การประเมินผลการนิเทศ


การประเมินผลการนิเทศ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญยิ่งในการควบคุมและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ผู้นิเทศควรสร้างข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ซึ่งการประเมินผลควรจะประเมินระหว่างการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ เพื่อการพัฒนางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และควรประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ เพื่อดูผลผลิตและผลลัพท์ที่เกิดขึ้นว่าสนองตามข้อกำหนด เป้าหมายและตัวชี้วัดหรือไม่

การประเมินผลการนิเทศ

                การประเมินผลการนิเทศ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญยิ่งในการควบคุมและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ผู้นิเทศควรสร้างข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ซึ่งการประเมินผลควรจะประเมินระหว่างการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ เพื่อการพัฒนางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และควรประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ เพื่อดูผลผลิตและผลลัพท์ที่เกิดขึ้นว่าสนองตามข้อกำหนด เป้าหมายและตัวชี้วัดหรือไม่ นับได้ว่าเป็นการนิเทศเชิงวิจัย ซึ่งจะทำให้ผู้นิเทศ มีข้อมูลเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                วิธีการประเมินผล สามารถดำเนินการ  ดังนี้

                                1. ประเมินผลการนิเทศโดยใช้เครื่องมือ ผู้ดำเนินการจะรวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือต่างๆ กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการประเมินผลในลักษณะนี้ ความสำคัญอยู่ที่การสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพได้

มาตรฐาน สามารถรวบรวมข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด และเลือกใช้สถิติ ข้อมูลที่เหมาะสม การนำเสนอผลผลการประเมินผลอาจนำเสนอด้วย แผนภูมิ กราฟ การบรรยาย หรือประกอบด้วยทั้งสามส่วนรวมกัน เพื่อจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

                                2. การประเมินผลด้วยการประชุม เป็นการประเมินผลที่อาศัยบุคลากรจำนวนมาก เพื่อพิจารณาข้อมูลร่วมกัน อาจดำเนินการในลักษณะของการประชุมปรึกษาหารือ หรือสัมนาเกี่ยวกับสภาพการปฎิบัติงานซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมต้องมีความสามารถควบคุมการประชุมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการด้วยบรรยากาศแห่งความเป็นมิตรและไว้วางใจกันและกัน ซึ่งอาจนำวิธีประเมินเช่นนี้ในการประชุมวาระของสถานศึกษา เป็นการประเมินผลระหว่างการดำเนินการก่อนมีการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการก็ได้

                                การนิเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ผู้นิเทศควรสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้ เช่น สภาพการดำเนินงานจัดการศึกษาปัจจุบัน มีสภาพเป็นอย่างไร มีจุดเด่นด้านใด มีสิ่งใดที่เป็นปัญหาจนต้องได้รับการปรับปรุง แก้ไข หรือ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

 

ข้อควรคำนึงในการประเมินผลการนิเทศ

                1. ควรให้ผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในการประเมินผลด้วย เช่น ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย วิทยากร  

                 พนักงานราชการ  เป็นต้น

             2. ควรใช้วิธีประเมินหลาย ๆ แบบและมีเครื่องมือในการประเมินผล เช่น แบบสังเกต

                 แบบสัมภาษณ์  แบบทดสอบ  แบบสอบถาม  เป็นต้น

                3. ควรเสนอผลของการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ                 

หมายเลขบันทึก: 319438เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การเมินผลการปฎิบัติงาน หรือ ประเมินผลอย่างอื่น เพื่อจะได้ทราบ ประสิทธืภาพ ของคนในหน่วยงานว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน ที่สำคัญอย่าเล่นป่หี่ก็แล้วกัน (เพียงเพื่อให้มีการประเมินผ่านๆไป แล้วก็แล้วไป) หน่วยงานอื่นมี หน่วยงานข้าฯ (ก็มีว่ะ) ไม่มีประโยชน์อไร กลับต้งเสียงานค่าจ้างพนักงานมาช่วยพิมพ์ มาช่วยกันสร้างข้อมูลที่ไม่เป็นจริง หรือท่านว่าอย่างไง..............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท