ครูดง 09
นาย สมศักดิ์ ศักดิ์ บุตรแวง

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อ - Presentation Transcript

  1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการของนักเรียนโรงเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 เสาวณี ทิพย์วารี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2548
  2. บทคัดย่อ หัวข้อวิทยานิพนธ์ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีอยุธยา เขต 3
    • ผู้วิจัย นางเสาวณี ทิพย์วารี
    • สาขา การบริหารการศึกษา
    • การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนจำนวน 262 โรงเรียน
    • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบเติมข้อความ
    • วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมารตราฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
  3. ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านคือ การกระจายอำนาจและการบริหารจัดการศึกษา การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารจักการโรงเรียนที่ดี อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
    • 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้รายวิชาทุกวิชาคือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับพอใช้
    • 3. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการของนักเรียนโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 สามารถอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 2.60 การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้านที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ ด้านการกระจายอำนาจและการบริหารจัดการศึกษา
  4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2. เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 3. เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
    • กรอบแนวคิดในการวิจัย
    • กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด หลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของ Wohlstetter (1995) Odden and Wohlstetter (1995) Cheng (1996) อุทัย บุญประเสริฐ (2543) ถวิล มาตรเลี่ยม
    • (2544) สาระสำคัญที่นำไปใช้ในการศึกษาการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้แก่
    • 1) หลักการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
    • 2) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม
    • 3) หลักการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี ตามหลักการที่ว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
  5. แผนภูมิที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
    • กรอบแนวคิดการวิจัยเขียนเป็นแบบจำลองในรูปสมการถดถอยพหุคูณได้ดังนี้
    • Y= B o + B1 X1 + B2 X2 + B3 X3 + E
    • สมมติฐานของการวิจัย
    • 1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 อยู่ในระดับน้อย
    • 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 อยู่ในระดับพอใช้
    • 3. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
    องค์ประกอบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หลักการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการการศึกษา หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม หลักการบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
  6. ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 มีขอบเขตการศึกษาดังนี้
    • 1. ประชากรคือ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2547 จำนวน 262 โรงเรียนผู้วิจัยศึกษาจากประชากรทั้งหมด
    • 2. ตัวแปรที่ศึกษา
    • 2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ องค์ประกอบของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบ
    • 2.1.1 การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา
    • 2.1.2 การบริหารแบบมีส่วนร่วม
    • 2.1.3 การบริหารจัดการโรงเรียนที่ดี
    • 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ใน 4 วิชา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ
    • 2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
    • 2.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย
  7. 2.2.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 2.2.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
    • ประโยชน์ของการวิจัย
    • 1. นำผลการวิจัยเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ให้สามารถบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
    • 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนในการพัฒนาสถานศึกษาให้สอดรับกับวิธีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
    • 3. เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
  8. บรรณานุกรม
    • กาญจนา ศรีกาฬสินทร์ . การบริหารกิจการนักเรียน . กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร , 2535
    • ถวิล มาตรเลี่ยม . การปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม , 2544
    • ทิวาพร กาญจนะ . การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในอำเภอร่อนพิบูลย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
    • วีระพัฒน์ อุทัยรัตน์ . การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน . รวมบทความเชิงวิชาการเรื่องการ
    • บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน . กรุงเทพฯ : กรมสามัญศึกษา , 2544
    • สงบ ประเสริฐพันธ์ . ร่วมกันสร้างสรรค์คุณภาพโรงเรียน เอกสารอัดสำเนา . 2544
    • สนิท นิลบุตร . สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา
    • สัมฤทธิ์ กางเพ็ง 2545. “ รูปแบบการมีส่วนร่วมในการศึกษา” . วารสารวิชาการ . 4 ( เมษายน 2545) :
    • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา .
    • กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2536
    • อุทัย บุญประเสริฐ . รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาสถานศึกษา
    • ในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน . สำนักงาน คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ , กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2542
  9. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น : พหุกรณีศึกษา นางกุหลาบ ปุริสาร วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ . ศ .2547
    • บทคัดย่อ
    • วัตถุประสงค์ของการวิจัยพหุกรณีศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การเลือกตัวแทนที่ใช้ศึกษาเป็นแบบเจาะจงประกอบด้วย 3 โรงเรียนในจังหวัดขอนแก่นที่มีขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ตามลำดับ วิธีการวิจัยคือ การศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากบุคลากรหลักที่ให้ข้อมูลสำคัญในการบริหารในโรงเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ( Triangulation )
    • เพื่อเป็นการยืนยันความเที่ยงและความตรงของข้อมูลจากแหล่งและชนิดของข้อมูลรวมทั้งความถูกต้องที่เชื่อถือได้
    • ผลการวิจัยแสดงให้เห็นปรากฏการณ์สำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนทั้ง 3 แห่งดังนี้
    • 1) หลักดุลภาพ
    • 2) หลักกระจายอำนาจ
    • 3) หลักการจัดการตนเอง
    • 4) หลักการริเริ่มสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ทุกโรงเรียนมุ่งพัฒนาศักยภาพวิชาชีพครูเป็นหลัก
  10. ส่วนปัญหาอุปสรรคที่สำคัญที่สุด คือ ครูขาดความรู้และประสบการณ์ในเรื่องจัดการเรียนการสอน คณะกรรมการสถานศึกษาขาดความตระหนักในบทบาทของตนเองการทำงานของทีมงานไม่เป็นไปตามบทบาทที่กำหนด โรงเรียนขนาดเล็กขาดสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
    • วัตถุประสงค์
    • การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น : พหุกรณีศึกษา โดยศึกษา 3 โรงเรียน คือโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในประเด็นที่สอดคล้องกับปัญหาการวิจัยข้างต้นดังนี้
    • 3.1. เพื่อศึกษาถึงปรากฎการณ์ปัจจุบันของการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
    • 3.2. เพื่อศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา
    • ขอบเขตการวิจัย
    • การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
    • 1. สถานที่ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดขอนแก่น 3 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
    • 2. ระยะเวลาในการวิจัยจะดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม 2546 ถึง เดือนธันวาคม 2546 รวม 12 เดือน
  11. กรอบแนวคิดในการวิจัย จากผลการศึกษาวิเคราะห์บทความทางวิชาการและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยได้ศึกษาจากทฤษฎีและคุณลักษณะของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( Y. C. Cheng , 1996) กระบวนการบริหารแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของกรมสามัญศึกษา และความคาดหวังของกรมสามัญ (2543)
    • นโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (2539) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด 5 มาตรา 39,40 และผลงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถบูรณาการการกำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยของตนเองได้ดังนี้ คือศึกษาทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4 ด้าน คือ ด้านดุลยภาพ ด้านกระจายอำนาจ ด้านบริหารจัดการตนเอง และด้านความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนั้นจะศึกษาถึง คุณลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ ธรรมชาติกิจกรรมยุทธศาสตร์การบริหาร การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา การพัฒนาทีมงาน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร บทบาทผู้บริหาร ครู – อาจารย์และคณะกรรมการและจะศึกษานิติสมรรถนะผลการปฏิบัติของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยศึกษาในด้านสัมพันธภาพที่ดีของผู้บริหาร ครู – อาจารย์วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโรงเรียน
  12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    • 1. ได้ข้อสนเทศในการจัดการศึกษาตามแนวการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • 2. ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวการนำนวัตกรรมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้สอดรับกับการบริหารตามแนวทางการกระจายอำนาจ การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา และการบริหารตามแนวทางโรงเรียนนิติบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ
    • 3. ได้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับรูปแบบและคุณลักษณะการบริหารตามหลักการบริหารและคุณลักษณะของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ ผู้สนใจทั่วไป
  13. กมล สุดประเสริฐ . (2544). รูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจกรุงเทพ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การมัธยมศึกษา , กอง , กรมสามัญศึกษา . (2544). แนวทางสู่ SBM การบริการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของกรรมการสถานศึกษา . ( เอกสารอัดสำเนา ). ชัญญา อภิบาลกุล . (2545). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษาภายใต้โครงการสร้างการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา : กรณีศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น . วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
    • อุทัย บุญประเสริฐ . (2542) รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน . กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
    • Adler , Amold N. (1999). A Study of Teachers Perceptions of School – based management s Impact on Teacher Empowerment. Dissertation Abstracts International. 60 – 11 A: 168.
    • Belk , . J.D. (1998). Examining School – based management Practice and school change: A case study of an elementary school. ( CD – Rom ). Abstract From Pro Quest – File: Abstracts Item : AAC 9835254.
    • Bukosky , A.E. (1999). Comprehensive high school restructuring: Utilizing school – based management and curricular reforms to increase student achievement comprehensive restructuring California. ZCD – Rom ). Abstract From Pro Quest – File: Dissertation Abstracts Item: AAC 9933792.
  14. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน : กรณีศึกษาเชิงคุณภาพ โดย นายสุเทพ บุญประสพ วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีหารศึกษา 2545
    • สุเทพ บุญประสพ : การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน : กรณีศึกษาเชิงคุณภาพ ( SCHOOL BASED
    • MANAGEMENT: A QUALITATIVE CASE STUDY ) อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ : ผศ . ลัดดาสุวรรณกุล , อ . ว่าที่ พ . ต . ดร . นพดล เจนอักษร และอ . ดร . ศริยา สุขพานิช . 152 หน้า . ISBN 974 -653-308-8
    • การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) แนว
    • ทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนและชุมชนที่ใช้ศึกษาเป็นโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และตัวแทนของชุมชนที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาเขตพื้นฐาน ใช้วิธีการศึกษาเป็นรายกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลกระทำโดย การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุป แล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณ
    • ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารที่โรงเรียนใช้ในการบริหาร ใช้การบริหารโรงเรียน
    • แบบกระจายอำนาจและชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารจัดการ คณะกรรมการบริหารเป็นคณะกรรมการ
    • จากชุมชน รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและบริบทของสังคมไทยคือรูปแบบที่ชุมชนเป็นหลักในการบริหาร
    • 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย การสร้างกรอบแนวคิดของโรงเรียนคือ การสร้างศรัทธาและความตระหนัก
    • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
  15. วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนวัดโพธิ์รัตนาราม 2. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนวัดโพธิ์รัตนาราม
    • กรอบแนวคิดของการวิจัย
    • ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อต้องการศึกษารูปแบบและแนวทางการบริหารโรงเรียนวัดโพธิ์รัตนารามและชุมชนโพธิ์คู่ โดยศึกษาดังนี้ 1) บริบทสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยมีแนวคิดในเรื่อง สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นบริบทที่สำคัญในการใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย นอกจากนั้นยังใช้ข้อมูลด้าน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสปัญหาอุปสรรคของโรงเรียนและชุมชนเพื่อวางแผนในการวิจัยอีกด้วย 2) งานของโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยงานที่สำคัญสี่งานคือ งานวิชาการ งบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไปเป็นงานตามหน้าที่ของโรงเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่การตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ทางผู้วิจัยใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ 3) รูปแบบการบริหารโรงเรียน แบบอย่างการบริหารโรงเรียนที่ผู้วิจัยใช้เป็นกรอบแนวคิดของการวิจัยได้แก่ รูปแบบที่ผู้บริหารเป็นหลัก รูปแบบที่ครูเป็นหลัก รูปแบบที่ชุมชนเป็นหลัก รูปแบบที่ครูและชุมชนเป็นหลัก รูปแบบต่างๆเหล่านี้เป็นรูปแบบที่โรงเรียนใช้ในการบริหารโรงเรียนมีความสำคัญและเหมาะสมตามบริบทของแต่ละโรงเรียน 4) แนวทางการบริหารโรงเรียน เป็นกลยุทธ์หรือวิธีการในการบริหารโรงเรียน โดยผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดเป็นวัฏจักรการพัฒนาโรงเรียนเพื่อศึกษาว่าขณะนี้โรงเรียนอยู่จุดใด มีสภาพเป็นอย่างไร โรงเรียนจะก้าวไปสู่ที่ใด จะก้าวไปอย่างไร และโรงเรียนจะทำอย่างไรให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จในการบริหารโรงเรียน แนวทางที่เป็นกรอบแนวคิดที่สำคัญอีกประหนึ่ง
  16. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนวัดโพธิ์รัตนาราม และชุมชนโพธิ์คู่ ( นามสมมติ ) สาเหตุที่เลือกโรงเรียนวัดโพธิ์รัตนาราม และชุมชนโพธิ์คู่ เพราะเป็นโรงเรียนประถมศึกษาที่จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เป็นโรงเรียนพระราชทานโดยมีชุมชนเป็นกำลังสำคัญและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน ชุมชนมีอาชีพที่หลากหลายแต่อาชีพหลักคือเกษตรกรรม ความเป็นอยู่คล้ายกับบริบทของสังคมไทยโดยทั่วไป
    • สรุปปัญหาและข้อมูลแนะในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
    • บทสรุปที่ควรคำนึงถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำรูปแบบและแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไปใช้
    • ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ จากการศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนวัดโพธิ์รัตนารามได้พบว่ามีปัญหาที่สำคัญซึ่งเป็นประสบการณ์จากการบริหารไปใช้ สรุปได้หกประการสำคัญดังต่อไปนี้
    • 1. เวลา
    • 2. ความคาดหวัง
    • 3. คณะกรรมการสถานศึกษา
    • 4. ความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการและการปฏิบัติ
    • 5. ขาดความอิสระในการตัดสินใจ
  17. บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ . “ ระเบียบคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ . 2543.” 23 พฤษภาคม 2543 เฉิดศักดิ์ ชุมนุม . “ การจัดการโดยมีโรงเรียนเป็นฐาน : ยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จ .” โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2,16 (2542) : 26. ถวิล มาตรเลี่ยม . “ การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน .” ปฏิรูปการศึกษา 1,8 ( มกราคม 2542) : 12.
    • ประกอบ คุณารักษ์ . โครงการศึกษารูปแบบความร่วมมือขององค์กรชุมชน . กรุงเทพมหานคร : เอช
    • เอน การพิมพ์ , 2531.
    • เปลี่ยน ศิริรังสรรค์กุล . “ ความคิดเห็นของคณะกรรมการการศึกษา ประจำโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการศึกษาประจำโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก .”
    • ภานุวัฒน์ ภักดีวงค์ . “ ร่างรัฐธรรมนูญกับการกระจายอำนาจทางการศึกษา .” วารสารวิชาการ 1,3 ( มีนาคม 2541) : 27-34.
    • ภาษาต่างประเทศ
    • Assessment of School – Based Management. School – Based Management ( Online ). Accessed
    • 1996. Available from
    • Cheng, Yin Cheong. “ The theory and characteristics of school – based
    • Management. “ International Journal of Educational Management . No 7 ( 1993 ) :6-17.
  18. ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 โดย นายสมศักดิ์ รอบคอบ วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
    • ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1
    • บทคัดย่อ
    • การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามขนาดและที่ตั้งของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 108 แห่ง เครื่องที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามละเทคนิคสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าทดสอบที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และวิเคราะห์สนทนากลุ่ม
  19. ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ที่มีขนาดและที่ตั้งของสถานศึกษาต่างกัน มีประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานไม่แตกต่างกัน
    • 3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ควรพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ปรับปรุงระบบ การวางแผน การสร้างทีมงาน การมอบหมายงาน การระดมทรัพยากรทางการศึกษา การตัดสินใจ การประเมินผล การประกันคุณภาพทางการศึกษา การตรวจสอบภายใน การประชาสัมพันธ์ และให้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมาย การสร้างเครือข่ายการบริหารเพื่อช่วยเหลือในด้านการบริหารงบประมาณ
  20. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 จำแนกตามขนาดและที่ตั้งของสถานศึกษา 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1
    • กรอบแนวคิดในการวิจัย
    • จากการศึกษาแนวคิดหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานซึ่งเป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยของอุทัย บุญประเสริฐ (2542 : 154 – 156 ) ที่ได้เสนอหลักการสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 5 ประการ ประกอบด้วย 1) หลักการกระจายอำนาจ 2) หลักการมีส่วนร่วม 3) หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน 4) หลักการบริหารตนเอง 5) หลักการตรวจสอบถ่วงดุล
    • จากหลักการดังกล่าวสามารถแสดงเป็นแผนภาพขอบข่ายแนวคิดทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานดังนี้
  21. ขอบข่ายแนวคิดทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School – Based Management : SBM มิติขอบข่ายภารกิจ - งานบริหารวิชาการ - งานบริหารบุคคล - งานบริหารงบประมาณ - งานบริหารทั่วไป
    • มิติหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
    • - การกระจายอำนาจ
    • - การมีส่วนร่วม
    • - การบริหารตนเอง
    • - การตรวจสอบและถ่วงดุล
    • มิติผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
    • - คณะกรรมการสถานศึกษา
    • - ผู้บริหารสถานศึกษา
    • - ครูผู้สอน
  22. แผนภาพที่ 1 ขอบข่ายแนวคิดทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้วิจัยได้นำแนวคิดหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยโดยกำหนดเป็นตัวแปรตาม และกำหนดให้ขนาดสถานศึกษาและที่ตั้งของสถานศึกษาเป็นตัวแปรต้น ดังแผนภาพที่ 2 ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ขนาดสถานศึกษา - ขนาดใหญ่ - ขนาดกลาง - ขนาดเล็ก ที่ตั้งของสถานศึกษา - เขตเทศบาล - เขตองค์การบริหารส่วนตำบล ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน - การกระจายอำนาจ - การมีส่วนร่วม - การคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน - การบริหารตนเอง - การตรวจสอบและถ่วงดุล
  23. ขอบเขตการวิจัย ประชากร ประชาการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเจต 1 จำนวน 142 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 32 แห่ง และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 110 แห่ง โดนจำแนกเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก 25 แห่ง ขนาดกลาง 63 แห่ง และขนาดใหญ่ 54 แห่ง
    • กลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้ใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ ( Unit of Analysis ) ดังนั้น
    • กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้จึงประกอบด้วย
    • กลุ่มที่ 1 เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ซึ่งได้มาโดยกำหนดขนาดและการสุ่ม ดังนี้
    • 1. กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
    • 2. สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
    • 3. สุ่มอย่างง่าย เพื่อให้ได้รายชื่อสถานศึกษาตามข้อ 2)
    • กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้
    • โรงเรียนเป็นฐานที่เหมาะสมกับบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
    • ตัวแปรต้น คือ 1) ขนาดสถานศึกษาจำแนกเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กและ 2) ที่ตั้ง
    • ของสถานศึกษา จำแนกเป็นเขตเทศบาล และเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
    • ตัวประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    • แปรตาม คือ ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การกระจายอำนาจ 2) การ
    • มีส่วนร่วม 3) การคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน 4) การบริหารตนเอง และ 5) การตรวจสอบและ
    • ถ่วงดุล
  24. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผลจากการวิจัยจะเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1
    • 2. ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาในการประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน
    • ให้สถานศึกษาในสังกัดพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้เหมาะสมและสอด
    • คล้องกับบริบทของแต่ละสถานศึกษาต่อไป
  25. บรรณานุกรม ภาษาไทย กมล สุดประเสริฐ . รายงานผลการวิจัย รูปแบบการบริหารและจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2544. กรมสามัญศึกษา . เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ . ศ . 2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2539
    • จุฑารัตน์ ชำนาญกิจ . พลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา จังหวัดพังงา . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2544.
    • ประสิทธิ์ เขียวสี . การนำเสนอแบบจำลองการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้
    • โรงเรียนเป็นฐาน . ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์
    • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2544
    • ดิเรก สายศิริวิทย์ . บทบาทของผู้บริหารในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมั
หมายเลขบันทึก: 320390เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับสำหรับความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท