การกำหนดค่า PZSE และ Zigma p


ผมเคยกล่าวไว้ว่า การคำรวณหาค่า PZSE กับ zigma p สามารถทำได้โดยการสร้างเส้นกราฟใน excel แล้วหาจุดตัดกันระหว่างเส้นกราฟทั้งสองเส้น  ดังภาพด้านล่างครับ

อย่างไรก็ตามบ้างครั้งเราไม่สามารถกำหนดจุดตัดกันที่แน่นอนระหว่างเส้นกราฟสองเส้นได้ อาจเป็นเพราะ

  • มีจุดตัดกันมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง
  • ตำแหน่งที่กราฟทั้งสองเส้นตัดกันไม่ชัดเจน เพราะกราฟทั้งสองเส้นซ้อนทับกัน ณ จุดที่ตัดกัน

กรณีดังกล่าว เป็นผลให้เราไม่สามารถกำหนดค่า PZSE และค่า Zigma p ที่แน่นอนได้

  • ดังนั้นเราจำเป็นต้องสร้างเส้นกราฟเพื่อคำนวณหาค่า PZSE ด้วยอีกวิธีหนึ่ง
  • โดยการคำนวณจากค่าความต่างกันของ pH2 - pH1 แล้วมาสร้างเส้นกราฟ กับแกนของค่า pH1 จุดตัดกันระหว่างเส้นกราฟ กับแกน pH1 คือค่า PZSE ด้งภาพด้านล่างครับ 

สำหรับการสร้างเส้นแนวโน้มของชุดข้อมูลนี้ เราอาจวาดด้วยมือ โดยใช้ไม้บรรทัดกระดูกงู

หรือใช้ซอฟต์แวร์สร้างเส้นกราฟก็ได้ครับ โดยทั่วไป ผมใช้วิธี polynomial power 3 ครับ เนื่องจากมีความเข้ากันได้กับการกระจายตัวของชุดข้อมูลได้ดี

  • แต่ในบางกรณีอาจพบว่า เราไม่สามารถกำหนดค่า PZSE ของดินบางอย่างได้ เนื่องจากเส้นกราฟไม่ตัดกับ แกน pH1 (ดังภาพข้างล่างครับ) ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ถ้าเป็นดินชั้นบน ก็ถูกรบกวนจากสภาพของอินทรีย์วัตถุในดิน และการจัดการพื้นที่ เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี หรือการเผาพื้นที่   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปรากฏการณ์แบบนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทั่วไป

 

  • ดังได้กล่าวมาแล้ว   ในหลายกรณีจะพบว่า เส้นกราฟทั้งสองเส้นตัดกันมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง ดังภาพข้างล่างครับ ในกรณีเช่นนี้ เราจะเลือกจุดตัด ณ ตำแหน่ง ที่ค่าของแกน pH 1 เท่ากับค่า  PZSE ที่ได้จากการสร้างกราฟ PZSE ด้วยมือ ดังภาพข้างบน (ค่อนข้างสับสนน่ะครับ ไว้ผมจะกลับมาแก้ไข คำอธิบายใหม่)
  •  

ปล. ต้องขออภัยครับ ถ้าคำอธิบายไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร่  เพราะผมเองไม่สามารถใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมในการอธิยายนะครับ และก็ไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้มากนัก

หมายเลขบันทึก: 32087เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นที่น่าสังเกตว่า ดินบางแห่งไม่สามารถกำหนดค่า PZSE ได้ เช่น ดินที่อุดมสมบูรณ์ภายใต้ป่าไผ่อายุประมาณ สิบปี หรือดินบางพื้นที่ที่ถูกรบกวนจากการถางเผา  ซึ่งอาจจากสาเหตุดังข้อความข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นเพียงข้อสมมติฐานเท่านั้น  ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงๆด้ 

Notably after burning, irregular ash input causes the increase in the concentrations of both cations and anions. This salt titration methods could not give enough change in salt concentration, and therefore, PZSE value could not be determined at some study sites as shown in Table 6.

 

Table 6 not shown  (why not?)

ไม่ได้เก็บตัวอย่างพืชปกคลุมดินก่อนเผา ตัวอย่างเถ้าถ่านจากการถางเผา และตัวอย่างพืชที่ได้จากการเก็บเกี่ยว  แบบนี้คงไม่สามารถคำนวณหา nutrient dynamic ได้แน่ครับ

เป็นเพราะขาดแคลนความรู้ด้านนี้และทำการบ้านมาไม่ดีพอในช่วงเขียนโครงร่างงานวิจัยนี่เอง  ดังนั้นงานวิจัยครั้งต่อไปจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ให้เพียงพอและปรึกษาผู้ที่ทำงานวิจัยด้านนี้มาก่อน ในตอนเริ่มต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท