สรุปวิจัยเล่ม 5


การจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตร

ชื่อวิจัย: ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตร คณะวิทยาการจัดการในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผู้วิจัย: นางสาวบุญศรี หวังคุณธรรม

ปีที่วิจัย: 2546

วัตถุประสงค์:

            1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะการจัดการในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

            2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยจำแนกตามเพศ ผลการเรียน ชั้นปีที่กำลังศึกษา โปรแกรมวิชา

                3. เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง:

                1. ประชากร เป็นนักศึกษาภาคปกติ คณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ประกอบด้วย โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ จำนวนรวม 550 คน

                2. กลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ของยามาเน่ ในระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในการวิจัยนี้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างรวม 260 คน แบ่งเป็น                                                                                                     

                                                                     ชั้นปีที่ 1           ชั้นปีที่ 2

             2.1 นักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์         40                    20

            2.2 นักศึกษาโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ           110                  90

                              รวมเป็น                                150                  110

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล: เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้

                ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วยเพศ ผลการเรียน ชั้นปี โปรแกรมวิชา โดยมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Check – List)

            ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ทั้ง 3 ด้าน ด้านส่วนตัวของนักศึกษา จำนวน 18 ข้อ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนจากสถาบัน จำนวน 17 ข้อ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 11 ข้อ รวมข้อคำถามทั้งหมด 46 ข้อ โดยแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย และเห็นด้วยน้อยที่สุด

                ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ทั้ง 3 ด้าน คือด้านส่วนตัวของนักศึกษา ด้านการส่งเสริมสนับสนุนจากสถาบัน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก

การเก็บรวบรวมข้อมูล: ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้

                1. ขอหนังสือรับรองจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะบดีคณะวิทยาการจัดการ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และรับแบบสอบถามคืนด้วยตัวเอง

                2. ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืน จำนวนทั้งสิ้น 257 ฉบับ

การวิเคราะห์ข้อมูล: ผู้วิจัยกระทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/ PC+ (Statistical Package for the Social Sciences / Personal Computer Plus)

            1. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยการหาค่าร้อยละ

            2. วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากแบบสอบถามตอนที่ 2 โดยใช้เกณฑ์ประมาณค่าเฉลี่ย 5 ระดับ ดังนี้

                ค่าเฉลี่ย   1.00 – 1.50 หมายถึง        ระดับความคิดเห็นด้วยน้อยที่สุด

                ค่าเฉลี่ย   1.51 – 2.50 หมายถึง        ระดับความคิดเห็นด้วยน้อย

                ค่าเฉลี่ย   2.51 – 3.50 หมายถึง        ระดับความคิดเห็นด้วยปานกลาง

                ค่าเฉลี่ย   3.51 – 4.50 หมายถึง        ระดับความเห็นด้วยมาก

                ค่าเฉลี่ย   4.51 – 5.00 หมายถึง        ระดับความเห็นด้วยมากที่สุด

                3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตร คณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำแนกตัวแปร ตาม เพศ ชั้นปี และโปรแกรมวิชา โดยใช้สถิติทดสอบค่า ที (t – test)

            4. เปรียบเทียบค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำแนกตามผลการเรียน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) และทดสอบค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้การเปรียบเทียบพหุคูณ โดยวิธีการชอง เซฟเฟ่

สถิติที่ใช้ในการวิจัย:

  1. ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  2. สถิติที่ใช้หาความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา
  3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน

3.1  สถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม โดยใช้  t – test

3.2  สถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance)

สรุปผลการวิจัย:

            1. สถานภาพของนักศึกษาทั้งหมดจำนวน 257 คน เป็นชายจำนวน 65 คน และหญิงจำนวน 192 คน ผลการเรียน (คะแนนเฉลี่ยสะสมของภาคเรียนที่ 1/45) 1.60 – 1.99 จำนวน 37 คน ผลการเรียน 2.00 – 2.99 จำนวน 178 คน ผลการเรียน 3.00 – 4.00 จำนวน 42 คน ชั้นปีที่ 1 จำนวน 146 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 111 คน และโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ จำนวน 61 คน โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ จำนวน 196 คน

                2. ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านส่วนตัวนักศึกษาและด้านการส่งเสริมสนับสนุนจากสถาบันอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษามีความคิดเห็นว่า กิจกรรมร่วมหลักสูตรเป็นรายข้อในแต่ละด้าน พบว่า

                ด้านส่วนตัวนักศึกษา ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตร โดยรวมนักศึกษาเห็นด้วยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ส่วนใหญ่ (16 ข้อ) เห็นด้วยในระดับมาก ส่วนข้อ 13, 14 เห็นด้วยในระดับปานกลาง

                ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนของสถาบัน โดยรวมนักศึกษาเห็นด้วยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ส่วนใหญ่ (14 ข้อ) เห็นด้วยในระดับมาก ส่วน ข้อ 30, 31, 32, 35 เห็นด้วยในระดับปานกลาง

                ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยรวมนักศึกษาเห็นด้วยในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ (6 ข้อ) เห็นด้วยในระดับมาก ส่วนข้อ 37, 40, 43, 45, 46 เห็นด้วยในระดับปานกลาง

            นักศึกษาชายมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และทุกด้านอยู่ในระดับมาก นักศึกษาหญิงมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และทุกด้านอยู่ในระดับมาก

                นักศึกษาที่มีผลการเรียนกลุ่มต่ำ โดยรวมเห็นด้วยในระดับมาก และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ผลการเรียนกลุ่มปานกลาง โดยรวมเห็นด้วยในระดับมาก และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เห็นด้วยในระดับปานกลาง ส่วนผลการเรียนกลุ่มสูง โดยรวมเห็นด้วยในระดับมาก และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เห็นด้วยในระดับปานกลาง

                นักศึกษานั้นปีที่ 1 โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยรวมเห็นด้วยในระดับปานกลาง ด้านส่วนตัวของนักศึกษาและด้านการส่งเสริมและสนับสนุนของสถาบัน โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก

            นักศึกษาโปรแกรมนิเทศศาสตร์ โดยรวมเห็นด้วยในระดับปานกลาง และรายด้านทั้ง 2 ด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เห็นด้วยในระดับปานกลาง โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ โดยรวมเห็นด้วยในระดับมาก และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก

                3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พบว่า

                ความคิดเห็นของนักศึกษาจำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตรด้านส่วนตัวของนักศึกษา ด้านการส่งเสริมสนับสนุนของสถาบัน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ .05 ส่วนโดยรวมด้านส่วนตัวของนักศึกษา และด้านการส่งเสริมสนับสนุนของสถาบัน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก นักศึกษากลุ่มที่มีผลการเรียนสูงืกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้ที่มีผลการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำมีความคิดเห็นเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่มีผลการเรียนสูง และกลุ่มที่มีผลการเรียนปานกลางกับกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มที่มีผลการเรียนปานกลางมีความคิดเห็นน้อยกว่ากลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำ

                ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตร จำแนกตามชั้นปี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 มีระดับความคิดเห็นโดยรวมและรายด้าน ทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            4. สรุปข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ จากคำถามปลายเปิด ในด้านส่วนตัวของนักศึกษา ด้านการส่งเสริมสนับสนุนของสถาบัน และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้

                ด้านส่วนตัวของนักศึกษา ข้อที่นักศึกษาเสนอแนะมากที่สุด คือ กิจกรรมควรมีความสอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้สมาชิกสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรม

                ด้านส่งเสริมและสนับสนุนของสถาบัน ข้อที่นักศึกษาเสนอแนะมากที่สุด คือ ควรมีงบประมาณจัดสรรให้เพียงพอในการบริหารงานกิจการนักศึกษา

                ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ข้อที่นักศึกษาเสนอแนะมากที่สุด คือ ควรมีเครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมากเพียงพอในการจัดกิจกรรม

                กิจกรรมที่นักศึกษาชอบมาที่สุด คือ กีฬาคณะ

                กิจกรรมที่นักศึกษาต้องการให้สถาบันจัดกิจกรรม คือ กิจกรรมทางด้านการท่องเที่ยว

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรม
หมายเลขบันทึก: 320171เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท