NTCP Framewaork


จึงมีการคิดค้น Framework มากมายเพื่อกำหนดงานให้สามารถควบคุมให้ทันเวลา และสามารถทราบปัญหาได้ทันท่วงที โดยเลือกมีจากสิ่งที่คล้ายกัน เช่น ขนาด สถานที่ คู่สัญญา ความซับซ้อน

 

          ในการจัดการโครงการ สามารถเป็นไปได้ทั้งสำเร็จและล้มเหลว และในกรณีที่สำเร็จนั้นก็ยังสามารถแยกออกไปได้อีกว่า เป็นการการสำเร็จตรงเวลา หรือสำเร็จโดยใช้เวลาเกินจากที่กำหนด ดังนี้แล้วจึงมีการคิดค้น Framework มากมายเพื่อกำหนดงานให้สามารถควบคุมให้ทันเวลา และสามารถทราบปัญหาได้ทันท่วงที โดยเลือกมีจากสิ่งที่คล้ายกัน เช่น ขนาด สถานที่ คู่สัญญา ความซับซ้อน

 

           บางครั้งการจัดการโครงการในกรณีพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่นั้น มีหลากหลายเหตุผลที่ต้องคำนึงถึง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีแนวทางชัดเจน รวมเรียกว่า NTCP โดยแยกเป็น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่นั้น(Novelty) สามารถแยกได้เป็น 1.) derivative (ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาต่อยอด) 2.) platform (ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่) และ 3.) breakthrough (ผลิตภัณฑ์ใหม่) แต่ทั้ง 3 แนวทางในการพัฒนานั้น สิ่งที่อาจเป็นปัญหาใหญ่คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา(Technology)ผลิตภัณฑ์ โดยอาจมีปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับโครงการ วางระบบไว้ซับซ้อนมากเกินไป(Complexity) ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน หรือขอบเขตซ้ำซ้อนขาดการกำหนดผู้ดูแลควบคุมที่ชัดเจน การจัดการความเร่งด่วน(Place) หมายถึงความสามารถในการเลือกตัดสินใจในตัวปัญหาของระดับผู้บริหาร หรือการจัดลำดับความเร่งด่วนในการแก้ปัญหา และลำดับความเร่งด่วนในการพัฒนา

           ดังที่กล่าวมาจึงได้มีการนำสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับวางกรอบงาน(Framework ) ไว้ในการเป็นแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้รู้ได้ถึงความสมดุลระหว่าง ความต้องการ รูปแบบการบริหาร และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา โดยเมื่อได้ข้อมูลตั้งต้นของโครงการมาแล้วเช่นว่า โครงการนี้มีรูปแบบการพัฒนาคือ Platform, High-Tech, System, Fast/Competitive แล้วจึงนำมาสร้างความสมดุลโดยการใช้ Diamond Model เพื่อประเมินความเป็นไปได้ และใช้ในการควบคุมโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย โดยผู้วางหรือผู้ควบคุม Diamond Model จะต้องรู้ถึงการจัดการ และการจัดสรรเลือกสรรทรัพยากรเป็นอย่างดี เพื่อบริหารให้โครงการเป็นไปตาม Model ที่กำหนด(Project Selection)

           เมื่อได้รับทราบถึง NTCP ดังที่ได้กล่าวข้างต้น ผู้บริหารโครงการ (Project Manager : PM) ก็ต้องทำการกำหนดว่าจะบริหารงานอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม PM ก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ในแต่ละส่วนโดยแยกได้เป็น ผลกระทบอันเนื้องด้วย ผลิตภัณฑ์ใหม่(Novelty) คือการคำนึงว่าสินค้าที่ยิ่งใหม่นั้น การอ้างอิง หรือการนำข้อมูลเก่า ๆ มาช่วยในการวางแผนยิ่งเป็นไปได้ยาก และความแม่นยำมีย้อย เทคโนโลยีที่ใช้(Technology) ต้องเป็นเทคโนโลยีที่เป็นไปได้ และมีราคาเหมาะสมกับโครงการ ความซับซ้อน(Complexity) คือการที่โครงการมีความซับซ้อนเกินไปจนอาจเกิดการหลงทางในการพัฒนา และ การจัดการเกี่ยวกับความเร่งด่วน(Pace) หากจัดการไม่ดีแล้วงานที่ควรจะแล้วเสร็จอาจไม่เป็นไปตามลำดับ หรือไม่ใช่งานที่ควรจะส่งในรอบการทำงานแต่ละรอบ

           แต่ถึงอย่างไรก็ตามถึงแม้ Model จะดี หรือถูกพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพมาแล้วอย่างไร แต่มันก็มิอาจใช้ได้ทุก ๆ สถานการณ์ ฉนั้น PM จึงต้องมีการพัฒนาหรือปรับแต่ง Model ให้เข้ากับกระบวนงาน หรือทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่

           ตัว NTCP Model นั้น เมื่อมีการแยกประเด็นต่าง ๆ ออกมา เราจะเห็นได้ว่าแต่ละส่วนล้วนมีความเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก และค่อนข้างจะขาดมิได้ในการพัฒนาโครงการ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจอันดี NTCP นั้น สามารถขยายความได้ว่า

           Novelty ความใหม่ในการพัฒนา เนื่องจากเป็นการพัฒนาหรือเริ่มต้นโครงการใหม่ฉนั้นแล้วสิ่งที่อาจเทียบได้จะยิ่งยากหรือหายากมากขึ้น โดยมีมุมมองแยกเป็น 4 มุมมองคือ 1.) ข้อมูลอ้างอิงทางการตลาด 2.) ความต้องการของสินค้าและเป้าหมาย 3.) การหยุด Requirement 4.) เทคนิคการตลาดและกลยุทธ์

           Technology เทคโนโลยีในการพัฒนา คือต้องใช้เทคโนโลยีที่เป็นไปได้ในขณะนั้น หรือเป็นการต่อยอดเทคโนโ,ยีขึ้นมาใหม่ แต่ทั้งนี้ยิ่งใช้เทคโนโลยีใหม่เท่าไหร่ ความเสี่ยงในการวิจัยและการพัฒนาก็ยิ่งมีมากขึ้น และยังมีความเสี่ยงหากการวิจัยนั้นสุดท้ายพบจุดสิ้นสุดแห่งเทคโนโลยีที่ใช้ การวิจัยนั้นก็ถือว่าเสียเวลาและทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์

           Complexity ความซับซ้อนของโครงการ กล่าวคือโครงการที่มีความซับซ้อนยิ่งมาก ยิ่งต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการทำโครงการยิ่งมาก เมื่อเกิดปัญหามักหาจุดบกพร่องและการแก้ไขได้ยาก ในปัจจุบันจึงมักต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน โดยใช้เครื่องมือทางสารสนเทศต่าง ๆ เข้ามาช่วยงานเพื่อประเมินผลและติดตามได้ง่าย

           Pace ถือเป็นกระบวนการและ Dimension สุดท้ายของ Diamond Model ถือเป็นการจัดการเกี่ยวกับ Priority ของงาน จัดการได้ว่าลำดับงานอะไรควรจะเสร็จก่อน เส้นทางใหนเป็นเส้นทางวิกฤตที่สุด โดยอาจใช้เครื่องมือพวก PERT/CPM มาช่วยในการบริหารจัดการ

หมายเลขบันทึก: 319465เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 01:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ...ฉสุภ ตั้งเลิศลอย
  • มาเยี่ยมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท