คนไข้หลงทาง MK สุกี้ และองค์กรแห่งการเรียนรู้


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (19)

เหตุเกิดณ.โรงพยาบาลแถวโคราชครับ ลูกศิษย์ผมทำ AI Project ครับโดยบังเอิญก็ไปถามพยาบาลเพื่อนกันว่า เหตุการที่ชอบใจที่สุดเกี่ยวกับคนไข้คืออะไร เธอตอบว่า "ชอบคนไข้ตอนที่ไม่ถามจุกจิก เพราะคนไข้ชอบหลงทางค่ะ"  เราเลยคุยกันต่อครับว่าโรงพยาบาลแห่งนี้หลายครั้ง พยาบาลบ่นว่า เบื่อคนไข้เพราะคนไข้ชอบถามทาง เมื่อซักต่อลูกศิษย์ผมบอกว่า ห้องตรวจอยู่ข้างหลังค่ะคนไข้เลยสับสน วันๆพยาบาลเลยต้องตอบคำถามทิศทางคนไข้บ่อยๆ เอาละครับชักได้เรื่อง และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่พยาบาลหงุดหงิด ขณะเดียวกันคนไข้ก็บ่นว่าไม่ค่อยชอบพยาบาลบางคนเพราะขี้หงุดหงิดครับ

ถ้าผมมองปรากฏการนี้ก็จะเห็นชัดว่า คนไข้หลงทาง เลยต้องถามพยาบาล พยาบาลต้องตอบคำถามซ้ำๆบ่อยๆ เลยหงุดหงิด คนไข้จึงบ่น และหงุดหงิดตาม

Ok ตัดภาพกันมาแค่นี้ครับ ในที่สุด เราก็ทำแบบ Appreciative Inquiry ครับ คือ "ผมตั้งคำถามกับลูกศิษย์ว่า "เคยเจอโรงพยาบาลไหนที่เดินแล้วไม่หลง มีไหม" เขางงอยู่พักหนึ่ง ในที่สุดผมเลยบอกเรื่องที่คุณพ่อผมเล่าให้ฟังคือ "ตอนที่เขามาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น เขารู้สึกว่าโรงพยาบาลคนเยอะก็จริง แต่ก็ไม่เคยหลง เพราะเดินตามเส้นเหลือง เส้นแดง ถ้าหลงจะไปห้องน้ำ คนก็จะบอกว่าเดินตามเส้นเหลืองนี้ไปเรื่อยๆจะเจอเอง"  พ่อบอกว่าที่จังหวัดเขาโรงพยาบาลนี่ป่วนมาก หลงและงง

เขาฟังผมก็เลยบอกผมว่า โรงพยาบาลเขาไม่มีเส้นเหลือง แดง ตรงนี้น่าเอาไปทำที่โรงพยาบาลจัง เพราะน่าจะลดระยะเวลาในการให้คำอธิบายของพยาบาลให้กับคนไข้ได้มาก น่าจะลดความหงุดหงิดของทุกฝ่ายได้

ลองใช้แนวคิดนี้ดูครับ เวลาเจอปัญหาอะไร ลองมองหาที่ที่มันยุ่งเหยิงมากๆสิครับ บางทีเราจะเจอวิธีการจัดระบบที่เรานึกไม่ถึงก็ได้ครับ ไม่มีใครอยากทำงานแล้วสติแตกกับเรื่องไม่เหป็นเรื่องหรอกครับ จึงมีใครสักคน ในที่ไหนสักที่ ที่ยุ่งๆอยู่ที่เขาได้จัดระบบของตนเอง จนเขาอาจเป็นต้นแบบให้เราเรียนรู้ได้ครับ  

เท่าที่ผมเคยได้ยินมาครัวการบินไทยก็เคยไปดูงาน MK สุกี้มาแล้ว เพราะเราจะเห็นว่า ไปกิน MK เราจะเจอของสดจริงๆ MK จัดการเรื่อง "ความสด" ได้ดีที่สุดครับ ความสด จึงเป็นความยุ่งเหยิง ที่อุตสาหกรรมอาหารต้องจัดการให้ดีที่สุดครับ

กองทัพอากาศสหรัฐไปดูงานเรื่องระบบ Supply Chain ของห้าง Walmart (ประมาณ Lotus บ้านเรา) เพราะห้างนี้ว่ากันว่าทำได้ดีที่สุดในยุทธภพครับ

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 321387เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ครูอ้อย เคยเดิน ตามเส้นเหลือง และ เดินชนกับเจ้าหน้าที่ค่ะ เอิ๊กเอิ๊ก

ขอบคุณครับครูอ้อย หวัดดีปีใหม่ครับ

เรื่องง่ายๆ แต่แก้ปัญหาได้ดีครับ แต่อย่าไปชนเจ้าหน้าที่เหมือนใครบางคนนะครับ แฮ่ๆๆๆๆ

มุมคิดง่ายๆสะท้อนพลังทางปัญญาครับ...ชื่นชมครับอาจารย์โย

วิธีที่นำเสนอน่าสนค่ะ จะลองนำไปใช้ดูค่ะ สวัสดีปีใหม่ 2553 ล่วงหน้าก่อนนะคะ ขอให้สุขกายสบายใจค่ะ เพลงเพราะมากค่ะ

สวัสดีปีใหม่ทุกท่านเช่นกันครับ

เป็นไอเดียที่ดีครับ

ทำเส้นให้เขาเดินไปเลย แล้วก็บอก

"คุณป้าไปตามเส้นแดงทางนี้นะค่ะ"

เหมือนรถไฟฟ้า เลยครับอาจารย์

เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ง่าย ๆ แต่ใช้ได้นาน

ค่ะ ไอเดียนี้ จะเหมือนหรือแตกต่างยังไง

กับห้องเวชระเบียน

ห้องเจาะเลือด และห้องส่งแซมเปิ้ล (ตัวอย่าง) คะอาจารย์

ขนาดเขาเขียนป้ายบอกตัวโตๆ แล้วว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

j สังเกตว่า ส่วนใหญ่คนไข้ไทยบ้านก็ยังคงถามอยู่ทุกวัน

ไม่เห็นจะอ่าน หรือดูเลยอ่ะ งง

"มีใครสักคน ในที่ไหนสักที่ ที่ยุ่งๆอยู่ที่เขาได้จัดระบบของตนเอง

จนเขาอาจเป็นต้นแบบให้เราเรียนรู้ได้" เห็นด้วยค่ะ

ภ้าเราทุกคน คือใครสักคน คนนั้น

ต้องร้องว่าสุโค่ยครับ

MK and Wal Mart สุโค่ย

เยี่ยมค่ะ

ที่ไหนปัญหาเดิม ๆ มีให้ตามแก้ไม่จบไม่สิ้น อาจจะมีวิธีง่าย ๆ แบบเส้นผมบังภูเขาที่คาดไม่ถึงมาใช้แก้ปัญหาก็ได้

อย่างปัญหาการจดบันทึกของนักบินอวกาศ นาซ่าระดมนักวิทยาศาสตร์ให้ช่วยคิดหาวิธีบังคับการไหลของหมึกของปากกาในระบบสูญญากาศนานหลายปี หมดค่าค้นคว้าวิจัยไปตั้งมากมาย ก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้

อยู่มาวันหนึ่ง มีจดหมาย (คาดว่าน่าจะเป็น email) จากเด็กชายคนหนึ่งส่งมาว่า "ให้นักบินอวกาศใช้ดินสอสิครับ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท