การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการปรับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสม พอเพียงและยั่งยืน ของชุมชนกัลยาณมิตร


pharmacy home health care

      การเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร (Pharmacy Home Health Care) ก็ยังเป็นกิจกรรมยอดฮิตของเภสัชกรที่คิดจะลงชุมชนอยู่วันยันค่ำ ซึ่งจริงๆแล้วสามารถช่วยแก้ปัญหาผู้ป่วยได้มากน้อยเพียงใดก็ยังขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง(นโยบาย บุคลากร งบประมาณ และ ความร่วมมือของผู้ป่วย)  ตามที่ไปทบทวนวรรณกรรมมา ก็ยังพบว่าเป็นวิธีการที่ยังทรงคุณค่าอยู่ จึงได้เริ่มโครงการขึ้น

ชื่อโครงการ

การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการปรับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสม  

พอเพียงและยั่งยืน ของชุมชนกัลยาณมิตร

วัตถุประสงค์  

  1. เพื่อสำรวจสถานะภาพการใช้ยาของประชาชนในชุมชนรอบๆสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (ชุมชนกัลยาณมิตร)
  2. เพื่อปรับพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในชุมชนให้มีความเหมาะสม พอเพียง
  3. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถดูแลการใช้ยาด้วยตัวเองได้อย่างยั่งยืน

วิธีการศึกษา

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                กลุ่มตัวอย่างมี 4 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนประชาชนในชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทน สมาชิกสภาเทศบาลด้านสาธารณสุข  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนที่ 4 โดยมีคุณสมบัติเป็นผู้นำทางความคิด (Opinion leader) มีส่วนได้รับผลกระทบ ( Stakeholder) และเคยใช้ยาต่างๆมาก่อน

วิธีรวบรวมข้อมูล

                การศึกษานี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative reserch) โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

การศึกษาขั้นตอนที่ 1(Phase I) สำรวจสถานะภาพการใช้ยา

-          เก็บรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพและการใช้ยา จากฐานข้อมูลสุขภาพ ของศูนย์สุขภาพชุมชน

-           ระดมความคิดเห็นแบบกลุ่ม (focus group) จากตัวอย่างมี 4 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนประชาชนในชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข  ตัวแทนสมาชิกสภาเทศบาลด้านสาธารณสุข  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนที่ 4

-          การสำรวจ (survey) โดยใช้แบบสอบถามเรื่องสถานะภาพการใช้ยา ประชาชนในชุมชน

การศึกษาขั้นตอนที่ 2  (phase II) การปรับพฤติกรรมการใช้ยา และแก้ปัญหาการใช้ยา 

          นำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ปัญหา โดยการทำสัมมนา ประชุม อบรมแบบประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถใช้ยาอย่างเหมาะสม และพอเพียง

การศึกษาขั้นตอนที่ 3  (phase III) ดูแลการใช้ยาในชุมชนอย่างยั่งยืน

-          จัดตั้งชมรมดูแลการใช้ยาในชุมชน

-          จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร (Pharmacist Home Health care)

-          จัดการอบรม หรือ การให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน ทุกเดือน

ผลการสำรวจ

Phase I

     เริ่มด้วยการลงสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านการใช้ยาของชุมชนก่อน(โดยความร่วมมือของ อสม.ชุมชนและเทศบาลนครพิษณุโลก) ในชุมชนที่อยู่รอบๆร้านยา(สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ม.นเรศวร ส่วนสนามบิน)  

     ปัญหาที่พบเป็นอันดับแรกคือ ผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรัง ใช้ยาหลายรายการ(เฉลี่ยมากกว่า 5 รายการ) และกินยาด้วยตัวเอง และใช้ยาไม่ถูกตามแพทย์สั่ง เราลองมานั่งนึกดูว่าถ้าเป็นญาติเราแล้วอายุขนาดนั้น กินยาเยอะขนาดนั้น จะกินถูกได้อย่างไร

Phase II & III

      เมื่อทราบข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวจึงได้วางแผนการลงเยี่ยมบ้านโดยเน้นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในชุมชนต้นแบบก่อน คือ ชุมชนกัลยาณมิตร กิจกรรมที่ลงเยี่ยมบ้านได้แก่

1.ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ยา โดยการสอบถาม/ทดสอบผู้ป่วย

2.ตรวจดูลักษณะทางกายภาพ วันหมดอายุ  และ การเก็บรักษายา

3.ให้คำแนะนำเรื่องโรคและการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย พร้อมแผ่นพับ

4.ให้คำแนะนำเรื่องการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา รวมทั้ง อันตรกิริยา ของยาและอาหาร

5.วัดความดัน

6.เจาะน้ำตาล

ตอนนี้ก็ได้เริ่มก้าวเดินอย่างที่บอกไว้ตอนแรกแล้วค่ะ ก้าวต่อไปจะเป็นอย่างไรก็คงต้องเป็นไป

 

คำสำคัญ (Tags): #pharmacy home health care
หมายเลขบันทึก: 319580เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นโครงการที่ดีมากค่ะ หากมีเภสัชกร ออกเยี่ยมบ้านด้วย

เป้นกำลังใจให้คนทำงานนะคะ

ซู่ๆๆ

ขอบคุณค่ะ

มีเรื่องเล่าตอนต่อไปมาเล่าให้ฟังค่ะ ในบันทึกล่าสุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท