การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน


การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ( Brain  Based  Learning : BBL. )

หลักการจัดการเรียนการสอน  แบบ  Brain  Based  Learning

             BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

การนำทฤษฏีพหุปัญามาใช้กับการเรียนการสอนแบบ Brain  Based  Learning ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด  ได้เสนอแนวคิดว่า ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้

1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)

3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)

4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)

5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)

7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)

การจัดการศึกษาในโรงเรียนในปัจจุบัน

                การนำหลักการจัดการเรียนการสอน  แบบ  Brain  Based  Learning มาใช้เนื่องจากสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนพบว่า
               1.การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมได้รับความสนใจน้อยที่สุด

               2.การเลี้ยงเด็กเล็ก เน้นแต่เพียงการกินอิ่มนอนหลับ ปลอดภัยทางกายภาพ

               3.โรงเรียนส่วนใหญ่ เน้นการสอนและวัดผลเพียง 2 ด้าน คือ ภาษาและตรรกคณิตศาสตร์     

              4. การเรียนการสอนจัดแบบเดียวกันสำหรับทุกคนในห้องเรียน  สอนแบบบรรยาย ท่องจำ

หลักการจัดการเรียนการสอน  แบบ  Brain  Based  Learning

Regate และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก  ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 12 ข้อ ดังต่อไปนี้

1)สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน    2)สมองกับการเรียนรู้  3)การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิด        4)รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล 5) ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ 6)สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ 7)การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  8)การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ  9)การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ 10)การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 11)ส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ 12)สมองของบุคคลมีความเท่าเทียมกัน

หมายเลขบันทึก: 319672เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 00:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท