ความคิดดีๆ เพื่อลดโลกร้อน


ส่งเสริมความคิดดีๆ เพื่อพัฒนาประเทศและรักษาโลกกันเถอะ

วันนี้ผมแวะมาอ่านข่าวแล้วก็ดีใจครับ ถึงแม้ว่าจะยังไม่หายกังวลกับเรื่องสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่เขม็งเกลียวขึ้นทุกที

**************************************************

ข่าวที่ผมอ่านคือว่า มีนักศึกษาปริญญาเอกได้เสนอให้ชาวนาไทยนำฟางข้าวไปขายให้โรงงานไฟฟ้านำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าครับ ไปอ่านกันเลยครับ ความคิดนี้เป็นความคิดดีๆ ที่น่าสนับสนุนครับ ผมเองเคยมีประสบการณ์อยู่ที่เชียงรายหลายปี ก็งงเหมือนกันว่าทำไมชาวนาไทยชอบเผาฟางข้าว แล้วทำไมไม่เอาไปขาย เหมือนที่ต่างประเทศทำกัน ผลเสียของการเผาฟางข้าวคือ การทำให้เกิดก๊าซพิษในชั้นบรรยากาศ แล้วก็อาจจเป็นสาเหตุให้เกิดอัคคีภัยได้ แต่บางคนก็บอกว่าเป็นการเผาเพื่อทำลายวัชพืช และตัวอ่อนเพลี๊ยะ อันนี้ไม่ทราบหรอกครับ เพราะผมไม่ได้เรียนมาทางเกษตร แต่เคยไปถามอาจารย์ที่คณะเกษตรศาสตร์ก็ได้ความว่าชาวนาไทย ใช้ทรัพยากรที่ดินเกินกว่าที่ธรรมชาติจะรับได้ ตัวอย่างเช่น ที่พิษณุโลกที่ผมทำงานอยู่นี้ (ตอนนี้ไม่ได้อยู่ เพราะลามาเรียนต่อ) ชาวนาทำนาปีละสามครั้ง แต่ทุกฤดูร้อนจะมีปัญหาเพลี๊ยะ มากๆ  แล้วต้องฉีดยากำจัดศัตรูพืช จนกลิ่นและพิษของยากำจัดศัตรูพืชไปทำให้หลานๆ ของผมที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆ นั้นกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจไป เพราะผลข้างเคียงจากสารดังกล่าว  ผมก็ไปถามอาจารย์คณะเกษตรว่า เราไม่มีวิธีกำจัดหรือลดจำนวนเพลี๊ยะตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่าชีววิธีหรือ ก็ได้ทราบว่า แต่เดิมชาวนาไทย จะปลูกข้าวปีละไม่เกิน สองหน ทำให้มีเวลาพักดินกลับหน้าดินมาตาก เป็นการทำให้ไข่เพลี๊ยฝ่อ แต่ปัจจุบันทำนาปีละสาม บางที่ก็สี่ ทำให้ไม่มีเวลาพักดิน และไข่เพลี๊ยะ หมักหมมในดินนั่นเอง แล้ว เมื่อใช้สารกำจัดศัตรูพืชไปนานๆ เพลี๊ยะก็ดื้อยา และต้องเปลี่ยนใหม่เรื่อยๆ ทำให้เกิดผลกระทบในมุมกว้าง แถมชาวนายังเป็ฯหนี้ เพราะต้อง ไปซื้อยาแพงๆ และในอนาคตต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลตัวเองอีก

*****************************************

คิดแล้วสงสารชาวนาไทย ครับ ผมอยากเห็นมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดของบ้านเรา นำความรู้ไปเผยแพร่ เป็นหลักให้กับคนในท้องที่ จังเลย เราอาจจะไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับโลก แต่ถ้ามหาวิทยาลัยซึ่งมีบทบาทในการเป็นขุมปัญญาให้กับสังคม สามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนั้นจะเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชนอย่างแท้จริง และมีศักยภาพผลิตบัณฑิตที่ไปทำงานรับใช้สังคมได้อย่างแท้จริงครับ อย่างไรก็ตาม ผมว่าถ้ามหาวิทยาลัยไทย แก้ไขปัญหาพื้นฐานของคนในประเทศไทยได้ คะแนนวิจัยน่าจะพุ่งขึ้นนะครับ น่าจะผ่านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา และเป็นโมเดลให้กับมหาวิทยลัยต่างชาติได้ เราไม่จำเป็นต้องไปตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อดูดเงินจากนักศึกษาต่างชาติโดยคนในพื้นที่/ ในประเทศไม่ได้ประโยชน์อะไร นอกจากเงินค่าใช้จ่ายจากนักศึกษาที่เข้ามาอยู่แถวมหาวิทยาลัยนั้น เหมือนอย่างที่เป็นกันในต่างประเทศและในประเทศไทยในปัจจุบัน ถ้าเราทำได้อย่างนี้ มหาวิทยาลัยไทยก็จะได้รับการยอมรับทั้งจากคนในพื้นที่และต่างชาติจริงๆ และเป็นการสร้างคุณภาพนักศึกษาไปในตัว

 

หมายเลขบันทึก: 319427เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับความเห็นที่มีความรู้ครับ

หลังๆที่มีการรณรงค์ไม่ให้เผาฟาง ก็มีการเผาฟางน้อยลง (แต่ก็ยังมีอยู่)

ชาวนาบางที่ที่เก็บฟางไว้ ก็เพื่อทำประโยชน์อย่างอื่นค่ะ เช่น พื้นที่แถวๆเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนที่ปลูกกระเทียม ปลูกพริก หรือผักชี จะใช้คลุมดินเพื่อช่วยให้ดินชุ่มชื้นมากขึ้นค่ะ ซึ่งบางสวนที่มีพื้นที่มากๆก็ต้องใช้ฟางมากๆเช่นเดียวกันค่ะ

บางทีวิชาเรียนมหาลัยไม่ค่อยได้นำมาใช้ได้จริง หรือมาช่วยสังคมได้สักเท่าไรเลยค่ะ ถ้ามหาวิทยาลัยยังเป็นของสังคมอยู่จริงน่าจะทำได้ดีกว่านี้

ขอบคุณทุกความเห็นครับ

ในส่วนตัวผม ผมเห็นว่า เราน่าจะสร้างให้เกิดความเห็นร่วมกันของสังคมเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสถาบันการศึกษาไทยครับ เพื่อทำให้เกิดแรงผลักดันในการปรับตัวของภาคการศึกษาไทยครับ และ

ที่สำคัญภาครัฐและเอกชนต้องนำความคิดดีๆ ของคนไทยเราไปเผยแพร่ครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้คนคิดงาน และสร้างให้เกิดความเชื่อมมั่นในเทคโนโลยีและความรู้ของเราเองครับ

ที่ผ่านมา เรามักพบข่าวว่าเราไม่มั้นใจในผลิตภัณฑ์ และความรู้ของคนไทยด้วยกันเอง ครับ ทำให้บางครั้ง ผู้สร้างไอเดียดีๆ ต้องแอบไปใช้ชื่อต่างชาติ เพื่อสร้างกระแสนิยมให้เกิดในหมู่คนไทยด้วยกันแทนครับ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องดู เป็นกรณีๆ ไปนะครับ

อย่างเช่นถนน สายพิษณุโลก นครสวรรค์ ที่มุ่งเข้ากรุงเทพนั้น อันนี้เห็นชัดเลยครับ ไม่มีคุณภาพ นั่งรถไปเมื่อไหร่ก็ซ่อม ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร (จริงๆ ก็คงทราบๆ กันอยู่) รถบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือถนนไม่ได้คุณภาพ ก็ไม่แน่ใจ

รถไฟไทย ครับ รัก แสนรัก แต่ เสียเวลาทุกขบวน แล้ว ก็ไม่พัฒนา ทั้งๆ ที่เราเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทีมีรถไฟ แต่ไม่พัฒนาครับ พูดกันไปพักๆ พอข่าวเงียบก็เลิก คนไทย ลืมง่ายครับ ต้องช่วยกันทบทวนบทเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท