การใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส


ในสังคมปัจจุบันหากท่านพิจารณาดีๆก็จะพบเห็นว่ามีบางเหตุการณ์ที่มีบางท่านกำลังพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มีบุคคลในวงการสีกากีที่มีปัญหาการทำร้ายร่างกายอาม่าบน สน. ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นวิกฤตของวงการสีกากี แต่ก็ยังมีนายตำรวจบางท่านมองเห็นโอกาส จึงออกมาเยี่ยมอาม่า และแสดงความเห็นใจอาม่า ทำให้สังคมมองไปอีกมุมหนึ่ง เห็นหรือยังครับว่าการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสมีได้ทุกที่ครับ

กลับมาอีกครั้งตามคำมั่นครับ

(ผมตั้งใจว่าจะพยายามแบ่งปันประสบการณ์ทุกวันอังคารครับ)

 

การใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส

ก่อนอื่นผมขออธิบายคำว่า วิกฤติการณ์  (อ่านว่า  วิ-กริด-ติ-กาน)   หรือบางท่านอาจเขียนว่า วิกฤตการณ์ (อ่านว่า  วิ-กริด-ตะ-กาน) สามารถเขียนได้ทั้งสองแบบ (ในฐานะทนายขอยืนยันว่าไม่ผิดกฎหมายครับ แฮ..) ซึ่งมีความหมายว่า การแปรเปลี่ยนจากเดิม  การณ์อันคับขัน  ภาวะอันคับขันยิ่ง ซึ่งคำว่า วิกฤติ หรือ วิกฤต ตรงกับภาษาอังกฤษว่า    CRISIS คำนี้หลายท่านคงจำได้ ชาวโลกเคยนำเอาต้มยำชนิดหนึ่งของไทยเราไปรวมเรียกด้วยกัน จนเป็นที่ขยาดและจดจำของชาวโลกมาแล้ว และทำให้ชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทย ต้องการลิ้มลองต้มยำที่กล่าวนี้ ถ้าหากยังนึกไม่ออกจริง ๆ       ให้กลับไปค้นหนังสือพิมพ์ช่วงปี 2540  มาอ่านดูครับ (ไม่บอกปล่อยให้งงครับ อิอิ..)

ผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าทุกท่านมีโอกาสได้ผ่านพบกับวิกฤติการณ์ อย่างหนึ่งอย่างใดในช่วงชีวิตมาบางไม่มากก็น้อย หากท่านผู้ใดที่เคยมีหน้าที่การงานในช่วงปี 2540   คงต้องผ่านเหตุวิกฤตมาแล้วแน่แท้ ขณะนั้นทุกบริษัท ทุกธุรกิจผมเชื่อว่าต้องพบวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจกันทุกกิจการ ผมเป็นคนหนึ่งที่มีบุญได้พบกับวิกฤตดังกล่าวเช่นเดียวกับชาวโลกครับ แต่ผมก็มีมุมมองในการใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส  และได้นำเอาวิกฤตที่เกิดขึ้นมาแก้ไขเหตุการณ์จนบรรลุเป้าหมาย

เรื่องมีอยู่ว่า

เมื่อ ประมาณ ช่วงปลายปี พ.ศ.2537 ผมเข้ารับหน้าที่เป็นฝ่ายกฎหมายให้กับ บริษัทจัดสรรที่ดินรายหนึ่ง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านเอกสารสัญญา การขอออกใบอนุญาตต่างๆ  รวมตลอดจนดูแลงานด้านการตลาดด้วยในภายหลัง โครงการจัดสรรดังกล่าวตั้งอยู่แถวคลองรังสิต นโยบายของเจ้าของโครงการ คือก่อสร้างบ้านในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดในขณะนั้นเพื่อขายให้กับข้าราชการในหน่วยงานของรัฐหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งมีทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด  ราคาสูงสุด 1,490,000.-บาท (ขณะนั้นในท้องตลาด บ้านเดี่ยวราคา ต่ำสุด คือราคาสูงสุดของโครงการนี้ครับ) แต่มีระยะเวลาขายช่วงเปิดโครงการเพียง 90 วันเท่านั้น และให้สิทธิซื้อก็เฉพาะข้าราชการในหน่วยงานของรัฐเท่านั้น หากหมดแล้วหมดเลย แต่หากยังคงเหลือหรือเกินกำหนดเวลา ก็จะขายในราคา สองล้านบาทขึ้นไป  ปรากฎว่าทำยอดขายภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ประมาณ 75 % ซึ่งถือว่าดีทีเดียว    เมื่อครบกำหนดก็ปรับราคาขึ้นตามที่ประกาศ ปรากฎว่า บรรดาลูกค้าที่จองเอาไว้ทำการขายต่อให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาของโครงการที่ปรับราคาแล้ว ทางโครงการก็คิดค่าเปลี่ยนสัญญาไปตามที่ตกลงกัน ขณะที่โครงการดำเนินไปด้วยดี  ทางเจ้าของโครงการมีการนำเอาเงินส่วนกำไรที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเสร็จโครงการ ไปขยายและใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยไม่มีใครคาดคิดว่าใน ปี 2540 จะมีวิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้น ในช่วงที่เกิดวิกฤตใหม่ๆ บรรดาลูกค้าที่ต้องการมีบ้านจริงๆ ก็ปรากฏตัวออกมา คือจะมีลูกค้าส่วนหนึ่ง ผ่อนชำระเงินตามสัญญา และมีลูกค้าส่วนหนึ่งเงียบหายไปติดต่อไม่ได้เลย  วิกฤตต้มยำกุ้ง ได้ทำการแยกประเภทลูกค้าที่ต้องการซื้อบ้านจริงๆให้เลย เพราะมีการผ่อนชำระเงินตามสัญญาไม่มีผิดพลาดแม้แต่วันเดียว ส่วนลูกค้าประเภทซื้อเพื่อทำกำไร ก็จะหายไปประมาณ 50% ของยอดขาย  แต่ลูกค้าประเภทนี้ก็ได้ชำระเงินให้โครงการไว้บ้างแล้วประมาณ 30,000.-บาท ถึง  200,000.-บาท  

ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างโครงการต้องใช้เงินลงทุนวันละหลายแสนบาท ซึ่งได้มาจากทางเจ้าของโครงการที่ลงทุนไปเบื้องต้นประมาณ  ยี่สิบกว่าล้านบาท บวกกับมีเงินบางส่วนจากการกู้สถาบันการเงิน และเงินบางส่วนจากลูกค้าที่ผ่อนชำระตามสัญญา นำมาดำเนินการโครงการ ในแต่ละเดือนจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ แปดถึงสิบห้าล้านบาท กอปรกับเจ้าของโครงการนำเงินไปใช้จ่ายนอกเหนือกิจการโครงการประมาณ ห้าถึงหกล้านบาท เมื่อถึงจุดหนึ่ง สถาบันการเงินระงับการปล่อยเงินกู้ให้โครงการตามสัญญา และเงินที่ลูกค้าผ่อนชำระหายไปมากกว่าครึ่ง ส่วนลูกค้าที่ประสงค์จะซื้อบ้านจริงก็ผ่อนชำระตามสัญญามาจนถึงงวดสุดท้ายที่จะรับโอนบ้านแล้ว บ้านก็ยังก่อสร้างให้ไม่เสร็จ เงินทุนหมุนเวียนเริ่มขาดตอน ค่าวัสดุต่างๆ เริ่มไม่มีเงินชำระให้  เจ้าของโครงการเริ่มถูกศาลออกหมายจับ เพราะจ่ายเช็คไม่มีเงิน เจ้าพนักงานตำรวจเริ่มเข้าเยี่ยมชมโครงการบ่อยขึ้น (ใช้คำว่าเยี่ยมชม ดูดีนะ อิอิ..)  จนเจ้าของโครงการไม่สามารถนั่งสั่งงานอยู่ในโครงการได้อีกต่อไป  กรรมการท่านอื่นต่างก็กลัวจะมีความผิดไปด้วย (ก็ทุกวันจะมีเจ้าพนักงานตำรวจเข้าเยี่ยมชมโครงการนี้ครับ แฮ..) หน้าที่ต่างๆของเจ้าของโครงการและกรรมการท่านอื่นๆ ก็ต้องถูกผมนำกำลังเข้ายึดทันที (ใช้คำให้ดูดุเดือดไปงั้นหละ อิอิ..) สิ่งที่ผมรับหน้าที่มาคือทำทุกอย่างให้โครงการอยู่ต่อไปให้ได้ จึงต้องมีน้องๆทนายความเข้ามาช่วยงานหลายท่าน แบ่งปันกันไปทำคดีที่ศาลบ้าง ไปให้ปากคำกับ สคบ. (หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคนะ) บ้าง  จนลูกค้าบางรายที่ต้องการซื้อบ้านจริงๆเริ่มทำทุกวิธีการที่จะให้ได้บ้านหรือให้ได้เงินคืน ผมดูแลอยู่จนกระทั้งเงินที่จะจ่ายค่าแรงงานก่อสร้างไม่มีจะจ่าย ตัวผมเองและน้องๆทนายความที่ผมเรียกมาช่วยเหลือต่างไม่ได้ค่าทนายความและค่าแรงมากว่า สาม ถึง สี่เดือนมาแล้ว ดีที่ต่างมีรายได้จากด้านอื่น เพราะหวังว่าเมื่อผ่านวิกฤตไปแล้ว เจ้าของโครงการคงไม่แรงน้ำใจกับพวกเรา และเมื่อวิกฤติการณ์ถึงจุดแล้ว หนังสือพิมพ์เริ่มลงข่าวโจมตีโครงการต่างๆนาๆ นักข่าวโทรศัพท์มาขอรายละเอียดกับผมหลายครั้ง ซึ่งขณะนั้นเจ้าของโครงการถึงกับนัดผมไปพบและเสียน้ำตากับผม บอกว่า “พี่พาน้องมาลำบาก พี่ขอเข้ามอบตัวกับตำรวจดีกว่า” ผมเลยบอกเจ้าของโครงการไปว่า ขอให้ผมลองใช้วิธีการของผมให้ถึงที่สุดเสียก่อน ขอเวลาอีก สาม เดือน จะแก้ไขให้ได้ และบอกว่าอย่าไปกลัวหนังสือพิมพ์มากนัก ผมจะใช้หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือเรียกลูกค้าเก่าที่ขาดการติดต่อไปเข้ามาให้ วิกฤตตรงนี้จะเป็นโอกาสสุดท้ายของเราแล้ว (ผมทำอย่างไรนะหรือครับ อยากทราบตามมาครับ)

ผมได้จัดประชุมและกำหนดให้น้องๆทนายความและพนักงานในสำนักงานขายเท่าที่เหลืออยู่ ชี้แจงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นให้ทุกท่านฟังและกำหนดในทุกท่านเตรียมตัวรับโทรศัพท์ และต้องอดทนต่อการถูกด่าทอจากลูกค้า แต่ทุกท่านต้องเจรจากับลูกค้าให้ยินยอมเข้ามาพบผมที่โครงการให้ได้ จะใช้วิธีแจ้งว่าจะคืนเงินให้หรืออะไรก็ได้และต้องให้ได้รายละเอียดสถานที่ติดต่อปัจจุบัน หมายเลขโทรศัพท์เป็นต้น เมื่อเข้าใจเจตนาแล้ว ผมเริ่มแผนงานทันที โดยการโทรศัพท์ไปต่อว่านักข่าวหนังสือพิมพ์(ฉบับที่ลงข่าวโจมตีโครงการ) อย่างรุนแรงเพื่อเจตนาให้เขาโกรธจะได้ลงข่าวโจมตีโครงการให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ปรากฎว่าได้ผลครับวันถัดมา ชื่อของโครงการอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นทันที   สิ่งที่มีผลตามมาคือ ลูกค้าทั้งส่วนที่หายไปและส่วนที่กำลังผ่อนชำระตามสัญญาอยู่ ต่างโทรศัพท์เข้ามาสอบถามก็มี ด่าทอก็มี ข่มขู่ให้คืนเงินก็มี ประมาณ สองอาทิตย์เท่านั้น ผมสามารถพบปะลูกค้าและชี้แจงให้ช่วยเหลือค่าก่อสร้างบ้านที่ลูกค้าแต่ละรายซื้อไว้ จนสามารถก่อสร้างเสร็จและดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกค้าได้ประมาณ 40 % ของลูกค้าทั้งโครงการ หลังจากนั้นเมื่อโครงการเริ่มมีเงินทุนหมุนเวียนแล้วก็ได้นัดเจ้าหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างเข้ามาเจรจาผ่อนผันการชำระหนี้ จนเจ้าของโครงการสามารถกลับเข้าโครงการได้อีกครั้ง เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่เข้าเยี่ยมชมโครงการอีกเลย แต่ยังเสียใจที่ไม่อาจแก้ไขให้ได้ลูกค้าคืนมามากกว่านี้ เพราะมีลูกค้าอีกจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาไม่อาจชำระเงินต่อไปได้เพราะมีภาระที่เป็นผลกระทบจาก วิกฤตต้มยำกุ้ง เช่นกัน

สิ่งที่ผมคิดขณะนั้น คือผมเชื่อมั่นว่า ลูกค้าทุกรายที่มีผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้งต้องการเงินคืน ยิ่งหากทราบข่าวว่าโครงการมีปัญหาก็ต้องทำทุกวิธีการที่จะให้ได้เงินคืน ผมเองในขณะนั้นไม่สามารถจะติดต่อลูกค้าส่วนที่ห่างหายไปได้เลย เว้นแต่ลูกค้าจะติดต่อกลับมาเอง เมื่อโครงการถูกหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าไม่โอนบ้านให้ลูกค้าจนถูกลูกค้าร้องเรียน สคบ. ผมจึงมองเห็นว่าเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย จึงอาศัยวิกฤติดังกล่าวไปกระทุ้งให้หนังสือพิมพ์ลงข่าวโจมตีให้หนักขึ้น ซึ่งได้ผลตามที่คิดไว้ ปรากฎว่า บรรดาลูกค้าต่างติดต่อมาที่โครงการและได้มีโอกาสพบกับผมทุกราย เห็นหรือยังว่าหากเรามีมุมมองวิกฤตนั้นด้วยสติ ก็จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ผมเชื่อว่าทุกท่านก็มีโอกาสพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้เหมือนกัน (หากนักข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับที่ลงข่าวโจมตีโครงการได้อ่านบันทึกนี้คง คิดหาวิธีมาต่อว่าผมเป็นแน่แท้ที่บังอาจอาศัยอารมณ์ของท่าน มาใช้เป็นสื่อเพื่อส่งคำเชิญไปยังลูกค้าของโครงการโดยลงทุนค่าโทรศัพท์เพียงสามบาทเท่านั้น แฮ..)

ในสังคมปัจจุบันหากท่านพิจารณาดีๆก็จะพบเห็นว่ามีบางเหตุการณ์ที่มีบางท่านกำลังพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มีบุคคลในวงการสีกากีที่มีปัญหาการทำร้ายร่างกายอาม่าบน สน. ซึ่งเหตุดังกล่าวเป็นวิกฤตของวงการสีกากี แต่ก็ยังมีนายตำรวจบางท่านมองเห็นโอกาส  จึงออกมาเยี่ยมอาม่า และแสดงความเห็นใจอาม่า ทำให้สังคมมองไปอีกมุมหนึ่ง เห็นหรือยังครับว่าการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสมีได้ทุกที่ครับ

คราวหน้าจะเล่าเรื่องสัญญาจ้างที่ด้อยคุณภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 320497เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

นอกจากทำงานเก่งแล้ว ยังเล่าเรื่องได้เยี่ยมมากครับ จะมารออ่านนะครับ

ขอขอบพระคุณที่แวะมาครับท่านบีเวอร์

ผมแอบไปแวะโขมยความรู้ของท่านมาหลายรอบแล้วครับ แฮ...

วันนี้พอดีเสร็จงานเร็ว เสร็จงานจากศาลแล้วไม่เข้า สำนักงาน อากาศร้อนแวะร้านหาเครื่องดื่มเย็นๆ เลยเข้ามาตรวจคำผิดในบันทึก

นึกขึ้นมาได้ว่า เมื่อกลางวันได้ฟังข่าวเรื่อง ปฏิทิน ของเครื่องดื่ม (ประเภทดื่มแล้วมีโอกาสกลับนิสัยเดิม) ที่กำลังเป็นคำพูดติดเมือง(ไม่ขอใช้ภาษาอังกฤษ เพราะกลัวเขียนผิดนะ แฮ..) ถ้าท่านผู้อ่านมองดีๆ มูลเหตุของปฏิทิน น่าจะเป็นเจตนาของ เจ้าของเครื่องดื่มต้องการสร้างสิ่งนี้ให้เป้นวิกฤติของสังคม และใช้วิกฤติตัวนี้ในทางที่เป้นประโยชน์ของสินค้าแน่นอน ลองคิดตามผมนะ

1 ปฏิทิน เขาจัดทำเพียง หนึ่ง ล้าน ชุด เพื่อแจกให้กับลูกค้าของเขา ขอถามว่า ปัจจุบัน เครื่องดืมของเขา ขายได้มากกว่า หนึ่งล้านชุดหรือไม่ หากจะทำปฏิทินมาเพื่อส่งเสริมการขายเพิ่มอีก หนึ่ง ล้าน ขวด ผมว่าไม่ได้อยู่ในความคิดเขา

2 อยู่ๆ เขาก็ให้ ผู้รับจ้างของเขามาออกข่าวให้ขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐที่กำกับควบคุม ก็เพื่อทำให้เกิดเป็นวิกฤติขึ้น แล้วอาศัย วิกฤติ ตรงนี้ให้สังคมนำไปเป้น คำพูดติดเมือง ท่านลองคิดดูตอนนี้มีใครยังไม่รู้จัก เครื่องดื่มตราเครื่องหมายการค้าตัวนี้บ้างครับ

เห็นยังว่าคนเราจะมีวิธีใช้วิกฤติให้เป้นโอกาสเสมอ

ใหนๆก็ พูดถึงเครื่องดื่มที่แจกปฏิทินจนเป็นคำพูดติดเมืองไปแล้วขณะนี้ ก็ขอชี่ให้หน่วยงานของรัฐลองนำเอาวิกฤติตัวนี้ไปแปลงเป็นภาษีหรือเป็นเม็ดเงินให้กับรัฐดูบ้าง

1 พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลเรื่องนี้อยู่ ลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ ว่าตราบใดที่ยังอนุญาตให้ขายเครื่องดืมประเภทนี้อยู่ ผู้ค้าก็ต้องค้าต่อไป รัฐควรจะได้เงินเพิ่มขึ้นจะไม่ดีกว่าหรือ

2 เมื่อมีมุมมองใหม่แล้ว คราวนี้ ลองคิดดูว่า ขณะนี้รัฐมีกฎหมาย ห้ามการกระทำตามที่เป็นข่าวอยู่ ไม่เห็นจะต้องออกมาเตือนผู้ประกอบการเลยว่าผิดหรือถูก ผมเชื่อว่า บริษัทที่มีระยะเวลาประกอบการมานานขนาดนี้จะไม่มีมือกฎหมายดีๆให้ความรู้หรือให้คำปรึกษาว่าที่กำลังดำเนินการนั้น ผิดหรือถูก (ผมคิดว่าทั้งกรรมการและที่ปรึกษากฎหมายของเขามีข้อกฎหมายและระเบียบข้อคังคับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาชีพของเขาหนุนนอนแทนหมอนด้วยซ้ำไป)

3 ขณะนี้เป็นที่รับทราบโดยทั่วกันว่า ปฏิทิน ชุดนี้จัดทำขึ้นมาจำนวน หนึ่งล้านชุด หากแจกจ่ายออกไปจะโดยวิธีใดๆก็ตาม ลองไปดูว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าผิด ในกฎหมายก็กำหนดค่าปรับไว้ ลองคิดดูนะครับว่า แจกไป หนึ่งล้านครั้ง เป็นความผิด เท่ากับหนึ่ง ล้าน ครั้ง หรือไม่ ในภาษากฎหมายเรียกว่าต่างกรรม ต่างวาระครับ แล้วลองคิดค่าปรับต่อครั้งดูครับ รัฐจะได้ค่าปรับเป็นเงินมากน้อยเพียงใด ทำวิกฤตด้านศีลธรรม ที่เขาสร้างขึ้นมาให้เป็นเม็ดเงินไม่ดีกว่าหรือครับ เพราะเขาทำไปแล้ว สังคมได้รับผลแล้ว ส่วนในปีหน้าถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุเช่นนี้อีกลองออกข้อบังคับเรื่องใบอนุญาตโรงงานดูรับรองว่าไม่มีเหตุเช่นนี้แน่

4 ในการจัดพิมพ์ปฏิทิน หน่วยงานด้านภาษีลองไปพิจารณาดูครับว่า มีใครเกี่ยวข้องบ้าง มีรายได้จากงานนี้เท่าใด นำมาเสียภาษีหรือยังเมื่อถึงกำหนด ข้อมูลต่างๆนี้เก็บหลักฐานแล้วแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทุกรายทราบครับว่าเมื่อถึงเวลาอย่าลืมภาษีนะครับ หากลืมจะได้ค่าปรับเพิ่มโดยตัดปัญหาการอุทธรณ์ภาษีต่อไป

ที่เสนอข้อคิดมา ผมไม่เกี่ยวนะ ผมเป็นเพียงผู้ดื่มคนหนึ่งเท่านั้น และได้ปฏิทินจากหลังการบินไทยมาแล้วครับ เขาแจกครับ แฮ..

  • การใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส..อ่านแล้วต้องลองนำไปปฏิบัติดูบ้างแล้วล่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับน้อง ซิลเวีย ที่แวะมา

ลองหาคิดวิธีพลิกวิกฤติเหตุการณ์ทั่วไปจากข่าวในปัจจุบันดูนะ ว่าถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร

แต่อย่าไปสร้างวิกฤติขึ้นมาเองนะครับ ผมไม่เกี่ยวนะ แฮ..

ขอบคุณที่แวะไปดื่มน้ำที่บันทึกค่ะ

นำความสุขมาส่งค่ะ...........ขอให้ท่านมีความสุขในวาระขึ้นปีใหม่นี้นะคะ..

 

ขอขอบพระคุณสำหรับความสุขปีใหม่ที่ส่งมาให้ครับ

คุณนุช คนงามที่มากด้วยน้ำใจ

คุณฤทธิชัย คนหล่อผู้งามด้วยใจ

คุณป้าเหมียว คนสวยทั้งหน้าตาและจิตใจ

ผมขอให้ทั้งสามท่าน สุขและรวยอย่างไม่ต้องมีเหตุผลในทุกๆปีนะครับ

ออ...ลืมไปครับ อย่าเจ็บอย่าไข้ด้วยครับ

  • ถ้าเป็นการจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต...
  • ...เรียกว่า...Crisis  Communication Management

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ

อ่านได้นิดหน่อย เพราะบันทึกยาว แต่ก็รู้ว่ามีประโยชน์มากค่ะ

จะกลับมาอ่านใหม่เมื่อเวลาอำนวยค่ะ

ดีใจนะคะ ที่ได้รู้จักคนคุณภาพของสังคมอีกคนหนึ่งค่ะ

have a nice day

ขอบคุณที่แวะไปนะครับ ผมอ่านบทความของคุณแล้วก็ชื่นชม บทความแบบนี้หาอ่านยาก ผมยอมรับว่าผมศรัทธาคุณ ที่สามารถทำดังที่เขียนมาได้ ในสภาวการณ์เช่นนั้น เอาไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

ขอขอบพระคุณที่แวะมาครับ

ท่าน ดร.จรูญ ที่กรุณาแนะนำ ภาษาที่ถูกต้องให้ผม Crisis Communication Management อ่านแล้วตรงตัวไม่ต้องแปล

และ

ท่าน อร คนงาม ผมยังไม่บังอาจเป็นคนคุณภาพของสังคมครับ เพียงแต่กำลังพยายามทำให้ดีที่สุด หลังจากวัยเกิน สามห้า เท่านั้น วัยที่เหลือไม่บอกปล่อยให้งง..อิอิ..

และ

ท่าน บิเวอร์ (ที่จริงผมชอบชื่อ ....รงค์รบ...มากกว่าเรียกแล้ว เท่...ครับ) ผมคนเดียวทำไม่ได้แน่ครับ เป็นเพราะโอกาสที่ได้รับ กับความร่วมมือจากทีมงาน และภาวะของเหตุการณ์ แต่ก็ไม่ง่ายครับที่ต้องทำความเข้าใจกับท่านลูกค้าจำนวนมาก

สวัสดีค่ะ  คุณ ชาวฝนแปดแดดสี่

       ถึงแม้บทความจะยาวแต่สาระเพียบ  อ่านอย่างละเอียดจนเข้าใจ    เขียนได้ดีมากๆ  มองเห็นภาพเลยค่ะ การใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส..อ่านแล้วต้องลองนำไปปฏิบัติดูบ้างแล้วล่ะค่ะ 

สวัสดีครับ คุณครูปริมปราง

ที่ให้ความกรุณาติดตามอ่านบทความผม และขอขอบพระคุณที่ ติชมครับ

ความจริงที่ผมเขียนเรี่อง ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส เพราะสดุดกับพรรคพวกผมคนหนึ่ง กำลังมีปัญหาด้านธุรกิจและด้านการเงิน

มาพบผมเพราะถูกสถาบันการเงินฟ้องร้องต่อศาล ผมดูเรื่องแล้วเห็นว่าก่อนจะถูกฟ้อง เขามีโอกาสและจังหวะที่ดีหลายครั้ง

แต่ไม่นำเอาโอกาสนั้นมาใช้ให้ยังประโยชน์ เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง (แต่ขณะนี้ก็ยังมีหนทางแก้ไข และดำเนินการอยู่)

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงนำเอาเรื่องการใช้วิกฤต มาแบ่งปันให้รับทราบและเรียนรู้ เพื่อจะได้นำวิธีการมองไปแก้ไข วิกฤต ของแต่ละคนได้

การเกิดวิกฤตกับท่านใด ใช่ว่าในวิกฤตนั้นจะขาดโอกาสเอาเสียเลย เพียงให้รู้จักมองมันในมุมอื่นดูบ้างก็จะมองเห็นได้ทุกคนครับ

  • ยิ่งอ่านยิ่งได้ความรู้ที่แยบคาย
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณมนัสนันท์

ทุกเรื่องที่มีการแสดงความเห็นผมจะตามไปตอบทุกๆเรื่อง

และทุกครั้งที่ผมมีโอกาสตอบก้จะสอดแทรก สกิด และให้ข้อคิดไปพร้อมกันด้วย

หากคุณมนัสนันท์ หรือท่านใดผ่านมาอ่าน ผมแนะนำให้อ่านความเห็นของแต่ละท่านด้วย

ก็จะยิ่งมีมุมมองและเข้าใจสิ่งที่ผมประสงค์จะสือสารไปยังท่านได้ดียิ่งๆขึ้น

เรื่องนี้ก็เช่นกัน ใจจริงผมต้องการให้ทุกท่านได้มีวิธีหามุมมองปัญหาของท่าน

เพื่อยังประโยชน์แทนการพ่ายแพ้ บางครั้งในวิกฤตนั้นกลับกลายเป็นการเปิดโอกาสให้ท่าน

แต่หากไม่มองในอีกมุมของวิกฤต ก็ไม่อาจเห็นทางแก้ครับ

ขอขอบคุณอีกครั้งนะครับที่ติดตาม

อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณทนายแปดฯ

มีความสุขกับการใช้โอกาสดีๆ ในช่วงวิกฤตินี้นะคะ ;)

แค่มาส่งความระลึกถึง แบบนึกถึงภาพงามๆ อิ อิ

ไว้จะส่งเสียงไปให้ตกกะใจ อีกค่ะ ;)

สวัสดีครับคุณ P poo ดำอันดามัน

ต้องขออภัยครับที่เข้ามาตอบความเห็นช้า

ภาพที่มอบมาให้นี้สวยครับ วางองค์ประกอบภาพได้ดีครับ ภาพนี้ถ้าจับโฟกัสตรงดอกสีแดง จะแจ่มเลย

อิ.อิ. ทราบว่า คุณปูยังอ่านบันทึกของผมไม่ครบ เลยหยุดเขียนบันทึก รู้เรียนกฎหมายเพราะกำลังรอคุณปูอ่านบันทึกเก่าให้จบก่อนครับ ...แฮ...

ขอบคุณมากครับที่โทร.ถามข่าวคุณแม่

ฮาหลาวนิท่านทนายแปดขา ... รอปูอ่านหมดนี้ก็ เกษียณพอดีคะ ๕ ๕

ขอคารวะหลายไหเลยค่ะ กับการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส คุณทนายไร้เทียมทานจริงๆ ค่ะ

โชคดีที่ไม่ไปซื้อที่พักโครงการนั้น อิ อิ และเสียดายหลายๆ โครงการที่ต้องล้ม เลิก ร้าง ไป ไม่ได้เจอ คุณทนายฯ ช่วยแก้ไข สถานการณ์ ... เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งซะก่อน ไม่งั้น คุณทนายฯ อาจจะเบนทิศ กลายเป็น เจ้าพ่ออสังหา ฯ ไปอีกคน  ... นะคะ

มีความสุขกับการงาน ตอนนี้คุณแม่ทนายฯ คงอาการดีขึ้นแล้วนะคะ เป็นกำลังใจค่ะ

 

สวัสดีครับคุณ P poo ดำอันดามัน

ขออภัยนะครับที่เข้ามาตอบช้าไปเฝ้าไข้คุณแม่มาครับ

อิ.อิ. ผมบอกแล้วว่ามีสองขา แปดขานะปูดำ....คุณปูอ่านมาถึงบทความนี้ผมก็หมดข้ออ้างแล้วซินะ  ตกลงครับจะเขียนบทความต่อครับ

บทความนี้ผมเขียนเพื่อให้ข้อคิดว่าในวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอครับ เพียงแต่ให้เรามองในอีกมุมมองหนึ่งแล้วเราจะมองเห็นครับว่าเราจะใช้ประโยชน์อะไรจากวิกฤติ

ตอบไปตอบมาเริ่มจำชื่อตัวเองไม่ได้แล้ว รับคารวะไปหลายไห......ฮา.....

ขอบคุณครับที่ติดตามข่าวคุณแม่ ตอนนี้ท่านได้รับการผ่าตัดแล้ว ออกจากโรงพยาบาลมาเมื่อ 2 ก.ค. นี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท