การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์


การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ 

      

  1. 1.      ความจำเป็น ความสำคัญ และยุทธศาสตร์

       การบริหารและการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์  จำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารมืออาชีพ โดยมีภาวะผู้นำที่มีสมรรถนะในการบริหารการเปลี่ยนแปลงผู้นำ           ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของยุคโลกาภิวัตน์

                สมรรถนะภาวะผู้นำดังกล่าว ครอบคลุมหลายลักษณะ เช่น การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้  การจัดการความรู้ ภาวะผู้นำวิชาการ การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ การปรับระบบบริหารให้โปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นต้น

                ในการขับเคลื่อนองค์กรดังกล่าว สนธิ ลิ้มทองกุล (ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารมืออาชีพเพื่อแข่งขันในเวทีโลก, 2547.) ได้เสนอยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน 9 ประการ คือ

               1.  เรียนรู้เพื่อพึ่งตนเอง สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

2.  เปลี่ยนแปลงค่านิยม คุณวุฒิเพื่อสถานภาพ สู่คุณภาพการผลิต พัฒนาและบริการ

3.  กำหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ ประเมินโดยให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมด้วย

4.  สร้างศาสตร์สาขาวิชา และยุบวิชาที่ซ้ำซ้อนลงไป

5.  ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสื่อสารสนเทศทางการศึกษา

6.  สร้างมาตรฐานต่างระดับและมีดุลยภาพระหว่างมูลค่ากับคุณค่า

7.  ผนึกกำลังและมียุทธศาสตร์ร่วมในการจัดความร่วมมือ

8.  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของปัญหาและความสามารถพิเศษ

9.  ส่งเสริมและเชื่อมโยงเครือข่ายทางปัญญา เพื่อสร้างฐานและงานวิจัยเพื่อเพิ่มขีด

ความสามารถ

 

ดังนั้น คุณลักษณะเฉพาะของผู้บริหาร โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษา จำต้องมีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้

1.  เป็นผู้มีวิสัยทัศน์

2.  ตื่นตัวต่อโอกาส

3.  การใช้สัมผัสหลายส่วนในการค้นหาคำตอบที่เหมาะสม

4.  รักษาหรือส่งเสริมสร้างทัศนคติที่ดี

5.  หาโอกาสพูดคุยกับผู้ใช้สินค้าเมื่อเริ่มแรก

6.  แบ่งกลุ่มเล่นเกมส์

7.  เก็บบันทึกความคิดเห็นต่าง ๆ

8.  แสดงบทบาทเป็นนักสำรวจ

 

2.  ภาวะผู้นำในการบริหาร     

                การบริหารยุคโลกาภิวัตน์ จำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะหลายอย่าง จึงจะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่กำหนดไว้ การที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพจำต้องอาศัยรูปแบบภาวะผู้นำ และการเป็นผู้นำที่ดี

                ลักษณะผู้นำที่ดีมีหลายอย่าง ลักษณะหลักที่สำคัญ ได้แก่

                1.  การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน โดยให้ผู้ร่วมงานเข้าใจและปฏิบัติภารกิจจนประสบความสำเร็จ สามารถทำงานร่วมกันได้ผลดี สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ

                2.  การมีเหตุผลและอุดมการณ์กว้างไกล

                3.  การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยุติธรรม

       4.  การมีความอดทน น้ำอด น้ำทน อดกลั้น และกล้าเผชิญต่อเหตุการณ์

                5.  การมีไหวพริบ ใจกว้าง มีหลักธรรมประจำใจ

                6.  การตัดสินใจอย่างรอบคอบ ถูกต้อง และทันเวลา

                7.  การรู้จักใช้ขีดความสามารถขององค์กรและบุคคล

                8.  การมีความสามารถในการใช้ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง และ

                9.  การมีบุคลิกภาพดี

 

                ผู้บริหารจำต้องมีศักยภาพในการใช้ภาวะผู้นำอย่างเหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันของทุกคนในองค์กร สามารถสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนทุกคน เพ่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ สามารถใช้ศิลป์และกระบวนการของการมีอิทธิพลต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล และสามารถทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดศรัทธา มีความเชื่อถือ มีความเชื่อมั่น ในการปฏิบัติงาน ตลอดทั้งสามารถสร้างสภาวะแวดล้อม สนับสนุนให้ร่วมมือกันสร้างประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่

                สิปปนนท์  เกตุทัต  (ผู้นำ, สำนักพิมพ์มติชน)  ได้เสนอวิสัยทัศน์ผู้นำจะต้องมีทัศนกว้างไกลและสามารถทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับและยินดีร่วมปฏิบัติตาม ผู้นำควรมีหลักปรัชญา ดังนี้

                1.  ทำให้ว่าง จิตว่าง ไม่ยึดอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ไม่เอาผลประโยชน์โดยตรงต่อคนใดคนหนึ่งเข้าผูกพัน

                2.  ใช้สมอง

                      –  ปรีชาญาณ (Intellect) วิเคราะห์ให้กว้าง ให้รวบรวมทั้งผลดีและผลเสีย

                3.  ในการตัดสินใจต้องคำนึงถึงเรื่องที่กำลังพิจารณาและบริบทจังหวะเวลาโอกาส และความเสี่ยง มีสติตั้งมั่น ไม่กระทำในสิ่งที่รู้ว่าผิด

                4.  มองทิศทาง เป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้

                5.  เลือกคนเก่ง คนดีมาร่วมงาน จูงใจให้คนร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมปฏิบัติงาน

                6.  จัดโครงสร้างองค์กร กระบวนการเลือกคนให้เหมาะกับงาน คำนึงถึงค่าใช้จ่าย ระยะเวลา งบประมาณ และการปฏิบัติงานให้บรรลุผล

                7.  มอบและกระจายอำนาจการตัดสินใจ

                8.  ติดตามงานแต่ละขั้นตอน ประเมินผลโดยมุ่งหมายประโยชน์รวมเป็นหลัก

 

                เสม   พริ้งพวงแก้ว (ผู้นำ , สำนักพิมพ์มติชน)  เห็นว่าผู้นำควรเป็นคนสมบูรณ์แบบ สามารถนำหมู่ชนและสังคมสู่สันติสุข ความสามัคคี และความรุ่งเรืองในชีวิตและจำเป็นต้องมีธรรมะและคุณสมบัติ 7  ประการ  คือ

  1. รู้หลักและรู้จักเหตุ  อันประกอบด้วยหลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลาย มีความ

รับผิดชอบ

  1. รู้จักความมุ่งหมาย และรู้จักผล รู้ตำแหน่งหน้าที่
  2. รู้จักตน มีความรู้ มีคุณธรรมความสามารถ
  3. รู้จักประมาณความพอดีในการบริโภค  และการใช้จ่ายในการพูดและการปฏิบัติ
  4. รู้จักกาลหรือเวลาอันเหมาะสม เวลาไหนควรทำอะไร ควรทำอย่างไร และให้ตรงเวลา

และแผนตามเวลา               

                6.  รู้จักชุมชน การเข้าไปหาชุมชนตามระเบียบประเพณี  ระเบียบวินัย  วัฒนธรรมและความเชื่อถือของชุมชน

                7.  รู้จักบุคคล อัธยาศัย อุปนิสัย  ความสามารถ  และคุณธรรม

        สุเทพ  พงศ์ศรีวัฒน์  (ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพทางการศึกษา)  ได้ประมวลแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้ ดังนี้

                   อาจมาจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือมากกว่าจากสามปัจจัยที่คาบเกี่ยวกัน ได้แก่

                        1.  โดยการยกระดับความตระหนัก (Awareness)  และความรับรู้ (Consciousness) ของผู้ตาม ถึงความสำคัญและคุณค่าของผลงานที่ต้องการ ตลอดจนสามารถเห็นแนวทางที่จะทำให้สำเร็จได้

                        2.  โดยการทำให้ผู้ตามมองข้ามผลประโยชน์ส่วนตัว เพราะเห็นความสำคัญของประโยชน์ของทีมงานหรือองค์การโดยรวม

                        3.  โดยวิธีการเปลี่ยนระดับความต้องการด้านแรงจูงใจของผู้ตามใหม่  ด้วยการขยายกรอบของความต้องการดังกล่าวของผู้ตามให้กว้างยิ่งขึ้น

       2.  ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ  จึงประกอบด้วย

              1.  การเป็นตัวแบบอย่างของพฤติกรรม (Role Modeling)

                2.  การสร้างแรงดลใจ (Inspirational Motivation)

                3.  ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership)

                4.  การมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน (Individualized Consideration)                        

                5.  การกระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual Consideration)

                6.  การดำรงไว้ซึ่งอำนาจส่วนบุคคล (Maintaining a source of personal Power)

        3.  สิ่งที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงกระทำ ประกอบด้วย                                  

              1.  ทำงานอย่างมีจิตสำนึก ด้วยใจรักและมีความภาคภูมิใจต่องานที่ทำ

                2.  แสดงพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างในสิ่งต้องการกระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำ

                3.  ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างเสมอต้น เสมอปลายตลอดเวลา

                4.  คิดออกไปนอกกรอบของงานไปสู่อนาคต (คิดแบบหลุดโลก)

                5.  เสริมแรงและพยายามผลักดันให้วิสัยทัศน์สู่อนาคตอยู่ในกระแสของวงการ ตลอดเวลา

                6.  ใช้การสื่อสารทางวาจาอย่างมีประสิทธิภาพ

                7.  ไม่พูดไร้สาระหรือพูดซ้ำซากแต่ขาดความจริงใจ

                8.  ปรับระดับของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง

                9.  ปฏิสัมพันธ์เป็นรายบุคคล และพบปะพูดคุยแบบสองต่อสองกับผู้ร่วมงาน

                10.  พยายามศึกษาให้เข้าถึงบุคลิกภาพที่แท้จริงของผู้ร่วมงานรายคน

                11.  คิดหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าในการทำงานอยู่ตลอดเวลา

                12.  กระตุ้นคนอื่นให้คิดหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ

                13.  กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการริเริ่ม ทดลองใหม่ ๆ ขึ้นโดยไม่มีการตำหนิใครเมื่อการปฏิบัติงานดังกล่าวพบว่ามีความล้มเหลว

                14.  แสวงหาความคิดความช่วยเหลือจากผู้ตามพร้อมทั้งเต็มใจรับข้อมูลป้อนกลับจากผู้ตาม

                15.  เอาใจใส่แก้ปัญหาขั้นตอนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ทำให้งานล่าช้า (Red – Tape) และเป็นอุปสรรคอยู่ตลอดเวลา

                16.  คลุกคลีและปรากฏตัวอยู่ในที่ทำงานผู้ร่วมงานเป็นประจำ

การบริหารโรงเรียนจะก่อให้เกิดผลิตผล (Outcomes) จากการกระทำซึ่งพอสรุปได้ดังตาราง ต่อไปนี้

มีพฤติกรรมผู้นำ (Dimension)

ผลิตผล (Outcomes) ที่คาดหมาย

ด้านการกำหนดทิศทาง

ด้านผู้นำโดยเสน่หาขึ้นในโรงเรียน ซึ่ง

-  การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม

-  ได้รับการยอมรับนับถือสูง

-  การสร้างฉันทามติด้านเป้าหมาย

-  ได้รับความไว้วางใจ

-  การสร้างความคาดหวังสูงด้านการปฏิบัติงาน

-  เป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ

ด้านการพัฒนาบุคลากร

-  คนเป็นศูนย์กลางขององค์การ

-  ให้การสนับสนุนช่วยเหลือรายบุคคล

-  โครงสร้างและงานจะไร้ความหมายถ้าไม่ยึด

-  สร้างบรรยากาศกระตุ้นการใช้ปัญญา

ความสำคัญของคน

-  แสดงตัวแบบอย่างของการปฏิบัติและค่านิยม

 

สำคัญของโรงเรียน

 

ด้านการจัดระเบียบใหม่ของโรงเรียน

-  ความร่วมมือ ร่วมใจ เป็นหัวใจของการดำเนิน

-  การสร้างวัฒนธรรมของโรงเรียน

งานทั้งหลายของโรงเรียน

-  ริเริ่มและรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างและกระบวน

 

การที่เน้นการตัดสินร่วมกัน

 

-  สร้างสรรค์สัมพันธ์ของคนในองค์การและกับ

 

ชุมชน

 

 

        4.  จากแนวคิดของ Leithwood และคณะ พอสรุปว่าภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจำต้องขยายกรอบความคิดให้กว้างและลึก มากยิ่งขึ้น ดังตารางต่อไปนี้

มิติพฤติกรรมผู้นำ (Dimension)

ผลิตผล (Outcomes) ที่คาดหมาย

ด้านการแก้ไขปัญหา

เกิดประสิทธิผล ดังนี้

-  การเข้าใจปัญหา

-  สามารถแนะแนวทางแก้ปัญหา

-  การแก้ปัญหา

-  สามารถแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนได้อย่างต่อเนื่อง

 

-  สามารถแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปัญหาร่วมกัน

 

-  สามารถมองย้อนกลับถึงกระบวนการแก้

 

ปัญหา

 

 

 

 

มิติพฤติกรรมผู้นำ (Dimension)

ผลิตผล (Outcomes) ที่คาดหมาย

ด้านสนับสนุนภาวะผู้นำของครู

-  ภาวะผู้นำของครูใหญ่มีอิทธิพลกว่าภาวะผู้นำ

-  มีความรู้ ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ในความเป็น

ของคณะครูร่วมกัน

ผู้นำครู

-  ภาวะผู้นำของครูใหญ่มีความสำคัญมากต่อ

 

การปรับปรุงแผนงาน โครงสร้างโรงเรียนและ

 

องค์การ พันธกิจ โรงเรียน และวัฒนธรรมของ

 

โรงเรียน

 

-  สามารถคาดหมายให้ชัดเจนถึงความแตกต่าง

 

ของวิธีการใช้ภาวะผู้นำของครูใหญ่และครูใน

 

แง่รูปแบบและการมีผลที่กระทบต่อโรงเรียน

ด้านทำให้ครูผูกพันต่อการเปลี่ยนแปลง

สิ่งต่อไปนี้มีอิทธิพลให้ความผูกพันของครูสูง

เป้าหมายส่วนตัว

ขึ้น

-  ความเชื่อในขีดความสามารถ

-  การกำหนดทิศทางของผู้นำ

-  ความเชื่อในบริบทแวดล้อม

-  การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม

-  มีกระบวนการกระตุ้นด้านอารมณ์

-  การสร้างฉันทามติต่อเป้าหมายของโรงเรียน

 

-  การแสดงความคาดหวังของการปฏิบัติงานสูง

ด้านการสร้างเงื่อนไขให้ครูออกงานทางความรู้

-  ความเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่ง

และทักษะวิชาชีพ

ของภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพนั้น ยังไม่พบว่า

-  พัฒนาขีดความสามารถของครูรายบุคคล

มีผลโดยตรงต่อการปรับปรุงของโรงเรียนแต่

 

อย่างใด โดยครูมองเรื่องนี้ว่าไม่ใช่ประเด็นที่

 

เป็นสาระสำคัญ

 

-  การใช้เทคนิคการแลกเปลี่ยน (Transaction)  

 

เพื่อเป็นเครื่องมือจูงใจการทำงานของครู จึงยังมี

 

ความจำเป็นต้องใช้เพื่อสนับสนุนความเป็น ผู้นำ

 

แบบเปลี่ยนสภาพอยู่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มิติพฤติกรรมผู้นำ (Dimension)

ผลิตผล (Outcomes) ที่คาดหมาย

ด้านภาวะผู้นำสำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้

-  ภาวะผู้นำส่งผลอย่างสำคัญต่อการสร้าง

-  การเรียนรู้เป็นทีม

บรรยากาศและเงื่อนไขของทั้งการเรียนรู้เป็นทีม

-  การเรียนรู้ทั้งโรงเรียน

และการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน

 

-  ผู้นำสามารถเป็นทั้งสร้างโอกาสและเป็นผู้

 

กำหนดวิธีการที่จะทำเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยผ่าน

 

กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกำหนดพันธกิจ

 

วัฒนธรรมโครงสร้างและทรัพยากร

ด้านการรักษาดุลยภาพเชิงอารมณ์

-  ภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่  สามารถเป็นทั้ง

-  ช่วยป้องกันการเกิดภาวะเครียด และภาวะไฟ

ผู้สร้างภาวะไฟหมดเชื้อขึ้น และเป็นผู้บรรเทา

หมดเชื้อของครู

ภาวะดังกล่าวให้แก่ครู

 

-  ภาวะผู้นำส่งผลกระทบทางอ้อมต่อภาวะไฟ

 

หมดเชื้อของครู โดยผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ

 

ขององค์การภายใต้การใช้ภาวะผู้นำของครูใหญ่

 

3.  ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา

            ในการที่จะดำเนินการบริหารและจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาจำต้องมีภาวะผู้นำที่ดี และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต ทั้งนี้เพราะผู้บริหารดังกล่าวจะต้องมีภาวะผู้นำทางการศึกษา (ธีระ  รุญเจริญ,  2549)  ในเรื่องต่อไปนี้

  1. หลักการบริหารที่พึงประสงค์
  2. การบริหารฐานโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา
  3. การสร้างและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  4. การบริหารงานทั้ง 4 ด้าน การบริหารวิชาการ การบริหารบุคคล การบริหาร

การเงินและงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป              

        การบริหารดังกล่าว จำต้องอาศัย

  1. การใช้กระบวนการกลุ่ม
  2. การกระจายหน้าที่และความรับผิดชอบ
  3. การนำการเปลี่ยนแปลงที่ริเริ่มสร้างสรรค์และ
  4. การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหาร โดยมุ่งผลประโยชน์ของผู้เรียน

เป็นที่ตั้ง คือ บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์  จุดมุ่งหมาย และมาตรฐานคุณภาพ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ตั้งแต่           

  1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
  2. พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
  3. มาตรฐานการศึกษาของชาติ
  4. มาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพภายนอก
  5. มาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปฐมวัย

            กมล  สุดประเสริฐ (รายงานการสัมมนา  เรื่อง  ผู้นำทางการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์, 2545)  ได้ให้แนวคิดบางประการเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาของไทย ดังนี้      

1.  ผู้บริหารทั้งระดับบนและล่างต้องเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะผู้นำ                                                    

–        ความรู้  สติปัญญา คือ อำนาจ

–        บุคลิกภาพ เจตคติ และค่านิยมเป็นฐาน

–        พฤติกรรมภาวะผู้นำ การจัดการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารความเป็นผู้นำ

  1. 2.   ผู้นำในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ควรพิจารณาเกี่ยวกับ
    1. อำนาจและอิทธิพล
    2. สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ (วิสัยทัศน์)
    3. บุคลิกภาพ
    4. ค่านิยม และเจตคติ
    5. บุคลิกภาพของผู้นำ
    6. ทักษะความเป็นผู้นำ
    7. บารมี และรูปแบบภาวะผู้นำ
  2. 3.   ผู้นำสถานศึกษา ควรมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการศึกษาในเรื่อง
    1. การบริหารงานบุคคล
    2. การบริหารงานวิชาการ หลักสูตร การเรียน การสอน การประเมินผล การประกัน

คุณภาพ

  1. การบริหารงานการเงิน งบประมาณ
  2. การบริหารงานบริการนักเรียน
  3. การบริหารความสัมพันธ์โรงเรียนและชุมชน
  4. ระบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศ

 

4.  ทักษะภาวะผู้นำจำเป็นต่อการปฏิรูปการศึกษา

  1. การบริหารจัดการศึกษาต้องได้รับการพัฒนา
  2. การปฏิรูปการศึกษาจะกระทำได้ดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผู้บริหาร และ

คณะทำงานและผู้ใกล้ชิดที่เป็นเสาหลักของสถานศึกษาเอง

  1. 5.   สถานศึกษาคือหน่วยประกันคุณภาพ
    1. สถานศึกษาต้องรายงานให้สาธารณชน ทราบถึงคุณภาพของตนและรับผิดชอบที่

ตรวจสอบได้

  1. สาธารณชนต้องติดตาม ประเมินดูการปฏิบัติงานของสถานศึกษาและแสดงความ

คิดเห็น

        นงราม  เศรษฐพานิช (รายงานการสัมมนาผู้นำทางการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์  ซึ่ง

  1. เป็นยุคเศรษฐกิจและสังคม  ฐานความรู้
  2. มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. วัฒนธรรมไร้พรมแดน
  4. การผลิตเปลี่ยนจากผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ  เป็นการผลิตตรงตามความต้องการของ

ผู้ใช้เฉพาะที่จะต้อง :

  1. มีเป้าหมายอยู่ที่ผู้เรียน
  2. เน้นความสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้
  3. มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
  4. ไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขต
  5. ไม่ทำตัวเด่นคนเดียว
  6. เป็นผู้กล้านำการเปลี่ยนแปลง
  7. เห็นความสำคัญของชุมชน
  8. เป็นคนใฝ่รู้
  9. มีคุณธรรม และ
  10. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์

            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  โดย สุรศักดิ์  หลาบมาลา (2543)  ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผู้นำทางการศึกษาของอังกฤษเกี่ยวกับความรู้  การพัฒนาโรงเรียน ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

 

        ความรู้และความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

                    1.  ปัจจัยซึ่งมีส่วนสำคัญในการให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ลักษณะของโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ กลวิธีในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลวิธีการส่งเสริมจิตใจ ศีลธรรม การพัฒนาทางสังคม และพฤติกรรมอันดีของนักเรียน

                    2.  กลวิธีในการบรรลุเป้าหมายในการเรียนการสอนภาษา และคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ

                    3.  วิธีการประยุกต์ใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีการเรียนการสอนและการจัดการ

                    4.  วิธีการใช้ข้อมูลในการเปรียบเทียบ พร้อมกับนำข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนของนักเรียนในอดีตมาใช้เพื่อประโยชน์ในการกำหนดเป้าหมาย  และกำหนดเกณฑ์ที่จะต้องพัฒนานักเรียน

                    5.  ข้อบังคับและรูปแบบในการจัดทำและประเมินหลักสูตร

                    6.  วิธีการสอนและการประเมินการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งการใช้สารสนเทศเทคโนโลยีและการสื่อสาร

                    7.  อิทธิพลของการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  ศาสนา  และเทคโนโลยีที่มีต่อกลวิธีการวางแผนและการนำแผนของโรงเรียนไปปฏิบัติ

                    8.  รูปแบบภาวะผู้นำ  การนำภาวะผู้นำไปปฏิบัติและผลกระทบของภาวะผู้นำในบริบทต่าง ๆ ภายในโรงเรียน

                    9.  การจัดการและกฎหมายต่าง ๆ   เช่น  กฎหมายการจ้างงาน  กฎหมายเกี่ยวกับความเสมอภาคและการจ้างงาน  กฎหมายการบริหารงานบุคลากร  ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกโรงเรียน การเงินและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคม

                    10.  กรอบนโยบายระดับชาติ  และระเบียบอื่น ๆ ที่ออกตามนโยบายและหน้าที่ของกระทรวงการศึกษาและการจ้างงาน และหน่วยงานราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                    11.  กรอบนโยบายเกี่ยวกับกฎหมายของการศึกษา  ความสำคัญของกฎหมายการศึกษาที่มีต่อภาวะหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา  รวมทั้งกฎหมายการศึกษาที่ประกาศใช้ระหว่าง พ.ศ. 2494 – 2540  กฎหมายเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยและกฎหมายเกี่ยวกับเยาวชน

                    12.  การนำข้อมูลและข่าวสารจากสำนักงานการศึกษาท้องถิ่น  กระทรวงศึกษาและการจ้างงานหน่วยงานทางราชการ และสมาคมต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในโรงเรียน

                    13.  การบริหารการศึกษาระดับประเทศ  ระดับท้องถิ่นและระดับโรงเรียน

                    14.  นำหลักฐานจากการตรวจการและการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาวิชาชีพ และการพัฒนาโรงเรียน

                    15.  กลวิธีในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับหน้าที่  โอกาสภาระรับผิดชอบ และสิทธิของประชาชน

                    16.  กลวิธีในการสอนนักเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

            1.  ผู้บริหารสถานศึกษาควรจะสามารถใช้รูปแบบภาวะผู้นำ  ในการนำบุคลากรในโรงเรียนและสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อ

                    1.  สร้าง  และมีพันธะสัญญาต่อวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนเพื่อประสิทธิภาพของโรงเรียน

                    2.  ริเริ่มและจัดการการเปลี่ยนแปลง  และการปรับปรุงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้แล้ว

                    3.  จัดลำดับความสำคัญของงาน ของแผนและขององค์การ

                    4.  ควบคุมและประสานการปฏิบัติงานของบุคลากร

                    5.  สร้าง สนับสนุนและทำงานร่วมกับทีมงานให้มีผลงานสูง

                    6.  ทำงานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน

                    7.  มอบหมายความรับผิดชอบ  มอบหมายงาน  และติดตามการปฏิบัติงานเพื่อให้งานทุกส่วนดำเนินการไปด้วยดี

                    8.  กระตุ้นและจูงใจนักเรียน บุคลากร ผู้ปกครอง กรรมการโรงเรียนและชุมชนในวงกว้าง

                    9.  กำหนดมาตรฐานและปฏิบัติตนเป็นตัวแบบแก่นักเรียนและบุคลากร

                    10.  เสาะหาคำแนะนำและการสนับสนุนเมื่อมีความจำเป็น

                    11.  ปฏิบัติตนต่อคนทั่วไปอย่างมีจิตสำนึกและแก้ไขความขัดแย้งต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

            2.  ผู้บริหารสถานศึกษา  ควรมีความรอบรู้ในวิชาชีพและความเชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

                    1.  ได้รับการเคารพนับถือในการปฏิบัติหน้าที่ และสามารถโน้มนำบุคคลอื่นได้

                    2.  ให้ทิศทางในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพแก่บุคลากร

                    3.  ใช้ประโยชน์จากรายงานการตรวจสอบและผลการวิจัย

                    4.  นำการปฏิบัติที่ดีจากภาคอื่นและองค์การอื่นมาปรับใช้กับโรงเรียนของตน

            ทักษะการตัดสินใจ  คือ  ความสามารถในการสืบสวนการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ผู้บร

หมายเลขบันทึก: 320951เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

ดีมากเลยทำอย่างนี้ต่อไปนะคับ

เนื้อหาน่ารู้มากนะค่ะ

เป็นแนวทางที่ดีค่ะ (ปนัดดา)

เป็นการศึกษาอีกทางหนึ่งน่าสนใจมาก(ปนัดดา)

เป็นการศึกษาอีกทางหนึ่งน่าสนใจมาก จะแวะมาดูบ่อยๆ นะค่ะ

เป็นการศึกษาเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้เพิ่มเติม

สวัสดีค่ะมาทักทายและ เข้ามาอ่าน การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่ะ เนื้อหา ok น่ะค่ะ

นางสาวอุไรพร ยุพเรส

สวัสดีค่ะอาจารย์เข้ามาทักทายและก็เข้ามาอ่านแล้วนะค่ะมีเนื้อหาดีและเป็นความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง

กฤติยาภรณ์ แก้วเรือง

สวัสดีค่ะอาจารย์เข้ามาทักทาย แล้วได้อ่านเนื้อหาการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ รูปแบบเนื้อหาดีค่ะ

นางสาวอรวรรณ บุญอำนวย

สวัสดีค่ะเนื้อหาดีมากค่ะ

นางสาวเปี่ยมพร เสียวสุข

สวัสดีค่ะอาจารย์ได้เข้ามาดูแล้วค่ะเนื้อหาในเรื่องนี้ ก็ ok ดีค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์เข้ามาทักทาย อ่านเนี้อหาเเล้วสุดยอดค่ะ

ทักทายค่า

เนื้อหาดีมาก น่าศึกษาเลยทีเดียว

นางสาวสมฤดี พิมพ์ท่าโพธิ์

สวัสดีค่ะอาจารย์ อ่านแล้วให้ความรู้เพิ่มเติม เนื้อหาดีค่ะ

สวัสดี เนื้อหาดีค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ รูปแบบเนื้อหาดีมากๆๆๆ ค่ะ (very good)

สวัสดีค่ะได้อ่านเนื้อหาของอาจารย์แล้วก็ดีค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เนื้อหาดีมากค่ะ รูปแบบก็สวยงาม

เนื้อหาเยอะ สาระดี เหมาะแก่การเรียนการสอนมากเลยค่ะ

เนื้อหาเยอะ สาระดี เหมาะแก่การเรียนการสอนมากเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ อ่านเนื้อหาแล้วมีความรู้มากและจะนำไปใช้ประโยชน์ค่ะ

สวัสดีค่ะ ได้อ่านแล้วก็น่าสนใจดีค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เนื้อหาต่างๆ ที่แสดงในเว็บน่าสนใจ และมีประโยชน์โดยตรงในเฉพาะด้านค่ะ

นางสาว เกษร หอมสาย 3/2คอม

ได้อ่านแล้วเป็นเนื้อหาที่ดีมากค่ะ เหมาะสำหรับการเรียนการสอน

เป็นเนื้อหาที่ดีมากค่ะ

ได้อ่านแล้วเป็นเนื้อหาที่ดีมากค่ะ  เหมาะแก่การเรียนการสอน

เป็นเนื้อหาที่ดีอีกอย่างหนึ่งที่น่าศึกษามาก

มนตรี สุทธิเมธากุล

ก็โอเคครับ

เป็นเนื้อหาที่ดีมากค่ะ

เป็นแนวทางที่ดีค่ะ

ได้อ่านแล้วเป็นเนื้อหาที่ดีมาก เหมาะสำหรับการเรียนการสอนเป็นอย่างมากค่ะ

ได้อ่านแล้วเนื้อหาดีมาก สมกับอาจารย์คนเก่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท