R2R บทเรียนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช


สรุปบทเรียนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

รายงานการสรุปบทเรียนการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ  อำเภอสิชล  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตามโครงการพัฒนาคุณภาพระบบประกันคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (PCA)

ครั้งที่ 2/2553 วันที่  27 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00-16.00น.

ณ ห้องประชุม 2 โรงพยาบาลสิชล

เรื่องที่ 1 การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย(R2R) ของเครือข่ายอำเภอสิชล

Routine   to  Research   (R2R)  คือ พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย  เน้นการพัฒนาความรู้

(R2R)  หวังผลอะไร

-          เป็นการพัฒนางานประจำ

-          เป็นการพัฒนาระดับปฏิบัติการ

-          พัฒนาองค์กร  วัฒนธรรมองค์กร  สู่องค์กรการเรียนรู้

-          ยกระดับองค์ความรู้ขององค์กร

วิธีการวิจัย   ใช้การวิจัย  เชิงคุณภาพ  และเชิงปริมาณ 

ตัวอย่าง    ผลงานการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)

เรื่อง อุบัติการณ์การเกิดภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา         ภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้(Anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาทางภูมิแพ้ของร่างกายที่รุนแรง เกิดขึ้นอย่าง  เฉียบพลันและทำให้เสียชีวิตได้ จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบให้การรักษา การวินิจฉัยจึงมีความสำคัญมาก ต้องอาศัยประวัติการรับสารกระตุ้นให้เกิดการแพ้ อาการและอาการแสดง การทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ จะทำให้สามารถหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ และป้องกันการเกิดซ้ำ อุบัติการณ์การเกิดภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้    แตกต่างกันไปตามกลุ่มที่ศึกษา โดยเชื่อว่าการรายงานอุบัติการณ์ในประชาชนทั่วไปน่าจะต่ำกว่าความเป็นจริง สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเพื่อรายงานอุบัติการณ์ของภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ ในโรงพยาบาลชุมชน

วัตถุประสงค์       เพื่อประเมินอุบัติการณ์การเกิดภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ สาเหตุ ลักษณะอาการทางคลินิก           การให้การรักษา รวมถึงผลการรักษาภาวะดังกล่าว

วิธีการศึกษา         เป็นงานศึกษาแบบพรรณนา เก็บข้อมูลใน ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิชล ระยะเวลาเก็บข้อมูล 1 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2549 โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับ         การรักษาด้วยภาวะช็อกจากภูมิแพ้

ผลการศึกษา        จากจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 17,978  ราย มีผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ จำนวน 64 ราย อาการและอาการแสดงที่พบมากที่สุดคืออาการทางผิวหนัง พบร้อยละ 96.88 รองลงมาได้แก่ อาการทางระบบไหลเวียนโลหิต พบร้อยละ 46.88 ระบบทางเดินหายใจพบ               ร้อยละ 43.75 และระบบทางเดินอาหาร พบร้อยละ 26.56 ตามลำดับ สำหรับอาการแพ้ที่รุนแรงมากถึง              เสียชีวิตไม่พบในการศึกษานี้ แต่พบผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำร้อยละ12.50 สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้          พบตรวจพบได้ ร้อยละ 87.50 สาเหตุที่พบส่วนใหญ่คือแมลงกัดต่อย พบร้อยละ 50.00  การรักษาที่ได้รับ ร้อยละ 54.69 ได้รับยาฉีด Epinephrine ส่วนใหญ่จะได้รับยา antihistamines ร้อยละ 90.63 และได้รับ             ยากลุ่มสเตียรอยด์ ร้อยละ 56.25 และผู้ป่วยร้อยละ 89.06 ได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล และไม่พบการภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ซ้ำในโรงพยาบาล

สรุปผลการศึกษา  อุบัติการณ์การเกิดภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ เท่ากับ 356 ครั้งต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน 100,000 คนต่อปี สาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการถูกแมลงกัดต่อย ภายในบ้านและเรือกสวนไร่นาของเกษตรกร แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนควรเพิ่มความตระหนักในการดูแลรักษาภาวะฉุกเฉินนี้  และให้คำแนะนำการป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวต่อไป กับผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะช็อกจากภูมิแพ้ได้อีก

การนำผลงานวิจัย R2R ไปใช้ประโยชน์ ต่อการทำงานประจำ

จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถเป็นข้อมูลให้แก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินดังกล่าว  และช่วยเพิ่มความตระหนักในการดูแลรักษา ตลอดจนการให้คำแนะนำการป้องกันการเกิดภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ ในผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก ภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่เกิดที่บ้าน ในพื้นที่ชนบท ผู้ป่วยส่วนใหญ่เลือกที่จะเข้ารับการรักษาสถานบริการใกล้บ้านเป็นอันดับแรก โรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชนบท ยังมีความขาดแคลนแพทย์อย่างมาก แพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ยังคงเป็นแพทย์ใช้ทุนจบใหม่ ขาดประสบการณ์ในการประเมินอาการ การวินิจฉัยและการรักษา หากทราบอุบัติการณ์ จะช่วยให้แต่ละโรงพยาบาลกำหนดแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และเป็นแนวทางให้พยาบาลวิชาชีพที่ร่วมปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉินสามารถประเมินผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เพราะส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องพบพยาบาลก่อนพบแพทย์  ในระดับสถานีอนามัยของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  แนวทางการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ จะมีความสำคัญมากขึ้นใน  การช่วยดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  เพราะฉะนั้นการให้ความรู้และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อกจากโรคภูมิแพ้ จึงมีความสำคัญต่อบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ

เรื่องที่ 2 สถานีอนามัยในเครือข่ายอำเภอสิชลร่วมคิด  เลือกผลงานที่ทำประจำมาพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวดังนี้

  • ความพึงพอใจของผู้รับบริการในการนำระบบฐานข้อมูล  JHCIS มาใช้ในสถานีอนามัย    (สอ. บ้านนาแล  ร่วมกับ  สอ. บ้านเทพราช )
  • พฤติกรรมการควบคุมโรค ชิคุนกุนยา ของ อสม.  (สอ.บ้านต้นเหรียง ร่วมกับ สอ. บ้านน้ำฉา)
  • โรคอ้วนในชุมชนหมู่ที่ 5  ตำบล ฉลอง  (สอ.บ้านในดอน)
  • พฤติกรรมผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูก (สอ.บ้านเปลี่ยน)
  • การศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช   (สอ.บ้านเกร็ดแร็ด)

เรื่องที่ 3 นำเสนอcase เยี่ยมบ้าน โดยคุณ จิราภรณ์  เดชพรหม จาก สอ. บ้านน้ำฉา

 

นัดหมายประชุมครั้งต่อไป วันพุธ ที่ 16  ธันวาคม  2552

ปิดประชุมเวลา 16.30 น.

คำสำคัญ (Tags): #pca#pmqa#r2r#สิชล
หมายเลขบันทึก: 320494เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท