า "ความน่าเบื่อเป็นบาปของการสอน" ซึ่งคุณครูเองก็เป็นตัวอย่างของพ่อพิมพ์ที่ดีมาก อยากเก่ง และทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขได้เหมือนท่าน  รู้สึกดีใจที่อาจารย์กลับมากระตุ้นบรรยากาศ KM ที่มรชม.อีกครั้ง  ขอแสดงความคิดเห็นในฐานะผู้ปฏิบัตินะคะ  การที่จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้นั้น ดิฉันมีความเห็นว่าประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้เป็นเรื่องทีสำคัญมาก ครูก็เป็นสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา ดังนั้นต้องเริ่มที่ตัวครูก่อน คำถามจึงมีอยู่ว่า ครูเก่ง ดี และมีความสุขไหม อะไรบ้างที่จะเอื้อให้ครูเป็นเช่นนั้น นั่นก็คือวิธีคิดของครูกับระบบของมหาวิทยาลัย เช่น อาจารย์บอกว่าความรู้ต้องสด มหาวิทยาลัยก็ต้องเอื้อปัจจัยที่จะเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ประสิทธิภาพของระบบ IT ที่จะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น เพราะความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นเร็วมาก ยิ่งเราเข้าถึงข้อมูลได้เร็วเท่าใด เราก็จะมีเวลาในการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น เพื่อนำไปประยุกต์ในการจัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้หลากหลาย ทันสมัยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดิฉันไม่แปลกใจเลยที่อาจารย์บอกว่าใช้เวลาประมาณวันละ 3 ชั่วโมงในการเรียนรู้จาก Website แต่อาจารย์ทราบไหมว่าวันนี้ดิฉันเสียเวลากับการรอการ Download ข้อมูลนานมาก ดิฉันทราบว่าท่านอธิการก็พยายามแก้ปัญหานี้อยู่ เหมือนกัน และเชื่อว่าท่านจะทำได้ ตอนนี้ก็พยายามเข้าถึงความรู้โดยวิธีอื่นไปก่อนค่ะ  อีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์พูดแล้วสะกิดใจในวันนี้ก็คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือใต้ต้นโพธิ์ในป่า  อาจารย์เองก็เน้นว่าบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ ห้องพักครูไม่ต้องมีต้นโพธิ์ก็ได้ แต่เอื้อสภาวะเช่นนั้นให้เกิดในห้องพักครูได้ก็คงจะดีไม่น้อย  โจทย์ของอาจารย์ยังต้องตอบอีกหลายประเด็นค่ะ แต่เขียนมาเยอะแล้ว ขออ่านของคนอื่นบ้างดีกว่า

                                        ด้วยความเคารพอย่างสูง

                                                      (^_^) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท