Act to Accreditation / IC & ENV


ทุกคนในหน่วยงานจะรู้ปัญหาของตัวเองได้ดี สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ดีที่หน้างาน

Act to Accreditation  /  IC & ENV……(6-8 ตค. 52 )

มาแล้วค่ะมาช้าไปนิดไม่ได้ลืมแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี เพราะมีประเด็นมากมาย...จากการประชุมกลุ่มย่อยIC & ENV อาจารย์พูดถึงการเขียน SPA และ Pit fall ที่พบบ่อย พอจะสรุปประเด็นได้ว่า ให้ใช้ IC เป็นตัวนำ ENV และเชื่อมโยงสู่กระบวนการดูแลผู้ป่วย    การวิเคราะห์บริบท IC ควรทำให้รอบด้าน วิเคราะห์เป้าหมายให้ตรงกับข้อมูล  การมีข้อมูลต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ ( Pit fall ICN ทำคนเดียว ทีมแพทย์ไม่ได้ร่วมด้วย )...การเฝ้าระวังในผู้ป่วยทุกคนต้องทราบว่ารพ. ทำแบบไหน ข้อมูลเชื่อถือได้หรือไม่  รู้เชื้อ  รู้นิยาม การวินิจฉัยการติดเชื้อเป็นมาตรฐาน แพทย์ต้องวินิจฉัยได้แม่นยำ ตัวที่สะท้อนคุณภาพการเฝ้าระวังจะดูที่เวชระเบียน Incident ต่างๆ (สุ่มเวชระเบียน) เมื่อมีการติดเชื้อตำแหน่งต่างๆ หน่วยงาน มีการตอบสนองอย่างไร หน่วยงานต้องรู้ปัญหาของตัวเอง ใบต่างๆที่ใช้ในหน่วยงานมีประโยชน์อย่างไร มีการบันทึกข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ มีการเรียนรู้อะไรบ้าง (Pit fall ไม่เกิดการเรียนรู้หน้างาน)...เมื่อมีการติดเชื้อดื้อยาขึ้นสามารถบอกได้ว่าเกิดขึ้นจาก รพ. หรือนอก รพ.มีการจัดการอย่างไร การสร้างเครือข่ายในการกำกับป้องกันดูแลและเชื่อมโยง...กลุ่มรพช. มักมีการติดเชื้อต่ำจะเน้นที่ Process ส่วนใหญ่จะดูที่ OPD,ER เช่น การจัดโซน  มีการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้ดีแค่ไหน การใช้ PPE เป็นอย่างไร...

การประเมิน นิเทศ ติดตามกำกับ : ควรหาวิธีให้เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร(ท้าทาย) ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ดูได้อย่างไรว่าทำหรือไม่ทำ ระบบ/มาตรการที่วางไว้ปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ต้องติดตาม monitor ให้ต่อเนื่อง สิ่งที่ทำสามารถลดปัญหาได้จริงหรือไม่...

ในเรื่องการจัดโซน จะดูที่บริบท และเป้าหมายในการใช้สถานที่ในแต่ละเรื่อง Out come เป็นอย่างไร ผู้ป่วยปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ .. เช่น OR  มีการผ่าตัดอะไรบ้าง รพ.ที่มาจาก 10 เตียง เมื่อขยายเป็น 30 เตียง มักไม่ได้คาดหวังว่าจะทำผ่าตัดใหญ่หลังขยาย ให้ดูบริบทในระดับใหม่สอดคล้องกับโครงสร้างเดิมหรือไม่ ถ้ามีแต่ Excission ไม่มีผ่าตัดใหญ่ การปรับโครงสร้างแบบเต็มรูปแบบอาจเป็นการสิ้นเปลือง ไม่ได้ประโยชน์...../ สำหรับห้องที่มีปัญหาการระบายอากาศ ต้องให้วิศวกรวัดขนาดห้อง คำนวณ ติดพัดลมดูดอากาศ ควรอยู่ที่ต่ำ ระบายอากาศออกที่โล่ง ตัวฟอกอากาศไม่ได้ช่วยอะไร แต่ให้ดู การคัดกรองก่อนเข้าระบบ มีการจัดการอย่างไร ชัดเจนหรือไม่ กรณีติดเครื่องปรับอากาศ ระบบสามารถมีการแลกเปลี่ยนอากาศได้ดีหรือยัง มีเวลาเปิดพื้นที่ให้โล่งเพื่อให้มีอากาศแลกเปลี่ยนชัดเจน  สุดท้ายจะดูระบบป้องกันตนเอง(PPE) ... กรณีใช้ห้องพิเศษเป็นห้องแยกโรค(ชั่วคราว) ต้องเน้น “ Standard Precaution” ......

นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ยกตัวอย่างมา สิ่งสำคัญอาจารย์เน้น IC จะแทรกอยู่ทุกหน่วย สมาชิกชาวมโนรมย์ที่ได้เข้ามาอ่านอยากให้ลองตอบคำถามดู  ลองคิดประเด็น/ Pit fall ในงานของตัวเองเพื่อเติมเต็มส่วนที่ยังขาดหายไป IC เป็นงานที่มีวิชาอ้างอิง แต่ปฏิบัติจริงจะอิงบริบทของในแต่ละที่ให้เหมาะสม ร่วมด้วย ทุกคนในหน่วยงานจะรู้ปัญหาของตัวเองได้ดี สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ดีที่หน้างาน บทบาทICN จะเป็นแค่ที่ปรึกษา เมื่อมีการประเมินความหวังจะฝากไว้กับทุกๆคนในหน่วยงาน   IC Team จะเป็นแค่ตัวแทนในการนำเสนอในภาพรวมเท่านั้น.......ดิฉันในนามตัวแทนIC Team ยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งและช่วยกันเติมเต็ม เพื่อพัฒนารพ.ของเรา

ขอขอบคุณ Boss และทีมนำที่ให้โอกาสไปไดรับรู้สิ่งดีๆและมีความชัดเจนในงานมากขึ้น /      wilawan

คำสำคัญ (Tags): #act to accreditation ic env
หมายเลขบันทึก: 320350เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 04:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไปเข้า Work shop ห้องเดียวกันในฐานะทีม ENV เห็นได้ว่า ENV ต้องจีบ IC มาเป็นแฟนให้ได้จึงจะพากันไปรอด/By Jan

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท