นโยบายกองทุนหมู่บ้าน


นโยบายกองทุนหมู่บ้านมีรายละเอียดที่น่าศึกษาดังนี้

นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นนโยบายของรัฐบาลซึ่งมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านการเรียนรู้การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่มและการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง

โดยรัฐบาลจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองกองทุนละ ๑ ล้านบาทพร้อมเสริมสร้างและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบบริหารจัดการเงินกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองกันเอง

ปรัชญา

๑.เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น

๒. ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง

๓. เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน

๔. เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนราชการ เอกชน และประชาสังคม

๕. กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน

วัตถุประสงค์

๑. เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้การลดรายจ่ายการบรรเทาเหตุฉุกเฉินและความจำเป็นเร่งด่วนและสำหรับการนำไปสู่การสร้างกองทุนสวัสดิภาพที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน

๒.ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง

๓.เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการเรียนรู้การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง

๔. กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศรวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต

๕.เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

หลักการจัดสรรเงิน

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีหลักการในการจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองดังนี้

๑. ความพร้อม ความสนใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

๒. ความพร้อมของคณะกรรมการกองทุนที่เน้นความพร้อมของบุคคลทั้งในด้านความรู้และประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุน

๓.ความพร้อมของระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนโดยสมาชิก

๔. ความพร้อมของการบริหารจัดการที่สอดรับและเกื้อกูลกันระหว่างกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองกับกองทุนอื่น ๆที่หน่วยงานราชการจัดตั้งขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

เตรียมความพร้อมอย่างไร

ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองจะต้องร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามขั้นตอน ดังนี้

๑. สร้างจิตสำนึกและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

o สร้างจิตสำนึกร่วมกันของประชาชนในการเป็นเจ้าของกองทุนที่จะต้องร่วมกันบริหารจัดการโดยประชาชนเพื่อประชาชนของหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

o สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้ทราบนโยบาย กลไกแนวทางการบริหารจัดการกองทุนของตนเอง

oสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการและบริหารจัดการกองทุน เริ่มจากร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำร่วมติดตามตรวจสอบ ร่วมรับผลประโยชน์ตลอดจนร่วมสร้างกองทุนไปสู่ความยั่งยืนต่อไป

๒.เลือกสรรคนดีเป็นกรรมการกองทุน

จัดเวทีชาวบ้าน เพื่อเลือกสรรคณะกรรมการกองทุนจำนวน๑๕ คน ตามระเบียบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติดังนี้

o องค์ประชุมของเวทีชาวบ้านคือจำนวนสามในสี่ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดของหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

oร่วมกันกำหนดวิธีการและดำเนินการเลือกกันเอง

o เลือกคณะกรรมการกองทุนในช่วงระเวลาที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกำหนด

o เลือกคนดีมีความรู้ ประสบการณ์อีกทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด

คุณสมบัติคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

ประชาชนร่วมกันคัดเลือกคนดีและมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นคณะกรรมการกองทุนเพื่อบริหารกองทุนของประชาชน

oเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านหรือชุมชนมาไม่น้อยกว่า ๒ ปี

o เป็นผู้มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์

o เป็นผู้ปฏิบัติตนอยู่ในหลักศาสนามีความรับผิดชอบเสียสละ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้านและชุมชนเมืองไม่ติดการพนัน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดไม่มีประวัติเสียด้านการเงินและยึดมั่นระบอบประชาธิปไตย

o ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถ

o ไม่เคยรับโทษจำคุกเว้นแต่โทษที่กระทำโดยประมาท

oไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือไม่เคยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์เว้นแต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และความผิดฐานบุกรุก

o ไม่เคยถูกไล่ออกหรือให้ออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

oไม่เป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง

o ไม่เคยถูกให้ออกจากคณะกรรมการกองทุนด้วยมติของคณะกรรมการหรือมติของสมาชิก

๓.จัดทำระเบียบข้อบังคับ

เมื่อดำเนินการเลือกคณะกรรมการกองทุนแล้วคณะกรรมการกองทุน และประชาชนร่วมกันจัดทำระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารกองทุน (กติกา)กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองตนเอง โดยมีแนวทางดังนี้

oประเด็นที่ต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดคือ

- วงเงินกู้ยืมรายหนึ่งไม่เกินสองหมื่นบาทหากเกินต้องให้สมาชิกพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดแต่รายหนึ่งต้องไม่เกินห้าหมื่นบาท

- ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกินหนึ่งปี

o ประเด็นอื่น ๆคณะกรรมการกองทุนโดยความเห็นของของสมาชิกเป็นผู้กำหนด

๔.การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

เมื่อจัดทำระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการกองทุนแล้ว คณะกรรมการกองทุน (กติกา)และสมาชิกจะต้องร่วมกันดำเนินการตามกติกาที่วางไว้ เช่น

- การรับสมาชิก

- การระดมทุน

- การจัดทำระบบบัญชี

- การจัดระบบตรวจสอบ

- การมอบหมายภารกิจความรับผิดชอบกรรมการ

- อื่น ๆ

๕.การขอรับการจัดสรรเงินจากรัฐบาล

เมื่อกองทุนได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนเรียบร้อยแล้วสามารถขอรับการจัดสรรเงินจากคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติโดยมีขั้นตอนดังนี้

๕.๑การขอขึ้นทะเบียนกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

- จัดทำแบบขอขึ้นทะเบียนตามแบบ กทบ. ๒ ซึ่งขอรับแบบกทบ. ๒ จากคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ

- ยื่นแบบคำขอขึ้นทะเบียนกับธนาคารออมสินหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ ระเบียบ ข้อบังคับของกองทุน

- เปิดบัญชีกับธนาคาร

๕.๒ การประเมินความพร้อมกองทุน

- การคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน

- คุณสมบัติของคณะกรรมการกองทุน

- ความรู้ ประสบการณ์และความมั่นใจการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุน

- ระเบียบข้อบังคับในการดำเนินการกองทุน

- การมีส่วนร่วมของชาวบ้านหรือสมาชิกในการจัดการกองทุน

- การปฏิบัติของสมาชิกตามระเบียบและข้อบังคับของกองทุน

- การเปิดบัญชีเงินฝากของกองทุน

๕.๓ รับเงินจัดสรร

เมื่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติอนุมัติเงินจัดสรรตามผลการประเมินความพร้อมแล้วจะแจ้งให้กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองทราบเมื่อกองทุนได้รับแล้วให้ติดต่อธนาคารเพื่อทำหลักฐานการรับเงินจัดสรรโดยมีเอกสารดังต่อไปนี้

- สมุดบัญชีเงินฝากของกองทุน

- มติที่ประชุมซึ่งเห็นชอบและมอบหมายให้คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้มีอำนาจในการทำนิติกรรมสัญญากับธนาคารไปแสดงต่อธนาคารฯและมติดังกล่าวต้องให้ประธานกรรมการของกองทุนลงนามกำกับและรับรองสำเนาครบทุกหน้า

-บัตรประจำตัวประชาชนของคณะกรรมการกองทุน

๖. ทำอย่างไรเมื่อไม่ผ่านการประเมินความพร้อม

กองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองใดที่ได้รับแจ้งว่าไม่ผ่านการประเมินความพร้อมให้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเรื่องต่าง ๆตามที่ได้รับแจ้งผลการประเมินความพร้อมโดยมีแนวทางและวิธีการดังนี้

๖.๑ แนวทางการเตรียมความพร้อม

คณะกรรมการกองทุนร่วมกับสมาชิกเตรียมความพร้อมตามแนวทางดังนี้

-โดยร่วมมือและช่วยเหลือกันเองในหมู่บ้าน

-ขอความช่วยเหลือจากกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองที่ผ่านการประเมินความพร้อมแล้ว

-ขอความช่วยเหลือจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดและอำเภอ

- การผสมผสานกันทั้ง ๓ แนวทาง

๖.๒ วิธีการเตรียมความพร้อม

คณะกรรมการกองทุนดำเนินการเพื่อให้เกิดความพร้อมด้วยวิธีดังนี้

-สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่บ้านหรือชุมชนโดยการใช้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนอื่นที่ผ่านการประเมินความพร้อมแล้วเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

-การสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการและการจัดการแก่คณะกรรมการกองทุนและสมาชิกจากอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดและอำเภอ

๖.๓ ทำอย่างไรเมื่อมีความพร้อมแล้ว

- เมื่อกองทุนมีความพร้อมคณะกรรมการกองทุนแจ้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอเพื่อมาติดตามตรวจสอบและรายงานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด

- คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจะโอนเงินเข้ากองทุนเมื่อได้รับรายงานจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด

ความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมือง

กองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองจะประสบผลสำเร็จได้หากมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

-ชาวบ้านมีจิตสำนึกร่วมกันในการเป็นเจ้าของกองทุน

-ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเองรวมทั้งเคารพในกติกาที่กำหนดร่วมกัน

- มีคณะกรรมการกองทุนที่เป็นคนดี มีความรู้ประสบการณ์ เสียสละ และรับผิดชอบ

-มีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งการเรียนรู้ร่วมกัน คิดร่วมกันทำร่วมกัน ติดตามตรวจสอบร่วมกัน และรับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม

- มีความสามัคคี ความเอื้ออาทรเกื้อกูลผู้ด้อยโอกาส

-มีการประสานความร่วมมือทั้งในด้านการเรียนรู้และกิจกรรมร่วมกันในลักษณะเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง

หากประชาชน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนหรือผู้สนใจต้องการข้อมูล มีข้อสงสัย เสนอความคิดเห็นตลอดจนความต้องการในการสนับสนุนด้านวิชาการและการจัดการสามารถติดต่อสอบถามได้จาก

- คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ

- คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด

สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ที่อยู่ ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิตกรุงเทพฯ 10300

โทรศัพท์ ๐๒-๒๘๐๐๕๐๐-๔

โทรสาร ๐๒-๒๘๐๓๔๐๙

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32073เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2006 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2018 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เดี๋ยวนี้ทักษิน ไปยุ เขมรแล้วม่ใช่หราคะ

ถ้ากู้เงินกองทุนมาแล้ว และปีหน้าจะไม่กู้แล้วจะต้องทำอย่างไร หรือมีการผ่อนชำระขั้นต่ำเท่าไหร่

  • กรุณามาตรวจสอบกองทุนเงินล้านที่บ้านหางว่าหมู่4ตำบลทุ่มอำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษด่วนๆคะชาวบ้านเดือด
  • ร้อน

ช่วยมาตรวจสอบเงินล้านแรกด้วยค่ะ กรรมการมีการกู้ยืมเองเป็นแสน 2-5 ปี ดอกเรียกเก็บที่ได้มาจากสมาชิกก็ไม่มีปันผนให้กับสมาชิกที่มีหุ้นเลย บอกเงินต้นเรียกเก็บไม่ได้ ดอกเบี้ยที่เก็บได้ธนาคารออมสินยึดหมด ตรวจสอบได้ที่หมู่บ้านสงเปลือย ตำบลเสอเพลอ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 42370

ชุมชนน้ำยืน อำเภอน้ำยืน

อยากทราบว่าการกู้เงิน กทบ.มีการบังคับให้สมาชิกต้องสมัครเข้าสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์หรือไม่ครับ

ดิฉันได้กู้เงินกลองทุนหมู่บ้าน มา 20,000 บาท พอดิฉันยุบ้านได้ปีกว่าก็มีเหตุจำเปนที่ต้องขึ้นมากรุงเทพ พอถึงกำหนดเวลาที่ต้องใช้ดอก 1600 บาทต่อปี ดิฉันก็โอนเงินไปให้แม่ที่บ้านนอกเพื่อเอาไปจ่าย. แต่ตัวดิฉันยังติดธุระและขัดสนเรื่องเงินพอดีจึงยังไม่สามารถลงไปทำสัญญาได้แต่ดิฉันก็ลงไปทันนะคะพอดิฉันไป20 พ.ย 61 ถึงกรรมการก็ตัดสิ้นว่าไม่ให้ดิฉันกู้ด้วยเหตุว่า ดิฉันไม่ได้ยุบ้านเปนหลักแหล่งจึงไม่มั่นใจว่าดิฉันจะใช้หนี้หรือป่าวแล้วเย็นวัน ที่ 20 พ.ย 61 กรรมการให้ดิฉันหาเงิน21,000 บาทมาจ่ายให้ได้ภายในวันที่21 พ.ย61. ไม่งั้นผู้ค่ำประกันจะต้องเปนคนรับผิดชอบเอาเงินมาจ่ายแทนดิฉันข้อร้องว่าให้ดิฉันกู้เถอะดิฉันไม่มีเงินหรอจะไปหามาจ่ากไหนมันกะทันหันเกินไปกรรมการบอกว่าไม่รุ้ แต่ต้องหามาให้ได้ไปยืมใครมาก็ได้แต่ต้องใช้เงินสด ดิฉันไม่เข้าใจคะ คำว่าเงินกู้ผู้ดอยโอการ แต่ดุเหมือนว่ากรรมการจะเลือกเองตัดสินเอาฉันว่าใครควนกู้ได้ วันนั้นดิฉันจนปัญญาหาไม่ได้พี่เชื่อไหมกรรมการ กับคนค่ำประกันให้ดิฉันพาผู้ใหญ่บ้านมาทวงเอาเงินกับแม่ดิฉันแม่ดิฉันตาบอดด้วยคะ บังคับให้แม่ดิฉันกู้เงินดอกร้อยละ3. เพื่อที่กรรมการจะได้เงินอย่างที่ต้องการ ดิฉันสงสารแม่ดิฉันมากทำไมต้องทำถึงขนาดนี้แค่ดิฉันมาช้านิดเดียวก็ตัดสิทร์ไม่ให้ติฉันกูแถ มยังบังคับเอาเงินสดอีกคะนี้หรือเงินช่วยผู้ด้อยโอกาส แล้วกรรมการแต่ละคนไม่มีใครเหนใจเราเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท