ประวัติศาสนาพุทธ


มารู้จักศาสนาพุทธกันดีกว่า รายละเอียดมีดังนี้
 
 
ประวัติศาสนาพุทธ
 
...........พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ( พุทธศักราชเริ่ม ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้า เสด็จเข้าสู่ปรินิพาน) นับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งมีผู้นับถือ หลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ ต่าง ๆ ทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ผู้ให้ กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า ซี่งเป็นโอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนาง สิริมหามายา แห่ง กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งเวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ในสมัยที่ พระองค์ ยังไม่ได้ออกบวช มีพระนามว่าสิทธัตถะในขณะที่ยัง ทรง เป็นเด็กอยู่ก็ทรงศีกษาศิลปวิทยาการ ในสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก ด้วยกันจนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาการต่าง ๆ หลาย สาขา
 
            เมื่อพระสิทธัตถะมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราและมี โอรสองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายราหุล ชีวิตในฆราวาสวิสัยของพระองค์มีแต่ความสมหวัง ไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต่อมาเมื่อ มีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาก็ทรงเบื่อหน่ายโลก เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ของโลกและ ทรงหวังจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงได้ทรงสละความสุขนานาประการ สละ ลูกเมีย ญาติ พี่น้อง และมิตร สหายออกบวช เพื่อหาทางที่จะนำไปสู่ความพ้น ทุกข์ ทรงผนวชอยู่จนกระทั่งมีพระชนม์ ได้ ๓๕ พรรษา จึงได้ตรัสรู้คือรู้แจ้งในความจริงแห่งโลก เป็นพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า   
 ........... เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เสด็จเที่ยวแนะนำสั่งสอนประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ในอินเดียเพื่อ หาทางที่จะนำ ประชาชนไปสู่ ความ พ้นทุกข์อยู่เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ปรากฎว่าประชาชน ชาวอินเดียใน สมัยนั้นได้หันมานับถือ พระพุทธศาสนาและเข้ามา บรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าทรง สั่งสอนอยู่จนกระทั่งมี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา จึงปรินิพพาน
.............หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ก็ยังช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ พระเจ้า อโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏาลีบุตร่วมกับคณะสงฆ์ได้ส่ง พระสงฆ์ออกประกาศ พระพุทธศาสนา ทั้งภาย ในและ ภายนอกประเทศอินเดีย คณะสงฆ์สายหนึ่งได้ เข้ามายังสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขต ประเทศพม่าและไทยในปัจจุบันนี้ พระพุทธ- ศาสนาได้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนนี้ ตามลำดับ จนกระทั่ง ถึงสมัยสุโขทัย เป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติเรื่อยมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้แม้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยก็ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรง เป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัคร ศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรงนับถือ พระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็ พระราชทานความอุปถัมภ์ แก่ศาสนาอื่น ๆ ในเมืองไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนากับ ชนชาติไทย คลุกเคล้ากันมาเป็นเวลายาว นาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาติไทยก็ได้รับการหล่อหลอมจาก พระพุทธศานาทั้งสิ้น
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32100เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าจะมียาวกว่านี้

ชอบ...แต่อยากให้มีภาพการ์ตูนด้วยอ่านะ

มีน้อยเกินปายอานะ

ประวัติศาสดา พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ้งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงมีพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ้งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชกุลโกลิยวงศ์ แห่งกรุงเทวหะ เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติได้เสด็จกลับกรุงเทวหะแต่เมื่อขบวนเสด็จไปถึงสวนลุมพินี ซึ้งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวหะ พระนางก็ทรงประชวรพระครรภ์และประสูติพระราชโอรสข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

พระราชกุมารได้รับขนานพระนามว่า สิทธัตถะ (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์) ประสูติได้ 7 วันพระราชมารดาก็สวรรคต พระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระมาตุกา ได้รับเป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารแทน พระราชกุมารสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่างเท่าที่จำเป็นสำหัรบพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากพระครูวิศวามิตร เมื่อพระองค์อายุได้ 16 พรรษาก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตตาแห่งเทวหนครทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติแทนจึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่นทรงสร้างปราสาท 3 หลัง สำหรับประทับ 3 ฤดู และทรงอำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างให้ แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็ทรงมิได้หมกหมุ่นในความสุขเหล่านั้น เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับทรงคิดไว้ว่า ชีวิตทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นและวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนในที่สดพระองค์ก็ได้ตัดสินใจเสด็จออกผนวชในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง ทรงตัดพระเมาลีอธิฐานเพศบรรพชิตริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษาหลังพระราหุลประสูติได้เล็กน้อย

จากนั้นเสด็จไปยังแคว้นมคธ ศึกษาในสำนักอาฬาลดาบสและอุทกดาบสรามบุตรจนสิ้นความรู้ของอาจารย์จึงทรงลาอาจารย์ไปบำเพ็ญเพียรที่อุรุเวลวเสนานิคมในช่วงนั้นมีปัญจวัคคีย์มาคอยปฏิบัติอยู่ด้วย พระองค์ทรงทรมานพระวรกายในที่สุดทรงกระทำ ทุกรกิริยา ก็ทรงไม่สามารถบรรลุได้ จึงทรงหันมาบำเพ็ญเพัยรทางจิตจนเกิดพระปัญญาได้ตรัสรู้ความจริงอันสูงสุด เรียกว่า อริยสัจ4 คือ

1.ทุกข์ได้แก่ความทุกข์หรือปัญญาชีวิตทั้งหมด 2. สมุทัยได้แก่สาเหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา

3.นิโรธ ได้แก่ความดับทุกหรือการหมดปัญหา 4.มรรคได้แก่ทางดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา

พระองค์ทรงตัสรู้คาวมจริงอันประเสริฐนี้ในเวลาย่ำรุ่งของคืนวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษาพระ-องค์จึงทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธหรือพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ง ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปแสดงธรรมโปรดปัญจัคคีย์การแสดงธรรมครั้งแรกนี้เรียกว่า ธัมจักรกัปปวัคนสูตร ปัญจัคคีย์ได้ทรงขอผนวชในพระพุทธศาสนาต่อจากนี้ได้มีผู้เลื่อมเข้ามาบวชประพฟติตามอย่างพระอง์เคลื่อนที่ตามลำดับจนมีพระสงฆ์มากขึ้น และพระพุทธศาสนาหยั่งรากมั่นคงในแคว้นมคธ โดยพระบรมราชูปถัมป์ของพระเจ้าพิมพิสาร และในกาลต่อมาทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแคว้นโกศลของพระเจ้าปเสนที่โกศล เมื่อประดิษพระพุทธศานาแพร่หลายแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธ์ที่ป่าสาระ นอกกรุงกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละภาคเหนือของประเทศอินเดียเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็ทรงปรินิพพาน

วาระสุดท้ายแห่งพระชนชีพ

พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 อย่างคือ

1. ตอนเที่ยงทรงแก้ปัญหาเทวดาที่มาทูลถาม

2. ตอนใกล้รุ่งทรงสอดส่องพระญาณหาบุคลผู้มีอุปนิสัยที่พอจะช่วยเหลือได้

3. ตอนเช้าตรู่ทรงออกบิณฑบาต โดยโปรดสัตว์ตามที่ปรากฏในพระญาณของพระองค์

4. ตอนบ่ายทรงแสดงธรรมแด่ประชาชน

5. ตอนค่ำทรงแสดงธรรมแด่ภิกษุ

นอกจากนี้แล้วยังทรงบำเพ็ญจริยา 3 คือ

1. โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก

2. ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อพวกญาติ

3. พุทธัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า

ประวัติศาสนาพุทธ

...........พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ( พุทธศักราชเริ่ม ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้า เสด็จเข้าสู่ปรินิพาน) นับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งมีผู้นับถือ หลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ ต่าง ๆ ทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ผู้ให้ กำเนิดพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธเจ้า ซี่งเป็นโอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ และพระนาง สิริมหามายา แห่ง กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งเวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ในสมัยที่ พระองค์ ยังไม่ได้ออกบวช มีพระนามว่าสิทธัตถะในขณะที่ยัง ทรง เป็นเด็กอยู่ก็ทรงศีกษาศิลปวิทยาการ ในสำนักต่าง ๆ หลายสำนัก ด้วยกันจนเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาการต่าง ๆ หลาย สาขา

เมื่อพระสิทธัตถะมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราและมี โอรสองค์หนึ่ง คือ เจ้าชายราหุล ชีวิตในฆราวาสวิสัยของพระองค์มีแต่ความสมหวัง ไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต่อมาเมื่อ มีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาก็ทรงเบื่อหน่ายโลก เพราะทรงเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ของโลกและ ทรงหวังจะช่วยชาวโลกให้พ้นทุกข์ จึงได้ทรงสละความสุขนานาประการ สละ ลูกเมีย ญาติ พี่น้อง และมิตร สหายออกบวช เพื่อหาทางที่จะนำไปสู่ความพ้น ทุกข์ ทรงผนวชอยู่จนกระทั่งมีพระชนม์ ได้ ๓๕ พรรษา จึงได้ตรัสรู้คือรู้แจ้งในความจริงแห่งโลก เป็นพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า

........... เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เสด็จเที่ยวแนะนำสั่งสอนประชาชนในแคว้นต่าง ๆ ในอินเดียเพื่อ หาทางที่จะนำ ประชาชนไปสู่ ความ พ้นทุกข์อยู่เป็นเวลาถึง ๔๕ ปี ปรากฎว่าประชาชน ชาวอินเดียใน สมัยนั้นได้หันมานับถือ พระพุทธศาสนาและเข้ามา บรรพชา อุปสมบทเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าทรง สั่งสอนอยู่จนกระทั่งมี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา จึงปรินิพพาน

.............หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ก็ยังช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อมา จนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. ๓๐๐ พระเจ้า อโศกมหาราชแห่งเมืองปาฏาลีบุตร่วมกับคณะสงฆ์ได้ส่ง พระสงฆ์ออกประกาศ พระพุทธศาสนา ทั้งภาย ในและ ภายนอกประเทศอินเดีย คณะสงฆ์สายหนึ่งได้ เข้ามายังสุวรรณภูมิ อันได้แก่ดินแดนในเขต ประเทศพม่าและไทยในปัจจุบันนี้ พระพุทธ- ศาสนาได้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นในดินแดนนี้ ตามลำดับ จนกระทั่ง ถึงสมัยสุโขทัย เป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ทรงรับเอา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติไทย และเป็นศาสนาประจำชาติเรื่อยมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้แม้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยก็ตราไว้ว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรง เป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์เอกอัคร ศาสนูปถัมภก คือ แม้พระองค์จะทรงนับถือ พระพุทธศาสนา แต่พระองค์ก็ พระราชทานความอุปถัมภ์ แก่ศาสนาอื่น ๆ ในเมืองไทยด้วยเช่นกัน พระพุทธศาสนากับ ชนชาติไทย คลุกเคล้ากันมาเป็นเวลายาว นาน ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาติไทยก็ได้รับการหล่อหลอมจาก พระพุทธศานาทั้งสิ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท