การบริหารเชิงคุณภาพโดยรวม


การบริหารเชิงคุณภาพโดยรวม

TQM (Total  Quality   Management)

        (การบริหารเชิงคุณภาพโดยรวม)

ที่มาของแนวคิดเรื่อง  TQM

แนวคิด TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1950 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นกำลังประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องคุณภาพของสินค้า ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน จึงได้นำแนวคิด TQM มาใช้ปรับปรุงและพัฒนา ทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีขึ้น จากสินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะถือเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ กลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดจนกลายเป็นสินค้าชั้นหนึ่ง จากนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ TQM และเริ่มกลับมาสนใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่งในปี 1980 ส่วนในประเทศไทยเองนั้นเริ่มมีการพูดถึงหลักการดังกล่าวตั้งแต่ราวๆ ปี  1985  (Mehrotra,  2007)

TQM มาจากคำว่า TQC (Total Quality Control) ของญี่ปุ่น หรือบางทีญี่ปุ่นก็เรียกว่า “CWQC” (Company-Wide Quality Control) หรืออาจแปลว่า “การควบคุมคุณภาพทั่วบริษัท”  (เรืองวิทย์  เกษสุวรรณ,  2549) TQM ได้นิยามว่าเป็น “กิจกรรมที่เป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์ และครอบคลุมทุกส่วนขององค์กรโดยให้ความสำคัญที่ลูกค้า” (จำลักษณ์  ขุนพลแก้ว  และศุภชัย  อาชีวระงับโรค, 2548)

                เมื่อกล่าวถึงโดยภาพรวมสำหรับความหมายของ TQM นั้น : Witcher (1390 อ้างถึงใน สุนทร  พูนพิพัฒน์)  กล่าวว่า

                T (Total) : การยินยอมให้ทุกคนปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริหารงานระบบคุณภาพ ซึ่งเกี่ยวกับทั้งลูกค้าภายนอก (external customer) และลูกค้าภายใน (internal customer) โดยตรง

                Q (Quality) : การสร้างความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเป็นหลัก นอกจากนี้คุณภาพยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ (systematic approach of management) กล่าวคือ การกระทำสิ่งใด ๆ อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องและตรงตามแนวความคิดดั้งเดิมของวงจรคุณภาพที่เรียกว่า PDCA cycle ซึ่งเสนอรายละเอียดโดย W.Edwards Deming

                เพราะฉะนั้น    ถ้าหมุนวงจรคุณภาพเช่นนี้อย่างต่อเนื่องขึ้นภายในแต่ละหน่วยงานย่อยของ          องค์การหนึ่ง ๆ ก็ย่อมจะเกิดระบบคุณภาพโดยรวมทั้งหมดที่เรียกว่า TQM ขึ้นมาได้ในประการสุดท้าย

                M (Management) : ระบบของการจัดการหรือบริหารคุณภาพขององค์การ ซึ่งดำเนินการและควบคุมด้วยระดับผู้บริหารสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision) การประกาศพันธกิจหลัก (mission statement) และกลยุทธ์ของการบริหาร (strateship management) รวมถึงการแสดงสภาวะของความเป็นผู้นำ (leadership) ที่จะมุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาระบบคุณภาพขององค์การอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา (continuous quality improvement)

 

                 TQM เป็นระบบการจัดการที่เน้นมนุษย์ (a peple-focused management system) กล่าวคือ เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมที่มุ่งเปลี่ยนแปลงคนทั้งหมดในองค์การ เพื่อให้หันมาสนใจปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการสร้างความเป็นเลิศในระดับโลก TQM มีความหมายหลายอย่างในตัวเอง กล่าวคือเป็นทั้งกลยุทธ์ เทคนิค ระบบการจัดการ รวมไปถึงปรัชญาและเครื่องมือในการแก้ปัญหาขององค์การ สาเหตุที่ TQM มีความสำคัญก็เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านการผลิต  การตลาด และการเงิน เนื่องจากองค์การต้องการพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อต่อสู้กับการแข่งขัน โดยมีกระแสโลกาภิวัตน์เป็นตัวเร่งตลาดและการแข่งขันเปิดกว้างออกอย่างไร้พรมแดน องค์การต้องหาทางลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพ เพื่อเอาตัวรอดและสร้างความเจริญก้าวหน้า ประกอบกับมีตัวอย่างความสำเร็จของ TQM จากกิจการต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่น ประเทศตะวันตกและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก (เรืองวิทย์  เกษสุวรรณ,  2549)

คำนิยามของ TQM (Total  Quality  Management)

ได้มีปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณภาพหลายท่านทั้งที่เป็นชาวญี่ปุ่น  ชาวตะวันตก  หรือแม้แต่ชาวไทยได้ให้ความหมายของ TQM  ไว้หลากหลายเช่น

1. Department  of  Defense  กระทรวงกลาโหมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา  กล่าวว่า “ทีคิวเอ็ม  เป็นยุทธศาสตร์  เพื่อปรับปรุงสมรรถนะอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ  และทุก ๆ จุดมีอยู่ในความรับผิดชอบ  อันประกอบด้วยเทคนิคการบริหารขั้นพื้นฐาน  จิตใจมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงและเครื่องมือเชิงวิชาการภายใต้โครงสร้างที่มีวินัย  โดยพุ่งเป้าไปที่ทุกๆ กระบวนการ  ประสิทธิภาพของการปรับปรุงนั้น  เพื่อสนองตอบเป้าหมายในมุมกว้าง  อาทิ  การลดต้นทุน  เพิ่มคุณภาพทันกำหนด และสอดคล้องกับภารกิจที่ต้องการ  คือการเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ เป็นวัตถุประสงค์ที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใด”

2. ศาสตราจารย์ ดร.คะโอรุ  อิชิคะวะ  บิดาแห่งการบริหารคุณภาพของญี่ปุ่น  ได้กล่าวว่า

                ทีคิวซี คือ  การปฎิวัติทางความคิดในการบริหาร

                ทีคิวซี คือ  กิจกรรมกลุ่ม  ซึ่งไม่สามารถทำได้โดยปัจเจกบุคคล

                ทีคิวซี  มิใช่ยาวิเศษ  แต่มีสรรพคุณคล้ายสมุนไพร

                ทีคิวซี คือ  การบริหารด้วยข้อเท็จจริง

                ทีคิวซี  คือ  การบริหารด้วยการหมุนกงล้อ  PDCA

                ทีคิวซี  คือ  วินัยที่เชื่อมโยงความรู้เข้ากับการปฎิบัติ

                ทีคิวซี  เริ่มต้นที่การศึกษาและสิ้นสุดที่การศึกษา

3.  ดร.ทวี  บุตรสุนทร  ได้กล่าวว่า  “ TQM คือ กิจกรรมที่พนักงานทุกคน  ทุกระดับ  และทุกหน่วยงานทำหรือช่วยกันทำเป็นกิจวัตรประจำ  เพื่อปรับปรุงงานอย่างสม่ำเสมอ  และต่อเนื่อง  โดยทำอย่างมีระบบ  ทำอย่างเชิงวิชาการ  อิงข้อมูล  และมีหลักการที่สมเหตุสมผล  เพื่อจุดมุ่งหมายที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจในคุณภาพของสินค้าและบริการ”

4.  ดร.วีระพจน์  ลือประสิทธิ์สกุล  ได้ให้ไว้ว่า “TQM  คือ  ชุดปรัชญา  ความรู้  เทคนิค  วิธีการ  สำหรับบริหารธุรกิจ  เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยพนักงานทุกๆคน มีส่วนร่วม”

กล่าวโดยสรุป  ความหมายของ TQM เป็นการบริหารแบบเชิงคุณภาพซึ่งเป็นรูปแบบการบริหาร (Management  Model) รูปแบบหนึ่งในหลายๆรูปแบบ โดยมีปรัชญาว่า  “หากองค์การสามารถผลิตสินค้าหรือบริการ ให้ลูกค้าที่พึงพอใจได้แล้ว ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการ”   แต่แนวคิดนี้จะเป็นจริงได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกระดับในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ดร.โนริอากิ คาโน่ ได้สร้างโมเดลจำจองการบริหารออกมาเป็นรูปบ้าน เพื่อสรุปแนวคิดการบริหาร โดยอาศัยช่องทางการบริหารนโยบายผ่านผู้บริหารระดับสูง ช่องทางการบริหารงานประจำวันผ่านผู้บริหารระดับกลาง/ต้น ช่องทางการบริหารงานข้ามสายงานผ่านผู้บริหารระดับกลาง/ต้นและซุปเปอร์ไวซ์เซอร์ ช่องทางการแก้ไขปัญหาผ่านผู้บริหารระดับต้น/ซุปเปอร์ไวเซอร์/หัวหน้างาน และช่องทางกิจกรรมล่างสู่บนผ่านพนักงานหน้างาน ทั้งนี้พนักงานทุกระดับต้องมีแนวคิดต่างๆเช่น การยึดความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ การยึดว่ากระบวนการถัดไปเป็นลูกค้าของเรา การใช้วงจรการบริหาร P-D-C-A คุณภาพสร้างได้ที่กระบวนการ การใช้ข้อมูลข้อเท็จจริง การจัดลำดับความสำคัญ การบริหารกระบวนการ การกำหนดมาตรฐาน และการป้องกันปัญหาเกิดซ้ำ อีกทั้งใช้เครื่องมือช่วยต่างๆเช่น QC 7 Tools , New QC 7 Tools, วิธีทางสถิติ ตลอดจนเครื่องมือต่างที่จะหยิบมาใช้เมื่อมีความจำเป็นและเหมาะสม ในการบริหารงานโดยการนำ TQM  มาใช้  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการประกันคุณภาพของงาน

TQM (Total Quality Management)   เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความร่วมมือของพนักงานทั่วทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ TQM จึงเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนำมาใช้ปรับปรุงงาน
          ระบบ TQM เป็นระบบที่มองภาพรวมทั้งองค์กร ระบบนี้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการ เป็นระบบที่ปรับปรุงการวางแผน การจัดองค์กร และการทำความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลในแต่ละระดับเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้ TQM เป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์กร ประสิทธิภาพของการจัดองค์กรในระบบนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของทุกคนในการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย

 

คำสำคัญ (Tags): #tqm
หมายเลขบันทึก: 319796เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2009 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (108)

มาสวัสดีและทักทายทำความรู้จักค่ะ

ขอบใจที่แวะเข้ามาในบล็อกและบันทึกที่ผมเขียนไว้เกี่ยวกับ TQM ครับ

สวัสดีครับ อ.เดือนเพ็ญ ยินดีที่รู้จักครับ ก่อนอื่นขอบคุณสำหรับความเห็นใน blog ของผม ก็เลยได้ทราบว่าอาจารย์ก็เกือบจะเป็น ผอ.เหมือนกัน แต่ผมเป็น ผอ.รพ.ชุมชนบ้านนอกแบบ accidental moment ไม่ต้องสอบครับเพราะไม่มีใครไปอยู่เพราะเป็น ผอ.คนแรกของ รพ.ใหม่แห่งหนึ่งในฉะเชิงเทรา เมื่อ 15 ปีก่อน แต่ตอนนี้ย้ายมาอยู่ใกล้หน่อยครับเพราะจะได้ดูแลรับใช้คุณแม่(หรือไม่ก็ให้คุณแม่ดูแลต่อเนื่อง) มีคนชวนให้เข้ากระทรวงเหมือนกัน แต่ไม่ไปครับเพราะอยากเจอคุณแม่ทุกวันมากกว่า (ส่วนคุณพ่อไปเลี้ยงหลานลูกน้องสาวนะครับ) ได้เข้ามาอ่านเรื่อง TQM ที่เคย hot สำหรับโรงพยาบาลมาเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ตอนนี้เป็น trend ของ Hospital Accreditation(HA)ที่น่าจะดัดแปลงแนวคิดมาจาก TQM+ISO และมาใช้เฉพาะสำหรับโรงพยาบาล ตอนนี้ผมก็กำลังเข้าสู่กระบวนการคุณภาพนี้ด้วยเหมือนกันแต่ product เป็น บริการที่ให้กับผู้มารับบริการครับที่บางครั้งอาจจับต้องไม่ได้ แต่ project ในปีนี้เป็น โครงการ healthy 90's ครับ ที่จะเข้าไปดูแลผู้สูงอายุวัยเกิน 90 โดยมี concept ว่ากลุ่มนี้ไม่ต้องมารับบริการที่ รพ.แต่เราจะเข้าไปหาและติดตาม ส่วนปีหน้าจะเริ่มโครงการ Selt care ในแต่ละกลุ่มอายุครับ โดยเน้นเกี่ยวกับการดูแลตัวเองก่อนเจ็บป่วยครับ และอยากจะให้มี Basic competencies ของเด็กไทยด้วยเช่น ทักษะในการประกอบอาหาร ทักษะในการพิมพ์สัมผัส(สำหรับติดต่อสื่อสารใน internet และการทำงานในอนาคต) ทักษะในการขี่จักรยาน ทักษะในการว่ายน้ำ ทักษะในการเล่นกีฬาต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่มีความสามารถในการดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะผมรู้สึกว่าเด็กตอนนี้มีเพียงทักษะในการท่องจำเพื่อไปสอบ ทุกอย่างที่ต้องการต้องใช้เงินซื้อมาเอง เพราะทำเองไม่เป็น การศึกษาทำให้นักเรียนเป็นทุกข์เพราะการแข่งขันสูง แทนที่จะมีความสุขในการเรียน ผมเคยได้ทราบว่ามีโรงเรียนในภาคอีสาน ที่โด่งดังไปทั่วโลกกับกระบวนการสอนแบบใหม่ที่ให้เด็กเป็นผู้กำหนดรูปแบบการเรียนรู้ของเขาเอง ไม่มีระบบการสอบ แต่เป็นการเรียนรู้ที่สัมผัสได้จริง เช่นเรียนรู้เรื่องการปลูกข้าวโดยการลองทำดูจริง หรืออะไรก็ได้ที่นักเรียนอยากรู้เช่นลองทำรหัสวิดน้ำเพื่อทดน้ำสำหรับปลูกผัก หรือการพิสูจน์สูตรทางคณิตศาสต์หรือเรขาคณิตโดยการตั้งโจทย์เองและช่วยกันแก้ปัญหาในกลุ่ม สิ่งที่น่าแปลกใจคือเมื่อนักเรียนโรงเรียนนี้มาสอบกลับทำคะแนนได้ดีผ่านเกณ์ที่ต้องการ เสียดายที่ผมไม่ได้มีโอกาสเรียน ก็เลยต้องมาเป็น ผอ.ที่กำลังต้องแก้ปัญหารายจ่ายที่มากกว่ารายรับ(เพราะประเทศจนลง) แฮะ ๆ...ลืมไปเอาความลับของทางราชการมาเล่าให้คนอื่นฟังอีกแล้ว วันนี้..ขอแลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อนนะครับ

ยินดีที่ได้รู้จักอีกครั้งครับ

นพ.กสิวัฒน์ ศรีประดิษฐ์

น่าสนใจมากนะคะ มาแบ่งปันความรู้กันบ้างนะคะ

เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยนะคะสำหรับ TQM

เป็นเนื้อหาที่นำไปใช้ในการรายงานได้คะ

ดีนะคะได้รู้ถึง ทีคิวเอ็ม

วงศ์สุรดิษ วงษาทอง

นับเป็นประโยชน์มากดีเทียว

ขอบคุณมากจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์มากทีเดียว

นับเป็นข้อมูลทีดีมากขอบคุณมาก

เป็นข้อมูลทีมีประโยชน์มากค่ะ

จะนำไปทำรายงานต่อไปครับ ขอบคุณมาก

เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรได้ดีมากครับ ขอบคุณครับผม

มีประโยชน์มากนะคะคุณอาจารย์ ขอบคุณค่ะหนูจะนำไปทำรายงานด้วยค่ะ

มีประโยชน์มากจะนำไปทำรายงานต่อไป

การนำTQM มาใช้ในโรงเรียนน่าจะได้ผลดีนะครับ

เลยได้รู้ว่า TQM คืออะไร Thak you ค่ะ

จะนำมาใช้ในระบบโรงเรียนและโรงงานที่บ้านจะได้บริหารลูกน้องให้ดียิ่งขึ้น

จะนำมาใช้ในการบริหารงานกับลูกน้อง

ขอบคุณที่ทำให้ทราบถึงความหมายของ TQM

เป็นข้อมูลที่ดีมากจะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้างก็น่าคิดนะ

พี่เพ็ญคะเป็นข้อมูลทีดีมากหนูตุ้มจะนำไปใช้ในงานที่ทำงานค่ะขอบคุณมาก

ถ้าหน่วยงานของรัฐบาลทำได้ ประเทศไทยก็เจริญแล้วครับ

ไม่น่าเชื่อว่าจะมีสิ่งดีๆ เช่นนี้ให้เราได้ศึกษาอีกเยอะแยะ

ไม่อยากจะบอกชื่อจริง แต่อยากจะบอกความจริงว่าเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้มากทีเดียวค่ะ

อาจารย์ครับทำไมมันจะนำไปใช้ให้ได้ผลจริงๆ หละครับ ที่ห้องเรียนเราเอามาใช้ได้หรือเปล่าครับ

หนูก็เคยอ่านในหนังสือมามากเลยเข้าใจดีมากขึ้นค่ะ

ตกลงว่าถ้าเรานำมาใช้ในโรงเรียนก็คงจะดีมากนะคะ เพราะการสอนจะได้มีคุณภาพมากขึ้นค่ะ

ดูๆแล้วจะนำเป็นข้อมูลในการทำรายงานได้ดีมากคับ

ศุภวรรณ โพธิรินทร์

นับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากนะคะขอบคุณมากค่ะ

เป็นการบริหารที่เน้นเรื่องคุณภาพจริงๆ ควรนำมาใช้มากทีเดียว

สุจิตรา วงค์รักศิลป์

เป็นข้อมูลการบริหารด้านเชิงบวก น่าสนใจจริงๆ

ไม่อยากจะคิดว่าถ้าประเทศไทยเราโดยผู้นำคนปัจจุบันนำมาบริหารบ้านเมือง จะเกิดผลดีอย่างไม่คาดฝันเลยครับ

เป็นข้อมูลที่หนูนำมาเป็น Reference ในรายงานได้เป็นอย่างดีค่ะ

มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคน

ขอบคุณครับนำไปใช้ในงานได้ดีครับ

หนูเพิ่งจะทราบว่า มันคืออะไรก็ตอนที่ได้อ่าน ทีคิวเอ็มของอาจารย์นี่หล่ะค่ะ

เป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ครับ

ก็น่าสนใจมากครับ เพราะเป็นอะไรที่น่าทึ่งมากถ้าทำได้จิงๆครับผม

ไม่ทำให้ประเทศชาติมีปัญหาก็ถือว่าเป็น TQM อย่างหนึ่งนะคับ ขอบคุณที่ให้ข้อมูลมาก

อ้อนจันทร์ เสมารังค์

หนูชอบข้อมูลนี้จังเลย เพราะได้ใช้ในการเรียนที่ม.หอการค้าจริงๆ ชอบมากค่ะ

มีประโยชน์มาก ถ้านำไปใช้อย่างจริง ความจริงแล้วที่โรงพยาบาลก็ใช้อยู่เหมือนกันค่ะทุกแผนกก็ใช้กันอยู่

มนัสชนก สุวรรณศิริ

ก็น่าสนใจนะถ้าประเทศไทยเราทำได้จริงๆ

ที่จริงเราก็คงเคยได้ยินคำนี้กันมากบ้างแล้วนะ ทำได้ไม่ยากเลยนะสำหรับ TQM

การที่จะศึกษาเรื่อง TQM ให้ลึกซึ้งนะผมว่า ต้องไปศึกษาจากท่านอาจารย์ยม เพิ่มเติม เพราะจะละเอียดและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เขามีตัวอย่างมาให้เห็นด้วย น่าสนใจมากครับ

ก็น่าสนใจดีนะ เพิ่งรู้ว่าการไปเรียนป.บัณฑิต ทำให้คนเก่งขึ้นจริงๆ นะเนี่ย

ก็น่าสนใจดีค่ะ

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากเลย

ชนม์นิภา สิทธินาม

เนื้อหา ดี มาก ค่ะ

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

เนื้อหาน่าสนใจดีค่ะ

ได้รับความรู้มากค่ะ

สุดารัตน์ ชะนะบุญ

เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ

วิมลรัตน์ วิลินไพร

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ

เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

นางสาว ภาวิณี ทองกูล

มีเนื้อหาสาระความรู้มากคร่ะ

ขอบคุณนะคร่ะ

นางสาวนิตยา ช่วยสนิท

เนื้อหาน่าสนใจดีค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาววิไลวัลย์ สมสิงห์

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวอรพรรณ ปัญญายาว

รู้เรื่องการบริหารเชิงคุณภาพเป็นอย่างดี ขอบคุณค่ะ

นางสาวคัทรียา ตำตาด

เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะและมีประโยชน์กับการบริหารงานเป็นอย่างดี

เป็นข้อมูลที่ดีและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งครับ

นางสาวสิริภา จัทนร์ศรีษร

ให้ข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์มากค่ะ

นางสาวอรวรรณ หนูมอ

เป็นข้อมูลที่เป็นประโยนช์มากเหมาะกับการค้นคว้าเกี่ยวกับการบริหารงานได้ดีค่ะ

นางสาวพิมพร สร้อยสไบ

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจมากค่ะ

นางสาวพรทิพา บุตตะราช

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเป็นอย่างมากค่ะ

นางสาวสุจิตรา พลอยพุฒ

เป็นข้อมูลที่ดีมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวประภาพร พันธ์โภคา

ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูลดีๆ

นางสาว ณัฐวรรณ สุทวงษ์

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ

เป็นอย่างมาก ให้ข้อมูลที่ดีและมีประโยชน์มากค่ะ

นางสาวพนิดา พิมายสิน

เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเป็นอย่างมากค่ะ

และรู้เรื่องการบริหารเชิงคุณภาพเป็นอย่างดี

นางสาวนภาพร แก้วกลาง

เป็นข้อความที่มีประโยชน์มากเกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการอย่างดีค่ะ

นางสาวเกลวลี อดทน

ให้ข้อมูลที่เกียวกับการบริหารได้ดีและเข้าใจงายมากเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังศึกเรื่องการบริหารด้านต่างๆ

นางสาวอุทุมพร ทาสีแสง

ได้รู้ว่า TQM คืออะไร

และได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการบริหารค่ะ

นายพิพัฒน์พล ไผ่โสภา

เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ผมจะได้รู้จักกับคำว่า"การบริหาร"ครับ

นายรัตนชัย วรจักร

เข้าใจเกี่ยวกับการบริหารมากขึ้นครับ

นางสาวชณัฐดา พันชาติ

ขอบคุณมากค่ะที่ได้เสียสระเวลานำสิ่งที่ดี ๆ มาอธิบายให้พวกเราฟัง

นางสาวรัชณู บุญกันหา

อ่านแล้วมีความรู้อย่างเป็นทางการเลยที่เดียวค่ะ

นางสาวประภาศิริ อุนิลคำ

อ่านแล้วทั้งสนุก ทั้งได้ความรู้ค่ะ

นางสาวเพียงตะวัน บูรณะถาวร

เนื้อหาสาระดี เข้าใจดี

นางสาวนันยนา ยงยืน

ให้ข้อมูลที่เกียวกับการบริหารได้ดี

และเข้าใจง่ายมากเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังศึกเรื่องการบริหารด้านต่างๆ

เป็นประโยชน์มากค่ะ

นางสาวณัฐธิดาขอพรกลาง

เป็นข้อมูลที่ดีมากคะ

สามารถนำไปศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้

นางสาววรรณณิศา จันแดง

เป็นเนื้อหาที่ดีมากค่ะ

นางสาวสวรรณญา เกิ้มเหม็นบุญ

เนื้อหามีสาระดีเข้าใจง่ายดีค่ะ

นางสาวชนนณี นาหัวนิน

เป็นเนื้อหาที่ดีมากคะ

นางสาวพัชนีย์ คำพันธ์

เป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์ และเป็นระบบที่องค์กรสามารถนำมาใช้ในการบริหารงานและบุคลากรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพสูงสุด

ขอบคุณมากคะที่ได้นำเนื้อหาที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เป็นเนื้อหาที่ดีมากเลยทีเดียว น่าสนใจ ได้ความรู้มากจริง ๆ ครับ ขอบคุณครับ

กว่าจะหาข้อมูลเจอนะคะอาจารย์ แต่ก็ได้ความรู้ดีค่ะ ขอขอบคุณนะคะ

นางสาวกุลธิดา วาจาสัตย์

เข้าไปเยี่ยมใน Blog มาแล้วค่ะ ก็เลยจะแสดงความเห็นร่วมกับเพื่อน ต่อกันและเครื่องเดียวกันนะคะ ขออนุญาตนะคะ เพราะเวลามันมีน้อยจริงๆ ก็ขอบอกว่าอาจารย์ทำได้เข้าใจดีค่ะ ไม่รู้เรื่องเลยว่า TQM คืออะไร แต่พออ่านไป อ่านไปเรื่อยๆ ก็เลยถึงบางอ้อ้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

วันวิสาข์ ทรัพย์ปรุงการ

นึกว่าจะไม่ได้อ่านซะแล้วค่ะ เพราะเข้ายากมาก

ก็คิดอยู่ค่ะว่าจะนำไปทำรายงาน ขออนุญาตนำไปอ้างอิงหน่อยนะคะ

ดิฉันอ่านแล้วดีใจมากที่ได้รับความรู้ขึ้นเยอะ

น่าจะนำไปใช้ได้ดีทีเดียว

น่าสนใจดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

ขอบคุณเช่นกันค่ะสำหรับข้อมูลจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปค่ะ

ขอบใจสำหรับข้อมูลที่ธกส.น่าจะทำบ้างจะได้เป็นระบบดีกว่านี้

ขอนำไปทำรายงานหน่อยนะค่ะ

จะนำไปทำรายงานส่งอาจารย์เช่นกันค่ะ

จะนำไปใช้กับการเรียนการสอนให้ได้ดีเยี่ยมค่ะ

พุทธรักษา สุวรรณจักร

อยู่ที่ไหนก็สำเร็จได้ถ้าใจเราต้องการทำจริงๆ ใช่ไม๊คะ

เข้ามาอ่านดูแล้วนะคะ  ดีใจค่ะที่ได้ความรู้มากขึ้น

ทำไมบ้านเราถึงไม่ตั้งใจทำให้ดีๆ นะอาจารย์นะ

ดีนะคะได้ความรู้ดีค่ะ

จะนำไปสอนเด็ก ขอยืมหน่อยนะคะ

กว่าจะได้อ่านก็รอคอยนานเหมือนกันนะคะ

ดีมากและได้รับประโยชน์มากทีเดียว และจะมีคำถามตามมาภายหลังเพื่อขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท